(ต่อ1)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2551 และแนวโน้มปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 25, 2009 13:57 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่สี่ปี 2551 และทั้งปี ในด้านต่าง ๆ เป็นดังนี้

การใช้จ่ายภาคเอกชน

     (%YOY)           2549           2550           2551         สัดส่วน (%)
 การใช้จ่ายภาคเอกชน     3.02           1.60           2.51           100
 สินค้าคงทน            -2.46          -4.24           9.63           11.4
 สินค้ากึ่งคงทน           2.65           1.27           1.67           13.5
 สินค้าไม่คงทน           5.57           3.63           0.89           48.5
 - อาหาร              3.47           3.66           1.35           20.3
 - มิใช่อาหาร           7.12           3.61           0.56           28.2
 บริการ                1.19           0.57           3.10           26.6
  • การใช้จ่ายครัวเรือน: เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2.2 ชะลอลงเล็กน้อยจากเฉลี่ยร้อยละ 2.6 ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี โดยปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนในไตรมาสนี้ ได้แก่ การจ้างงานยังเพิ่มขึ้น รายได้เกษตรกรที่ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 และเงินเฟ้อที่ปรับตัวลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำทำให้กำลังซื้อของประชาชนปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งผลของมาตรการ “6 มาตรการ 6 เดือน” ที่ช่วยบรรเทาค่าครองชีพของประชาชน อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกซึ่งจะส่งผลต่อรายได้และโอกาสการมีงานทำในอนาคต ประกอบกับการชุมนุมทางการเมืองมีความรุนแรงมากขึ้น และการปิดสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองในระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2551 ส่งผลทางจิตวิทยาทำให้ผู้บริโภคมีการชะลอการจับจ่ายใช้สอยสินค้าที่ไม่จำเป็นออกไป

เครื่องชี้สำคัญของการใช้จ่ายครัวเรือนส่วนใหญ่ยังมีการขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอตัวลง ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ส่วนปริมาณการจำ หน่ายรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญอีกตัวหนึ่งของการใช้จ่ายของประชาชนในภูมิภาคเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.9 ซึ่งเป็นผลมาจากฐานการคำนวณที่ต่ำเนื่องจากในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 ผู้บริโภคได้ชะลอการซื้อไว้ก่อนเพื่อรอซื้อรถยนต์พลังงานทางเลือก (E20) ที่ได้มีการปรับลดภาษีในเดือนมกราคมปี 2551

รายการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าคงทนร้อยละ 7.7 จากการใช้จ่ายซื้อสินค้าประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นการใช้จ่ายซื้อสินค้าบริการ และสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และ 2.0 ตามลำ ดับ สำ หรับการใช้จ่ายซื้อสินค้ากึ่งคงทนลดลงร้อยละ 3.1

รวมทั้งปี 2551 การใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 แต่เป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทนเป็นหลัก โดยการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทน สินค้ากึ่งคงทนกลุ่มสินค้าไม่คงทน และกลุ่มบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 1.7 0.9 และ 3.1 ตามลำดับ สำหรับสินค้ากลุ่มไม่คงทนนั้นการจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้ออาหารเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ในปี 2550 ซึ่งสะท้อนว่าประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยได้รับผลกระทบจากราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ในขณะที่การใช้จ่ายสินค้าคงทนนั้นเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร่งตัวขึ้นมาก จากการซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลและเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี

  • การลงทุนภาคเอกชน: หดตัวลงทั้งการลงทุนในการก่อสร้างและเครื่องมือเครื่องจักร การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสสี่หดตัวร้อยละ 1.3 ต่อเนื่องจากที่ชะลอลงมาอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 6.5 4.3 และ 3.5 ตามลำดับ ในสามไตรมาสแรก ในช่วงปลายปี 2551 แม้ว่า แรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตจะผ่อนคลายลงมากจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมาแต่ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาลงตามลำดับ ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองที่มีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจต่อสถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มใน 3 เดือนข้างหน้าลดลงจากระดับ 41.1 และ 47.5 ตามลำดับ ในไตรมาสที่สาม มาอยู่ที่ระดับ 36.5 และ 40.2 ตามลำดับ ในไตรมาสสุดท้ายของปี

ในองค์ประกอบของการลงทุนนั้น การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ลดลงร้อยละ 1.4 โดยที่การจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ (ณ ราคาปี 2543) ในช่วงเดือนตุลาคม — พฤศจิกายน ลดลงร้อยละ 7.8 และปริมาณการซื้อรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ลดลงร้อยละ 32.7 อันเนื่องมาจากการเลื่อนการลงทุนของผู้ประกอบการออกไปในภาวะเศรษฐกิจหดตัวลง สำหรับการนำเข้าสินค้าทุน (ณ ราคาปี 2543) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.3

สำหรับการลงทุนก่อสร้างนั้นหดตัวลงร้อยละ 0.7 ในไตรมาสที่สี่ ตามการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ และที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นสัดส่วนหลักของการลงทุนด้านการก่อสร้างหดตัวร้อยละ 2.8 และ 1.2 ตามลำดับ ในขณะที่การลงทุนในการก่อสร้างอุตสาหกรรม และการก่อสร้างประเภทอื่น ๆ กลับมาขยายตัวร้อยละ 2.1 และ 1.5 ตามลำดับหลังจากที่หดตัวติดต่อกันในสองไตรมาสก่อนหน้า

รวมทั้งปี 2551 การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 โดยเป็นการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และการลงทุนในการก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.2

  • การส่งออก: ปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย และการชุมนุมปิดสนามบินแห่งชาติทั้ง 2 แห่งในไตรมาสที่สี่ของปี 2551 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 9.4 โดยที่ปริมาณลดลงร้อยละ 13.4 แต่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 การส่งออกที่ลดลงเป็นผลจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลก และการชุมนุมปิดสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง ในระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน — 3 ธันวาคม 2551 ทำให้ไม่สามารถส่งสินค้าทางอากาศในช่วงดังกล่าวได้ ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกในไตรมาสที่สี่ ลดลง เมื่อคิดในรูปเงินบาทมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 7.1
  • มูลค่าและปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรลดลง ในไตรมาสที่สี่ ปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 21.4 และราคาชะลอตัวลงมาก โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 เปรียบเทียบกับที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 45.3 ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี จึงมีผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 19.6 ในไตรมาสสี่ ทั้งนี้ปริมาณการส่งออกสินค้าสำ คัญที่ลดลงได้แก่ ข้าว เนื่องจากตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่ชะลอการสั่งซื้อหรือหันไปสั่งซื้อข้าวนึ่ง/ข้าวขาวคุณภาพต่ำจากเวียดนามปากีสถาน และอินเดียแทน เนื่องจากประเทศคู่แข่งเหล่านี้ได้เสนอราคาขายต่ำกว่าราคาข้าวไทย ซึ่งราคาข้าวของไทยนั้นสูงกว่าราคาตลาดโลก มันสำปะหลังเนื่องจากผลผลิตภายในประเทศลดลงและอุปสงค์ในตลาดต่างประเทศลดลง ยางพารา เป็นผลจากความต้องการยางพาราจากจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ชะลอตัวลง และความต้องการยางพาราเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ที่ลดลง

การส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ

                   2550          -------------------------  2551  -------------------------
     (%YOY)         ทั้งปี           ทั้งปี           Q1           Q2           Q3            Q4
 ข้าว       มูลค่า    34.2         121.8          108.1       155.8       134.2          -18.0
           ราคา     9.4           5.5           13.6        91.0        88.4           59.6
           ปริมาณ   22.7         110.2           82.7        35.1        23.4          -48.6
ยางพารา
           มูลค่า     4.5          51.1           33.6        30.5        47.1          -21.3
           ราคา     7.8          40.4           33.8        26.9        43.8           -3.1
           ปริมาณ   -3.0           7.7            0.0         2.9         2.4          -20.9
มันสำปะหลัง
           มูลค่า    23.1          -2.2           13.5        20.0        23.3          -35.2
           ราคา    18.6          61.1           58.9        61.9        39.3           13.1
           ปริมาณ    3.8         -39.3          -29.3       -25.5       -11.8          -40.6
ข้าวโพด
           มูลค่า    48.6         110.3          229.6        -6.6       201.4           27.4
           ราคา    -7.0          64.3           15.0       186.1        27.2           -1.9
           ปริมาณ   22.7          79.1          181.1       -43.5       136.6           22.1

ที่มา กระทรวงพาณิชย์

                                     ปี 2551(%YOY)             สัดส่วน         สัดส่วนการส่งออกต่อการ
    (%YOY)                                                   การส่งออก      ส่งออกรวมของรายการนั้นๆ
                           ทั้งปี     Q1     Q2     Q3      Q4    ปี’51          ตลาดหลัก*    อื่นๆ
 - เครื่องอิเล็กทรอนิกส์         0.7   10.0   12.6    6.2   -21.8    17.5            75.2     24.7
  • เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ -
   และส่วนประกอบ            6.1   18.8   20.8    9.2   -18.0    10.3             78      22.0
 - แผงวงจรไฟฟ้า           -14.0   -6.2   -4.1   -4.9   -39.2     4.1           68.2      31.8
 - เครื่องใช้ไฟฟ้า             6.1   14.2   14.3   16.1   -17.3    10.1           65.3      34.7
 - เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์        2.6    1.5    5.3   22.9   -18.4     1.8           57.6      42.4
 - เสื้อผ้าสำเร็จรูป            1.2    1.5    1.3    3.9    -2.0     1.7           84.1      15.9
 - เฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วน     -3.8   -1.7    3.4   -2.0   -14.1     0.7           75.2      24.9
 - อาหารกระป๋องและแปรรูป    23.4   20.5   34.1   28.4    13.2     2.2           60.2      39.7
 - กุ้ง                      4.9   -7.2    1.1   12.3     8.5     0.7           81.2      18.8
 - ไก่                     62.5   66.3   69.2   70.4    48.9     0.9           97.1       2.1
  • สินค้าอุตสาหกรรม: ปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงมูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 7.8 จากปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 12.0 แต่ราคายังเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 68 ของมูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมรวม และร้อยละ 61 ของมูลค่าส่งออกรวม) ลดลงร้อยละ 13.8 ในขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง และสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรภายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 และ 11.4 ตามลำดับ
  • สินค้าอุตสาหกรรมที่กระจุกตัวในตลาดหลักได้รับผลกระทบมากกว่าสินค้าประเภทอาหาร ทั้งนี้แม้โครงสร้างตลาดส่งออกสินค้าของไทยมีการกระจายไปสู่ตลาดอื่นมากขึ้น แต่การส่งออกประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ ยังคงกระจุกตัวอยู่ในตลาดหลัก สินค้ากลุ่มนี้จึงได้รับผลกระทบรุนแรงจากภาวะเศรษฐกิจของตลาดหลักที่หดตัวลง ส่วนสินค้าประเภทอาหาร อาทิ อาหารกระป๋องและแปรรูป กุ้ง และไก่ แม้จะกระจุกตัวอยู่ในตลาดหลักเช่นกัน แต่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจหดตัวมากนัก เนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยด้านอาหารที่มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป
  • สินค้าส่งออกสำคัญที่มีมูลค่าลดลงได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เครื่องจักรกลและเครื่องจักรเบ็ดเตล็ด เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิน เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ชิ้นส่วนรถยนต์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น สำ หรับสินค้าส่งออกที่ยังมีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์ กระดาษของเล่นและเกมส์ และไข่มุก อัญมณีและเครื่องประดับเพชรพลอย เป็นต้น สำหรับการส่งออกไข่มุก อัญมณีและเครื่องประดับเพชรพลอยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เป็นผลจากการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 770 เมื่อหักมูลค่าการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว จะทำให้มูลค่าส่งออกในกลุ่มนี้ลดลงประมาณร้อยละ 30.6 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่ง
เป็นตลาดสำคัญของการส่งออกอัญมณีของไทยหดตัวลง
  • ตลาดส่งออก: มูลค่าการส่งออกลดลงทั้งตลาดส่งออกหลักและตลาดอื่น ๆ มูลค่าการส่งออกไปยังตลาดหลักลดลงในทุกตลาด ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และตลาดสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.7 และ 10.2 ตามลำดับสำหรับตลาดอาเซียนลดลงร้อยละ 15.9 และตลาด
สหภาพยุโรป (27) ลดลงร้อยละ 7.4 สำหรับการส่งออกไปตลาดอื่น ๆ ก็มีมูลค่าลดลงเช่นกัน อาทิ จีน (-24.2%)ฮ่องกง (-16.7%) ไต้หวัน (-29.9%) เป็นต้น โดยมีตลาดอินเดีย และตลาดตะวันออกกลาง ที่มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.7 และ 5.4 ตามลำดับ

รวมทั้งปี 2551 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 ราคาและปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 และ 5.5 ตามลำดับ เมื่อคิดเป็นเงินบาทมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ทั้งนี้มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0 และ 16.5 ตามลำดับ

ตลาดส่งออกสำคัญ

2550 -------------- 2551 ---------------------

   (%YOY)        ทั้งปี     ทั้งปี      Q1      Q2      Q3     Q4     สัดส่วน
 ตลาดหลัก        11.8    14.2    18.2    26.5    26.2   -10.8    57.2
 สหรัฐอเมริกา     12.6    11.4     8.2     9.7    15.7   -10.2    11.4
 ญี่ปุ่น            11.8    11.3     7.7    21.0    25.0    -4.7    11.3
 EU (15)        12.8    12.0    16.1    13.0    15.7    -7.5    12.0
 อาเซียน (9)     21.4    22.6    32.8    48.4    39.4   -15.9    22.6
 อื่นๆ            25.9    20.8    30.8    31.0    31.3    -5.3    42.8
 ฮ่องกง           5.6     5.6    49.9    37.6    12.5   -16.7     5.6
 ไต้หวัน           2.2     1.5   -26.0   -12.3    -3.3   -29.9     1.5
 เกาหลีใต้         1.9     2.1    17.2    15.4    63.6     1.1     2.1
 ตะวันออกกลาง     4.9     5.3    26.4    33.2    48.1     5.4     5.3
 อินเดีย           1.8     1.9    24.5    32.4    25.5    28.7     1.9
 จีน              9.7     9.1    34.7    22.1    14.7   -24.2     9.1
ที่มา ธปท.

(ยังมีต่อ).../- การนำเข้า: ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ