ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนสิงหาคม 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 15, 2015 15:22 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2558 ลดลงร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอุตสาหกรรมสำคัญที่ลดลงอาทิ HDD โทรทัศน์ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมรถยนต์ขยายตัวได้ดี โดยขยายตัวในระดับ 2 หลัก

อุตสาหกรรมรถยนต์ ในเดือนสิงหาคม 2558 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออก

อุตสาหกรรม HDD และ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงเนื่องจากความทประกอบกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัวต้องการคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊คในตลาดโลกลดลงาให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกลดลง

การเปิดปิดโรงงานเดือนสิงหาคม 2558 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 388 ราย ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2558 ร้อยละ 5.4 มียอดเงินลงทุนรวมลดลงร้อยละ 14.9 แต่มีจำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีจำนวน 13 โรงจำนวนเงินทุน 10,310 ล้านบาท และจำนวนคนงาน 309 คน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2557 ร้อยละ 17.9 สำหรับโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมีจำนวน 253 ราย มากกว่าเดือนกรกฎาคม 2558 ร้อยละ 10.96 และมากกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 155.56

การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือนสิงหาคม 2558 การนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม และเครื่องมือกล มีมูลค่า 1,015.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าเครื่องมือกลที่ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 18.9 อย่างไรก็ตามการนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรมขยายตัวได้ร้อยละ 3.5

เหรียญสหรัฐฯด้านการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป(ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 6,141.9 ล้าน หดตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าเคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ที่ลดลง

การใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในเดือนสิงหาคม 2558 มีปริมาณทั้งหมดจำนวน 10,075.1 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2558 ร้อยละ 2.27 (10,309.5 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง) แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันของปี 2557 (10,048.4 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง) หากแยกการใช้ไฟฟ้าตามขนาดของกิจการ พบว่า กิจการขนาดเล็กและขนาดกลางมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลงจากเดือนที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2557 ส่วนกิจการขนาดใหญ่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลงจากเดือนที่ผ่านมาและช่วงเดียวกันของปี 2557

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยเมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production lndex : MPl) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ติดลบหรือหดตัวร้อยละ 8.3 อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้การผลิตลดลง เช่น Hard Disk Drive เครื่องรับโทรทัศน์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์เหล็ก เป็นต้น อย่างไรก็ตามการผลิตรถยนต์ยังคงขยายตัวได้ดี

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศไต้หวันหดตัวร้อยละ 5.5

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 0.2

สำหรับข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประจำเดือนสิงหาคม 2558 ยังไม่มีการเผยแพร่ แต่ยังมีแนวโน้มขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยในเดือนกรกฎาคม 2558 การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ขยายตัวร้อยละ 4.2 และ 5.7 ตามลำดับ

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2558

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2558 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 388 ราย ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 410 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 5.37 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 30,692 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งมีการลงทุน 36,082 ล้านบาท ร้อยละ 14.94 แต่มีการจ้างงานจำนวน 13,355 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2558 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 10,539 คน ร้อยละ 26.7

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมากกว่าเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 329 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 17.9 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งมีการลงทุน 20,306 ล้านบาท ร้อยละ 51.15 และมีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2557 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 11,689 คน ร้อยละ 14.25

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2558 คืออุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวน 40 โรงงาน รองลงมา คืออุตสาหกรรมขุดตักดินลูกรัง สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 33 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2558 คือ อุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนเงินทุน 10,310.88 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม บรรจุสินค้าทั่วไปในภาชนะโดยไม่มีการผลิต จำนวนเงินทุน 3,066 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2558 คืออุตสาหกรรมผลิตและประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้ากล้องบันทึกภาพและเสียง จำนวนคนงาน 4,296 คน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวนคนงาน 616 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2558 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 253 ราย มากกว่าเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 228 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.96 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 11,374 ล้านบาท มากกว่าเดือนกรกฎาคม 2558 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 3,805 ล้านบาท แต่มีการเลิกจ้างงาน จำนวน 5,653 คน น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 6,615 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 99 ราย คิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 155.56 มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนสิงหาคม 2557 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,323 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนสิงหาคม 2557 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 1,940 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2558 คืออุตสาหกรรม ขุดตักดินลูกรัง สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 23 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวน 19 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2558 คืออุตสาหกรรม ผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า เงินทุน 5,687.3 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ เงินทุน 1,724.95 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2558 คือ อุตสาหกรรมทอหรือเตรียมเส้นด้ายยืนสำหรับการทอ จำนวนคนงาน 682 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ จำนวน คนงาน 526 คน
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากวัตถุดิบออกสู่ตลาดลดลง การปรับขึ้นภาษีหลังจากถูกตัด GSP และการทำประมงผิดกฎ IUU ของสหภาพยุโรป ส่งผลให้การส่งออกปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการจำหน่ายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนสิงหาคม 2558 หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.1 แบ่งเป็น

กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก หากเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อน สินค้าที่ปรับตัวลดลง เช่น กุ้ง แป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 29.5 และ 21.4 ตามลำดับ เนื่องจากวัตถุดิบลดลง

กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ แบ่งเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม การผลิตทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.7 ส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้า คือ น้ำมันถั่วเหลือง การผลิตปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.9 จากต้นทุนนำเข้าที่สูงขึ้นตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง สำหรับอาหารไก่ การผลิตค่อนข้างคงตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.4

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนสิงหาคม 2558 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.6 จากการบริโภคสับปะรดกระป๋อง ทูน่ากระป๋อง และไก่ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนสิงหาคม 2558 ปรับตัวลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.3 โดยเป็นการลดลงจากการส่งออก สินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าวโพดหวานกระป๋อง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ปลาทูน่ากระป๋อง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้ายังคงชะลอตัว และระดับราคาสินค้าในตลาดโลกปรับลดลงตามราคาน้ำมัน รวมถึงผลกระทบจากการตัดสิทธิ์ GSP ของของสหภาพยุโรปและการทำประมงผิดกฎ lUU ของสหภาพยุโรป ส่วนมูลค่าการส่งออกน้ำตาลปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.5 จากคำสั่งซื้อของกลุ่มประเทศในอาเซียนเป็นหลัก

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออก คาดว่า จะปรับชะลอตัวลงจากปีก่อน เนื่องจาก การผลิตและส่งออกตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศชะลอตัวลงจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศผู้นำเข้าที่ไม่ฟื้นตัว และการประกาศปรับระดับการค้าจากการพิจารณาการดำเนินการในเรื่องการใช้แรงงานผิดกฎหมาย และการทาประมงผิดกฎ lUU ของสหภาพยุโรป รวมถึงการเติบโตในอัตราที่ลดลงของเศรษฐกิจจีน ซึ่งจะทำให้สถานการณ์การส่งออกยังคงเติบโตได้เล็กน้อย สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะชะลอตัวลงจากผู้บริโภคที่ขาดความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายจากการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

กลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ มีการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นส่วนกลุ่มเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นในส่วนเสื้อผ้าถัก ประเภทเสื้อผ้าชุดกีฬา

1. การผลิต

ผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯผ้าผืน และยางยืด ลดลง ร้อยละ1.9 9.6 และ 14.5 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากตลาดอาเซียนลดลงประกอบกับการปิดกิจการของโรงงานทอผ้าในประเทศ นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าผ้าผืนจากต่างประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย

ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องนุ่งห่มเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าถักเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.8 ในผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายชั้นนอกทั้งบุรุษและสตรี แต่เสื้อผ้าทอลดลง ร้อยละ 4.7 เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าในตลาดญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาลดลงประกอบกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ขยายฐานการผลิตไปต่างประเทศ เพื่อใช้สิทธิ์ GSP และฐานค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่า

2. การจำหน่าย

ปริมาณการจำหน่ายในประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มสิ่งทอ มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ เส้นใยสิ่งทอ ส่วนกลุ่มเครื่องนุ่งห่มมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นในส่วนเสื้อผ้าถัก ประเภทเสื้อผ้าชุดกีฬา

การส่งออกเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มรวมลดลงร้อยละ 12.1 แบ่งเป็นกลุ่มสิ่งทอลดลง ร้อยละ 12.0 ในผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ และเส้นใยประดิษฐ์ ลดลง ร้อยละ 9.7 23.1 16.6 และ 3.8 ตามลำดับกลุ่มเครื่องนุ่งห่มลดลง ร้อยละ 12.4 ในผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูปเครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบลดลง ร้อยละ 11.51และ 21.4 ตามลำดับซึ่งเป็นผลจากการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น อาเซียน สหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป มีมูลค่าลดลง ร้อยละ 6.0 11.7 10.7 และ 24.0 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

คาดว่า กลุ่มสิ่งทอที่ผลิตสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องภายใน ประเทศจะกระเตื้องขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอ คาดว่า จะหดตัวจากผลิตภัณฑ์ผ้าผืนเนื่องจากมีการพัฒนาการผลิตกลุ่มต้นน้ำและกลางน้ำในเวียดนามทำให้ความต้องการผ้าผืนจากไทยลดลง สำหรับกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และชุดกีฬา จะขยายตัวได้ จากผู้บริโภคและผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ของประเทศไทย และมีการส่งเสริมการขายจากภาครัฐและเอกชน ประกอบกับการเตรียมการผลิตสำหรับใช้ปลายปี อาจส่งผลต่อคำสั่งซื้อที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

แหล่งข่าวจากธนาคารโลกกล่าวว่า ราคาสินแร่เหล็กในตลาดโลกจะต้องเผชิญกับราคาที่ตกต่ำอีกประมาณ 3 ปี นอกจากนี้ ยังต้องเผชิญกับสถานการณ์สินค้าคงคลังที่มีปริมาณมากของประเทศจีนด้วย โดยสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวจะกลับมาได้จากการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและการเก็งกำไรของนักลงทุน

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนสิงหาคม 2558 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 106.35 ลดลง ร้อยละ 24.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุดังนี้

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 28.90 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 37.69 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 33.79 เนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างที่ชะลอตัวลง รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 32.77 เนื่องจากปัญหาเหล็กนำเข้าจากจีนเข้ามาแข่งกับตลาดในประเทศ และจากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.6 (การนำเข้ามีปริมาณ 763,625 ตัน) โดยผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก คือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน Alloy Steel เพิ่มขึ้น ถึง ร้อยละ 1,016.3 (ปริมาณการนำเข้า 18,363 ตัน) และเหล็กแผ่นรีดเย็น Stainless Steel เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.6 (ปริมาณการนำเข้า 12,748 ตัน) สำหรับการส่งออก ลดลง ร้อยละ 0.5 (การส่งออก มีปริมาณ 26,510 ตัน) โดยผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณการส่งออก ลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน Stainless Steel ลดลง ร้อยละ 97.4 (ปริมาณการส่งออก 4 ตัน)

ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวมีการผลิตลดลง ร้อยละ 14.84 โดยเหล็กเส้นกลม มีการผลิตลดลง ร้อยละ 29.04 เหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 19.53 เนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างชะลอตัว ประกอบกับการแข่งขันกับเหล็กราคาถูกจากประเทศจีน ส่งผลให้ผู้ผลิตในประเทศไม่สามารถแข่งขันได้ และจากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การนำเข้า ลดลง ร้อยละ 10.7 (ปริมาณการนำเข้า 253,403 ตัน) ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าลดลง มากที่สุด คือ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ลดลง ร้อยละ 44.2 (ปริมาณการนำเข้า 22,788 ตัน) เหล็กลวด Alloy Steel ลดลง ร้อยละ 25.9 (ปริมาณการนำเข้า 104,344 ตัน) สำหรับการส่งออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 270.2 (ปริมาณการส่งออก 308,566 ตัน) โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น มากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1,845.1 (ปริมาณการส่งออก 258,074 ตัน) รองลงมาคือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ stainless steel เพิ่มขึ้น ร้อยละ 262.5 (ปริมาณการส่งออก 116 ตัน)

2. ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด ClS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในเดือนสิงหาคม 2558 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กมีการปรับตัวลดลงทุกชนิด เช่น เหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 112.09 เป็น 62.79 ลดลง ร้อยละ 43.98 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 113.84 เป็น 69.74 ลดลง ร้อยละ 38.74 เหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลงจาก 120.94 เป็น 74.35 ลดลง ร้อยละ 38.52 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 117.75 เป็น 76.63 ลดลง ร้อยละ 34.92 และเหล็กเส้น ลดลงจาก 111.7 เป็น 78.72 ลดลง ร้อยละ 29.53 เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกประกอบความต้องการใช้เหล็กโลกยังคงชะลอตัว ส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดโลกลดลงด้วย

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กของไทยในเดือนกันยายน 2558 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าการผลิตเหล็กโดยรวมจะลดลง ทั้งเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ยังทรงตัวอยู่ นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เป็นผู้ใช้เหล็กที่สำคัญ เช่น ก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์ ที่มีสถานการณ์การผลิตที่ทรงตัว

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2558 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออก

1.การผลิตรถยนต์

จำนวน 159,470 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2557ซึ่งมีการผลิต 140,797 คัน ร้อยละ 13.26 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

2.การจำหน่ายรถยนต์

จำนวน 61,991 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งมีการจำหน่าย 68,835 คัน ร้อยละ 9.94 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่งรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ทั้งนี้การลดลงเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ ประกอบกับราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำและปัญหาภัยแล้งทำให้เกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าส่วนหนึ่งมีรายได้ลดลงอีกทั้งหนี้ในภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

3.การส่งออกรถยนต์

จำนวน 101,982 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งมีการส่งออก 89,550 คัน ร้อยละ 13.88 แบ่งเป็นการส่งออกรถยนต์นั่งร้อยละ 38 และรถกระบะ 1 ตันและ PPV ร้อยละ 62 โดยการส่งออกรถยนต์นั่งขยายตัวในประเทศแถบยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ ส่วนการส่งออกรถกระบะ 1 ตัน และ PPV ขยายตัวในประเทศแถบโอเชียเนีย ยุโรป อเมริกากลางและอเมริกาใต้

4.แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน 2558 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2557 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนกันยายน 2558 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 46 และส่งออกร้อยละ 54

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม 2558 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557โดยเป็นการลดลงทั้งปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศและในตลาดส่งออก

1.การผลิตรถจักรยานยนต์

จำนวน 130,219 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งมีการผลิต 141,308 คัน ร้อยละ 7.85 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต

2.การจำหน่ายรถจักรยานยนต์

จำนวน 125,620 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งมีการจำหน่าย 143,235 คัน ร้อยละ 12.30 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์และแบบสปอร์ต

3.การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป(CBU)

จำนวน 19,442 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งมีการส่งออก 23,290 คัน ร้อยละ16.52 โดยเป็นการปรับลดลงจากการส่งออกในประเทศญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์

4.แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน2558 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2557 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2558 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 81 และส่งออกร้อยละ 19

5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
"ในภาพรวมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์หดตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยปริมาณการผลิตและจำหน่ายในประเทศที่ลดลงบ่งชี้สภาวะการชะลอตัวของตลาดปูนซีเมนต์และภาคก่อสร้างในประเทศ อย่างไรก็ตาม นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจะสร้างความมั่นใจในการลงทุนให้กับนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมากขึ้นในระยะต่อไปสำหรับมูลค่าการส่งออกชะลอตัวลงเช่นกัน เนื่องจากบังคลาเทศซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยปรับลดการสั่งซื้อปูนซีเมนต์จากไทยลงค่อนข้างมาก"
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนสิงหาคม 2558 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลงร้อยละ 5.44 และร้อยละ 3.20 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาในภาพรวม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์หดตัวลงทั้งเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมลดลงแสดงให้เห็นถึงภาวะการชะลอตัวต่อเนื่องของตลาดปูนซีเมนต์และภาคก่อสร้างในประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา อย่างไรก็ตาม การเร่งเบิกจ่ายงบดำเนินโครงการต่างๆ รวมทั้งการเร่งก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศหลายโครงการ ของภาครัฐจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและทำให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจในการลงทุนทำธุรกิจมากขึ้นในระยะต่อไป

2. การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนสิงหาคม 2558 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 16.63

เมื่อพิจารณาในภาพรวมการส่งออกปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากบังคลาเทศซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยปรับลดคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์จากไทยลง โดยปกติจะมีมูลค่าการสั่งซื้อที่เฉลี่ย 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน ในขณะที่ในเดือนนี้มียอดสั่งซื้อเพียง 173 เหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมียนมาร์และกัมพูชายังคงมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์จากไทยในปริมาณมากตามปกติ ทำให้มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ของไทยในเดือนนี้ไม่ลดลงมากนัก

3. แนวโน้ม

การผลิตและจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ถึงแม้จะเป็นช่วงเดือนที่ปกติภาคก่อสร้างจะขยายตัวก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงที่แรงงานกลับภูมิลำเนาของตนเพื่อเกี่ยวข้าว เนื่องจากมีฝนตกหนักติดต่อกันตลอดทั้งเดือน ทำให้การก่อสร้างโครงการในเกือบทุกพื้นที่ของประเทศชะลอตัว ส่งผลให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ลดลง

สำหรับแนวโน้มการส่งออก คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคาดว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของบังคลาเทศจะกลับสู่ภาวะปกติ และประเทศคู่ค้าหลักในอาเซียนของไทยโดยเฉพาะเมียนมาร์และกัมพูชาจะยังคงต้องการใช้ปูนซีเมนต์จากไทยในปริมาณมากเช่นเดิมต่อไปทั้งนี้ หากการส่งออกยังหดตัวควบคู่ไปกับการใช้ในประเทศที่ลดลง จะทำให้ไทยมีปูนซีเมนต์คงเหลือในสต็อกมาก เนื่องจากไม่สามารถปรับลดปริมาณการผลิตลงได้มากนัก เพราะจะไม่คุ้มทุน

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนสิงหาคม 2558 มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 25.06 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าลดลงร้อยละ 14.91 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากกำลังซื้อที่ชะลอตัวลงทั้งในประเทศและตลาดส่งออกหลัก และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 26.81 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการผลิต HDD ที่ปรับตัวลดลง

ตารางที่ 1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ส.ค. 2558

          เครื่องใช้ไฟฟ้า/              มูลค่า        %YoY
          อิเล็กทรอนิกส์          (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
          อุปกรณ์ประกอบของ         1,442.78     -10.80

เครื่องคอมพิวเตอร์

          แผงวงจรไฟฟ้า              697.72      -1.11
          เครื่องปรับอากาศ            239.64      -4.09
          กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้อง       151.13     -12.35

ถ่ายบันทึกภาพดิจิทัล

          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า         4,373.99      -8.15

และอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนสิงหาคม 2558 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 227.70 ลดลงร้อยละ 25.06 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 105.45 ลดลงร้อยละ 14.91 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง เช่น เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต คอมเพรสเซอร์ ตู้เย็น และเครื่องรับโทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 5.57 7.68 4.53 และ 74.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศชะลอตัวลง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา จึงส่งผลให้ความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงตามไปด้วย รวมถึงได้รับผลกระทบจากตลาดส่งออกหลักที่ยังไม่ฟื้นตัว (ยุโรป และญี่ปุ่น) สำหรับเครื่องรับโทรทัศน์มีผู้ผลิตบางรายย้ายฐาน การผลิตไปประเทศในกลุ่มอาเซียน ยกเว้นเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 297.04 ลดลงร้อยละ 26.81 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดปรับตัวลดลง เช่น HDD Monolithic lC และ Semiconductor ปรับตัวลดลงร้อยละ 32.18 18.92 และ 3.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊คในตลาดโลกลดลง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกลดลง

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ)

2. การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนสิงหาคม 2558 มีมูลค่า 4,373.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.15 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1,699.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ลดลง ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 34.46 10.37 6.24 และ 2.11 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นสหรัฐอเมริกา ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.60 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 239.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.09 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป อาเซียน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน ลดลงถึงร้อยละ 19.20 11.30 38.66 32.04 และ 70.77 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นตะวันออกกลางปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 137.30 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตะวันออกกลางกำลังจะมีการปรับเพิ่มค่าประสิทธิภาพพลังงาน (EER) ทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้นเพื่อเก็บเป็นสต๊อค สินค้า รองลงมาคือ กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกภาพดิจิทัล มีมูลค่า 151.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.35 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปจีนและญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 56.64 และ 22.16 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับเครื่องรับโทรทัศน์มีมูลค่า 107.39 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อาเซียน และจีน ขยายตัวถึงร้อยละ 31.53 46.85 26.96 และ 611.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นสหภาพยุโรป ลดลงถึงร้อยละ 51.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,674.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.73 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 5.60 5.65 9.75 และ 11.10 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน ตามลำดับ โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,442.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.80 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวลดลงเกือบทุกตลาด ได้แก่ สหภาพยุโรป อาเซียน จีน และญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงร้อย 8.71 3.60 18.15 และ 24.20 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.87 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน รองลงมา คือ แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่าส่งออก 697.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.11 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปอาเซียน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 12.56 5.63 และ 19.91 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้น จีนและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 175.74 และ 37.63 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกันยายน 2558 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 10.63 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะลดลงร้อยละ 10.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดในประเทศ และการส่งออกไปสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นยังไม่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 10.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการผลิต HDD ลดลงตามความต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับตัวลดลง

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ