สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 2/2563

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 14, 2020 14:54 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2/2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)หดตัวร้อยละ 20.0 โดยปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวรวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 2/2563 อาทิ การผลิตรถยนต์ หดตัวจากสินค้าเกือบทุกรายการสินค้า ยกเว้นรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ รถตรวจการณ์ เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อกำลังซื้อในต่างประเทศและตลาดในประเทศ รวมไปถึงสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อรถยนต์มากขึ้น นอกจากนี้ผู้ผลิตส่วนใหญ่หยุดสายการผลิตในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตลดลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางทางอากาศหยุดชะงักเกือบทั้งหมดในไตรมาสนี้ และผลจากการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินของรัฐบาล ประกอบกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด การควบคุมการเดินทางระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้การเดินทางขนส่งของประชาชนทั่วไปและธุรกิจลดน้อยลง ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพื่อการคมนาคมขนส่งลดลงมาก การผลิตเครื่องปรับอากาศ ภาวะการผลิตลดลงในทุกสินค้า ปัจจัยหลักจากปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และผลจากมาตรการป้องการแพร่ระบาด ทำให้ความต้องการสินค้าลดน้อยลง รวมไปถึงการที่ผู้ผลิตต่างปรับลดวันทำงานและทำตามมาตรการของทางภาครัฐในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค และการขาดชิ้นส่วนสำหรับการผลิตสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตในไตรมาสนี้ สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 2/2563 อาทิ การผลิตสัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง ผลจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ทำให้ผู้บริโภคในต่างประเทศมีการซื้อหาอาหารกระป๋องไว้บริโภคในช่วงที่ต้องอยู่บ้านเพื่อป้องกันการระบาด จึงทำให้มีคำสั่งซื้อสินค้าเข้าเพิ่มขึ้น เภสัชภัณฑ์และ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3/2563

เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นที่น่าติดตาม เช่นสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ การดำเนินการโครงการก่อสร้างภาครัฐ และการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ

ไฟฟ้า อุตสาหกรรมไฟฟ้า คาดว่า จะผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 แล้ว โดยคาดว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2563มีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะปรับตัวเป็นบวกได้เล็กน้อยร้อยละ 1.0 และ 1.5 ตามลำดับ จากการที่หลายประเทศเริ่มมีมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์และสามารถขนส่งสินค้าได้มากขึ้นทำให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่า จะมีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2.9 และ 1.9 ตามลำดับเนื่องจากได้รับผลบวกจากวัฏจักรของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ซึ่งทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น

รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 200,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50

รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 300,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ จะชะลอตัวจากไตรมาสที่ 2 แต่หากประเทศผู้นำเข้าหลักอย่างประเทศจีน มีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง คาดว่า กลุ่มเยื่อกระดาษจะยังสามารถขยายตัวได้ ทั้งนี้จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ธุรกิจเดลิเวอรี่อาหารในรูปแบบ Ready to eat หรืออาหารพร้อมรับประทาน จะเป็นโอกาสของบรรจุภัณฑ์กระดาษซึ่งจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น รวมถึงการค้าในระบบออนไลน์ จะส่งผลให้ห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมนี้ขยายตัวได้เพิ่มขึ้น

เซรามิก คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลและการผ่อนคลายล็อกดาวน์หรือมาตรการผ่อนปรน และประกอบกับการผลิตเพื่อรองรับตลาดส่งออกหลังจากประเทศคู่ค้าที่คลายความกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่อาจจะกลับมาขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และจีน โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องสุขภัณฑ์ไปยังประเทศญี่ปุ่น และการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ไปยังกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับการนำเข้าคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวด้วยเช่นกัน จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกจากจีนและญี่ปุ่น

ปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตคาดว่ายังลดลงอย่างต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสต๊อกคงค้างของอสังหาริมทรัพย์ยังมีมากส่วนการจำหน่ายคาดว่ายังสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กน้อย

สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตและการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และกำลังซื้อในประเทศที่ยังคงชะลอตัว อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2563คาดว่า ภาพรวมการผลิต ส่งออก และนำเข้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะขยายตัวได้จากการที่คู่ค้าต่างประเทศหลายแห่งสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ และเริ่มมีคำสั่งซื้อมายังประเทศไทย

ไม้และเครื่องเรือน การผลิตและการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศจะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับทิศทางการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยอย่างสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่มีแนวโน้มจะสิ้นสุด ส่งผลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกที่จะอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อไป

ยา คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.25 ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ดีในตลาดเวียดนาม กัมพูชา ญี่ปุ่น เมียนมา และสิงคโปร์

ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 43.17ตามอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศและเศรษฐกิจโลก ในขณะที่การผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 21.89 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้น สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 10.00 ตามความต้องการใช้ที่มีแนวโน้มลดลงค่อนข้างมาก

รองเท้าและเครื่องหนัง คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกจะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกลดลง และการหดตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และเฟอร์นิเจอร์ เช่นเดียวกับการผลิตกระเป๋าเดินทางและรองเท้าที่มีแนวโน้มลดลง จากความกังวลในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบที่ 2 ในหลายประเทศส่งผลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะอยู่ในภาวะชะลอตัว

อัญมณีและเครื่องประดับ คาดว่า จะมีทิศทางลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกถึง ร้อยละ 80 สำหรับแนวโน้มการส่งออก (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) คาดว่า จะมีแนวโน้มลดลง จากการที่ผู้บริโภคชะลอการบริโภคสินค้าไม่จำเป็น ขณะที่การส่งออกในภาพรวมคาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัว จากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปเพื่อเก็งกำไรจากส่วนต่างของราคา เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกขยับตัวอยู่ในระดับที่สูงขึ้น

อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จะหดตัวมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยปัจจัยลบอย่างวัตถุดิบสินค้าเกษตรลดลงจากปัญหาภัยแล้ง เช่น อ้อย ปาล์มน้ำมัน สับปะรดและมันสำปะหลัง ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการผลิตของโรงงาน กอปรกับการบริโภคในประเทศยังชะลอตัวจากการบริโภคของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามไทยน่าจะยังคงได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทูน่าและซาร์ดีนกระป๋อง) นม สิ่งปรุงรส และอาหารสัตว์เลี้ยงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของตลาดโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ที่ยังรักษาระดับความมั่นคงด้านอาหารทั้งในประเทศที่ยังคงมีการระบาดรุนแรงและประเทศที่สถานการณ์การระบาดส่งสัญญาณดีขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกอาจจะขยายตัวเล็กน้อย แต่ Food service ยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศที่สถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย และในหลายประเทศที่ป้องกันการระบาดรอบ 2

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2563

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDPในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 หดตัวร้อยละ 12.2โดยหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 และชะลอตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีการหดตัวร้อยละ 2.0

ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 เป็นการหดตัวลงอย่างมากจากไตรมาสก่อนหน้าและหดตัวต่อเนื่อง 4 ไตรมาส สอดคล้องกับการลดลงของการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการถดถอยที่รุนแรงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสินค้าคงทนกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ชะลอตัวลงมาก และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปทั่วโลก และการลดลงของอุปสงค์ในประเทศในช่วงที่ล็อกดาวน์ประเทศ

GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563หดตัวร้อยละ 14.4 ชะลอตัวลงมากจากไตรมาสที่ผ่านมาหดตัวร้อยละ 2.6 และชะลอตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 โดยชะลอตัวลงตามการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกและเพื่อบริโภคในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 80.26 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (102.85)ร้อยละ 22.0 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562(100.29) ร้อยละ 20.0

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล การผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 81.89 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (100.17) ร้อยละ18.24 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562(102.73) ร้อยละ 20.3

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 127.83 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (140.31)ร้อยละ 8.90 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562(133.53) ร้อยละ 4.3

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์การต้ม การกลั่น และการผสมสุรา และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่การต้ม การกลั่น และการผสมสุรา การผลิตน้ำตาลการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 52.94 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา(ร้อยละ 66.86) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (ร้อยละ 65.04)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์การผลิตน้ำตาล และการผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตจักรยานยนต์ เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม

ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีค่า 78.10 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (90.13) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562(95.13) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 90.13 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (102.03)

ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อการปรับตัวลดลงของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563ยังเป็นผลจากความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่รุนแรงขึ้นในต่างประเทศ มาตรการล็อคดาวน์เพื่อควบคุมโรคระบาดในประเทศของภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อการใช้จ่ายและบริโภคลดลงโดยเฉพาะสินค้าคงทนภาคอุตสาหกรรมชะลอการผลิตและการลงทุน รวมทั้งลดการจ้างงาน ปัญหาภัยแล้งที่มีความรุนแรงส่งผลต่อกำลังซื้อและรายได้ในภาคเกษตร อย่างไรก็ตามมีปัจจัยบวกจากการที่รัฐบาลผ่อนปรนมาตรการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ระยะที่ 3 และ 4 รวมทั้งยกเลิกคำสั่งห้ามออกนอกเคหะสถาน (เคอร์ฟิว)ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น ขณะที่ด่านการค้าชายแดนเริ่มทะยอยเปิดในหลายพื้นที่ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าไทย

การค้าต่างประเทศ

“มูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ในภาพรวมหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจได้รับผลกระทบรุนแรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นเหตุให้ปริมาณการค้าระหว่างประเทศหดตัวลง อย่างไรก็ตาม ดุลการค้าไตรมาสที่ 2 ปี 2563 เกินดุล 6,767.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ”

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 96,574.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่าการส่งออก 51,670.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่าการนำเข้า 44,903.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดุลการค้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 เกินดุล 6,767.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออก

การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 51,670.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาแยกรายหมวดสินค้า พบว่า สินค้าเกษตรกรรมมีมูลค่าการส่งออก 5,743.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.9 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีมูลค่าการส่งออก 4,588.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.2 สินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าการส่งออก 39,982.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 21.4 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 1,356.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 38.9

สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ที่หดตัวลงร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าที่มีการส่งออกหดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (มูลค่าการส่งออก 4,635.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯหดตัวร้อยละ 14.8) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 4,191.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.2) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 3,106.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 49.9)อย่างไรก็ตาม สินค้าบางรายการยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น แผงวงจรไฟฟ้า (มูลค่าการส่งออก 1,724.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.3) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 681.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 32.8)

ตลาดส่งออก

ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) มีสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ 23.6 15.2 15.4 9.9 และ 7.9 ตามลำดับ เมื่อรวมสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดหลักคิดเป็นร้อยละ 72.1 และการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆคิดเป็นร้อยละ 27.9 ของการส่งออกทั้งหมด โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีเพียงจีนและสหรัฐอเมริกาที่การส่งออกไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 และ 8.9 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยัง สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) อาเซียน (9 ประเทศ) และ ญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 30.2 22.4 และ 13.7 ตามลำดับ

โครงสร้างการนำเข้า

การนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 44,903.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 23.6เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาแยกรายหมวดสินค้า พบว่า สินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่า การนำเข้า 5,261.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 47.4 สินค้าทุนมีมูลค่าการนำเข้า 12,509.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.4 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่าการนำเข้า 19,010.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 15.0สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 5,726.5ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 17.3 ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งมีมูลค่าการนำเข้า 2,296.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 33.5 และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 98.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 93.6

แหล่งนำเข้า

ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทยได้แก่ จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 27.7 17.3 13.2 8.6 และ 7.6 ตามลำดับ เมื่อรวมสัดส่วนการนำเข้าไปยังตลาดสำคัญ คิดเป็นร้อยละ 74.5 และการนำเข้าจากตลาดอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 25.5 ของการนำเข้าทั้งหมด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า จีนมีอัตราการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 0.1 หรืออยู่ในระดับทรงตัว ขณะที่ประเทศคู่ค้าหลักส่วนใหญ่ของไทยมีอัตราการนำเข้าหดตัวลง โดยอาเซียน (9 ประเทศ)หดตัวลงมาที่สุด ร้อยละ 30.2 ลำดับถัดมาเป็นตลาดญี่ปุ่นสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา หดตัวร้อยละ 26.9 21.5 และ 7.7 ตามลำดับ

เศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 2 ปี 2563

“เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอยจากการหดตัวของภาคเศรษฐกิจในหลายประเทศ ตลอดจนภาพรวมปริมาณการค้า การผลิต ทั่วโลกยังคงชะลอตัว ในขณะที่อัตราการว่างงานปรับสูงขึ้น”

ภาวะเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบรุนแรงภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยอัตราการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจ การผลิต และการค้าที่หดตัวลงในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้ง อัตราการว่างงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับลดต่ำลงในบางประเทศ

สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงที่ระดับ 0.00-0.25% เพื่อผ่อนคลายนโยบายการเงินให้สอดคล้องกับมาตรการการคลังของรัฐบาลและเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศคู่ค้าหลักอื่น ๆ ของไทยที่ปรับระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเช่นเดียวกัน

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวในทิศทางที่ชะลอตัวลง เนื่องจากอุปสงค์การใช้น้ำมันเพื่อการผลิตและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มศักยภาพ ตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจรอบโลก โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ ไตรมาส 2 ปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 30.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล ลดราคาลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 67.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล ด้านราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบช่วงเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 38.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล

อย่างไรก็ดี ภายหลังหลายประเทศทั่วโลกผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ลง ภาคเศรษฐกิจบางส่วนสามารถกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง อาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลก ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ ยังคงมีประเด็นที่ต้องติดตาม อาทิ ความกังวลต่อการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคต่าง ๆ และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจไทยเติบโตได้ในกรอบที่จำกัด

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562จากการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนหดตัว เช่น เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน และลวดเหล็กแรงดึงสูง

ดัชนีการผลิต

การผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 81.4 หดตัวจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 12.0 (%QoQ) และหดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.4 (%YoY) (หดตัวติดต่อกัน 7 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2561) เนื่องจากการชะลอตัวของการผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามการชะลอตัวของสถานการณ์เศรษฐกิจ ทั้งเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลก โดยการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวหดตัว ร้อยละ 13.7 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน หดตัวร้อยละ 29.7 รองลงมา คือ ลวดเหล็กแรงดึงสูง และลวดเหล็ก หดตัว ร้อยละ 29.4 และ 16.4 ตามลำดับ การผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 29.7 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัว ร้อยละ 41.2 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่น รีดร้อนชนิดม้วน หดตัว ร้อยละ 34.6 และ 25.1 ตามลำดับ

การจำหน่าย ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีปริมาณ 3.7 ล้านตัน หดตัวจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 16.1 (%QoQ) และหดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 26.6 (%YoY) (หดตัวติดต่อกัน 4 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2562) โดยการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 23.3 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายหดตัว คือ เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัวร้อยละ 34.5 และเหล็กลวด หดตัวร้อยละ 10.0 การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 28.3 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน หดตัวร้อยละ 46.0รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน และเหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ 39.3 และ 33.6 ตามลำดับ

การนำเข้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐหดตัวจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 9.4 (%QoQ) และหดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 30.2 (%YoY) (หดตัวติดต่อกัน 4 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562) โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ 27.7 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Carbon Steel หดตัวร้อยละ 65.3 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น) รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Stainless Steel และเหล็กลวด ประเภท Alloy Steel หดตัวร้อยละ 54.4 และ 39.2 ตามลำดับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 31.1ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Alloy Steel หดตัวร้อยละ 66.5 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน และญี่ปุ่น)รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Alloy Steel และ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม หดตัวร้อยละ 58.6 และ 57.1 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 3 ของปี 2563

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 3 ปี 2563คาดการณ์ว่าจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นที่น่าติดตาม เช่น สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ การดำเนินการโครงการก่อสร้างภาครัฐ และการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ลดลงร้อยละ 26.0 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกาปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงยังคงมีสถานการณ์ล็อคดาวน์และหยุดกิจการซื้อขายต่าง ๆ ทำให้ไม่มีคำสั่งซื้อใหม่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตการผลิตชิ้นส่วน โดยสินค้าที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ตู้เย็น เตาอบไมโครเวฟ พัดลม มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน เครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ และมีมูลค่าการส่งออกลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 2 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 79.3 ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 28.5 (%QoQ) และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 26.0 (%YoY) เนื่องจากตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมีคำสั่งซื้อที่ลดลงจากสถานการณ์โควิด-19 โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 92.3 สินค้าปรับตัวลดลง ได้แก่ คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ หม้อหุงข้าว พัดลมตามบ้านและมอเตอร์ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 38.7, 26.4, 15.2, 10.9 และ 7.5 ตามลำดับ

ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ สายไฟฟ้ากระติกน้ำร้อน ตู้เย็น สายเคเบิ้ล หม้อแปลงไฟฟ้าและเครื่องซักผ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7, 24.2, 20.1, 15.5, 4.0, 2.1 และ 1.9 ตามลำดับ

การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 2 ปี 2563 สินค้าที่มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ตู้เย็นเตาไมอบโครเวฟ พัดลม มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าวกระติกน้ำร้อน เครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ ลดลงร้อยละ 88.3 75.1 50.9 33.4 20.7 16.4 15.5 15.5 และ 14.8 ตามลำดับ

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 3,427.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 10.3 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.1 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าลดลงได้แก่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า สวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า และเครื่องอุปกรณ์สำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 60.4, 25.2 และ 18.6 ตามลำดับ ในขณะที่ตู้เย็นส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศและหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.2, 13.5 และ 4.0 ตามลำดับ

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 2 ปี 2563 มีมูลค่าการส่งออก 5,085.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 15.6 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี ก่อนร้อยละ 15.6 (%YoY) จากตลาดอาเซียน ยุโรป และญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 34.4, 26.8 และ 14.5 ตามลำดับ โดยสินค้าเครื่องอุปกรณ์สำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องซักผ้าหม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศปรับตัวลดลงร้อยละ 30.8, 28.1, 21.4, 9.5, 8.2 และ 5.5ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าโซล่าร์เซลล์ เตาอบไมโครเวฟและพัดลมเพิ่มขึ้นร้อยละ 83.4, 13.4และ 2.0 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563

“อุตสาหกรรมไฟฟ้า คาดว่า จะผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 แล้ว โดยคาดว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 มีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะปรับตัวเป็นบวกได้เล็กน้อยร้อยละ 1.0 และ 1.5ตามลำดับ จากการที่หลายประเทศเริ่มมีมาตรการผ่อนคลายล็อคดาวน์และสามารถขนส่งสินค้าได้มากขึ้นทำให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ”

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.0 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ซัพลายเชนของการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกหยุดชะงักและความผันผวนของความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัว โดยกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตชิ้นส่วนทำให้การสต๊อกสินค้าและชิ้นส่วนไม่เพียงพอ รวมถึงสงครามการค้าที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวลดลง ในตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่น

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 86.4 ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 6.0 (%QoQ) และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.2 (%YoY) โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลง ได้แก่ PCBA, PWB, IC และ HDDโดยปรับตัวลดลงร้อยละ 18.5, 16.5, 8.5 และ 3.6 ตามลำดับเนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์และหยุดกิจการซื้อขาย ทำให้ไม่มีคำสั่งซื้อใหม่ หลายโรงงานได้ลดกำลังการผลิต กระทบต่อห่วงโซ่การผลิตชิ้นส่วนทำให้การสต็อกสินค้าและชิ้นส่วนไม่เพียงพอ

ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Semiconductor devices transistor และ Printer โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.2 และ 2.1 ตามลำดับ

การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่าการนำเข้า 8,736.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 6.8 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5(%YoY) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 ในขณะที่ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลงร้อยละ 16.2 ไดโอดทรานซิสเตอร์ กลอุปกรณ์กึ่งตัวนำ และส่วนประกอบ ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.0 วงจรรวม (IC) ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.0

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่าการส่งออก 8,173.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 3.8 (%QoQ) และลดลงร้อยละ 6.8 (%YoY) จากไตรมาส เดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวลดลงได้แก่ ยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 26.5, 25.1 และ 4.0 ตามลำดับ โดยส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 11.7 และวงจรรวม(IC) ลดลงร้อยละ 11.8 ในขณะที่ไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และส่วนประกอบปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.4 และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563

“สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 คาดว่า จะมีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2.9 และ 1.9 ตามลำดับ เนื่องจากได้รับผลบวกจากวัฏจักรของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ซึ่งทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น”

อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีปริมาณการผลิตลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดในประเทศและส่งออกชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลกส่วนตลาดในประเทศมีการหยุดการผลิตชั่วคราวตามมาตรการลดการแพร่ระบาดไวรัสฯ ปัญหาภัยแล้ง และเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 200,000 คันโดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50

การผลิตรถยนต์

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีจำนวน 152,450 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 66.40 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 69.78 (%YoY)โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ 35 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 63 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 2

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีจำนวน 128,540 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 35.75 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 50.60 (%YoY)โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ร้อยละ 39รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 44 รถ PPV และ SUV ร้อยละ 12 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 5

การส่งออกรถยนต์

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีจำนวน 100,269 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 59.94 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 61.44 (%YoY)โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็นการส่งออกรถยนต์นั่ง ร้อยละ 31 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 58 และรถ PPV ร้อยละ 11มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 1,171.39 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 49.05 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ49.64 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 1,826.55 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 30.32(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 35.03 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีปริมาณการผลิตชะลอตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเป็นการชะลอตัวของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก จากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว ผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 300,000 คันโดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

การผลิตรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีจำนวน 207,385 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 56.35 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 55.27(%YoY)

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีจำนวน 301,249 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 30.06 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 30.23(%YoY)

การส่งออกรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีจำนวน 106,363 คัน (เป็นการส่งออก CBU 56,203 คัน และ CKD 50,160 ชุด)ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 57.37 (%QoQ)และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 51.24(%YoY)

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 108.64 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 53.07(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 41.47 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ บราซิล เวียดนามและญี่ปุ่น

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 133.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 37.07(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.04 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกและการนำเข้าหดตัว เป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องชะลอตัว ทำให้ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง แต่ยังมีสินค้าที่ไม่ได้รับผลกระทบ เช่น สบู่ น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น

การตลาดและการจำหน่าย

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 7.56เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 2.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 8.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัว ร้อยละ 9.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)

การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 1,848 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.40 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 18.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยการส่งออกในไตรมาสนี้หดตัวทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ยกเว้นสารลดแรงตึงผิว เช่น สบู่ น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น การส่งออกหดตัวในตลาดหลัก เช่น จีน อินโดนีเซีย และอินเดีย

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 3,813 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.15 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 10.08เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยการนำเข้าในไตรมาสนี้หดตัวทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ยกเว้นสารลดแรงตึงผิว เช่น สบู่ น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์ยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาพรวมอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2563 จากมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ของภาครัฐ และหลายภาคส่วนกลับมาดำเนินงานตามปกติ

อุตสาหกรรมพลาสติก

อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ในภาพรวมชะลอตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2563 (%QoQ)และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และประเทศไทยมีมาตรการล๊อคดาวน์ รวมถึงตลาดการส่งออกหดตัวตามความต้องการของตลาดประเทศคู่ค้าหลัก เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม และอินโดนีเซียนอกจากนี้ ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงทำให้ต้นทุนวัตถุดิบลดลงตามไปด้วย

การผลิต และการตลาด

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หดตัวร้อยละ 5.33เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 5.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน(%YoY) ซึ่งดัชนีผลผลิตที่หดตัวมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำที่เป็นพลาสติก

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หดตัวร้อยละ 4.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ)และหดตัวร้อยละ 5.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัวมากที่สุด คือผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำที่เป็นพลาสติก

มูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 896.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 14.96 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกหดตัวสูงสุด เช่น กลุ่มพลาสติกปูพื้น เครื่องใช้ในครัวเรือน และของอื่น ๆ ที่ทำด้วยพลาสติก เป็นต้น

มูลค่าการนำเข้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 1,163.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 0.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัว เช่น กลุ่มเครื่องสุขภัณฑ์ เส้นใย พลาสติก และเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563

อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 3 ปี 2563 คาดว่าภาพรวมอาจมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมาตรการผ่อนคลายล๊อคดาวน์หลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และหลายภาคส่วน รวมถึงประเทศคู่ค้ากลับมาดำเนินงานตามปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการสินค้าต่าง ๆ รวมถึงสินค้าในอุตสาหกรรมพลาสติกมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2563

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตและการส่งสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 7 - 11 (%QoQ) แต่ในภาพรวมยังคงชะลอตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2563 (%QoQ) และเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และประเทศไทยมีมาตรการล๊อกดาวน์ รวมถึงหลายประเทศ คู่ค้าปิดประเทศ ส่งผลให้การส่งออก และการนำเข้าของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในไตรมาสนี้ชะลอตัว

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 109.67 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.20 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน คือ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น SAN resin, EPS,PP resin และ PET resin เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 111.05 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.95 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีส่งสินค้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Toluene, Benzene และ Propylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ SAN resin, ABS resin, PE resin และ PP resin

การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 2,214.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 25.71 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ เช่น จีน,เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออกของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานลดลง ร้อยละ 39.87 เช่น Para-Xylene, Terephthalic Acid, และ Benzene และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายลดลง ร้อยละ 21.83 เช่น PE resin, PP resin, PC resin และ PET resin เป็นต้น

การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 1,115.15 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 22.28 โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น, จีนและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้าลดลงของกลุ่ม ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานลดลง ร้อยละ 32.02 เช่น Ethylene Dichloride, Para-Xylene และ Ethylene Glycol เป็นต้น และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายลดลง ร้อยละ 20.02 เช่น PE resin, Nylon resin, PP resin และ PMMA resin เป็นต้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 3 ปี 2563

ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 3 ปี 2563 คาดว่าในภาพรวมของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มชะลอตัวจากเศรษฐกิจหลายประเทศหยุดชะงักหลังจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้ความต้องการสินค้า หรือการดำเนินการในหลายภาคส่วนยังไม่เต็มกำลัง ทั้งตลาดภายในประเทศ และตลาดคู้ค่าต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2563 คาดว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในไตรมาสนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งการผลิต การส่งสินค้า และการส่งออก อาจปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2-12 จากการผ่อนคลายมาตรการล๊อกดาวน์ และหลายภาคส่วนสามารถเริ่มกลับมาดำเนินงานได้ตามปกติ

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY) พบว่า มีเพียงเยื่อกระดาษเท่านั้น ที่มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.60 และ 5.30 ตามลำดับ แต่ผลิตภัณฑ์กระดาษอื่น ๆ ชะลอตัวลง รวมถึงบรรจุภัณฑ์กระดาษ ในขณะที่การส่งออกมีมูลค่ารวมลดลงเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY) ยกเว้นเยื่อกระดาษที่ส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับการนำเข้ามีมูลค่ารวมเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) แต่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบ(%YoY)

การผลิต การผลิตเยื่อกระดาษในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และเปรียบเทียบ (%YOY) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.60 และ 5.30 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากจีนแต่สำหรับกลุ่มกระดาษลดลงในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์หลังจากที่การผลิตเพิ่มขึ้นมากในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 และเริ่มส่งผล กระทบมากขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบถึงภาคการผลิตจากคำสั่งซื้อที่ปรับลดลงทั้งจากตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ

การส่งออกเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) มีมูลค่าส่งออกรวม 436.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 11.43 จากผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ แต่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มเยื่อกระดาษ ร้อยละ 36.96 ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศจีน และเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มูลค่าส่งออกรวมลดลง ร้อยละ 15.17 จากผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ในขณะที่กลุ่มเยื่อกระดาษส่งออกได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.55 ซึ่งกว่าร้อยละ 75.00 ส่งออกไปยังประเทศจีน

การนำเข้าเยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 2ปี 2563 มีมูลค่านำเข้ารวม 636.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบ(%QoQ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.70 จากกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์ หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19คลี่คลายลงในปลายไตรมาสที่ผ่านมา แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY)มูลค่านำเข้ารวมลดลง ร้อยละ 7.13 ลดลงทั้งกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ แต่อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์กระดาษในประเทศเพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากวิถีการดำรง ชีวิตปรับเปลี่ยนไปจากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การผลิตในประเทศยังกลับมาผลิตได้ไม่เท่าเดิม ส่งผลให้จำเป็นต้องมีการนำเข้า

แนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ปี 2563

แนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 คาดว่า อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ จะชะลอตัวจากไตรมาสที่ 2 แต่หากประเทศผู้นำเข้าหลักอย่างประเทศจีน มีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง คาดว่า กลุ่มเยื่อกระดาษจะยังสามารถขยายตัวได้ จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ธุรกิจเดลิเวอรี่ อาหารในรูปแบบ Ready to eat หรืออาหารพร้อมรับประทาน จะเป็นโอกาสของบรรจุภัณฑ์กระดาษซึ่งจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น รวมถึงการค้าในระบบออนไลน์ จะส่งผลให้ห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมนี้ขยายตัวได้เพิ่มขึ้นนโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติมตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ปี 2563 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563โดยรวมถึงเศษกระดาษและกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก ซึ่งจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ผลิตกระดาษในประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตกระดาษในประเทศบางส่วนยังมีความจำเป็นต้องนำเข้าเศษกระดาษและกระดาษใช้แล้ว เนื่องจากราคาที่ถูกกว่า ทั้งนี้ การควบคุมสินค้าดังกล่าวควรกำหนดมาตรการที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย

อุตสาหกรรมเซรามิก

ปริมาณการผลิต การจำหน่าย และมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามภาวะเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 โดยแนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่าย จะมีแนวโน้มขยายตัว จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ และการผ่อนคลายความกังวลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

การผลิต ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 26.20 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ23.75 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 29.25 (%YoY) ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.44 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 22.83 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 27.53 เนื่องจากการหดตัวของการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ

การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 กระเบื้องบุพื้น บุผนัง มีปริมาณการจำหน่าย 41.15 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563ร้อยละ 2.23 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.54 (%YoY) ในขณะที่การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีจำนวน 0.78 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 6.94 และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18.05 ตามภาวะเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19

การส่งออก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 การส่งออกกระเบื้องปูพื้นบุผนัง มีมูลค่า 21.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1ปี 2563 ร้อยละ 14.75 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.96 ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีมูลค่า 43.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 15.81 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.50 เนื่องจากตลาดส่งออกหลักอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาจีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศ CLMV ลดคำสั่งซื้อจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19

แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาส 3 ของปี 2563

การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 3 ของปี 2563 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพ่มิ ขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล และการผ่อนคลายล็อกดาวน์หรือมาตรการผ่อนปรน และประกอบกับการผลิตเพื่อรองรับตลาดส่งออกหลังจากประเทศคู่ค้าที่คลายความกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่อาจจะกลับมาขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และจีน โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องสุขภัณฑ์ไปยังประเทศญี่ปุ่น และการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ไปยังกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับการนำเข้าคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวด้วยเช่นกัน จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกจากจีน และญี่ปุ่น

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซรามิก

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบปรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไข “โครงการบ้านล้านหลัง” สำหรับกรณีลูกค้ารายย่อย (Post Finance) โดยปรับเพิ่มราคาซื้อขายและวงเงินกู้ที่อยู่อาศัยเป็นไม่เกิน 1.2 ล้านบาท จากเดิม 1 ล้านบาท เพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2562 – 30 ธันวาคม 2564

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน การผลิตลดลงเล็กน้อยจากเศรษฐกิจที่ยังคงถดถอย แต่การจำหน่ายยังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้จากการขับเคลื่อนด้านการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ ส่วนการส่งออกในไตรมาสนี้ปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัดในตลาดส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19

การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563มีจำนวน 10.06 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563ร้อยละ 1.05 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 1.26 (%YoY) โดยเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจถดถอยรวมถึงการมีสต็อคคงค้างของอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก ทำให้การลงทุนสร้างโครงการใหม่ๆ ชะลอตัวลง

การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีจำนวน 9.12 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 3.70 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.72 (%YoY) โดยเป็นผลจากการขับเคลื่อนด้านการสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ

การส่งออก - นำเข้าปูนซีเมนต์ ( ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่าจากการส่งออก 66.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 22.00 (%QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1ปี 2563 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 25.83 โดยลดลงจากบังคลาเทศ และกัมพูชา ร้อยละ 43.91และ 42.55 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีมูลค่า 8.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 58.07 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 57.67 โดยลดลงจาก สปป.ลาว ร้อยละ 21.31 ทั้งนี้ เนื่องด้วยตลาดต่างประเทศต่างก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่นกัน

แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตคาดว่ายังลดลงอย่างต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสต็อคคงค้างของอสังหาริมทรัพย์ยังมีมาก ส่วนการจำหน่ายคาดว่ายังสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กน้อย

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

แม้ว่ารัฐบาลจะยังคงประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินต่อ ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังทำไม่ได้เต็มที่มากนัก แต่ในขณะเดียวกันภาครัฐได้ทำการเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจและประชาชน โดยออกทั้งมาตรการช่วยเหลือเยียวยาและมีแผนงานต่างๆ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งจะช่วยให้การฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 การผลิต ส่งออก และนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไปทั่วโลกของเชื้อไวรัสโควิด-19

การผลิตและจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยประดิษฐ์ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มีดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 18.48 38.39 และ 19.77 เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศที่ลดลงจากการระบาดของโรค COVlD-19 รวมถึงการผลิตเพื่อรองรับการส่งออกซึ่งลดลงตามคำสั่งซื้อของประเทศคู่ค้าที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคเช่นกัน ดัชนีการจำหน่ายในประเทศของเส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ลดลง ร้อยละ 17.64 40.06 และ 36.24 เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกลดลง รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบของการระบาดของโรค COVlD-19

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,201.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 32.64 (YoY) หากพิจารณากลุ่มสินค้า พบว่า กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 736.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 37.18 กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 465.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 23.93 เนื่องจากการระบาดของโรค COVlD-19 ที่กระจายไปทั่วโลกทำให้การค้าระหว่างประเทศหยุดชะงัก ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยตลาดสำคัญที่ลดลง ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และ ญี่ปุ่น

การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 946.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 29.95 (YoY) เนื่องจากคำสั่งซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโรค COVlD-19 ที่กระจายไปทั่วโลกทำให้ผู้ประกอบการลดการนำเข้าวัตถุดิบ รวมถึงความต้องการเสื้อผ้าของผู้บริโภคในประเทศลดลง

คาดการณ์แนวโน้มไตรมาสที่ 3 ปี 2563

การผลิตและการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบของการระบาดของโรค COVID-19 และกำลังซื้อในประเทศที่ยังคงชะลอตัว อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2563 คาดว่า ภาพรวมการผลิต ส่งออก และนำเข้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะขยายตัวได้จากการที่คู่ค้าต่างประเทศหลายแห่งสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ และเริ่มมีคำสั่งซื้อมายังประเทศไทย

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

1. รัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ มาตรการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนสายการผลิตเดิมเพื่อผลิตเครื่องมือแพทย์หรือชิ้นส่วนฯ และมาตรการเร่งรัดการลงทุนในอุตสาหกรรมทางการแพทย์เพื่อรับมือกับ COVID-19 ซึ่งเป็นโอกาสให้เกิดการลงทุนในสายการผลิต Non-woven fabric และผลิตภัณฑ์สิ่งทอทางการแพทย์

2. มาตรการช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับลูกหนี้ SMEs ของสถาบันการเงินหลายแห่ง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ที่เว็บไซต์ https://www.bot.or.th/covid19

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามปริมาณคำสั่งซื้อในประเทศที่ลดลง ในขณะที่การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้มีมูลค่าลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจากสาเหตุการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในตลาดส่งออกที่สำคัญ

การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาส 2 ปี 2563 มีจำนวน 1.89 ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 3.08 และ 17.83 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ จากคำสั่งซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง

การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาส 2 ปี 2563มีจำนวน 0.33 ล้านชิ้น ปรับลดลงร้อยละ 15.38 และ 19.51 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ สาเหตุจากมาตรการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้ร้านค้าเฟอร์นิเจอร์หลายแห่งต้องหยุดจำหน่ายชั่วคราวในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาส 2 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 706.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.96 และ 14.37 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับแบ่งเป็น เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มีมูลค่า 181.54 26.36 และ 498.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องเรือนและชิ้นส่วน ปรับตัวลดลงร้อยละ 25.96 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ ปรับตัวลดลงร้อยละ 26.12 และมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ปรับตัวลดลง ร้อยละ 12.29 ในภาพรวมการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้มีมูลค่าลดลงทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ จากสาเหตุการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในตลาดส่งออกที่สำคัญ

แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563

ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 คาดการณ์ได้ว่า การผลิตและการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศจะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับทิศทางการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยอย่างสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่มีแนวโน้มจะสิ้นสุด ส่งผลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ ทั่วโลกที่จะอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อไป

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ วงเงิน 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 – เมษายน 2565 โดยมอบหมายให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ประสานกับผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินในการพิจารณาแหล่งเงินที่จะใช้สนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) โดย กยท. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการพร้อมจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

อุตสาหกรรมยา

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2563 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามความต้องการใช้ยาที่สูงขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ของทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก สำหรับการส่งออกขยายตัวได้ดีในตลาดเวียดนาม กัมพูชา และญี่ปุ่น ตามลำดับ

การผลิตยา ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีปริมาณ 17,857.71 ตันเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.74 โดยเป็นการขยายตัวของการผลิตยาเม็ด ยาแคปซูล ยาฉีด และยาครีม ตาม ความต้องการใช้ยาของทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมากเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19

การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีจำนวน 15,048.37 ตันเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.44 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายยาเม็ดและยาครีมตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้น

การส่งออกยา ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 110.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.86 ในภาพรวมการส่งออกยามีการขยายตัวที่ดีในตลาดเวียดนามกัมพูชา และญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้ายาจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.18 20.12 และ 32.60 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้ายามีมูลค่า453.91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.58 โดยเป็นการนำเข้ายาจากเปอร์โตริโกอิตาลี สเปน สหราชอาณาจักร และสหรัฐ อเมริกา เพิ่มขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563

การผลิตยาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.25 ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ดีในตลาดเวียดนาม กัมพูชา ญี่ปุ่น เมียนมาและสิงคโปร์

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในฐานะหน่วยตรวจสอบของไทยได้รับการยอมรับทั้งในส่วนของคณะผู้ตรวจประเมินและการยอมรับร่วมของข้อมูลจากคณะผู้ตรวจประเมินในประเทศสมาชิกภาคีเครือข่าย OECD GLP และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21กรกฎาคม 2563 เห็นชอบการตอบรับคำเชิญผูกพันต่อกรรมสารของ OECD Council โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อยู่ระหว่างจัดทำหนังสือตอบตกลงที่จะผูกพันต่อกรรมสารของ OECD Council เพื่อให้มีผลอย่างเป็นทางการต่อไป ทั้งนี้ เมื่อมีการยอมรับร่วมของข้อมูลแล้ว ผลิตภัณฑ์ยาของไทยจะไม่ต้องทำการทดสอบซ้ำที่ประเทศปลายทางอีก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการในประเทศสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการทดสอบและส่งออกผลิตภัณฑ์ยาได้สะดวกมากขึ้น

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

ปริมาณการผลิตถุงมือยางในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่การผลิตยางรถยนต์ลดลงตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์รวมถึงตลาด Replacement ในประเทศ สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมลดลงเนื่องจากส่งออกไปจีนลดลงค่อนข้างมาก

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีจำนวน 0.32 ล้านตัน 9.48 ล้านเส้น และ 6,929.27 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์มีปริมาณลดลงร้อยละ 10.69 และ 47.12 ตามลำดับ ตามการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์รวมถึงตลาด Replacement ในประเทศและการชะลอตัวของตลาดต่างประเทศ ในขณะที่การผลิตถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.50 ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีจำนวน 0.09 ล้านตัน 5.88 ล้านเส้น และ 1,056.67 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมและถุงมือยางในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.37 และ 40.91 ตามลำดับตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้น ในขณะที่การจำหน่ายยางรถยนต์มีปริมาณลดลงร้อยละ 46.28 จากการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ และตลาด Replacement

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 652.40 972.29 และ 439.68ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ในส่วนของการส่งออกถุงมือยาง เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 46.55 ในขณะที่การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์ลดลงร้อยละ 40.99 และ 33.23 ตามลำดับ จากการชะลอตัวต่อเนื่องของตลาดหลักของไทยโดยเฉพาะจีนและสหรัฐอเมริกา

แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563

การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 43.17 ตามอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศและเศรษฐกิจโลก ในขณะที่การผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 21.89 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้นสำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 10.00 ตามความต้องการใช้ที่มีแนวโน้มลดลงค่อนข้างมาก

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

การยางแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท ฯลฯ เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยาง และพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบอย่างต่อเนื่องรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.raot.co.th

อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

ไตรมาส 2 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอกมีการผลิตลดลงเนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกลดลง เช่นเดียวกับกระเป๋าเดินทาง* และรองเท้า มีการผลิตลดลง จากคำสั่งซื้อในประเทศที่ลดลงเนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นจากสถานการณ์ของไวรัสโคโรนา (COVID-19) สำหรับการส่งออกมีมูลค่ารวมลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดคู่ค้าหลักที่ชะลอตัว

การผลิต

ไตรมาส 2 ปี 2563 การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 41.89 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกลดลง และการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์เช่นเดียวกับการผลิตกระเป๋าเดินทาง* และรองเท้า ปรับตัวลดลง ร้อยละ14.17 และ 35.53 ตามลำดับ จากคำสั่งซื้อในประเทศที่ลดลง เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นจากสถานการณ์ของไวรัสโคโรนา(COVID-19)

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออก ไตรมาส 2 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 269.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง ร้อยละ 46.54 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัดเครื่องใช้สำหรับเดินทาง และรองเท้า ลดลง ร้อยละ 40.08 68.18 และ 36.20 ตามลำดับ จากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เวียดนาม จีนและสหรัฐอเมริกา

การนำเข้า ไตรมาส 2 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 300.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง ร้อยละ 47.54 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยวัตถุดิบหนังดิบและหนังฟอกปรับตัวลดลง ร้อยละ 47.76 เป็นไปในทิศทางเดียวกับการฟอกและตกแต่งหนังฟอกที่มีการผลิตลดลง สำหรับสินค้าสำเร็จรูปประเภทกระเป๋าและรองเท้ามีมูลค่าลดลง ร้อยละ 53.50และ 42.11 ตามลำดับ จากความต้องการบริโภคสินค้าภายในประเทศที่ลดลง

แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 3 ปี 2563

การผลิตรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 3 ปี 2563 คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกจะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกลดลง และการหดตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และเฟอร์นิเจอร์ เช่นเดียวกับการผลิตกระเป๋าเดินทางและรองเท้าที่มีแนวโน้มลดลง จากความกังวลในการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา (COVID-19) รอบที่ 2 ในหลายประเทศส่งผลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะอยู่ในภาวะชะลอตัว

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลได้ผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ระยะที่ 5 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 รวมถึงได้ออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ “โครงการเที่ยวปันสุข” ด้วยการสนับสนุนทั้งค่าเดินทางและค่าที่พัก เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้ออกมาท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอย อีกทั้งช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ 1 กรกฎาคม - 31 ตุลาคม 2563 ซึ่งมาตรการดังกล่าว จะมีส่วนกระตุ้นภาพรวมของการบริโภคสินค้าและช่วยเหลือผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

ไตรมาส 2 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมปรับตัวลดลง เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศลดลงจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) สำหรับการส่งออกมีมูลค่ารวมลดลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะอยู่ในภาวะชะลอตัว

การผลิต

การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 2 ปี 2563 ปรับตัวลดลงร้อยละ 25.03 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศลดลง จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยการผลิตเพชรเจียระไน เครื่องประดับแท้และเครื่องประดับเทียม ลดลง ร้อยละ 89.45 0.30 และ 56.17 ตามลำดับ

การจำหน่าย

การจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 2 ปี 2563 ลดลงร้อยละ 17.21 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลให้ร้านค้าและห้างสรรพสินค้าหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว

การส่งออก

อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาส 2 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 661.84ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 64.99 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากมูลค่าการส่งออกเพชร พลอย เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม ลดลง ร้อยละ 70.67 86.54 51.37 และ 50.81 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และฮ่องกง แต่หากพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม มีมูลค่ารวม 4,635.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.65 จากมูลค่าการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.60

แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 3 ปี 2563

การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 3 ปี 2563 คาดว่า จะมีทิศทางลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกถึง ร้อยละ 80 สำหรับแนวโน้มการส่งออก (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) คาดว่า จะมีแนวโน้มลดลง จากการที่ผู้บริโภคชะลอการบริโภคสินค้าไม่จำเป็น ขณะที่การส่งออกในภาพรวม คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัว จากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปเพื่อเก็งกำไรจากส่วนต่างของราคา เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกขยับตัวอยู่ในระดับที่สูงขึ้น

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลได้ผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ระยะที่ 5 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 รวมถึงได้ออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ “โครงการเที่ยวปันสุข” ด้วยการสนับสนุนทั้งค่าเดินทางและค่าที่พัก เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้ออกมาท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอย อีกทั้งช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ 1 กรกฎาคม - 31 ตุลาคม 2563 ซึ่งมาตรการดังกล่าว จะมีส่วนกระตุ้นภาพรวมของการบริโภคสินค้าและช่วยเหลือผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี

อุตสาหกรรมอาหาร

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 เป็นผลจากปริมาณวัตถุดิบ ที่ ลดลงด้วยผลกระทบจากภัยแล้ง กอปรกับฐานที่ค่อนข้างสูงในปีก่อน โดยเฉพาะน้ำตาลทรายที่ปริมาณอ้อยเข้าหีบลดลงจากปีก่อนร้อยละ 42.85 อย่างไรก็ตามหากไม่รวมน้ำตาลทรายดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากสินค้าอาหารบางรายการที่ได้รับอานิสงส์จากความกังวลของการระบาดไวรัส COVID-19 ทำให้คำสั่งซื้ออาหารเพิ่มขึ้น จากการเร่งสำรองสินค้าโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศส่งผลให้ดัชนีผลผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง กะทิ น้ำมันถั่วเหลือง นมพร้อมดื่ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออก ขยายตัวเช่นเดียวกัน จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นของสินค้าสำคัญ อาทิ แป้งมันสำปะหลัง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง สับปะรดกระป๋อง สิ่งปรุงรส และอาหารสัตว์เลี้ยง รวมทั้งผลไม้สดแช่ เย็นแช่แข็ง โดยตลาดสำคัญ เช่น จีน สหรัฐอเมริกา เวียดนาม ฮ่องกง และออสเตรเลีย (ทุเรียน) เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์ Covid-19

ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 96.9 ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 18.3 (%QoQ) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.2 (%YoY) เนื่องจากวัตถุดิบลดลงจากภัยแล้ง และฐานที่ค่อนข้างสูงในปีก่อนโดยเฉพาะน้ำตาล ท รา ยที่ปริมาณอ้อยเข้าหีบลดลงจากปีก่อนร้อยละ 42.9 ทำให้โรงงานปิดหีบอ้อยเร็วกว่าปีก่อน (ปิดหีบไตรมาส 1 ปี 2563) รวมทั้ง สับปะรดที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเช่นกัน ส่งผลให้ดัชนีผลผลิต น้ำตาลทราย น้ำมันปาล์ม แป้งมันสำปะหลัง และสับปะรดกระป๋อง ลดลง อย่างไรก็ตามหากไม่รวมน้ำตาลทรายดัชนีผลขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 (YoY) จากสินค้าอาหารบางรายการที่ได้รับอานิสงส์จากความกังวลของการระบาดไวรัส COVID-19 ทำให้คำสั่งซื้ออาหารเพิ่มขึ้น จากการเร่งสำรองสินค้าโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง กะทิ น้ำมันถั่วเหลือง นมพร้อมดื่ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้น

การจำหน่ายอาหารในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2563มีปริมาณ 55,438.0 พันตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 14.7 (%QoQ) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัว ลดลงร้อยละ 10.9 (%YoY) ตามความต้องการอาหารสดและเครื่องดื่มในประเทศชะลอตัว เนื่องจากมาตรการ Lockdown ประเทศ รวมถึงการปิด Food service เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไวรัส Covid-19 ส่งผลให้การจำหน่ายอาหารในประเทศลดลง เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งน้ำมันปาล์ม และอาหารกุ้งสำเร็จรูป

การส่งออกไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 8,184.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 15.5(%QoQ) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 (%YoY) โดยเฉพาะตลาดจีน สหรัฐอเมริกา เวียดนามฮ่องกง และออสเตรเลีย จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นของสินค้าสำคัญ อาทิข้าว ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง แป้งมันสำปะหลัง ทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋องสับปะรดกระป๋อง ข้าวโพดหวานกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ข้าว นมและผลิตภัณฑ์นม สิ่งปรุงรส และอาหารสัตว์เลี้ยง รวมทั้งผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง (ทุเรียน) เนื่องจากความกังวลของการระบาด COVID-19 ทำให้ความต้องการสำรองอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหาร (Food security) อย่างต่อเนื่อง

การนำเข้าไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 3,557.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ร้อยละ 8.8(%QoQ) จากสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผลกระทบจากมาตรการLockdown แม้การนำเข้าปลาทูน่า และเมล็ดพืชน้ำมันและกากพืชน้ำมัน เพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมทูน่ากระป๋อง น้ำมันถั่วเหลือง และอุตสาหกรรมปศุสัตว์ขยายตัวก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 (%YoY) จากการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค นมและผลิตภัณฑ์นม และข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพื่อรองรับการขยายตัวของการผลิตและบริโภคที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมนม และผลิตภัณฑ์จากแป้งโดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563

คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จะหดตัวมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยปัจจัยลบอย่างวัตถุดิบสินค้าเกษตรลดลงจากปัญหาภัยแล้ง เช่น อ้อย ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และมันสำปะหลัง ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการผลิตของโรงงาน กอปรกับการบริโภคในประเทศยังชะลอตัวจากการบริโภคของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามไทยน่าจะยังคงได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทูน่าและซาร์ดีนกระป๋อง) นม สิ่งปรุงรส และอาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของตลาดโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ที่ยังรักษาระดับความมั่นคงด้านอาหาร ทั้งในประเทศที่ยังคงมีการระบาดรุนแรงและประเทศที่สถานการณ์การระบาดส่งสัญญาณดีขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกอาจจะขยายตัวเล็กน้อย แต่ Food service ยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันการระบาด Covid-19 ในประเทศที่สถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย และในหลายประเทศที่ป้องกันการระบาดรอบ 2

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ