การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2565 (ครบ 2 ปี 6 เดือน)

ข่าวผลสำรวจ Tuesday April 5, 2022 14:58 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

การติดตามข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลผู้ที่ติดตาม ระบุแหล่งข้อมูล1/ที่ติดตาม 5 อันดับแรก 1. โทรทัศน์ (71.8%) 2. สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์  (55.5%)     ทวิตเตอร์ ยูทูบ เป็นต้น  3. เพื่อน/ญาติ/คนในครอบครัว (30.3%) 4. เจ้าหน้าที่รัฐ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น (17.7%) 5. เว็บไซต์/สื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ เช่น  (8.5%)    หนังสือพิมพ์ออนไลน์ เป็นต้น  ทั่วประเทศ ทั่วประเทศ รายภาค ความพึงพอใจต่อนโยบายที่รัฐบาลได้ดาเนินการที่ผ่านมา

1. โครงการคนละครึ่ง 2. โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

3. โครงการเราชนะ 4. มาตรการเยียวยาแรงงานในระบบ (ม.33)

และนอกระบบ (ม.39 ม.40) 5. โครงการประกันรายได้เกษตรกร 6. มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

7. การให้บริการภาครัฐผ่านระบบออนไลน์

8. โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ 9. การป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย

บนระบบอินเทอร์เน็ต 10. การกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ

11. การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว

12. การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

13. การแก้ไขปัญหาการว่างงาน 14. การแก้ไขปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพง 15. การควบคุมราคาสลากกินแบ่งรัฐบาล 80 บาท มาตรการเยียวยา/โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 5 อันดับแรก ที่ประชาชนเห็นว่ามีประโยชน์ต่อคนในประเทศ มาตรการเยียวยา/โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 อันดับแรก ที่แต่ละกลุ่มอาชีพเห็นว่ามีประโยชน์ต่อคนในประเทศ ข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานของรัฐบาล แก้ไขปัญหาค่าครองชีพสูง เช่น ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ลดค่าน้ำประปา/ไฟฟ้า/แก๊สหุงต้ม/น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 ให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เช่น ขยายระยะเวลา/เพิ่มวงเงินโครงการคนละครึ่ง/ เราชนะ เพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มเงินให้ผู้สูงอายุ เป็นต้น แก้ไขปัญหาโดยคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก รวดเร็ว ตรงจุด และโปร่งใส ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เช่น ฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม แจกชุดตรวจATK ฟรี/ควบคุมไม่ให้มีราคาแพง แจกอุปกรณ์ป้องกันฟรี (เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ เป็นต้น) เป็นต้น แก้ไขปัญหาด้านการเกษตร เช่น พยุงราคาสินค้าเกษตร หาตลาดรองรับ จัดหาที่ดินทำกิน เป็นต้น

          ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากการสำรวจดังกล่าว สำนักงานสถิติแห่งชาติมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้ 1 ควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนผ่านสื่อต่าง ๆ หลากหลายช่องทาง เข้าถึงได้ง่าย และรวดเร็ว โดยเฉพาะให้ความสำคัญกับช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เช่น           เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ยูทูบ เป็นต้น ซึ่งจากผลสำรวจระบุว่าผู้ที่มีอายุน้อยติดตามข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้มีอายุมาก เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีการศึกษาสูงติดตามข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่า 2 ควรมีมาตรการ/โครงการที่มุ่งลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน เช่น ขยายเวลาลดค่าน้ำประปา/ไฟฟ้า พยุงราคาแก๊สหุงต้ม/น้ำมันเชื้อเพลิง จำหน่ายสินค้าราคาถูก (ธงฟ้า) ในชุมชน เป็นต้น 3 ควรช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรอย่างเร่งด่วน เช่น จัดหาตลาดรองรับพืชผล           ทางการเกษตร พยุงราคาสินค้าเกษตร เป็นต้น 4 ควรมีมาตรการ/โครงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 เช่น มาตรการลดดอกเบี้ยเงินกู้              พักชำระหนี้ ขยายระยะเวลา/เพิ่มวงเงินโครงการคนละครึ่ง/เราชนะ เพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มเงิน              ให้ผู้สูงอายุ เป็นต้น 5 ควรมีมาตรการลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดและป้องกันการกลับมาแพร่ระบาดซ้ำของโรคโควิด 19 เช่น                ฉีดวัคซีนกระตุ้นให้ครอบคลุมมากที่สุด การตรวจ ATK ฟรี/ควบคุมไม่ให้มีราคาแพง/สามารถหาซื้อได้ง่าย แจกอุปกรณ์ป้องกันการแพร่ระบาดฟรี (เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ เป็นต้น) เป็นต้น ที่มา : การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2565 (ครบ 2 ปี 6 เดือน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินการสัมภาษณ์ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 6,970 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 5 - 18 มกราคม 2565

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ