(ต่อ3)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง และแนวโน้มปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 5, 2008 15:11 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                    - การจ้างงานเฉลี่ยในไตรมาสที่ 2 มีจำนวน 36.80 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยมีการจ้าง
งานในภาคเกษตรจำนวน 13.69 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และผู้มีงานทำนอกภาคเกษตร 23.12 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 โดยสาขาที่มีการจ้าง
งานเพิ่มขึ้น ได้แก่สาขาก่อสร้าง สาขาการค้า และสาขาโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 3.5 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ ส่วนสาขา
อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.5 ตามภาวะการชะลอตัวของการผลิต สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ในระดับร้อยละ 1.4 และ ณ สิ้นไตรมาส 2 มีสถาน
ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม 381,828 แห่ง มีผู้ประกันตนจำนวน 8.79 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
ส่วนกองทุนประกันสังคม ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 จำ นวน 569,113 ล้านบาท มีผู้ใช้บริการ 1.79 ล้านคน หรือร้อยละ 20.3 ของผู้ประกันตนทั้งหมด ถึง
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ชะลอตัว แต่โอกาสในการหางานทำมีมากขึ้น จะเห็นจากสัดส่วนตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนผู้สมัครงานใหม่อยู่ในระดับ
0.84 เท่าเพิ่มขึ้นจาก 0.76 เท่าในไตรมาสเดียวของปีที่ผ่านมา
- เสถียรภาพด้านต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ
สิ้นเดือนมิถุนายน เท่ากับ 106.018 พันล้านดอลลาร์ สรอ.(ง) (และมี Net Forward Position อีก 18.264 พันล้านดอลลาร์) ลดลงจาก
109.678 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนมีนาคม (และรวม Net Forward Position อีก 21.456 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งคิดเป็นประมาณ
3.8 — 4.2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และเท่ากับการนำเข้าประมาณ 7.4 เดือน ในไตรมาสนี้ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงเนื่องจาก
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และนักลงทุนต่างชาติเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศไทยเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดจากปัญหา sub-prime
หมายเหตุ (ง) ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2551 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเท่ากับ 103.061 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
(และ Net Forward Position ลดลงต่อเนื่องเป็น 16.306 พันล้านดอลลาร์)
- ฐานะการคลัง: เกินดุลเงินสดเป็นไตรมาสแรกของปีงบประมาณนี้ ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2551 (เม.ย.-มิ.
ย.51) รัฐบาลมีรายได้นำ ส่งคลัง 515,122.75 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 12.6 และมีรายจ่าย 424,600.94 ล้าน
บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 1.75 ทำให้ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 90,521.81 ล้านบาท ซึ่งเกินดุลสูงกว่าจากช่วง
เดียวกันของปีงบประมาณก่อนจำ นวน 50,502.06 ล้านบาท และเมื่อรวมดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 22,538.15 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลมี
ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุลจำ นวน 67,983.66 ล้านบาท ในขณะที่ไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อนมีการขาดดุลอยู่จำนวน 268.32 ล้านบาท
นับตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2551 ถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 (ต.ค.50-มิ.ย.51) รัฐบาลมีรายได้นำ ส่งคลังทั้งสิ้น
1,149,865.85 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 7.5 โดยภาษีหลักที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษี
มูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และอากรขาเข้า สำหรับด้านรายจ่าย รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 1,220,082.43 ล้านบาท สูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.7 เป็นผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 70,216.58 ล้านบาท ขาดดุลลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
17.1 และเมื่อรวมดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 35,587.94 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจำนวน 105,804.52 ล้านบาท
ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 44.2 ทั้งนี้ รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วสัญญาใช้เงินรวมจำนวน
151,891.33 ล้านบาท
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 มีจำนวน 3.4 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับยอดหนี้คง
ค้าง ณ สิ้นปี 2550 โดยสาเหตุหลักเนื่องจากการก่อหนี้โดยตรงของภาครัฐโดยเฉพาะหนี้ในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุลเงินงบประมาณ อย่างไรก็
ตาม สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเทียบกับ GDP อยู่ที่ร้อยละ 35.82 ของ GDP ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับร้อยละ 37.97 ณ สิ้นปี 2550
- ภาวะการเงิน: อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัว แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินเพิ่มขึ้น จากสภาพคล่องที่ปรับตัวลดลงเนื่องจากภาคธุรกิจมี
ความต้องการเงินทุนในการดำเนินการมากขึ้น โดยมีการระดมทุนจากทั้งตลาดทุนและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นสินเชื่อภาคครัวเรือนยังคงขยายตัวสูง
ตามการใช้จ่ายซื้อรถยนต์และที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น เงินฝากหดตัวลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังอยู่ในระดับต่ำค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแต่ดัชนีค่าเงินบาท
อ่อนค่าลงตลาดหลักทรัพย์ ปรับตัวลดลงและมีความผันผวนสูงนักลงทุนต่างชาติย้ายการลงทุนมาที่ตลาดตราสารหนี้มากขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวแต่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นไตรมาสสองอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อ
ปี และในวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) ได้มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
เป็นร้อยละ 3.50 ต่อปี (ปรับเพิ่มจากร้อยละ 3.25) เนื่องจากแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศในภูมิภาคเอเชีย สำหรับตลาดการเงินในต่างประเทศนั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2
ในไตรมาสที่สอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ ในปัจจุบันให้น้ำ หนักต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วน
ธนาคารกลางในประเทศยุโรปได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี จนสิ้นไตรมาสที่สองก่อนที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยไปอยู่ที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี
ในเดือนกรกฎาคม ในขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของ ธพ. ปรับตัวขึ้นแต่อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมาก ทำ ให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลด
ลง ณ สิ้นไตรมาสสองของปี 2551 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 12 เดือนเฉลี่ยของ 5 ธนาคารใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ
2.13 และ 2.32 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 2.50 และ 2.88 ต่อปี ตามลำดับ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั้นดีแบบมีระยะเวลา (MLR) ปรับตัวขึ้นจากร้อยละ
6.99 เป็นร้อยละ 7.38 แต่เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 8.9 ในเดือนมิถุนายน ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน
และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงเป็นอัตราติดลบร้อยละ 6.03 และ 1.5 ต่อปี ตามลำดับและในเดือนกรกฎาคม อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.2
ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงติดลบร้อยละ 6.33 และ 1.8 ต่อปี
- เงินฝากธนาคารพาณิชย์ลดลง สิ้นไตรมาสสอง เงินฝากหดตัวลงร้อยละ 1.0 ลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในไตร
มาสแรก จากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ โดยปริมาณเงินฝากลดลงทั้งประเภทออมทรัพย์และฝากประจำ และลดลง
ทุกขนาดของมูลค่าบัญชีเงินฝาก อย่างไรก็ตาม มีการออมในรูปตั๋วแลกเงิน (B/E) เพิ่มขึ้น ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นในระยะหลังเนื่องจากให้ผลตอบ
แทนสูงกว่าการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์
- สินเชื่อยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากความต้องการเงินทุนดำเนินการเพิ่มขึ้น รวมทั้งการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์ และที่อยู่
อาศัยเพิ่มขึ้น ณ สิ้นไตรมาสสอง สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 12.1 เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ
11.1 ณ สิ้นไตรมาสแรก ส่วนสินเชื่อของสถาบันรับฝากเงินเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 6.0 ณ สิ้นไตรมาสแรก
เป็นร้อยละ 9.3 ซึ่งเป็นการขยายตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจ ร้อยละ 7.7 เมื่อพิจารณารายสาขาธุรกิจ พบว่าสินเชื่ออุตสาหกรรมการผลิต สินเชื่อเพื่อ
การพาณิชย์และสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังเติบโตดี โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนถึงร้อยละ 7-18 ส่วนสินเชื่อเพื่อการเกษตร และ
สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างหดตัวลง โดยเฉพาะภาคการก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 23.4 ซึ่งลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสสี่ปี 2550 เนื่องจากการลงทุนในการ
ก่อสร้างภาคเอกชนชะลอตัวมากในภาวะที่ต้นทุนวัสดุก่อสร้าง และทุนดำเนินการสูงขึ้นมาก การก่อสร้างชะลอการลงทุน ส่วนสินเชื่อที่ให้กับภาคธนาคาร
และสถาบันการเงินชะลอลงจากไตรมาสแรก สำหรับสินเชื่อภาคครัวเรือนขยายตัวสูงที่ร้อยละ 9.8 โดยมาจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
และสินเชื่อเพื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์ ปริมาณการใช้จ่ายบัตรเครดิตและการเบิกเงินสดล่วงหน้าลดลง จากภาวะเงินตึงตัวมากขึ้นทำให้ประชาชนระมัด
ระวังการใช้จ่าย แต่ยอดคงค้างบัตรเครดิตยังขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.0
- สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ลดลง จากสินเชื่อที่ขยายตัวเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เงินฝากลดลง ทำให้สัดส่วนสิน
เชื่อต่อเงินฝากปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 102.5 สภาพคล่องส่วนเกินของระบบธนาคารพาณิชย์ที่พร้อมนำไปใช้ลดลง โดยมีมูลค่าประมาณ 911 พันล้าน
บาท เทียบกับ 1,035 พันล้านบาทในไตรมาสแรก ปี 2551
- NPLs ทรงตัว NPLs ในระบบสถาบันการเงินที่ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ณ สิ้นไตรมาสสอง
ปี 2551 มีมูลค่ารวม 231.8 พันล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 3.77 ของสินเชื่อรวม ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า
- ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนขยายตัวสูง ในไตรมาสนี้บริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวม 161.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 67.7 โดยภาคธุรกิจที่มีผลกำไรสูง ได้แก่ กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภคกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
กลุ่มวัตถุดิบและสินค้าอุตสาหกรรม สำหรับภาคธุรกิจการเงินมีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 349.2 เนื่องจากผลกำไรปีที่แล้วอยู่ในระดับต่ำซึ่งเป็นผลจากการกัน
สำรองตามหลักเกณฑ์ใหม่เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่สองสูงอยู่ที่ระดับร้อยละ 15.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.7 ใน
ไตรมาสก่อนหน้า
สินเชื่อรายสาขา
2550 2551
% YOY Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
การผลิต 1.8 -0.6 -1.7 1.6 2.6 7.4
การก่อสร้าง 16.8 15.6 9.5 -2.4 -3.6 -23.4
การพาณิชย์ 1.5 -0.8 -0.3 4.0 6.0 11.5
ธนาคารและธุรกิจการเงิน -9.8 1.2 15.6 9.0 93.2 65.0
อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ -8.3 -0.9 0.2 5.5 5.5 18.0
อุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 9.1 12.2 12.5 14.0 13.3 16.0
การจัดหาที่อยู่อาศัย 14.5 10.6 8.9 13.2 12.0 13.7
การซื้อ/เช่าซื้อรถยนต์ -6.3 22.7 21.6 24.4 25.1 29.8
ที่มา : ธนาคารแหงประเทศไทย
(ยังมีต่อ).../-ค่าเงินบาทเฉลี่ยไตร..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ