สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม — กันยายน) 2554 (เศรษฐกิจไทย)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 30, 2011 10:52 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย หรือ GDP ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 2.6 ชะลอลงจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 และชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.2 โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราการขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 คือ การชะลอตัวลงทั้งอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนชะลอลง จากการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน โดยเฉพาะรถยนต์ ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลและการลงทุนรวมชะลอตัวลงเช่นกัน สำหรับอุปสงค์ต่างประเทศชะลอตัวลงจากการชะลอตัวของทั้งการส่งออกและการนำเข้า

ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 หดตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 และหดตัวจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 17.6 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของอุตสาหกรรมสำคัญ คือ Hard Disk Drive สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตเนื่องจากภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวร้อยละ 3.5.-4.00 (ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2554) ชะลอลงจากปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.8

สำหรับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 พบว่าบางตัวมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2553 เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive เบียร์เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น ส่วนมูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5(ม.ค.-ก.ย.54) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา เป็นต้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 195.1เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (181.6) ร้อยละ 7.4 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (191.8) ร้อยละ 1.7

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive อัญมณีและเครื่องประดับเทียม อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เบียร์ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive เบียร์ รถจักรยานยนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ1.0 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่ Hard Disk Drive เครื่องแต่งกาย โทรทัศน์สี อัญมณีและเครื่องประดับเทียม ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า

ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการจำหน่ายสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 203.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา(180.7) ร้อยละ 12.6 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (193.4) ร้อยละ 5.2

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง น้ำตาล เป็นต้น

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 0.5 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน เครื่องปรับอากาศรถจักรยานยนต์ น้ำตาล เป็นต้น

ดัชนีสินค้าที่สำเร็จรูปคงคลัง

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดแคลน (ตารางที่ 1) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 197.5 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (186.1) ร้อยละ 6.1 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (188.1) ร้อยละ 5.0

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์เส้นใยสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี ๒๕๕๓ ได้แก่ Hard Disk Driveผลิตภัณฑ์พลาสติก น้ำตาล ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เป็นต้น

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 2.7 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ Hard Disk Drive น้ำตาล ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติกเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต

อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตเต็มที่ (ตารางที่ 1) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 64.5 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 59.1) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ ปี2553 (ร้อยละ 64.3)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์พลาสติก Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553ได้แก่ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ โทรทัศน์สี เครื่องแต่งกายเม็ดพลาสติก Hard Disk Drive เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)

จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 99.5 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (107.4) และไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (103.9) การที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี นอกจากนี้เดือนกันยายน 2554 ดัชนีลดลงอยู่ที่ระดับ 90.7จากระดับ 102.5 ในเดือนสิงหาคม 2554 และอยู่ที่ระดับที่ ต่ำกว่า 100 โดยค่าดัชนีที่ปรับลดลงเป็นผลมาจากการลดลงขององค์ประกอบดัชนีด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวมยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2554 ลดลงคือ เหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม โดยได้สร้างความเสียหายแก่เขตเศรษฐกิจสำคัญ และนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง ประกอบด้วยถนนหลายสายมีน้ำท่วมในระดับที่สูง จึงเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ขนส่งสินค้า รวมทั้งความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ความกังวลต่อผลกระทบจากนโยบายภาครัฐและแนวทางการฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่เสียหายหลังภาวะ น้ำท่วมคลี่คลาย อย่างไรก็ตามผู้ประกอบได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ได้แก่ ควรปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบค่อยเป็นค่อยไป และออกมาตรการลดผลกระทบสำหรับผู้ประกอบการ SMEs จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการ เร่งแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ สนับสนุนการใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเฉลี่ยรวมมีค่า 83.1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา(80.6) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (80.8) โดยแบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต(ตารางที่ 2) พบว่า ไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ทั้ง 3 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2553 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเป็นรายเดือน จะเห็นว่าดัชนีในเดือนกันยายน 2554 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศและความไม่มั่นใจในความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้บริโภคประสบปัญหาราคาสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันปรับราคาสูงขึ้น รวมทั้งความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้เห็นเป็นรูปธรรมในอนาคต

เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละดัชนี พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่3 ของปี 2554 มีค่า 73.5 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (71.3) แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่าจะขยายตัวอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากยังคงมีหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภควิตกกังวล

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 มีค่า 74.1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (71.9) แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวการณ์จ้างงานโดยรวมยังไม่ดีมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ยังปรับตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 มีค่า 101.7 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (98.5) และอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคมีความมั่นใจในรายได้ในอนาคตของตน โดยระดับความเชื่อมั่นนี้ยังคงสูงกว่าความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมและโอกาสหางานทำ

จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 มีค่าเท่ากับ 50.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (50.4) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (50.4) โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ดัชนีโดยรวมมีค่าสูงกว่า 50 แสดงว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจดีขึ้น ผู้ประกอบการมองว่าภาวการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตมีแนวโน้มดีขึ้น สำหรับดัชนีที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2553 คือ การผลิตของบริษัท

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ดัชนีรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุนของบริษัท การจ้างงานของบริษัทและการผลิตของบริษัท

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ระดับ 130.7 ลดลงร้อยละ 2.2 จากเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 133.6 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดัชนีส่วนกลับราคาน้ำมันดิบ มูลค่าการส่งออก ณ ราคาคงที่

สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 มีค่าเฉลี่ย 132.2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 129.8

ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ

ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ระดับ 123.1 ลดลงร้อยละ 0.5 จากเดือนสิงหาคม2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 123.7 ตามการลดลงของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ มูลค่าการส่งออก ณ ราคาคงที่

สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 มีค่าเฉลี่ย 122.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่มีค่า 121.4

การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 5) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 มีค่า 140.6 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (140.9) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (134.9) ซึ่งเครื่องชี้ที่ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี2553 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์และรถยนต์พาณิชย์ในประเทศ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่

การลงทุนภาคเอกชน

การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาจากปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศ การนำเค้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ ณราคาคงที่ พบว่า ไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมมีค่า 205.0 ทรงตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา (205.0) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (190.2)

หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 3 ของปี2554 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2553

ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2553

ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ (ณ ขณะจัดทำรายงานฉบับนี้ ข้อมูลล่าสุดมีถึงเดือนสิงหาคม 2554 เท่านั้น)

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในประเทศ ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศ

ภาวะราคาสินค้า

จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภคมีค่าเท่ากับ 112.9ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (112.3) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (108.5) การที่ราคาผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มตามราคาข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์สดและแปรรูป ผักและผลไม้ รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปา

ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 มีค่าเท่ากับ 138.2 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (138.8) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (130.9) โดยราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2553 สำหรับราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ส่วนราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553

แรงงานในภาคอุตสาหกรรม

จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่สามของปี 2554 (ข้อมูลเดือนสิงหาคม) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 39.761 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 39.437 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.19 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.270 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.68)สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมไตรมาสที่สามของปี 2554 มีจำนวน 5.414 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 13.73 ของผู้มีงานทำทั้งหมด

การค้าต่างประเทศ

สถานการณ์การค้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 3 การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 127,365.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ64,599.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 62,766.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 นั้นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.18 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.44ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ดุลการค้าเกินดุล 1,833.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.00 สำหรับมูลค่าการนำเข้านั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ32.68

การส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่าการส่งออกทั้ง 3 เดือน(กรกฎาคม-กันยายน) ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีมูลค่าการส่งออกอยู่ในระดับสูงกว่า 20,000 ล้านบาทโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมมีมูลค่าการส่งออกถึง 21,567.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 23.73เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับเดือนกรกฎาคมมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.68 และเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออก 21,521.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 21,511.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ

โครงสร้างการส่งออก

การส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 47,476.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 73.49) สินค้าเกษตรกรรม 8,067.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 12.53)สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 4,715.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.30) และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง4,310.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.67)

เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จะพบว่าการส่งออกของสินค้าในทุกหมวดมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยสินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.50 สินค้าเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.74 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.92 และสินค้าแร่และเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ43.26

สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 14,206.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.91) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 14,055.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.83) ยางพารา10,199.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 5.68) อัญมณีและเครื่องประดับ 9,875.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(คิดเป็นร้อยละ 5.50) น้ำมันสำเร็จรูป 7,092.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.95)เม็ดพลาสติก6,765.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.77) แผงวงจรไฟฟ้า 6,538.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.64) ผลิตภัณฑ์ยางมีมูลค่าการส่งออก 6,255.91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.48) เคมีภัณฑ์6,237.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.47) และข้าว 5,175.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ2.88) โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 86,403.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ48.11 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด

ตลาดส่งออก

การส่งออกไปยังตลาดหลักของไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ซึ่งได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 55.98 ของการส่งออกทั้งหมด โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกในตลาดสำคัญมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในทุกตลาดโดยมูลค่าการส่งออกในตลาดกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.73 ตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ22.53 ตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.97 และตลาดสหรัฐอเมริกามีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.21

โครงสร้างการนำเข้า

การนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 มีการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมากที่สุด โดยมีมูลค่าการนำเข้า 27,257.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 43.43) รองลงมาเป็นการนำเข้าสินค้าทุน โดยมีมูลค่า 15,241.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 24.28) สินค้าเชื้อเพลิง 12,254.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(คิดเป็นร้อยละ 19.52) สินค้าอุปโภคบริโภค 5,565.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.87) สินค้าหมวดยานพาหนะ 2,353.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.75) และสินค้าอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่นๆ95.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.15) ตามลำดับ

โดยมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่าการนำเข้าสินค้าในทุกหมวดหลักมีมูลค่าการนำเข้าขยายตัว สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ64.63 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.43 สินค้าอาวุธ ยุทธปัจจัย และสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.59 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.00 สินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.66 และหมวดสินค้ายานพาหนะ และอุปกรณ์ขนส่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.49

แหล่งนำเข้า

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น อาเซียน (9 ประเทศ) สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกามีสัดส่วนนำเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 50.98 เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากทุกแหล่งนำเข้าหลัก โดยการนำเข้าสินค้าจากกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.56 สหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.70 สหรัฐอเมริกามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.38 และญี่ปุ่นมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.14

การลงทุนจากต่างประเทศ

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมมีมูลค่ารวม 40,306.78 ล้านบาท ซึ่งการลงทุนโดยตรงสุทธิในเดือนกรกฎาคม 22,415.14 ล้านบาท สำหรับเดือนสิงหาคมมีมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ17,891.64 ล้านบาท เมื่อพิจารณาการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมตลอดทั้ง 2 เดือน ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554นั้นพบว่ามูลค่าการลงทุนในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 7,991.44 ล้านบาท และในเดือนสิงหาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 19,142.79 ล้านบาท โดยการลงทุนในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมของสาขาอุตสาหกรรมมีมูลค่าการลงทุนลดลงร้อยละ 1.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

การลงทุนจากต่างประเทศ

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมมีมูลค่ารวม 40,306.78 ล้านบาท ซึ่งการลงทุนโดยตรงสุทธิในเดือนกรกฎาคม 22,415.14 ล้านบาท สำหรับเดือนสิงหาคมมีมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ17,891.64 ล้านบาท เมื่อพิจารณาการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมตลอดทั้ง 2 เดือน ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554นั้นพบว่ามูลค่าการลงทุนในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 7,991.44 ล้านบาท และในเดือนสิงหาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 19,142.79 ล้านบาท โดยการลงทุนในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมของสาขาอุตสาหกรรมมีมูลค่าการลงทุนลดลงร้อยละ 1.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุดเป็นเงินลงทุน 27,134.23 ล้านบาท โดยการผลิตยานยนต์ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วงซึ่งมีเงินลงทุนมากที่สุดเป็นจำนวน 7,727.39 ล้านบาท รองลงมาคือการผลิตเคมีภัณฑ์มีการลงทุนสุทธิ 3,952.21 ล้านบาท และการผลิตคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์มีเงินลงทุน 2,485.96 ล้านบาท

ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2554 คือประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีเงินลงทุนสุทธิ 12,040.83 ล้านบาท รองลงมาคือประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมีมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ 7,253.49 ล้านบาท และ 4,573.71 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) พบว่าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 321 โครงการ ซึ่งลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนโครงการ 389 โครงการ โดยในไตรมาสที่ 3 นี้การลงทุนในกิจการต่างๆ มีมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 20,700 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 86.05 โดยโครงการลงทุนนั้นประกอบด้วยโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ100% จำนวน 113 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 7,700 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 70 โครงการ เป็นเงินลงทุน 4,200 ล้านบาท และโครงการที่ลงทุนจากไทย 100% จำนวน 138โครงการ เป็นเงินลงทุน 8,800 ล้านบาท

เมื่อพิจารณาตามหมวดของการเข้ามาลงทุนในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน 6,700 ล้านบาทรองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่งมีเงินลงทุน 4,500 ล้านบาท และหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตรมีเงินลงทุน 3,400 ล้านบาท

สำหรับแหล่งทุนในเดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นเดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นยังคงมีมูลค่าการลงทุนมากที่สุด โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 34 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 3,164 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสิงคโปร์ที่มีจำนวน 5 โครงการ มีเงินลงทุน 1,394 ล้านบาทประเทศไต้หวันได้รับการอนุมัติลงทุนจำนวน 4 โครงการ เป็นเงินลงทุน 159 ล้านบาท และประเทศจีน 3โครงการ โดยคิดเป็นเงินลงทุน 135 ล้านบาท

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ