สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1(มกราคม—มีนาคม)2554(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 20, 2011 15:41 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • งานแสดงรถยนต์ รถจักรยานยนต์นานาชาติ “The 32nd Bangkok International Motor Show” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 มีนาคม - 5 เมษายน 2554 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายใต้คอนเซ็ปต์งาน “เปิดโลกยนตรกรรมสู่อนาคต” (Discovery a new Innovation) โดยภายในงานมีการแนะนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายจากหลากหลายยี่ห้อ ส่งผลให้มียอดจองรถยนต์ทั้งสิ้น 34,150 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 22.50 (ที่มา : www.dailynews.co.th)
  • เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามมติคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2554 เรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจเสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญในด้านอุตสาหกรรม ดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)

1. กลุ่มอุตสาหกรรมที่อาจได้รับผลกระทบที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นผลจากการที่โรงงานในประเทศญี่ปุ่นหยุดทำการเนื่องจากการปิดตัวของโรงงานผลิตไฟฟ้า รวมทั้งปัญหาเรื่องการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ทั้งนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ มีการเก็บสำรองวัตถุดิบและชิ้นส่วนสำหรับการใช้งานได้ประมาณ 1—2 สัปดาห์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีการเก็บสำรองวัตถุดิบและชิ้นส่วนสำหรับการใช้งานได้ประมาณ 1 เดือน ดังนั้นหากประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ภายใน 1 เดือน อุตสาหกรรมในประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบและชิ้นส่วนสำหรับใช้ในการผลิต ส่วนอุตสาหกรรมอาหารคาดว่าน่าจะมีผลกระทบทางบวกแต่มีสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือเรื่องการปนเปื้อนของสารเคมี

2. สำหรับสถานการณ์การแก้ไขปัญหาของบริษัทเอกชนในประเทศไทยในขณะนี้ ส่วนใหญ่ใช้วิธีแก้ไขปัญหาโดยการงดทำงานนอกเวลา เพื่อให้ยังสามารถเปิดโรงงานผลิตอยู่ได้ ทั้งนี้จากสถานการณ์ที่โรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศหยุดดำเนินการผลิตชั่วคราว ได้ส่งผลให้ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลง ซึ่งปัญหาผลกระทบดังกล่าวจะต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด โดยคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

3. นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอยู่ระหว่างการพิจารณาหาแนวทาง/มาตรการแก้ไขปัญหาโดยจะมีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม 2554 นี้ ซึ่งในการประชุมจะมีการพิจารณาทั้งสถานการณ์ในระยะกลาง และระยะยาว โดยจะครอบคลุมทั้งด้านการนำเข้า การส่งออก และการย้ายฐานการลงทุนเพื่อเตรียมแผนรองรับการลงทุนในอนาคตด้วย

  • สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 18 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 3,023.64 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 35.55ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 2,284 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 500 ล้านบาท จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการผลิตชิ้นส่วนถุงลมนิรภัย ของบริษัท ออโตลิฟ(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 518.30 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 833 คน (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 30 เมษายน 2554 จาก FOURIN)

  • อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในปี 2553 มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 73,039,005 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 26.70 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 54,441,534 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 18,597,471 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 23.10 และ 38.70 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกา พบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในปี 2553จำนวน 18,597,471 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.98 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในปี 2553 จำนวน 7,729,857 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.58 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก สำหรับการจำหน่ายรถยนต์โลกในปี 2553 มีการจำหน่ายรถยนต์ 69,398,083 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 14.30 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 51,195,824 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 18,202,175 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 11.90 และ 21.80 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ พบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2553 จำนวน 18,041,817 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.00 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในปี 25523จำนวน 11,772,816 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.96 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก
  • อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 4,885,487 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 7.20 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 3,750,762 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.30 และการผลิตรถยนต์เพื่อนการพาณิชย์ 1,134,725 เพิ่มขึ้นร้อยละ3.90 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 4,989,813 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 8.20 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 3,843,776 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.10และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,146,037 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.40
  • อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 2,188,193 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 15.30 โดยเป็นการผลิตรถบรรทุก 1,481,256 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 และมีการผลิตรถยนต์นั่ง 706,937 คัน ลดลงร้อยละ 2.30 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.พ.) มีจำนวน 1,844,290 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 22.50 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 863,096 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.20และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 981,194 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.70

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 468,981 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 382,841 คัน ร้อยละ22.50 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 177,259 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 284,991 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 6,731 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.17, 7.90 และ 28.87 ตามลำดับ สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 235,563 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.23 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ซึ่งจากจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในไตรมาสรแรกของปี 2554 เป็นการผลิตเพื่อส่งออก 235,563คัน โดยเป็นรถยนต์นั่ง 64,431 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.35 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV)171,132 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.65 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2554 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.67 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.07 และ 2.57 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 12.68

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.)มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 238,619 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 166,802 คัน ร้อยละ 43.06 หากแยกตามประเภทรถยนต์ มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 106,206 คันรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 102,796 คัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 14,874 คัน และรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 14,743 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.32, 32.16, 38.11 และ 22.85 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2554 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 2.21 โดยมีการจำหน่าย รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) ลดลงร้อยละ 3.69 และ 15.06 ตามลำดับแต่มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08 และ 0.15 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 234,407 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 216,685 คัน ร้อยละ 8.18 ถ้าหากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 102,215.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 102,121.93 ล้านบาท ร้อยละ0.09 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2554 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.47 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.59

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 มีมูลค่า 55,794.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 5.43 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ อินโดนีเซียออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.02, 14.96 และ 7.52 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปอินโดนีเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.29 แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ มีมูลค่าลดลง 29.89 และ 19.16 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทย (รวบรวมข้อมูลจากมูลค่าการส่งออกรถแวน และรถปิกอัพที่มีน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน) ในช่วงไตรมาสแรกของปี2554 มีมูลค่า 43,806.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 21.34 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และชิลี คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 31.85, 4.96 และ 4.66 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปสหราชอาณาจักร และชิลี มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.39 และ 19.80 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 2.28 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 มีมูลค่า10,746.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 11.97 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 34.63, 10.39 และ 9.84 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.17 และ 1.00 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 30.71

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 6,624.95 และ 6,218.11 ล้านบาท ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.35 และ 63.98 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2554 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งค่อนข้างทรงตัว และการนำเข้ารถโดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ9.37 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 ได้แก่ เยอรมนี ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 29.00, 21.63 และ 18.88 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 142.71 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 20.14 และ 30.52ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 65.19, 11.50 และ 7.31 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.69 และ 43.49 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากสิงค์โปร์ ลดลงร้อยละ 16.78

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของโลก และเศรษฐกิจภายในประเทศ สำหรับตลาดรถยนต์ภายในประเทศมีการขยายตัว ซึ่งได้รับผลดีจากการที่ผู้บริโภคและนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ อีกทั้งมีผู้ประกอบการหลายรายแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด เช่น รถยนต์ที่ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง และรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล เป็นต้น ในขณะที่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆมีการขยายตัว ซึ่งสอดคล้องกับราคาผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรที่เป็นตลาดหลักของรถยนต์ประเภทนี้ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน สำหรับการส่งออกรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง, รถปิกอัพ 1 ตัน และ รถยนต์ PPV) มีการขยายตัวในตลาดหลัก ได้แก่ เอเชีย, ตะวันออกกลาง, ยุโรป แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่ 2/2554 คาดว่าในภาพรวมจะมีการปรับลดการผลิตรถยนต์ เหลือเพียงร้อยละ 50 เนื่องจากโดยปกติในเดือนเมษายน 2554จะมีการลดการผลิตรถยนต์ เพราะมีเทศกาลวันหยุดยาวหลายวัน อีกทั้งในปีนี้ยังได้เกิดภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่นส่งผลกระทบต่อโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทย โดยผู้ประกอบการแจ้งว่าการผลิตรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 18เมษายน 2554 จนถึงเดือนมิถุนายน 2554 จะปรับลดเหลือร้อยละ 50 ซึ่งคาดว่า การผลิตรถยนต์ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554 จะหายไปประมาณ 150,000 คัน สาเหตุหลักเนื่องจาก ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วน ได้แก่ ชิ้นส่วนสมองกล (Micro Computer Chip) ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ในเมืองเซนได และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 575,123 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 481,435 คัน ร้อยละ 19.46 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 530,136 คันและรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 44,987 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.79 และ 43.42 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2554 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.58 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.06และ 32.35 ตามลำดับ

การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 520,991 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 466,415 คัน ร้อยละ 11.70 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 246,067คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.05 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 259,166 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.98และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 15,758 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.98 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2554 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.04 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.05, 12.98 และ 80.98 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 259,375 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 32,148 คัน และ CKD จำนวน135,735 ชุด) เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์168,434 คัน ร้อยละ 53.99 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 8,380.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 5,242.62 ล้านบาท ร้อยละ59.85 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2554 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 1.68 แต่คิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.99

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 มีมูลค่า 5,501.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 32.75 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.09, 13.42 และ 9.33ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา ไปสหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.04, 40.61 และ 7.91 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้าจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.)มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 324.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 95.58 ล้านบาท ร้อยละ 239.85 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2554 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.63 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 ได้แก่ เวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 13.05 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์เวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 304.52

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัว สำหรับการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ภายในประเทศมีการขยายตัว ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับภาคการเกษตร ซึ่งเป็นตลาดหลักของรถจักรยานยนต์มีผลผลิต และราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวสูงขึ้นทำให้รายได้ของเกษตรกรดีขึ้น สำหรับตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์มีการขยายตัวเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของตลาดหลักที่เพิ่มขึ้น จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่า จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ CBU ในไตรมาสที่สอง ปี 2552 ประมาณ 530,000 คัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 90 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 10 สำหรับการเกิดภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ในเดือนมีนาคม 2554 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไม่มากนัก ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบกับผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ เนื่องจากมีการใช้ชิ้นส่วนหลักจากญี่ปุ่น ส่วนการผลิตรถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจาก ส่วนใหญ่ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศ

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 36,564.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 16.61 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 6,961.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 66.28 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 3,788.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 16.71 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี2553 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM)ลดลงร้อยละ 2.03 แต่การส่งออกเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.89 และ 2.81ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 มีมูลค่า 43,055.75ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 10.24 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.10, 13.88 และ10.55 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ60.00 และ 8.87 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 9.61

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 2,979.53 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 5.75 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า152.94 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 15.18 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2554 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 12.74 และ 16.31 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 มีมูลค่า 6,516.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 34.54 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และบราซิล คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 19.78, 18.57และ 9.01 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย เวียดนาม และบราซิลเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.52, 35.53 และ 241.58 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 50,657.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.96 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2554 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.23 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 62.92, 5.76 และ 5.05 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.80 และ 13.19 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 4.00

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 4,966.33 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.20 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2554 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.50 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีนและสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 51.02, 10.89 และ 6.31 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้นร้อยละ 108.02 และ164.96 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากจีน ลดลงร้อยละ 13.81

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ