รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 22, 2013 15:34 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนมีนาคม 2556
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2556 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ร้อยละ14.4 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องประดับเพชรพลอย
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนมีนาคม 2556 อยู่ที่ระดับร้อยละ 70.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 62.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนเมษายน 2556

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  • การผลิตและจำหน่ายกลุ่มสิ่งทอ คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวจากคำสั่งซื้อทั้งจากตลาดเอเซียและอาเซียนที่ขยายตัว โดยเฉพาะจากจีน เกาหลีใต้ บังคลาเทศ และ อินโดนีเซีย เพื่อนำเข้าไปผลิตและส่งออกไปตลาดอื่น ๆ
  • การผลิตและจำ หน่ายกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า จะชะลอตัวต่อเนื่องจากการที่ผู้บริโภคภายในประเทศมีกำลังซื้อลดลง จากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น นโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจของตลาดคู่ค้าหลักในสหภาพยุโรปและการแข็งค่าของเงินบาท อาจส่งผลให้คำสั่งซื้อจากตลาดกลุ่มนี้ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

  • มาตรการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐ และการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของภาคเอกชน ส่งผลให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์จะปรับตัว
สูงขึ้นตาม
  • สำหรับแนวโน้มการส่งออก คาดว่าจะปรับตัวลดลง ถึงแม้ว่า อุปสงค์ต่อปูนซีเมนต์ในตลาดหลักของไทย รวมทั้งบังคลาเทศและโตโก จะยังคงอยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่องก็ตาม เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้มีการสำรองปูนซีเมนต์ไว้ใช้ในประเทศมากขึ้น
ดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2556

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ ระดับ 180.1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ ผ่านมา (179.2) ร้อยละ 0.5 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 (175.0) ร้อยละ 2.9 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ น้ำตาล เครื่องปรับอากาศ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์กระเบื้องต่างๆ ในบ้านเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม เส้นใยสิ่งทอ เครื่องประดับเพชรพลอย เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 66.8 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 67.0) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 (ร้อยละ 62.7)อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ โทรทัศน์สี อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหารสัตว์สำเร็จรูป เบียร์ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์สี Hard Disk Drive เส้นใยสิ่งทอ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2556

ภาพรวมภาคอุตสาหกรรมปี 2556 นั้น คาดว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 — 4.5

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ก.พ. 56 = 169.9

มี.ค. 56 = 194.3

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ยานยนต์
  • เบียร์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ก.พ. 56 = 62.9

มี.ค. 56 = 70.4

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ยานยนต์
  • Hard Disk Drive
  • ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมีนาคม 2556 มีค่า 194.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2556(169.9) ร้อยละ 14.4 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมีนาคม 2555 (193.3) ร้อยละ 0.5

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ เบียร์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เครื่องประดับเพชรพลอย เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนมีนาคม 2556 อยู่ที่ระดับร้อยละ 70.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2556 (ร้อยละ 62.9) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมีนาคม 2555 (ร้อยละ67.3)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์สี Hard Disk Drive เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2556

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2556 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 350 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 345 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 1.45 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 33,903.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งมีการลงทุน18,217.90 ล้านบาท ร้อยละ 86.10 และมีการจ้างงานจำนวน 8,988 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 6,869 คน ร้อยละ 30.85

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 367 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 4.63 แต่มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งมีการลงทุน 7,238.93 ล้านบาท ร้อยละ 368.35 มีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2555 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,023 คน ร้อยละ 27.98

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2556 คืออุตสาหกรรมขุดตักดินหรือทราย สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 40 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสมเสร็จ พื้น เสา และท่อคอนกรีต จำนวน 26
โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2556 คือ อุตสาหกรรม ผลิตส่งและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า จำนวนเงินทุน 12,384.45 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ จำนวนเงินทุน 5,300 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมีนาคม 2556 คือ อุตสาหกรรมผลิตรองเท้า หรือชิ้นส่วนรองเท้า จำนวนคนงาน 659 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม กระเป๋า และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้จากผ้า จำนวนคนงาน 373 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2556 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 70 ราย มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.73 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 2,318.61 ล้านบาท มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 846.79 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงาน จำนวน 4,587 คน มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 912 คนภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 106 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 33.96 แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนมีนาคม 2555 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 697.76 ล้านบาท มีการเลิกจ้างมากกว่าเดือนมีนาคม 2555 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,123 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2556 คือ อุตสาหกรรมซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวน 6 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดตักดินหรือทรายสำหรับใช้ในการก่อสร้าง และ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป ทั้ง 2 อุตสาหกรรม จำนวน 5 โรงงาน เท่ากัน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2556 คืออุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสมเสร็จ พื้น เสา และท่อคอนกรีต เงินทุน 815.36 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมหมัก คาร์บอไนซ์ สาง หวี รีด ปั่น อบ ควบ บิด เกลียว กรอ ฟอก ย้อมสีเส้นใย เงินทุน 470.87 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำ นวนคนงานสูงสุดในเดือนมีนาคม 2556คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ จำนวนคนงาน 2,339 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม กระเป๋า และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้จากผ้า จำนวนคนงาน 898 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม —มีนาคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 610 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 443 โครงการ ร้อยละ 37.7 และมีเงินลงทุน 275,000 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 221,200 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.32

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — มีนาคม 2556
          การร่วมทุน                     จำนวน(โครงการ)          มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%               259                     113,000
          2.โครงการต่างชาติ 100%              203                      70,400
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ        148                      91,600
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — มีนาคม 2556 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 90,700 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเกษตรกรรม และผลิตผลจากการเกษตร มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 73,000

ล้านบาท

1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารในเดือนเมษายน คาดว่า จะชะลอลงจากเดือนก่อน เป็นผลจากการจำนวนวันทำงานที่น้อยกว่า จากการหยุดงานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่วนการจำหน่ายในประเทศ คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น จากการที่ประชาชนเพิ่มการจับจ่ายใช้สอย และระดับราคาน้ำมันมีแนวโน้มชะลอตัวลง

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมีนาคม 2556 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8 แต่ปรับลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.0 แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.9 ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น แต่หากพิจารณาสินค้าสำคัญโดยเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เช่น กุ้ง มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 24.5 เป็นผลจากการเกิดโรคระบาดในแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้ง ส่งผลให้ต้องพักบ่อเพื่อกักกันโรค ซึ่งทำให้มีวัตถุดิบป้อนสู่โรงงานลดลง กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ แบ่งเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 24.9 เนื่องจากสต็อกมีอยู่ในปริมาณมาก ส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้า คือ น้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 64.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ราคาวัตถุดิบนำเข้าโดยเปรียบเทียบลดลง และมีการนำเข้ามาผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนอาหารไก่ การผลิตเพิ่มขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการเลี้ยงไก่

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนมีนาคม 2556 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 15.4 และ 0.2 ตามลำดับ

2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมีนาคม 2556 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อน ร้อยละ 9.4 และ 10.3 ตามลำดับ เป็นผลจากการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพิ่มขึ้น แต่หากไม่รวมผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มูลค่าการส่งออกจะลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.2 เนื่องจากระดับราคาสินค้าในตลาดโลกปรับตัวลดลง ประกอบกับคำสั่งซื้อที่ปรับตัวลดลงจากความกังวลในวิกฤตหนี้ของสหภาพยุโรปที่เริ่มส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ

3. แนวโน้ม

การผลิตและส่งออกในเดือนเมษายน คาดว่า จะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเนื่องจากจำนวนวันทำงานที่น้อยกว่า จากการหยุดงานในช่วงเทศกาลสงกรานต์สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากการที่ประชาชนเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยรองรับช่วงปิดเทอมและเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับแนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับชะลอตัวลง

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“การผลิตและจำหน่ายกลุ่มสิ่งทอ คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวในขณะที่กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า จะชะลอตัวต่อเนื่อง...”

1. การผลิต

การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์สำคัญ ๆ ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน ผ้าขนหนูและเครื่องนอน และสิ่งทออื่น ๆ (ยางยืด) ร้อยละ 9.0, 8.5, 2.3 และ 2.6 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอและสิ่งทออื่น ๆ (ยางยืด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 และ 6.2 ตามลำดับ เนื่องจากฐานการผลิตที่ต่ำในปีที่ผ่านมาประกอบกับมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดเอเซียและอาเซียน โดยเฉพาะจากจีน เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และ เวียดนาม ส่งผลให้การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพิ่มสูงขึ้น

การผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนการผลิตเสื้อผ้าสำ เร็จรูปจากผ้าถักและผ้าทอ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.8 ในสัดส่วนเท่ากัน ส่วนใหญ่เป็นความต้องการภายในประเทศ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำ เร็จรูปจากผ้าถักเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.5 ในขณะที่ผ้าทอลดลงร้อยละ 6.1 จากคำสั่งซื้อของกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักลดลง

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอในประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เป็นผลจากความต้องการเส้นใยสังเคราะห์เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเพิ่มขึ้น สำหรับกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักมีการจำหน่ายลดลงตามสภาพภูมิอากาศ โดยเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอเริ่มมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 4.0 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ลดลงร้อยละ 11.0ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในภาพรวมลดลง แม้ว่ามูลค่ากลุ่มสิ่งทอจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียนแต่อัตราในที่น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ยังคงมีผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวสูง คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าไหม แม้มูลค่าการส่งออกไม่มากนัก แต่กลับมีการขยายตัวถึงร้อยละ 54.7 ในตลาดเยอรมนี ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา

3. แนวโน้ม

การผลิตและจำหน่ายกลุ่มสิ่งทอ คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวจากคำสั่งซื้อทั้งจากตลาดเอเซียและอาเซียนที่ขยายตัว โดยเฉพาะจากจีน เกาหลีใต้ บังคลาเทศ และ อินโดนีเซีย เพื่อนำเข้าไปผลิตและส่งออกไปตลาดอื่น ๆ

การผลิตและจำหน่ายกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า จะชะลอตัวต่อเนื่องจากการที่ผู้บริโภคภายในประเทศมีกำลังซื้อลดลง จากค่าครองชีพที่ เพิ่มสูงขึ้น นโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจของตลาดคู่ค้าหลักในสหภาพยุโรปและการแข็งค่าของเงินบาท อาจส่งผลให้คำสั่งซื้อจากตลาดกลุ่มนี้ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

กระทรวงพาณิชย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศผลการตัดสินเบื้องต้นในการทบทวนมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดในสินค้าท่อเหล็กชนิดมีตะเข็บที่นำ เข้าจากไทย โดยในเบื้องต้นได้มีการคำนวณ ส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดจากบริษัทส่งออกไทย พบว่าในช่วงระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554-28 กุมภาพันธ์ 2555 บมจ.สหไทยสตีลไพพ์ มีส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด 0.00%ในขณะที่ บมจ.แปซิฟิกไพพ์ ไม่มีการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังสหรัฐอเมริกาเลย ซึ่งคาดว่ากระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ จะเสร็จสิ้นการทบทวนมาตรการดังกล่าวภายในเดือนสิงหาคม 2556 แต่ในระหว่างนี้อัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาดของทั้งสองบริษัทยังคงมีอยู่

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมีนาคม 2556ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 147.56 มี อัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.58 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.50 โดย ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.13 เนื่องจากผู้ผลิตใช้กลยุทธ์การลดราคาสินค้าเพื่อแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้คำสั่งซื้อประเทศเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการผลิตเหล็กแผ่นชนิดดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.90 และ ร้อยละ 4.86 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่าผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.42 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.94 และลวดเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.38 ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง ร้อยละ 0.07 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตลดลง ร้อยละ 0.72 แต่เหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.34

2.ราคาเหล็กจากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก(FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมีนาคม 2556 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 118.02 เป็น 120.93 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.47 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 125.23 เป็น 127.10 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.49 เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 121.59 เป็น 122.34 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.62 เหล็กแท่งเล็ก Billet เพิ่มขึ้นจาก 124.02 เป็น 124.70 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.55 แต่เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 119.79 เป็น 119.17 ลดลงเพียง ร้อยละ 0.52

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนเมษายน 2556 เทียบกับเดือนก่อนคาดว่าการผลิตทั้งเหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาวจะทรงตัวเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์จึงมีวันหยุดมาก ทำให้หลายโรงงานหยุดการผลิตลง

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2556 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์เร่งการผลิต รถยนต์ เพื่อให้ทันต่อการส่งมอบให้ลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้าที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายรถยนต์คันแรก ประกอบกับมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม ดังนี้

1. การผลิตรถยนต์จำนวน 256,231 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งมีการผลิต190,731 คัน ร้อยละ 34.34 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ร้อยละ 11.79 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

2. การจำหน่ายรถยนต์

จำนวน 157,527 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งมีการจำหน่าย 110,928 คัน ร้อยละ 42.01 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ร้อยละ 22.69 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV

3. การส่งออกรถยนต์

จำนวน 102,742 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งมีการส่งออก 89,815 คัน ร้อยละ 14.39 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบโอเชียเนียแอฟริกา และยุโรป และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ร้อยละ 8.69 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป

4. แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน 2556 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2556 สำหรับการผลิตรถยนต์ใน เดือนเมษายน 2556 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 60 และส่งออกร้อยละ 40

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม 2556 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 โดยมีข้อมูลสภาวะ อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนมีนาคม ดังนี้

1. การผลิตรถจักรยานยนต์

จำนวน 207,348 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งมีการผลิต 243,203 คัน ร้อยละ 14.74 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิต รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ร้อยละ 11.69 โดยเป็น การปรับเพิ่มขึ้นของ การผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต

2. การจำหน่ายรถจักรยานยนต์

จำนวน 191,076 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งมีการจำหน่าย 190,947 คัน ร้อยละ 0.07 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของ รถจักรยานยนต์แบบ สปอร์ต และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ร้อยละ 7.51 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต

3. การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU)

จำนวน 28,412 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งมีการส่งออก27,592 คัน ร้อยละ 2.97 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และออสเตรเลีย และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ร้อยละ 0.27 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย เวเนซุเอลา และมาเลเซีย

4. แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน 2556 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2556 สำหรับการผลิต รถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน 2556 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 86 และส่งออกร้อยละ 14

5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ขยายตัวได้ดี เนื่องจากการลงทุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐ และการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง การส่งออกปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม แนวโน้มความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่สูงขึ้น จะยังส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ลดปริมาณการส่งออกลง เพื่อสำรองไว้ใช้ในประเทศต่อไป”

การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนมีนาคม 2556 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.34 และ 8.65 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.71 และ 13.91 ตามลำดับเมื่อพิจารณาในภาพรวม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยโครงการพัฒนาระบบขนส่ง และโครงการจัดการน้ำ รวมทั้งภาคเอกชนมีการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ในธุรกิจคอนโดมิเนียม ซึ่งเน้นพื้นที่บริเวณแนวรถไฟฟ้าและเขตหัวเมืองใหญ่เป็นหลัก เพื่อรองรับความต้องการที่อยู่อาศัยแนวสูงที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนมีนาคม 2556 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.76 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 25.55 เมื่อพิจารณาในภาพรวม การส่งออกปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากมีการผลิตปูนเม็ดเพิ่มขึ้น และมีความต้องการซื้อปูนซีเมนต์จากต่างประเทศในตลาดหลักของไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่สูงขึ้น จะยังคงส่งผลให้บริษัทผู้ผลิต ปูนซีเมนต์รายใหญ่ของไทยหลายรายลดปริมาณการส่งออกลง เพื่อสำรองไว้ใช้ในประเทศต่อไป

แนวโน้ม

มาตรการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐและการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของภาคเอกชน ส่งผลให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นคาดว่าการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์จะปรับตัวสูงขึ้นตาม

สำหรับแนวโน้มการส่งออก คาดว่าจะปรับตัวลดลง ถึงแม้ว่าอุปสงค์ต่อปูนซีเมนต์ในตลาดหลักของไทย รวมทั้งบังคลาเทศและโตโก จะยังคงอยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่องก็ตาม เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้มีการสำรองปูนซีเมนต์ไว้ใช้ในประเทศมากขึ้น

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมีนาคม มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการลดลงมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความต้องการในตลาดอิเล็กทรอนิกส์เริ่มชะลอตัว โดยเฉพาะในตลาดจีนญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน มี.ค. 2556

เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์               มูลค่า (ล้านเหรียญฯ)          %MoM           %YoY
เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ         1,665.39               26.21         -16.74
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี                   661.72               40.42         -18.39
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                 506.21               23.81          31.81
เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ             313.88               12.14         -13.65
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์             5,002.91               23.90          -6.30
ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมีนาคม 2556 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 292.99 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.83 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 9.78 ซึ่งมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลง ร้อยละ 11.14 เนื่องจากความต้องการในตลาดอิเล็กทรอนิกส์เริ่มชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงร้อยละ 1.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากกลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีการปิดสายการผลิตโทรทัศน์จอ CRT ไปเกือบหมดแล้ว แต่ในส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศมีการขยายตัวมากถึงร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

2. การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมีนาคม 2556 มีมูลค่า5,002.91 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 23.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 2,092.77 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.35 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.77 ซึ่งมาจากตลาดอาเซียนและสหภาพยุโรปที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น สำหรับตลาดสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่นอยู่ในภาวะชะลอตัวเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดได้แก่เครื่องปรับอากาศมีมูลค่าส่งออก 506.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.81 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาคือ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบมีมูลค่าส่งออก 313.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.14 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และลดลงร้อยละ 13.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,910.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.39 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนแต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 12.92 โดยตลาดหลักส่วนใหญ่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น อาเซียน ยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงที่สุดได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และส่วนประกอบมีมูลค่าส่งออก 1,665.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 26.21 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 16.74 สำหรับวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลีมีมูลค่าส่งออก 661.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 40.42 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 18.39

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนเมษายน 2556จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าจะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ