สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 ปี 2558 (ตุลาคม - ธันวาคม 2558)(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 15, 2016 16:19 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2558ปริมาณการผลิตขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัว อย่างไรก็ตาม การส่งออกมีการขยายตัว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศแถบโอเชียเนีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ

สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 (ต.ค.-ธ.ค.)มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 20โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวมกว่า 4,867.80ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1,736คนในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 500 ล้านบาท จำนวน3โครงการ คือ1) โครงการของบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ ได้แก่ STATOR ASSY CORE ROTOR POLEมีเงินลงทุน 720.50 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 19 คน 2)โครงการของบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตINTERCOOLER CORE SUB ASSYมีเงินลงทุน 590.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 31 คนและ 3) โครงการของนายปรัชญา อินทรารุปกรณ์ ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตรถโดยสารไฟฟ้ามีเงินลงทุน 600.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 115 คน(รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)มีปริมาณการผลิตรถยนต์1,912,237 คันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิต 1,880,007คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.71โดยมีปริมาณการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ2.74, 0.09 และ 48.06ตามลำดับเมื่อพิจารณาปริมาณการผลิตโดยรวม พบว่า เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกจำนวน1,200,974คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.81ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์เพื่อการส่งออกร้อยละ 61.76และการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 38.24 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รองลงมาคือ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่อง 1,201-1,500ซี.ซี.และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่อง 1,501-1,800 ซี.ซี. ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 4ของปี 2558 (ต.ค.-ธ.ค.)มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 481,243คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 471,467คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.07 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 177,527คัน ลดลงร้อยละ 8.45 แต่การผลิตรถปิกอัพ 1 ตัน และอนุพันธ์ 295,345คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์8,371คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.60และ 3.70ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่ 4ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 3.07โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ7.17, 0.17และ 11.31ตามลำดับ

          การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)                   มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 799,632คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.29 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถปิกอัพ 1 ตัน  รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 14.37, 9.93และ 5.37 ตามลำดับ ส่วนรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.05เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 (ต.ค.-ธ.ค.)มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 245,800คัน  เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน  ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 233,422คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.30โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 90,873คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 92,445คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 12,491คัน ลดลงร้อยละ 5.48, 7.17 และ 10.75 ตามลำดับ ส่วนการจำหน่ายรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV)49,991 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 110.95หากพิจารณาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.06 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่งรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV(รวมรถยนต์ SUV) เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.43, 16.80, 19.86 และ 81.42 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 1,204,895คันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.81โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 592,573.72ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.35เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 4ของปี 2558 (ต.ค.-ธ.ค.)มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 299,529คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 289,150 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.59โดยมีมูลค่าการส่งออก 161,030.04ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 131,245.12ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.69 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 9.04และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 3.49

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)มีมูลค่า 9,180.05 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.96ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่งในปี 2558 ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และซาอุดีอาระเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.22, 15.02และ 5.79 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลียฟิลิปปินส์ และซาอุดิอาระเบียเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.02, 48.50และ 86.63ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกรถแวนของไทยในปี 2558(ม.ค.-ธ.ค.)มีมูลค่า 225.88 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 43.90 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนในปี 2558ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 55.58, 14.04และ 8.55 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนไปญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย ลดลงร้อยละ 44.86, 46.70 และ 24.72 ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกของไทยในปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)มีมูลค่า 8,179.87ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 20.54 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกในปี 2558 ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และนิวซีแลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 31.06, 10.77 และ 5.56 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.04 และ 10.72ตามลำดับ แต่การส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกไปซาอุดิอาระเบีย ลดลงร้อยละ 28.97

การนำเข้าจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งของไทยในปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)มีมูลค่า 929.85 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 23.12 แหล่งนำเข้าสำคัญของรถยนต์นั่งในปี 2558 ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 32.76, 19.54 และ 15.98 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.88แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนี และมาเลเซียลดลงร้อยละ23.23และ 35.82ตามลำดับ

มูลค่าการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยในปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)มีมูลค่า 391.35 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 20.68 แหล่งนำเข้าสำคัญของรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกในปี 2558 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และจีน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 24.33, 20.33และ 19.71 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 15.36แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากอินโดนีเซีย และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ32.30และ 78.19ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2558 ปริมาณการผลิตขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัว อย่างไรก็ตาม การส่งออกมีการขยายตัว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศแถบโอเชียเนีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ

หากพิจารณาอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า การผลิตรถยนต์มีการขยายตัวเนื่องจากความต้องการของตลาดในประเทศ ซึ่งเป็นเพิ่มขึ้นของรถยนต์ PPV เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ที่มีการจัดเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์(CO 2)อาจมีผลต่อราคาของรถยนต์บางประเภท จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคเร่งการซื้อรถยนต์ประเภทดังกล่าว อย่างไรก็ดีตลาดส่งออกมีการขยายตัว ในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย และตะวันออกกลางซึ่งเป็นการส่งออกรถกระบะและรถยนต์ PPV เป็นหลัก

สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2559 คาดว่า การผลิตรถยนต์ประมาณ 2,150,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.43 โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 900,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.55 และเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 1,250,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.74 โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 40-45 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 55-60

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)มีจำนวน 1,801,590คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.23 เป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลดลงร้อยละ 3.93แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ4.78เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 (ต.ค.-ธ.ค.) มีจำนวน 425,729คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 458,116คัน ลดลงร้อยละ 7.07โดยแบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 328,038คัน ลดลงร้อยละ 10.51 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 97,691คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ6.71 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.02 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว ลดลงร้อยละ0.79ส่วนรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.70

การจำหน่ายปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยปี 2558 มีจำนวน 1,639,088คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 3.67โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 4.32 และ 8.24 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.01เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 (ต.ค.-ธ.ค.)มีจำนวน 362,835คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์376,927คัน ลดลงร้อยละ 3.74 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 182,285คัน รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 134,888คัน ลดลงร้อยละ 4.91และ 4.50ตามลำดับ ส่วนรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 45,662คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ3.81 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 2.86โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ2.82,2.44 และ 4.28 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)มีจำนวน935,829คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 345,727 คัน และ CKD จำนวน 590,102 ชุด)เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.39 โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า45,982.52ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.57เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 (ต.ค.-ธ.ค.)จำนวน 239,956คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 80,258 คัน และ CKD จำนวน 159,698 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 225,069คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.61หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 11,387.34ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 11,011.99ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.41หากพิจารณาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.96หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.47

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)มีมูลค่า 1,100.87ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ3.55ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในปี 2558 ได้แก่ สหรัฐอเมริกาเนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักรคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.33, 11.91 และ 11.44 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.46 และ 19.73ตามลำดับแต่การส่งออกไปสหราชอาณาจักรมีมูลค่าลดลงร้อยละ16.10

การนำเข้าจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2558(ม.ค.-ธ.ค.)มีมูลค่า214.22ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.11แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในปี 2558 ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 44.02, 30.41และ 11.21ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 726.74แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเวียดนามและญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 22.33และ 9.17 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้ม รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2558 การผลิตรถจักรยานยนต์ชะลอตัว อย่างไรก็ตามตลาดส่งออกมีการขยายตัว เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่าการผลิตรถจักรยานยนต์ชะลอตัว สาเหตุสำคัญเนื่องจากความต้องการของตลาดในประเทศลดลง ซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศและหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ระดับสูง รวมทั้งภาวะภัยแล้งที่ยาวนานและราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ อย่างไรก็ตามตลาดส่งออกมีการขยายตัว

สำหรับอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ของปี 2559คาดว่า การผลิตจะขยายตัวประมาณร้อยละ 10 หรือคิดเป็นปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ประมาณ2,000,000 คัน เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศและตลาดส่งออกหลักมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 85-90และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 10-15

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)มีมูลค่า 188,761.24ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ4.81 ส่วนการส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า 32,481.69 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.82ส่วนการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 23,468.52 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.03เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 (ต.ค.-ธ.ค.) มีมูลค่า 42,768.83ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 11.70ส่วนการส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 10,108.73ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.42และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 6,247.53ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.22หากพิจารณาในไตรมาสที่ 4ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ลดลงร้อยละ 14.96และ 1.95ตามลำดับแต่มูลค่าการส่งออกเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.66

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)มีมูลค่า 8,022.18ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.20ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ในปี 2558 ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วน การส่งออกร้อยละ 12.93, 11.53 และ 9.52 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.31 และ 1.59 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 23.90

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)มีมูลค่า 3,008.85ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 43.37 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า1,175.13ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.92เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 (ต.ค.-ธ.ค.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)มีมูลค่า615.50ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 53.08การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 219.52 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 35.35หากพิจารณาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.72 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 30.17

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2558 (ม.ค.-ธ.ค.)มีมูลค่า 592.69ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 17.50ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ในปี 2558 ได้แก่ กัมพูชา บราซิล และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.95,15.24 และ 9.35 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.96 แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปบราซิลและอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 26.73 และ 30.32 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ปี 2558 มีมูลค่า 10,005.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.42แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในปี 2558 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 34.94, 24.62 และ 5.49 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 8.65 แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากจีนและสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 87.68และ 2.74 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ในปี 2558 มีมูลค่า 534.60ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯที่สำคัญ ในปี 2558 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 24.93,19.33 และ 10.13 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น และเวียดนาม ลดลงร้อยละ 8.88 และ 4.93 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.97

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

1.กำหนดเพิ่มเติมค่าธรรมเนียมเครื่องหมายแสดงการใช้รถและค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้รถ โดยให้มีอัตราค่าธรรมเนียมใช้ในการจัดเก็บกรณีนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทย

2.แก้ไขค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลชั่วคราวชนิดต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของค่าธรรมเนียมเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายอายุในอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวจาก 1 ปีเป็น 2 ปี

3.กำหนดให้กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (รายละเอียดเพิ่มเติมที่www.thaigov.go.th)

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนออกประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 10/2558 เรื่อง นโยบายส่งเสริมการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ ดังนี้

1.กำหนดให้พื้นที่ทุกจังหวัดเป็นเขตส่งเสริมการลงทุน

2.กำหนดให้สิทธิและประโยชน์สำหรับการส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์โดย Super Cluster เป็นคลัสเตอร์สำหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และอุตสาหกรรมแห่งอนาคตซึ่งคลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็น 1 ในSuper Cluster ซึ่งมีการกำหนดสิทธิและประโยชน์ดังนี้

2.1 ให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยกำหนดวงเงินภาษีที่ได้รับยกเว้น ให้เป็นไปตามกิจการ ในประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2557 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2557

2.2 ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่กำหนดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลง

2.3 สิทธิและประโยชน์อื่นให้ได้รับตามหลักเกณฑ์ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2557 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2557

3.เงื่อนไข

3.1 ต้องมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หรือศูนย์ความเป็นเลิศที่อยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์รูปแบบความร่วมมือที่กำหนด

3.2 ต้องมีรายได้ครั้งแรกภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2560

3.3 ต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2559 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเรื่อง มาตรการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะยานยนต์ต้นแบบในภูมิภาค ตามที่กระทรวงการคลัง(กค.) เสนอ ดังนี้

เห็นชอบมาตรการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะยานยนต์ต้นแบบในภูมิภาค และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อให้มาตรการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะยานยนต์ต้นแบบในภูมิภาคมีผลบังคับใช้โดยเร็วต่อไป

(รายละเอียดเพิ่มเติมที่www.thaigov.go.th)

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเรื่อง ข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย : กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อนาคต (New Engine of Growth) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) จำนวน 10 คลัสเตอร์(อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next - Generation Automotive) เป็น 1 ใน 10 คลัสเตอร์) และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไปพิจารณาศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดเพื่อจัดทำนโยบายส่งเสริมการลงทุน ต่อไป

2. เห็นชอบในหลักการมาตรการที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นมาตรการทางด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการสนับสนุนเงินทุน และมอบหมายให้กระทรวงการคลังไปพิจารณามาตรการสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ต่อไป

3. เห็นชอบในหลักการมาตรการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้สิทธิประโยชน์การพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณามาตรการสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ต่อไป

4. เห็นชอบในหลักการกลไกการผลักดันการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณารายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษให้มีความสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ ที่จะแต่งตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ ต่อไป

(รายละเอียดเพิ่มเติมที่www.thaigov.go.th)

เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างประกาศกระทรวงการคลังจำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ (1)ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (2) ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (3)ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) (4)กำหนดให้ยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ต้นแบบหรือรถจักรยานยนต์ต้นแบบที่ผู้วิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะที่ได้รับอนุมัติจากกรมสรรพสามิตตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

กค. เสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558) เห็นชอบมาตรการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะยานยนต์ต้นแบบในภูมิภาคและให้ กค. เสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้โดยเร็วต่อไป ประกอบกับการวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะยานยนต์มีภาระภาษีอากรซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงของผู้ประกอบการภาคเอกชน ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวและเป็นการต่อยอดและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศระยะยาว จูงใจให้เกิดการลงทุนในการวิจัย พัฒนา และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะรถยนต์ต้นแบบหรือรถจักรยานยนต์ต้นแบบในภูมิภาค จึงสมควรยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้ารถยนต์ต้นแบบหรือรถจักรยานยนต์ต้นแบบให้แก่ผู้วิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทรถยนต์ต้นแบบที่ใช้เพื่อการวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะดังกล่าวจากมูลค่าต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งการยกเว้นภาษีสรรพสามิตและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ต้นแบบหรือรถจักรยานยนต์ต้นแบบด้วย ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับ

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559

(รายละเอียดเพิ่มเติมที่www.thaigov.go.th)

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ