สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม — กันยายน) 2554 (อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 30, 2011 11:15 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน 2554 โดยดูจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่า การผลิตปรับตัวลดลง ร้อยละ 1.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวลดลงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ HDDเนื่องจากการผลิตปรับลดลงสะสมตั้งแต่เดือนม.ค.-เม.ย.54 อันมีสาเหตุจากการลดการผลิตให้สมดุลกับสินค้าคงคลังที่ได้เร่งผลิตในช่วงก่อนหน้าที่เริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากปี 2552

ขณะที่ ในช่วงไตรมาสที่ 3/2554 ระหว่างช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2554 การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ แต่ปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก มีสาเหตุมาจากการผลิต IC และ เซมิคอนดักเตอร์ ที่ปรับตัวลดลงมีผลมาจากการผลิตสารตั้งต้นและวัตถุดิบในญี่ปุ่นได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติเมื่อ 11 มี.ค.2554 เป็นหลัก ทำให้การผลิตชะลอลง

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน 2554 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสำคัญทุกตัว ยกเว้นพัดลมภาวะการผลิตค่อนข้างทรงตัว นอกจากนี้ภาวะการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากภาวะการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า เช่น อียู และออสเตรเลีย เป็นต้น มีภาวะหดตัวทางเศรษฐกิจในบางประเทศที่ส่วนใหญ่จากความเชื่อมั่นธุรกิจในประเทศนั้นๆ แต่การผลิตเพื่อส่งออกในอาเซียนกลับมีแนวโน้มค่อนข้างดี โดยสินค้าที่มีการพึ่งพิงการส่งออกค่อนข้างมาก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศตู้เย็น เป็นต้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นจะเป็นอุตสาหกรรมที่ได้ผลกระทบต่อการลด เลิกใช้สาร R22 ซึ่งเป็นสารทำลายชั้นบรรยากาศตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล(2) ซึ่งเหตุนี้ก็จะมีผลต่ออุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวหากต้องการส่งออกไปยังประเทศชั้นนำอย่างอียูโดยเฉพาะ SMEs ไทย

ส่วนในช่วงไตรมาสที่ 3/2554 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2554 การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเริ่มทรงตัวปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2554 เป็นผลจากการชะลอลงของผลิตภัณฑ์คอมเพรสเซอร์ และพัดลม ขณะที่ การปรับตัวในแต่ละไตรมาสของปี 2554 มีลักษณะปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงจากไตรมาสก่อนเกือบทุกสินค้า ยกเว้นสินค้าขนาดเล็กประเภทหม้อหุงข้าวและกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าที่มีการปรับเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอลมากขึ้นเมื่อ 2-3 ปีก่อน ซึ่งมีราคาปรับลดลงบ้างเนื่องจากคู่แข่งมีมากขึ้นและมีลักษณะการใช้ได้หลากหลายมากขึ้นด้วย เช่น หม้อหุงข้าวพร้อมนึ่งด้วย จึงทำให้การผลิตเพื่อขายในประเทศมากขึ้นจากฐานปริมาณการผลิตที่ไม่สูงมากนักในไตรมาสก่อนๆ

หมายเหตุ(2) http://www.manager.co.th/SMEs ,“สภาอุตฯออกโรงเตือนSMEsเลิก R22 ลดการทำลายชั้นบรรยากาศ”, วันที่ 19 ตุลาคม 2554.

การผลิตอิเล็กทรอนิกส์ช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน 2554 ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการปรับตัวลดลงของการผลิต HDD แต่ที่ยังคงมีลักษณะหดตัวในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับคำสั่งซื้อในช่วงเดียวกันของปีก่อนมีฐานค่อนข้างสูงจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เร่งผลิตมากขึ้นในช่วงปี 2553 ส่งผลต่อเนื่องที่ทำให้ปริมาณสินค้าคงคลังสะสมมากขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายปี 2554 ยังคงชะลอดูคำสั่งซื้อที่จะเข้ามาในช่วงปลายปีที่อาจยังไม่แน่นอนจากภาวะตลาดในต่างประเทศเริ่มตึงตัวอีกครั้งจากความกังวลและไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ มีการผลิตที่เน้นกระจายความเสี่ยงไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เช่นมาเลเซีย จากที่ผู้ประกอบการข้ามชาติมีความไม่มั่นใจในเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเมืองของไทย

ส่วนการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3/2554 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2554 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการผลิต HDD ในเดือนสิงหาคม 2554 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงมาก ขณะที่ การผลิต IC มีอัตราหดตัวในไตรมาสที่ 3/2554 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหันมานำเข้าจากประเทศในอาเซียน และจีน เนื่องจากการขาดแคลนสารตั้งต้นผลิตที่นำมาจากประเทศญี่ปุ่น

มูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน 2554 มีมูลค่า 43,162.68ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.02% เป็นผลจากอัตราการขยายตัวของตลาดส่งออกหลักยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.01ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา จากการปรับตัวลดลงของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะส่วนประกอบอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ปรับลดลงในตลาดดังกล่าวนี้ แล้ว 8.39%สอดคล้องกับตลาดส่งออกหลักอื่นๆของสินค้านี้ เช่น จีน อียู เป็นต้น ที่ปรับตัวลดลงเช่นกันแต่ไม่มากนักสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่มีความต้องการกระจุกตัวกับประเภท Smart Phones มากขึ้น ทำให้อุปกรณ์ประเภทเก็บข้อมูล HDD ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์พกพาค่อนข้างทรงตัว ประกอบกับสินค้าประเภทนี้เป็นความต้องการในการทำงานจริง มิใช่ เป็น Life Style ที่เปลี่ยนแปลงไปของกลุ่มผู้บริโภคเท่านั้น จึงมีความต้องการเมื่อมีความจำเป็น เทคโนโลยีก็พัฒนาทางกายภาพมากกว่า เช่น เข้าถึงข้อมูลเร็ว มีความจุข้อมูลมากขึ้น และ ขนาดเล็กลง เป็นส่วนใหญ่

มูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3/2554 มีมูลค่า 15,495.54 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอัตราชะลอลง ร้อยละ 7.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยสู้ดีนักทำให้ความต้องการสินค้าตลาดส่งออก ไม่ว่าเป็นตลาดสหรัฐอเมริกาและอียูยังคงผันผวนและมีแนวโน้มชะลอลง ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ10.68 ในไตรมาสที่ 3/2554 จากร้อยละ 16.41 ในไตรมาสที่ 2/2554 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและ การปรับตัวเพิ่มขึ้นอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.98 ในไตรมาสที่ 3/2554 จากร้อยละ 6.51ในไตรมาสที่ 2/2554 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน 2554 มีมูลค่า 17,462.88 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.98 ตลาดหลักของการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาดโดยตลาดหลักที่มีการขยายตัวและมีสัดส่วนการส่งออกค่อนข้างสูง ได้แก่ อาเซียน มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 9เดือนที่ผ่านมา 13.51% และสัดส่วนการส่งออก 18.18% ตลาดดังกล่าวเป็นตลาดส่งออกหลักของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้าฯ ตู้เย็นและมอเตอร์ขนาดเล็ก เป็นที่น่าสังเกตว่าการส่งออกส่วนประกอบและชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการพึ่งพิงตลาดอาเซียน จีนเป็นส่วนใหญ่ เพื่อประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปและใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีจากการเปิดการค้าเสรี ASEAN

มูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาสที่ 3/2554 มีมูลค่า 6,180.21 ล้านเหรียญสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอัตราชะลอลง ร้อยละ 10.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงมีอัตราการขยายตัวทุกตลาดยกเว้นตลาดสหรัฐอเมริกา เนื่องมาจากมีสินค้าหลักที่ส่งออกขายไปยังสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลงมาก สินค้าดังกล่าวได้แก่ เครื่องคอมเพรสเซอร์ มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการการลด เลิกใช้สาร R22 ซึ่งเป็นสารทำลายชั้นบรรยากาศตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล(3) นอกจากนี้ การส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงตลาดเดิม เช่น เม็กซิโก เป็นต้น เพื่อประกอบและส่งกลับเข้าไปยังอเมริกาประกอบกับสภาพอากาศสหรัฐอเมริกาที่มีความปรวนแปรค่อนข้างมากทำให้ความต้องการสินค้าดังกล่าวลดลงมา ส่วนสินค้าบางรายการที่เคยส่งออกเป็นอันดับต้นๆของการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ใน 4-5 ปีที่ผ่านมาได้รับ

หมายเหตุ(3) http://www.manager.co.th/SMEs ,“สภาอุตฯออกโรงเตือนSMEsเลิก R22 ลดการทำลายชั้นบรรยากาศ”, วันที่ 19 ตุลาคม 2554.

ผลกระทบค่อนข้างมาก สินค้าดังกล่าว ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ เนื่องจากการเปลี่ยนเทคโนโลยีและไม่มีส่วนประกอบในอาเซียน จึงทำให้สูญเสียโอกาสการส่งออกได้เท่าเดิม แต่กระนั้นก็ยังคงปรับตัวขึ้นบ้างเล็กน้อย

มูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาสที่ 3/2554 มีมูลค่า 6,180.21 ล้านเหรียญสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอัตราชะลอลง ร้อยละ 10.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงมีอัตราการขยายตัวทุกตลาดยกเว้นตลาดสหรัฐอเมริกา เนื่องมาจากมีสินค้าหลักที่ส่งออกขายไปยังสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลงมาก สินค้าดังกล่าวได้แก่ เครื่องคอมเพรสเซอร์ มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการการลด เลิกใช้สาร R22 ซึ่งเป็นสารทำลายชั้นบรรยากาศตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล(4) นอกจากนี้ การส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงตลาดเดิม เช่น เม็กซิโก เป็นต้น เพื่อประกอบและส่งกลับเข้าไปยังอเมริกาประกอบกับสภาพอากาศสหรัฐอเมริกาที่มีความปรวนแปรค่อนข้างมากทำให้ความต้องการสินค้าดังกล่าวลดลงมา ส่วนสินค้าบางรายการที่เคยส่งออกเป็นอันดับต้นๆของการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ใน 4-5 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก สินค้าดังกล่าว ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ เนื่องจากการเปลี่ยนเทคโนโลยีและไม่มีส่วนประกอบในอาเซียน จึงทำให้สูญเสียโอกาสการส่งออกได้เท่าเดิม แต่กระนั้นก็ยังคงปรับตัวขึ้นบ้างเล็กน้อย

หมายเหตุ(4) http://www.manager.co.th/SMEs ,“สภาอุตฯออกโรงเตือนSMEsเลิก R22 ลดการทำลายชั้นบรรยากาศ”, วันที่ 19 ตุลาคม 2554.

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน 2554 มีมูลค่า 25,699.80 ล้านเหรียญสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.21 มีผลมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี(5) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.35 ขณะที่อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ยังคงทรงตัว ร้อยละ 0.36 เนื่องจากตลาดส่งออกหลักปรับตัวลดลงเกือบทั้งหมดยกเว้นตลาดอื่นๆ ที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเช่น ตลาดฮ่องกง เม็กซิโก อินเดีย และตะวันออกกลาง เป็นต้น ทำให้การส่งออกสินค้าชนิดนี้ยังคงไม่ปรับตัวลดลง นอกจากการปรับตัวลดลงของตลาดส่งออกหลักแล้วยังมีผลมาจากความนิยมในการใช้ Flash Driveหรือ Solid State Drive ที่ยังคงมีราคาสูงอยู่ และใช้ได้กับอุปกรณ์รุ่นใหม่มากขึ้นด้วย

หมายเหตุ(5) วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี HS Code 85429000, 85489090, 85423900, 85423300, 85423200, 85423100

มูลค่าการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 34,593.47 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่มีการนำเข้าจากตลาดจีน อาเซียน และญี่ปุ่น เป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการนำเข้าจากทั้ง 3 ตลาด ประมาณ 69.92%สินค้าที่นำเข้าจากทั้ง 3 ตลาดที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง ได้แก่ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (IntegratedCircuit) ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้าฯเป็นหลัก

มูลค่าการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 14,060.48 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่มีการนำเข้าจากตลาดจีนอาเซียน และญี่ปุ่น เป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการนำเข้าจากทั้ง 3 ตลาด ประมาณ 75.06% สินค้าที่นำเข้าจากทั้ง 3 ตลาดที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้าฯ ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ สายไฟ ชุดสายไฟ เป็นหลัก

มูลค่าการนำเข้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 20,532.99 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่มีการนำเข้าจากตลาดจีนอาเซียน และญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการนำเข้าจากทั้ง 3 ตลาด ประมาณ 66.40% สินค้าที่นำเข้าจากทั้ง3 ตลาดที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง ได้แก่ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก

ประมาณการดัชนีการส่งสินค้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 คาดว่าจะจะทรงตัวร้อยละ 0.97ส่วนประมาณการดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ถึงร้อยละ 18.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเนื่องมาจากในเดือนตุลาคม 2554 เกิดมหาอุทกภัย ใน 7 นิคมอุตสาหกรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นสถานประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนและส่วนประกอบโดยที่นอกจากสินค้าได้หยุดสายการผลิตแล้วยังส่งผลกระทบห่วงโซ่อุปทานไม่สามารถผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปได้ เมื่อไม่มีชิ้นส่วนและส่วนประกอบส่งให้อีกด้วย ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่มีผลกระทบมากได้แก่ อุตสาหกรรม HDD ซึ่งเป็นผู้ผลิตหลักในอาเซียน ซึ่งได้ประมาณการว่า ในไตรมาสที่ 4/2554 HDD จะปรับตัวลดลงร้อยละ 31 — 37 และ IC จะปรับตัวลดลงร้อยละ 10 - 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อย่างไรก็ตาม สำหรับการผลิตของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมีแนวทางรับมือในระยะสั้นหลายประการ เช่น ได้ย้ายสถานที่และเครื่องจักรทันการณ์เพื่อไปประกอบการสำนักงานหรือโรงงานสาขาการจำหน่ายสินค้าคงคลังที่ได้มีสะสมไว้และหยุดการผลิตเลย หรือดำเนินการโดยประเทศในอาเซียนที่เป็นบริษัทข้ามชาติ การดำเนินการระยะสั้นดังกล่าวเพื่อรอการดำเนินการบูรณะนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ 16 ธันวาคม 2554 และสามารถดำเนินการเป็นปกติได้ประมาณปลายไตรมาสที่ 1/2555 หรือในกรณีเลวร้ายที่สุด คือ กลางปี 2555 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ความกังวลต่อเศรษฐกิจของประเทศกับคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา และอียู ที่อาจจะชะลอตัวลง และอาจส่งผลถึงคำสั่งซื้อในช่วงถัดไปที่อาจจะลดลงจากอัตราการเจริญเติบโตของประเทศคู่ค้าปรับตัวลดลงและการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะที่ประเทศคู่ค้าเผชิญอยู่ในขณะนี้ ทำให้การส่งออกไปยังประเทศดังกล่าวยังคงมีความไม่แน่นอนสูงที่จะส่งออกได้มากเหมือนช่วงก่อนวิกฤต นอกจากนี้ ความผันผวนของปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคของไทยยังคงเป็นปัจจัยที่กระทบกับภาคอุตสาหกรรมโดยรวม เช่น ต้นทุนจากวัตถุดิบ น้ำมันที่ปรับราคาสูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเช่นกันอาจส่งผลต่อการผลิตได้ และความกังวลต่อความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐที่อาจส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs ที่อาจไม่สามารถปรับตัวได้ทันการณ์

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ