(ต่อ4)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก และแนวโน้มปี 2550

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 6, 2007 15:05 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          2.3 สมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2550: เศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 4.3 ราคาน้ำมันดิบดูไบราคาบาเรลละ 60-64 ดอลลาร์ สรอ.
(1) เศรษฐกิจโลกในปี 2550 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.3 ปรับเพิ่มเล็กน้อยจากร้อยละ 4.2 ในข้อสมมุติฐานในการประมาณครั้งที่แล้ว โดยที่ได้ปรับเพิ่มการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นและเขตเศรษฐกิจยูโรขึ้นจากร้อยละ 1.9 และ 2.1 เป็นร้อยละ 2.3 และ 2.5 ตามลำดับ ซึ่งช่วยชดเชยการปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลงจากร้อยละ 2.7 เป็นร้อยละ 2.2 แต่โดยภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2550 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 ในปี 2549 และร้อยละ 4.4 ในปี 2548 อันเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป จีน และเอเชีย ซึ่งจะเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่เข้มงวดมากขึ้นในประเทศจีน ญี่ปุ่น และยุโรป และนอกจากนี้เป็นการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากการลงทุนในภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ลดลงเป็นสำคัญ รวมทั้งเป็นผลของการชะลอตัวของวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์อันเนื่องจากการลงทุนชะลอตัวในสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ทำให้การส่งออกของประเทศในภูมิเอเชีย อันประกอบด้วย เกาลีใต้ ไต้หวัน มาเลเซีย และสิงคโปร์ ชะลอตัวลง ประกอบกับยังมีผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2548 เป็นต้นมา ซึ่งประเทศต่างเศรษฐกิจหลักทั้งในเขตยูโร จีน และสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงในเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมัน
การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของโลกอย่างต่อเนื่องที่สำคัญคือมีการกระจายการเจริญเติบโตในประเทศต่าง ๆ มากขึ้นและชดเชยการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทำให้เศรษฐกิจโลกปรับตัวได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในปี 2550 นี้ เศรษฐกิจจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ประเทศเอเชียอื่น ๆ และยุโรปมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีจากการค้าระหว่างกันภายในภูมิภาคและลดแรงกระทบจากการที่ตลาดสหรัฐ ฯ ชะลอ ตัว สำ ห รับความเสี่ยง และ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2550 ในกลุ่มเศรษฐกิจหลัก มีดังนี้
(1.1) เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าศักยภาพการผลิต โดยที่แรงสนับสนุนหลักสำหรับการขยายตัวในระยะต่อไปจะยังคงเป็นการบริโภคภาคเอกชนเนื่องจากอัตราการว่างงานยังต่ำที่ร้อยละ 4.5 และค่าจ้างแรงงานของนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวและการขยายตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำ คัญจะทำ ให้การส่งออกยังขยายตัวได้ดีในปีนี้ แต่อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงที่สำคัญจาก
(i) การชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ได้ผ่านพ้นไป และจะยังมีผลต่อเนื่องไปยังภาคเศรษฐกิจอื่นมากขึ้น โดยที่มาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยมีความเข้มงวดมากขึ้นและในระยะยาวออกไปสินเชื่อที่คุณภาพต่ำ(Sub-prime mortgage) จะทำให้บ้านหลุดจำนองและมีการยึดทรัพย์มากขึ้นและทำให้สต็อกบ้านที่อยู่อาศัยจะยิ่งเพิ่มขึ้น
(ii) ยังมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้นทุนราคาน้ำ มันและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคนำ เข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และตลาดแรงงานที่ตึงตัวจะสร้างแรงกดดันให้ปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงาน แต่ผลิตภาพแรงงานที่ชะลอตัวทำให้ต้นทุนค่าแรงต่อหน่วยเพิ่มขึ้นประมาณ
ร้อยละ 1.5 ในไตรมาสแรกและทำให้ภาคธุรกิจไม่สามารถลดแรงกดดันต่อต้นทุนได้มากและทำให้ยังมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นได้
ดังนั้นจึงคาดว่าธนาคารกลางจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมตลอดปีนี้
(1.2) เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2550 นี้จะได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวได้สูงและการฟื้นตัวของการใช้จ่ายครัวเรือน ภาวะเงินฝืดเริ่มหมดไป จะเห็นได้ว่าราคาที่ดินเริ่มปรับเพิ่มขึ้นและอัตราเงินเฟ้อเริ่มทรงตัว นอกจากนี้กำลังการผลิตส่วนเกินลดลงแต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากระดับสต็อกของอุตสาหรรมและเทคโนโลยีที่ยังมีมาก ในขณะที่คำสั่งซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ยังอยู่ในระดับต่ำแสดงว่าการลงทุนภาคเอกชนจะยังชะลอตัวและเป็นข้อจำกัดของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้สินเชื่อที่ยังขยายตัวช้าและภาวะค่าจ้างแรงงานทรงตัวชี้ว่าการขยายตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนจะยังไม่เกิดขึ้นได้เต็มที่ในปีนี้ ดังนั้นความเสี่ยงของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะสั้นจะมาจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นเร็วเกินไปซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายได้
(1.3) เศรษฐกิจกลุ่มยูโร ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีจากแรงสนับสนุนของการลงทุนที่ขยายตัวได้ดีขึ้นกว่าในปี 2549 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการฟื้นตัวของภาคการก่อสร้างในเยอรมนี ปัจจัยพื้นฐานที่คาดว่าจะสนับสนุนการลงทุนประกอบด้วย อัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น ผลประกอบการและงบดุลของภาคธุรกิจเอกชนมีความแข็งแกร่ง ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดการเงินระหว่างประเทศมีเงื่อนไขที่ดี แต่อย่างไรเศรษฐกิจของกลุ่มนี้ยังมีข้อจำกัดจากการใช้จ่ายครัวเรือนที่ชะลอตัวแม้ว่าอัตราการว่างงานจะลดลงเป็นร้อยละ 7.3 ต่ำสุดในรอบ 25 ปีและมีแนวโน้มลดลงอีกในปีนี้ก็ตาม แต่ค่าจ้างยังทรงตัวนอกจากนี้เยอรมนียังมีผลกระทบของการปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต่อการใช้จ่ายครัวเรือนทำให้
โดยภาพรวมการใช้จ่ายครัวเรือนของกลุ่มยูโรชะลอตัว
(1.4) เศรษฐกิจจีน ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีจากการขยายการลงทุนและการส่งออก ในไตรมาสแรกการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 และการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 การขยายตัวของเศรษฐกิจเริ่มมีความสมดุลมากขึ้นบ้างเมื่อพิจารณาจากปริมาณการขายปลีกในประเทศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 ที่สะท้อนว่าการบริโภคภาคเอกชนค่อย ๆ มีบทบาทมากขึ้น แต่แรงกดดันที่สำคัญของเศรษฐกิจในระยะสั้นยังคงเป็นเรื่องการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงโดยที่คาดว่าในปีนี้อาจจะสูงถึงระดับร้อยละ 9-10 ของ GDP จึงเป็นแรงกดดันต่อค่าเงินให้ต้องแข็งค่าขึ้นและกลายเป็นข้อขัดแย้งทางการค้ากับสหรัฐฯ และสหรัฐฯ ได้เริ่มพิจารณาที่จะดำเนินมาตรการตอบโต้ทางการค้าอย่างจริงจังมากขึ้น จะเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมา การบริหารจัดการไม่ให้ค่าเงินหยวนแข็งค่ากว่าช่วงที่กำหนดไว้ทำให้จีนมีเงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมากอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สรอ. ในการลดแรงกดดันต่อค่าเงินหยวนรวมทั้งป้องกันภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไปนั้น จีนได้ดำเนินมาตรการหลายประการที่จะผลต่อการบริหารเศรษฐกิจของจีนในระยะต่อไป เช่น
(i) การอนุญาตให้นักลงทุนสถาบัน (Qualified Domestic Institutional Investors: QDII) ลงทุน
ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศได้
(ii) เรียกเก็บภาษีการส่งออกปุ๋ยเคมีร้อยละ 10-20 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2550 และจะเรียกเก็บภาษีสินค้าออก 142 รายการอีกร้อยละ 5-10 ในขณะที่ปรับลดอากรขาเข้าสินค้า 209 รายการลง โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน นี้
(iii) การปรับเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย ขึ้นเป็นร้อยละ 11.5 ของเงินฝาก เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจร้อนแรงเกินไปและป้องกันภาวะฟองสบู่ของหลักทรัพย์
(iv) ขยายช่วงอัตราแลกเปลี่ยนรายวันขึ้นจาก +/- 0.3 เป็น +/- 0.5 ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2550
(2) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยบาเรลละ 60-64 ดอลลาร์สรอ.
ในปี 2550 ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง คาดว่าราคาเฉลี่ยทั้งปี จะอยู่ในช่วง 60-64 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากราคาบาเรลละ61.52 ดอลลาร์ในปี 2549 และเป็นการปรับช่วงของข้อสมมติฐานจากบาเรลละ 55-60 ดอลลาร์ สรอ.ที่ใช้ในการประมาณการเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550 แต่อย่างไรก็ตาม นับว่ายังอยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงกับที่คาดไว้เดิมค่อนข้างมากโดยที่ราคาเฉลี่ยทั้งปีบาเรลละ 60 ดอลลาร์ สรอ. ยังเป็นข้อสมมุติฐานที่มีความเป็นไปได้
(3) ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้าชะลอตัว คาดว่าในปี 2550 ระดับราคาสินค้าในตลาดโลกยังมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปี 2549 แต่ในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากราคาสินค้าอุตสาหกรรมหลายประเภทได้ปรับขึ้นมากในปี 2549 ตามภาวะต้นทุนการผลิตจากราคาน้ำมัน และราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาเหล็ก ราคาทองคำ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และราคาเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ผ่านพ้นช่วงสูงสุดไปแล้ว และเริ่มชะลอลงในปลายปี 2549 นอกจากนี้ความต้องการในตลาดโลกที่ชะลอลงจะทำให้การแข่งขันด้านราคามีมากขึ้น สำหรับราคาสินค้าเกษตรส่งออกนั้นคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่
ชะลอลงเช่นกันทั้งราคาข้าว ยางพารา มันสำปะหลังและข้าวโพด แม้ว่าความต้องการยังเพิ่มขึ้นก็ตามสำหรับราคาปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากสต็อก
น้ำมันปาล์มของประเทศมาเลเซียลดลง คาดว่าราคาส่งออกสินค้าเฉลี่ยในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.5(7) สูงกว่าร้อยละ 4.0 ซึ่งเป็นสมมุติฐานในการประมาณการครั้งก่อนเล็กน้อย แต่ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในปี 2549 สำหรับราคาสินค้านำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ปรับเพิ่มจากสมมุติฐานเดิมร้อยละ 3.0(8) ตามภาวะราคาน้ำมันดิบ แต่นับว่ายังชะลอลงจากร้อยละ 6.5 ในปี 2549
*********************************************************************************************************
หมายเหตุ (7) ในช่วง 4 เดือนแรกราคาสินค้าส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และในการประมาณสถานการณ์เศรษฐกิจโลก World Economic Outlook ในเดือนเมษายน 2550 ที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่รวมน้ำ มันดิบจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.2 ในปี 2550 นี้ชะลอตัวลงมากเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 และ 28.4 ในปี 2548 และ 2549
(8) ในช่วง 4 เดือนแรกราคาสินค้านำเข้าที่คำนวณโดยกระทรวงพาณิชย์แสดงว่า ราคาสินค้านำเข้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5
*********************************************************************************************************
2.4 ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2550: คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0-4.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 2.0-2.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลสูงประมาณร้อยละ 3.0 - 4.0 ของ GDP
ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.3 ค่อนข้างทรงตัวจากไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว โดยที่แรงขับเคลื่อนหลักยังเป็นการส่งออกสินค้า ในขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเริ่มเพิ่มขึ้นและเป็นแรงสนับสนุนที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้ในการประเมินครั้งวันที่ 6 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2550 นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) พิจารณาว่ามีปัจจัยบวกหลายประการที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปได้ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ได้แก่ (i)อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง (ii) อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลงจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุน และการเพิ่มการลดหย่อนภาษีสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยจาก 50,000 บาทเป็น 100,000 บาท จะช่วยกระตุ้นความต้องการที่อยู่อาศัย (iii) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจภายใต้การดำเนินนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและโครงการลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะมีความพร้อมในการเบิกจ่ายได้ในครึ่งหลังของปี และ (iv) การจ้างงานที่ยังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจล่าสุดในเดือนเมษายนเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นบ้างในเรื่องการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างทรงตัวและความต้องการในการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีเงื่อนไขและปัจจัยที่อาจจะกลายเป็นความเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ประกอบด้วย (i) แนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวที่จะกระทบการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยที่ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกอาจจะชะลอตัวมากกว่าที่คาดได้ถ้าหากยังมีผลต่อเนื่องจากภาวะอสังหาริมทรัพย์ถดถอยในสหรัฐฯ ตลาดหลักทรัพย์ของจีนปรับตัวอย่างรุนแรงจากภาวะที่ร้อนแรงเกินไป และหากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นต่อไปอีกและมีความผันผวนจากความเสี่ยงด้านการเมืองระหว่างประเทศและสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ (ii) ราคาน้ำมันที่ยังสูงอยู่และมีความผันผวนได้ง่ายภายใต้เงื่อนไขที่ความต้องการในตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นและกลุ่มโอเปคลดกำลังการผลิตลง (iii) ฐานรายได้ของประชาชนอาจจะได้รับผลกระทบและชะลอตัวมากขึ้นอันเนื่องจากภาวะอัตราการจ้างงานที่เริ่มมีสัญญาณของการชะลอตัวแม้ว่าในขณะนี้จะยังเพิ่มขึ้นก็ตาม และราคาสินค้าเกษตรโดยเฉลี่ยชะลอตัว ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงซึ่งจะเป็นปัจจัยที่แท้จริงที่จูงใจให้เกิดการใช้สอยและลงทุนนั้นยังค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อลดลงเร็วกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงิน และ (iv) ความเชื่อมั่นของประชาชนและภาคธุรกิจลดลงและอยู่ในระดับต่ำภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนภายในประเทศที่รัฐบาลยังจะต้องเร่งสร้างความมั่นใจในบรรยากาศเศรษฐกิจและการเมือง เช่น การจัดการเลือกตั้งได้ตามกำหนดที่ประกาศไว้ ความชัดเจนในการออกกฎหมายที่สำคัญ และมีความคืบหน้าของการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ
จากข้อสมมุติฐานของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การประเมินสถานการณ์และเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจล่าสุดใน 4 เดือนแรกของปีนี้ ปัจจัยบวก และการประเมินปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดดังกล่าว สศช. พิจารณาว่าโอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวได้เกินกว่าร้อยละ 4.5 และถึงร้อยละ 5.0 ได้นั้นมีความเป็นไปได้น้อยโดยเฉพาะในภาวะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัวได้เต็มที่ ดังนั้นจึงได้ปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจลงเป็นร้อยละ 4.0-4.5 โดยมีค่ากลางเท่ากับร้อยละ 4.2 จากร้อยละ 4.0-5.0 โดยมีค่ากลางเป็นร้อยละ 4.5 ซึ่งคาดการณ์ไว้เมื่อวันที่ 6 มีนาคม2550 โดยที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังมีองค์ประกอบหลักจากการขยายตัวของการส่งออกในขณะอุปสงค์ภายในประเทศรวมชะลอตัว ในด้านเสถียรภาพคาดว่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยที่อัตราการว่างงานยังต่ำประมาณร้อยละ1.5 - 2.0 อัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นร้อยละ 2.0-2.5 และดุลบัญชีเดินสะพัด(9)มีแนวโน้มเกินดุลสูงประมาณร้อยละ 3.0-4.0 ของ GDP
(1) การปรับประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจการปรับประมาณการเศรษฐกิจในครั้งนี้เป็นการปรับลดการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศลง และการลดการสะสมสินค้าคงคลังที่มีมากกว่าที่คาดไว้เดิม แต่การปรับเพิ่มด้านการประมาณการส่งออกสุทธิของทั้งสินค้าและบริการจะชดเชยการปรับลดการประมาณการอุปสงค์ภายในประเทศรวมได้บางส่วน จึงเป็นการปรับลดการประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวมลงไม่
มาก การปรับประมาณการเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
- ปรับลดประมาณการใช้จ่ายภาคเอกชนลงจากประมาณการเดิมร้อยละ 3.8 เป็นร้อยละ 2.2 ซึ่งเป็นการปรับลดตามภาวะการใช้จ่ายที่ชะลอตัวลงมากในไตรมาสแรกของปี ราคาน้ำมันสูงขึ้นซึ่งจะกระทบกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของประชาชน และความเชื่อมั่นของประชาชน
ยังไม่ดีขึ้น รวมทั้งไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนของแรงผลักต่อเนื่องจากการส่งออกไปสู่การจ้างงานและการใช้จ่ายของประชาชนในประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากรายได้และผลประกอบการในรูปของเงินบาทจากการส่งออกในกลุ่มสินค้าที่ใช้ปัจจัยการผลิตภายในประเทศได้รับผลกระทบจากภาวะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ในขณะที่สินค้ากลุ่มที่สามารถขยายการส่งออกได้มากซึ่งประกอบด้วย คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ นั้นใช้ปัจจัยการผลิตภายในประเทศในสัดส่วนที่ต่ำ
- ปรับลดประมาณการการลงทุนภาคเอกชนลงจากร้อยละ 5.0 เป็นร้อยละ 1.5 ตามข้อมูลล่าสุดที่การลงทุนเอกชนลดลงร้อยละ 2.4 ในไตรมาสแรก และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจยังต่ำ ซึ่งชี้ว่าการลงทุนภาคเอกชนจะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ในปีนี้ แต่อย่างไรก็ตามวงเงินลงทุนที่
ขอรับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนใน 4 เดือนแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 69 และวงเงินลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.6 นั้นเป็นสัญญาณชี้ว่าภาคเอกชนบางส่วนได้เริ่มเตรียมการที่จะลงทุนในปีต่อไป สำหรับการลงทุนภาครัฐนั้นคงการประมาณการที่ร้อยละ 4.0 เท่าเดิม
*********************************************************************************************************
หมายเหตุ (9) ตามนิยามใหม่ ธนาคารแห่งประเทศไทย บันทึกรายการ reinvested earning เป็นรายจ่ายบริการในบัญชีเดินสะพัด และ
บันทึกเป็นรายการรับ หรือ inflows ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในส่วนของบัญชีการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่างประเทศ
*********************************************************************************************************
- ปรับเพิ่มประมาณการใช้จ่ายประจำ ภาครัฐบาลที่เบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในช่วงต้นปีปฏิทิน 2550 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการเบิกจ่ายค่าวิทยฐานะบุคลากรครู รวมทั้งการเร่งรัดงบประมาณตามกรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด (5,000 ล้านบาท) และโครงการพัฒนาหมู่บ้าน
ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (5,000 ล้านบาท) โดยคาดว่าทั้งปี 2550 การใช้จ่ายรัฐบาล ณ ราคาคงที่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 สูงกว่าที่คาดการณ์เดิมร้อยละ 5.0
- ปรับเพิ่มประมาณการปริมาณการส่งออกจากร้อยละ5.4 เป็นร้อยละ 7.9 ตามทิศทางการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งปริมาณการส่งออกขยายตัวสูงร้อยละ 8.5 ต่อเนื่องจากร้อยละ 8.7 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2549 และการส่งออกในช่วงที่ผ่านมาแสดงว่าการ
ส่งออกสินค้ารายการหลัก ทั้งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์นั้นชะลอตัวช้ากว่าที่คาดไว้เดิม โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นการส่งออกไปยังตลาดจีนยังเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับเศรษฐกิจจีนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีจึงเป็นแนวโน้มที่ดี นอกจากนั้นการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน ตะวันออกกลางและอินเดียยังขยายตัวได้ดี และประเทศเหล่านี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวดีในปี 2550 นี้ สำหรับราคาสินค้าส่งออกนั้นได้รับประโยชน์จากการที่ราคาข้าวเพิ่มขึ้น และราคายางพารากลับมาเพิ่มขึ้นมากกว่าในช่วงปลายปี 2549 ตามภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและความต้องการในตลาดจีนยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง ดังนั้นจึงปรับเพิ่มการคาดการณ์ราคาสินค้าส่งออกเฉลี่ยเป็นร้อยละ 4.5 จากประมาณการเดิมร้อยละ 2.5 แต่ยังเป็นการคาดการณ์ที่ชี้ว่าการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกจะมาจากการเพิ่มปริมาณสินค้าส่งออกเป็นสำคัญ โดยที่มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 แต่ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทำให้มูลค่าการส่งออกในรูปของเงินบาทเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4
- ปรับลดการประมาณการปริมาณการนำเข้าจากร้อยละ 5.0 เป็นร้อยละ 3.8 เนื่องจากการลงทุนและความต้องการนำเข้าสินค้าทุนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดไว้เดิม แต่อย่างไรก็ตามราคาสินค้านำเข้าโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้เดิมเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวชะลอลงไม่มากเนื่องจากเศรษฐกิจจีนยังขยายตัวได้ดีและมีความต้องการเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงปรับเพิ่มการคาดการณ์ราคาสินค้านำเข้าเฉลี่ยจากร้อยละ 3.0 ขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 จึงทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 สูงกว่าที่คาดการณ์ครั้งก่อนร้อยละ 8.0
เล็กน้อย
การปรับลดประมาณการปริมาณการนำ เข้านั้นเนื่องมาจาก (i) ในไตรมาสแรกของปีนี้ระบบเศรษฐกิจยังอาศัยการลดการสะสมสินค้าคงคลังลงมากกว่าที่คาดไว้เดิมและลดปริมาณการนำเข้าสินค้า และ (ii)การลงทุนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดไว้ แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าการนำเข้าจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในครึ่งหลังของปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าการนำ เข้าเพิ่มชัดเจนในเดือนเมษายนทั้งกลุ่มสินค้าทุนและวัตถุดิบ จึงมีความไปได้ที่จะมีความต้องการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน จำแนกตามประเภทกิจการและชิ้นส่วนเพิ่มขึ้นตามภาวะการส่งออกที่มีปริมาณ
เพิ่มขึ้นมาก และค่าเงินบาทที่แข็งกว่าที่คาดไว้เดิม
- ปรับลดการประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2550 เป็นร้อยละ 2.0 - 2.5 จากร้อยละ 2.5 - 3.0 ในการ
ประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงเร็วตั้งแต่เดือนมีนาคม ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเร็วและอุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวมากจึงช่วยลดแรงกดดันจากต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น สำหรับในช่วงที่เหลือของปีนั้นแม้ว่าฐานราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในปีที่แล้วจะต่ำ แต่การที่อุปสงค์ภายในประเทศยังมีแนวโน้มชะลอตัวจะทำให้อัตราเงินเฟ้อในครึ่งหลังของปีไม่เพิ่มขึ้น แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงก็ตามแต่ผลกระทบจากด้านรายได้เกษตรกรและการจ้างงานที่ชะลอลงมากกว่าที่คาดไว้เดิมซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการลงทุนภาคเอกชนที่จะต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม รายได้จากการส่งออกในรูปเงินบาทที่ชะลอลงค่อนข้างมากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และความเชื่อมั่นที่ต่ำจะมีมากกว่าจึงทำให้มีการปรับลดการประมาณการการใช้จ่ายภาคเอกชน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงประมาณร้อยละ 3.0 - 4.0 ของ GDP โดยมีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะเกินดุล
ประมาณ 8.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณร้อยละ3.6 ของ GDP
(2) การขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงร้อยละ 4.5 เศรษฐกิจทั้งปี 2550 จะสามารถขยายตัวในอัตราร้อยละ4.5 หรือสูงกว่าได้ภายใต้เงื่อนไข (i) การส่งออกสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ภายใต้ข้อจำกัดที่มากขึ้นและขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 14 - 15 และรายได้จากการ
ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 - 7 (ii) การเบิกจ่ายภาครัฐเฉลี่ยรวมไม่ต่ำ กว่าร้อยละ 80 ของวงเงินงบประมาณและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ โดยให้ความสำคัญในการเร่งรัดการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนประชาชนผู้มีรายได้น้อยในการพัฒนาอาชีพและโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขและการแก้ปัญหาสังคม (iii) ภาคธุรกิจเอกชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น (iv)การรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและป้องกันปัญหา
ผลกระทบอากาศแห้งแล้งต่อผลผลิตเกษตรได้ และ (v)ราคาน้ำมันดิบดูไบลดลง และเฉลี่ยไม่เกินบาเรลละ 60 ดอลลาร์ สรอ.
(3) การขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีต่ำร้อยละ 4.0 หรือต่ำกว่า เศรษฐกิจทั้งปี 2550 อาจจะขยายตัวได้ในระดับต่ำร้อยละ 4.0 ในกรณีที่ (i) การลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวช้ามาก (ii) การเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าร้อยละ 80 (iii) เศรษฐกิจโลก
ชะลอตัวมากกว่าที่คาดโดยขยายตัวได้ต่ำกว่าร้อยละ 4 ซึ่งจะทำให้การส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยขยายตัวได้น้อย และ (iv) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่า 62 ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติและปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ หรือการสะสมสต็อกของกลุ่มประเทศ OECD ลดต่ำกว่าแนวโน้มตามฤดูกาล
(ยังมีต่อ).../2.5 ความน่าจะเป็น..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ