รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 8, 2011 11:02 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนกันยายน 2554
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2554 เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ร้อยละ2.2 แต่ลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เส้นใยสิ่งทอ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 65.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 65.0 ในเดือนสิงหาคม 2554
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนตุลาคม 2554

อุตสาหกรรมอาหาร

  • การผลิตอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะชะลอตัวลง จากการที่โรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่มได้รับผลกระทบของอุทกภัย สำหรับการจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศ คาดว่า อาจได้รับผลดีในระยะสั้นจากแรงกระตุ้นของสถานการณ์อุทกภัย ทำให้ประชาชนเร่งจับจ่ายใช้สอยรวมถึงกักตุนสินค้า แต่อาจส่งผลต่อระดับราคาสินค้า ปริมาณสต๊อกและตามมาด้วยการขาดแคลนจากปัญหาระบบการขนส่งที่ถูกตัดขาด และการหยุดผลิตของโรงงานอาหารสำคัญๆ

อุตสาหกรรมยานยนต์

  • ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนตุลาคม 2554 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2554 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ
  • สำหรับโรงงานประกอบรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ โรงงานผลิตรถยนต์ บริษัทฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการหยุดการผลิตตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2554 และในขณะนี้ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเริ่มผลิตได้อีกครั้งเมื่อไร ส่วนโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลายรายก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ส่งผลให้ไม่สามารถส่งชิ้นส่วนรถยนต์ให้กับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นขาดชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิต
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ส.ค. 54 = 196.1

ก.ย. 54 = 200.4

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ยานยนต์
  • เบียร์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ส.ค. 54 = 65.0

ก.ย. 54 = 65.4

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ยานยนต์
  • Hard Disk Drive
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกันยายน 2554 มีค่า 200.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม2554 (196.1) ร้อยละ 2.2 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนกันยายน 2553 (201.5)ร้อยละ 0.5

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2554 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ เบียร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 65.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 (ร้อยละ 65.0) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนกันยายน 2553(ร้อยละ 64.4)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม2554 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เบียร์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีตซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เบียร์ เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2554

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2554เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2554 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 429 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 359 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 19.5 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 17,915.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งมีการลงทุน 10,448.30 ล้านบาท ร้อยละ 71.47 และมีการจ้างงานจำนวน 12,069คน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,862 คน ร้อยละ 53.51ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 365 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 17.53 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีการลงทุน 15,041.95 ล้านบาท ร้อยละ 19.10 และมีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,645 คน ร้อยละ 25.13

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกันยายน 2554 คือ อุตสาหกรรมผลิตอิฐดินเผา ผลิตอิฐมอญ จำนวน 25 โรงงาน รองลงมาคืออุตสาหกรรม กลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน และเชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 21โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนกันยายน 2554 คืออุตสาหกรรมผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ และจากเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 3,496.54 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิตน้ำเชื่อม และน้ำอัดลม จำนวน 2,874.67 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนกันยายน 2554 คือ อุตสาหกรรมผลิตโช๊คอัพและอะไหล่รถยนต์ทุกชนิด จำนวนคนงาน 1,315 คนรองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิตอาหารจากสัตว์บรรจุกระป๋อง จำนวนคนงาน 1,050 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2554 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 66 ราย น้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 80 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.50 มีการเลิกจ้างงาน จำนวน 1,375 คน น้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 2,451 คน แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 1,096.87 ล้านบาท มากกว่าเดือนสิงหาคม 2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,060.32 ล้านบาท

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 194 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 65.98 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนกันยายน 2553 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,743.32 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนกันยายน 2553 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,692 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนกันยายน 2554 คืออุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์จำนวน 12 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 7 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกันยายน 2554 คืออุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์เงินทุน 604.44 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ หนังเทียม ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกาย รองเท้า เงินทุน 168.50 ล้านบาทท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนกันยายน 2554คือ อุตสาหกรรมเลื่อย ไส ซอย เซาะร่อง หรือแปรรูปไม้ด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกันคนงาน 273 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ประกอบนาฬิกา เครื่องวัดเวลา และชิ้นส่วน คนงาน 205 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม —กันยายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 1,174 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 1,089 โครงการ ร้อยละ 7.81 แต่มีเงินลงทุน 274,100 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 375,800 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.06

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม —กันยายน 2554
            การร่วมทุน                จำนวน(โครงการ)         มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%            494                     100,300
          2.โครงการต่างชาติ 100%           420                      95,400
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ     260                      78,400
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — กันยายน 2554 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 61,300 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 58,100 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิต คาดว่า จะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะชะลอตัวลงตามฤดูกาล ประกอบกับปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปอาจทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกชะลอตัวลงสำหรับการจำหน่ายภายในประเทศอาจชะลอตัว จากปัญหาอุทกภัยที่ส่งผลต่อระบบการขนส่งสินค้าและการบริโภคสินค้าและบริการ

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนกันยายน2554 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18.4 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.7แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น สับปะรดกระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง และกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 74.3 47.4 และ 5.4 ตามลำดับ เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อน กลุ่มสินค้าสำ คัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลืองและการผลิตอาหารไก่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7 28.4 และ9.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนกันยายน 2554 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศเพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ17.4 และ 2.0 ตามลำดับ ภายหลังการเลือกตั้งและมีข่าวการปรับเพิ่มรายได้ของแรงงาน ประกอบกับราคาน้ำมันเริ่มชะลอลง ทำให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยในการบริโภคสินค้าอาหารดีขึ้นจากเดือนก่อน

2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร(ไม่รวมน้ำตาล) ในรูปเงินบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.8แต่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 9.5 ซึ่งหากรวมการส่งออกน้ำตาลมูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 30.2 จากปริมาณและมูลค่าการส่งออกน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ประกอบกับราคาสินค้าได้ปรับตัวสูงขึ้นในเกือบทุกสินค้าเมื่อเทียบกับปีก่อน

3. แนวโน้ม

การผลิตอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะชะลอตัวลง จากการที่โรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่มได้รับผลกระทบของอุทกภัย ขณะที่การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะชะลอตัวลงจากเดือนก่อนเช่นกัน ตามปริมาณคำสั่งซื้อที่ลดลงตามฤดูกาล ประกอบกับความวิตกกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจของยุโรปที่เริ่มส่อเค้ามีปัญหาในเรื่องหนี้สาธารณะที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนของเศรษฐกิจโลกในภาพรวม สำหรับการจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศคาดว่า อาจได้รับผลดีในระยะสั้นจากแรงกระตุ้นของสถานการณ์อุทกภัย ทำให้ประชาชนเร่งจับจ่ายใช้สอยรวมถึงกักตุนสินค้า ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับราคาสินค้า ปริมาณสต๊อกและตามมาด้วยการขาดแคลนจากปัญหาระบบการขนส่งที่ถูกตัดขาด และการหยุดผลิตของโรงงานอาหารสำคัญๆ

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

1. การผลิต

เดือนกันยายน 2554 ภาวะการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7, และ 1.0 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เครื่องนอน เสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ ร้อยละ 26.5, 27.3, 22.9, 32.6 และ 14.2 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิตเช่น ราคาวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงานในปีนี้เพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นและกระทบต่อการรับคำสั่งซื้อ ซึ่งอาจจะต่อเนื่องไปถึงปลายปีนี้ รวมถึงปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนกันยายน 2554 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเครื่องนอน เพิ่มขึ้นร้อยละ3.6, 3.0 และ 14.3 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนส่วนใหญ่จำหน่ายลดลง ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน และเครื่องนอน ร้อยละ17.7, 10.3 และ 1.2 ตามลำดับ

การส่งออก โดยรวมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 2.8 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ เส้นใยประดิษฐ์และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 7.4, 7.2,7.8 และ 9.7 ตามลำดับ แต่เพิ่มขึ้นโดยรวมร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน และ สิ่งทออื่นๆร้อยละ 7.4, 43.9, 7.4 และ 22.7 ตามลำดับ ในขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งออกลดลง ร้อยะ 9.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สำหรับตลาดส่งออกหลัก ลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ร้อยละ 10.7 และ 12.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และลดลงร้อยละ 22.2 และ 7.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่ยังส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน และตลาดญี่ปุ่น ร้อยละ 13.0และ 5.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 และ 52.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

3. แนวโน้ม

การผลิตในภาพรวมและการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อลดลง โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งการส่งออกในเดือนนี้ลดลงร้อยละ 10.7 และ 12.3 ตามลำดับ รวมถึงปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยเฉพาะโรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นสิ่งทอต้นน้ำที่ได้รับความเสียหายค่อนข้างมากในจังหวัดลพบุรี ขณะนี้ได้หยุดการผลิตแล้ว ซึ่งหลังจากนี้จะส่งผลเกิดปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการนอกจากจะต้องเร่งขยายการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ ที่ยังคงมีศักยภาพ เพื่อทดแทนตลาดหลักที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติดังกล่าว ยังคงต้องรักษาส่วนแบ่งตลาดกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เต็มกำลังด้วย

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

คณะกรรมการพิจารณาการตอบโต้การทุ่มตลาดของอินโดนีเซีย (KADI) มีการพิจารณากำหนดมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) สำหรับสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นที่นำเข้ามาจากประเทศเกาหลี ประเทศไต้หวัน และประเทศญี่ปุ่น โดยปัจจุบันสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นที่นำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ยังถูกยกเว้นการใช้มาตรการนี้อยู่ ทั้งนี้การพิจารณากำ หนดมาตรการชั่วคราวอาจจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีหรือ 1 ปีครึ่ง

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือน กันยายน 2554 ลดลงโดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 126.46 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลงร้อยละ 5.64 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงยาวพบว่ามีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.40 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นกลมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 87.74 ลวดเหล็กแรงดึงสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.86 ลวดเหล็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.85 และ เหล็กเส้นข้ออ้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.57 ตามลำดับเมื่อเทียบกับเดือนก่อนโดยเป็นการผลิตเพื่อรักษาระดับสินค้าคงคลัง สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีการผลิตลดลง ร้อยละ 10.65 โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 39.36 เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 26.79 เนื่องจากมีการเร่งการผลิตเพื่อเตรียมไว้จำหน่ายเป็นจำนวนมากในเดือนก่อนแล้ว จึงเริ่มมีการปรับลดการผลิตลงในเดือนนี้ ในส่วนเหล็กแผ่นรีดเย็นมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.00

ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.61 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.05 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 108.87 รองลงมาคือเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.29 ในขณะเดียวกันเหล็กทรงยาวมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.09 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กข้ออ้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ45.18 และลวดเหล็กแรงดึงสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ19.80

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CISณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนตุลาคม 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า โดยดัชนีราคาเหล็กปรับลดลงทุกผลิตภัณฑ์ โดยเหล็กแท่งเล็ก (Billet) ลดลงจาก 157.14 เป็น 142.51 ลดลงร้อยละ 9.31 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 155.14เป็น 141.12 ลดลงร้อยละ 9.04 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 145.12 เป็น 135.38ลดลง ร้อยละ 6.71 เหล็กเส้น ลดลงจาก 151.59 เป็น 144.68 ลดลง ร้อยละ 4.56เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกและการชะลอตัวลงของอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศที่สำคัญเช่นประเทศจีน

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือน ตุลาคม 2554 คาดว่าจะมีทิศทางหดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มการผลิตที่ชะลอตัว จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พบว่าภาวะหยุดชะงักของตลาดที่อยู่อาศัยไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นในขณะนี้ แต่น่าจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ไปจนถึงไตรมาสแรกของปีหน้า โดยภายหลังจากน้ำลดจะเป็นช่วงเวลาของการปรับปรุง ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ความต้องการสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยจะมีมาก แต่ความต้องการเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยจะลดลง

สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนมีการปรับตัวลดลง รวมทั้งอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากภาวะน้ำท่วมทำให้ต้องหยุดการผลิตและคาดว่าต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูทั้งโรงงานและเครื่องจักรจนกว่าจะได้มีการดำเนินการผลิตอีกครั้ง ซึ่งถึงแม้โรงงานเหล็กจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงเนื่องจากโรงงานไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง (เช่นจ.อยุธยา,จ.ปทุมธานี) แต่ก็จะได้รับผลกระทบโดยอ้อมเนื่องจากเหล็กเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลให้คำสั่งซื้อในส่วนของเหล็กทรงแบนลดลง อีกทั้งผู้ผลิตเหล็กที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมได้ลดกำลังการผลิตลงเพื่อเตรียมการป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เนื่องจากมีการเพิ่มปริมาณการผลิตรถยนต์ เพื่อเร่งส่งมอบรถยนต์ให้กับลูกค้า ประกอบกับมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 174,212 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน2553 ซึ่งมีการผลิต 141,416 คัน ร้อยละ 23.19 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ร้อยละ 13.73 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 87,012 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 68,261 คัน ร้อยละ 27.47 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1ตัน, รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUVและมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554ร้อยละ 10.08 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง,รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 90,654 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีการส่งออก 81,320 คัน ร้อยละ 11.48 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย, โอเชียเนีย, แอฟริกา, ยุโรปและอเมริกากลางและอเมริกาใต้ และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ร้อยละ 25.44 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย, โอเชียเนีย, แอฟริกา, ยุโรป และ อเมริกากลางและอเมริกาใต้
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนตุลาคม 2554 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2554 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ สำหรับโรงงานประกอบรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ โรงงานผลิตรถยนต์บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการหยุดการผลิตตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2554 และในขณะนี้ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเริ่มผลิตได้อีกครั้งเมื่อไร ส่วนโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลายรายก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ส่งผลให้ไม่สามารถส่งชิ้นส่วนรถยนต์ให้กับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นขาดชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิต

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เนื่องจากยังมีความต้องการรถจักรยานยนต์ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนกันยายน ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 207,562 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีการผลิต 177,588 คัน ร้อยละ16.88 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์ทุกประเภท(รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต) แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2554 ร้อยละ 0.31 โดยเป็นการปรับลดลงเพียงเล็กน้อยของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 172,176 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 152,365 คัน ร้อยละ 13.00 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์ทุกประเภท(รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต) แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2554 ร้อยละ 9.72 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์ทุกประเภท
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 29,117คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีการส่งออก 14,661คัน ร้อยละ 98.60 เนื่องจากมีการเพิ่มปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ของผู้ประกอบการรายใหญ่ และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ร้อยละ1.33
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม2554 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน2554 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลให้มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ประสบปัญหาน้ำท่วม ส่งผลให้ไม่สามารถจัดส่งชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ได้ ทำให้โรงงานประกอบรถจักรยานยนต์รายใหญ่ต้องหยุดการผลิต
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ชะลอตัวลง เนื่องจากเกิดปัญหาน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ทำให้การก่อสร้างชะลอตัวลง สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ ตามความต้องการใช้ของตลาดส่งออกหลัก”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนกันยายน 2554 ปริมาณการผลิต และปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ5.30 และ 3.53 ตามลำดับ เนื่องจากเกิดปัญหาน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ทำให้การก่อสร้างชะลอตัว ส่งผลให้ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลงตามไปด้วย แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำ หน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.70 และ 9.82ตามลำดับ ซึ่งเมื่อมองในภาพรวมถือว่าอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังขยายตัวได้ดี

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนกันยายน 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.56 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 6.43 สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ เมียนมาร์ บังคลาเทศ กัมพูชาเวียดนาม และลาว ตามลำดับ

3.แนวโน้ม

แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศ คาดว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากในหลายพื้นที่ประสบกับปัญหาน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน คาดว่าความต้องการใช้ในประเทศจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงต้นปี เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง โดยปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนสนับสนุนคือ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐรวมทั้งจะมีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากภาวะน้ำท่วม สำหรับการส่งออกคาดว่ายังขยายตัวได้ เนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนกันยายน 2554 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ3.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 6.40 เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศ กำลังจะหมดลง และคำสั่งซื้อเดิมได้หมดลง รวมถึงวัตถุดิบปรับราคาสูงขึ้น จึงมีผลทำให้ภาคการผลิตต้องลดการผลิตลง เพื่อไม่ให้ต้องรับภาระต้นทุนสินค้าคงคลัง และผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมเนื่องจาก น้ำ ได้ท่วมนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ต้องหยุดการผลิต หรือเลื่อนการผลิตออกไป อาจจะกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิต

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มี

มูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ก.ย. 2554

  เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์          มูลค่า(ล้านเหรียญฯ)          %MoM           %YoY
อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์           1,705.29            0.14           0.18
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี                  780.91          -10.43         -10.83
เครื่องปรับอากาศ                            284.12            2.74          28.56
กล้องถ่าย TV,VDO                           199.62          -21.10          13.09
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์            5,119.52           -1.61           2.12
          ที่มา กรมศุลกากร

          1.การผลิต
          ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนกันยายน 2554 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 400.28 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.65เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 6.40 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.49 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 1.31 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.30 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 6.97
          2. การตลาด
          มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกันยายน2554 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 1.61 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.12 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 5,119.52 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนกันยายน 2554 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 0.23 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.61 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 2,049.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และกล้องถ่ายTV, VDO โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 284.12 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 199.62 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ2.52 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.34 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คือ3,069.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 1,705.29 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 780.91 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ
          3. แนวโน้ม
          ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนตุลาคม2554 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.88เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 3.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

          --สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ