การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal Life) พ.ศ. 2565

ข่าวผลสำรวจ Tuesday April 5, 2022 15:02 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ต่อการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal Life) พ.ศ. 2565 การปฏิบัติตัวของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เมื่ออยู่บ้าน เมื่อออกนอกบ้าน การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และแอปพลิเคชัน (Application) สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)

และแอปพลิเคชัน (Application) วัตถุประสงค์หลักในการใช้งาน 3 อันดับแรก1) แอปพลิเคชันไลน์ (Line)/

วอตส์แอปป์ (WhatsApp)/ เฟซบุ๊ก (Facebook)/ ทวิตเตอร์ (Twitter)/

           อินสตาแกรม (Instagram)2) แอปพลิเคชันทางการเงิน       เช่น เป๋าตังค์ ถุงเงิน      กรุงไทยเน็ก (Krungthai NEXT)/     เค พลัส (K PLUS)/     เอสซีบี อีซี่ (SCB Easy) เป็นต้น 3) แอปพลิเคชันด้านความบันเทิง      เช่น เน็ตฟลิกซ์ (Netflix)/     ยูทูบ (Youtube)/     ติ๊กต็อก (Tiktok) เป็นต้น4) แอปพลิเคชันเกี่ยวกับสุขภาพ      เช่น หมอพร้อม/นนท์พร้อม/     เบทเทอร์ มี (BetterMe) เป็นต้น5) การซื้อ/ขายสินค้าผ่านทางออนไลน์      เช่น ชอปปี้ (Shopee)/     ลาซาด้า (Lazada)/     บิ๊กซีออนไลน์ (Big C online)/     โลตัสออนไลน์ (Lotus online) เป็นต้น6) การรับ/สั่งอาหารออนไลน์       เช่น แกร็บฟู้ด (Grabfood)/      ไลน์แมน(Lineman)/      ฟู้ดแพนด้า(Foodpanda)/     โรบินฮู้ด(Robinhood) เป็นต้น7) แอปพลิเคชันเพื่อการเดินทาง     เช่น แกร็บแท็กซี่ (GrabTaxi)/     แกร็บคาร์ (GrabCar) เป็นต้นแผนการปรับตัวรับมือ หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีความรุนแรงอีกครั้ง 5 อันดับแรก ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากการสำรวจดังกล่าว สำนักงานสถิติแห่งชาติขอนำเรียนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อโปรดพิจารณา ดังนี้

1) ควรมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 หลากหลายช่องทางและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อไม่ให้ประชาชน เกิดความสับสน ตื่นตระหนก และวิตกกังวลจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้ง การสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่กับคนในครอบครัวและเมื่อออกนอกบ้าน เช่น การแยกรับประทานอาหารร่วมกัน หรือการรับประทานอาหารโดยใช้ช้อนกลางส่วนตัว การงดใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันกับสมาชิกคนอื่นในครอบครัว เป็นต้น

2) ควรมีการส่งเสริม/ป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยรัฐต้องสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์/ชุดตรวจโควิด 19 เช่น ATK หน้ากากอนามัย ได้ในราคาย่อมเยา หรือการตรวจ ATK ให้ฟรีสำหรับการเข้าสถานที่ราชการต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งควรมีมาตรการส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ที่ไม่ต้องการฉีดวัคซีนหันมาฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น หรือผู้ที่ได้รับวัคซีนครบสองโดสแล้วกลับมาฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่มากที่สุด

3) ควรมีการส่งเสริม/สนับสนุนให้ประชาชนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น เพื่อลด ความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เช่น การใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน (เช่น เป๋าตัง ถุงเงิน กรุงไทยเน็ก/เค พลัส/เอสซีบี อีซี่ เป็นต้น) การให้ความช่วยเหลือประชาชนผ่านมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยใช้แอปพลิเคชัน (เช่น คนละครึ่ง ม.33 เรารักกัน เป็นต้น) เป็นต้น

4) ควรมีการส่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนรู้เท่าทันภัยที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อไม่ให้ถูกหลอกลวงได้ง่าย โดยเฉพาะให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุด

5) ควรมีนโยบายหรือมาตรการช่วยเหลือเยียวยาอย่างต่อเนื่องให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ผ่านมาตรการหรือโครงการต่าง ๆ เช่น มาตรการลดดอกเบี้ยเงินกู้ มาตรการพักชำระหนี้ เป็นต้น

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ


แท็ก Application   APP  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ