สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 20, 2021 14:27 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

          สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2564 การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 1.1         เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการหดตัวของอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 อยู่ที่ร้อยละ 65.1
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2564 หดตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน                 สาขาอุตสาหกรรมการผลิตสำคัญที่หดตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 18.5เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากน้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91เป็นหลัก เนื่องจากการหยุดซ่อมบำรุงบางหน่วยกลั่นของโรงกลั่นน้ำมัน รวมทั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันในการเดินทางลดลงอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 33.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ภาวะเศรษฐกิจทั้งในประเทศและประเทศผู้ค้าชะลอตัว ส่งผลให้คำสั่งซื้อในประเทศและส่งออกลดลง อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 26.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากเบียร์เป็นหลัก เนื่องจากการแพร่ระบาดขอไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้มีมาตรการเฝ้าระวังการระบาดเพิ่มขึ้น ทำให้ช่องทางการจำหน่ายเบียร์ลดลง

สำหรับสาขาอุตสาหกรรมการผลิตสำคัญที่ขยายตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์

อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณอ้อยที่เข้าหีบมีมากกว่าปีก่อน ส่งผลให้ผลิตน้ำตาลได้เพิ่มขึ้นอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 16.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากแผงวงจรรวม (Integrated circuit: IC)และแผงวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Board Assembly:PCBA) เนื่องจากความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ยังมีความต้องการต่อเนื่อง อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 5.0เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากรถบรรทุกปิคอัพ และเครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก เนื่องจาก ผู้ผลิตมีการผลิตรถรุ่นใหม่ ๆ ทำให้มีคำสั่งซื้อทะยอยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ