สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 15, 2013 14:47 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ระดับ 173.88 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.1 ปัจจัยสำคัญของการขยายตัวเป็นผลของฐานต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งผลิตสำคัญของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ผู้ผลิตประสบภาวะน้ำท่วมและหยุดผลิตเป็นเวลากว่า 3 เดือน (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2554) ส่งผลกระทบโดยตรงกับอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม และที่ไม่ถูกน้ำท่วมแต่ขาดแคลนชิ้นส่วนวัตถุดิบในการผลิต และทำให้ดัชนีอุตสาหรรมในช่วงดังกล่าวลดลงกว่าร้อยละ 30 สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 21.71 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งขยายตัวร้อยละ 22.64

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(1) หรือ MPI เดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ระดับ173.88 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.1 ปัจจัยสำคัญของการขยายตัวเป็นผลของฐานต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งผลิตสำคัญของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ผู้ผลิตประสบภาวะน้ำท่วมและหยุดผลิตเป็นเวลากว่า 3 เดือน (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2554) ส่งผลกระทบโดยตรงกับอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม และที่ไม่ถูกน้ำท่วมแต่ขาดแคลนชิ้นส่วนวัตถุดิบในการผลิต และทำให้ดัชนีอุตสาหรรมในช่วงดังกล่าวลดลงกว่าร้อยละ 30

สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต(2) เดือนตุลาคม2555 อยู่ที่ร้อยละ 67.93 จากร้อยละ 64.16 ในเดือนกันยายน2555 และร้อยละ 46.35 ในเดือนตุลาคม 2554

เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 21.71 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งขยายตัวร้อยละ 22.64

หมายเหตุ

(1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิตภัณฑ์

(2) อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(ตุลาคม 2555)

อุตสาหกรรมอาหาร การผลิต (ไม่รวมน้ำ ตาล) เดือนตุลาคม 2555 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.3 กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 และ46.7 ตามลำดับ เป็นผลจากการผลิตเพื่อชดเชยสต็อกที่ลดลงในช่วงเดือนก่อน กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก เช่น ผลิตภัณฑ์ไก่ มีปริมาณการผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 3.5 เป็นผลจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับราคาสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนและการคำนวณราคาต้องปรับตาม

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เส้นใย ผ้ายางยืดเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ และผ้าผืน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.43, 30.84, 12.10 และ 4.46ตามลำดับ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.68 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.20 เหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.23 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก(FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนตุลาคม 2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กทุกตัวมีดัชนีราคาเหล็กที่ลดลง เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ในขณะที่ประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตที่สำคัญของโลกมีการผลิตส่วนเกินเพิ่มมากขึ้นแต่ความต้องการใช้ในประเทศกลับลดลงฃ

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิตจำนวน252,165 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2554 ซึ่งมีการผลิต 49,439 คัน ร้อยละ 410.05 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2555 ร้อยละ10.36 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่งรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์สำหรับการส่งออก มีจำนวน 98,284 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2554 ซึ่งมีการส่งออก 54,691 คันร้อยละ 79.71 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิต เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.67 โดยมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นการปรับลดลงในกลุ่ม HDD เนื่องจากบริษัทแม่ยังไม่เพิ่มยอดผลิตให้กับฐานการผลิตในไทยให้กลับมาเท่าเดิมก่อนเกิดปัญหาอุทกภัย นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา ส่งผลให้ความต้องการลดลงทั้งนี้เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.41 แต่สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.72

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ