ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 20, 2021 13:57 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)

ขยายตัวร้อยละ 25.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากฐานเปรียบเทียบในเดือนพฤษภาคม

2563 ที่ต่ำ ซึ่งเป็นเดือนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดในระลอกแรก รวมถึงในปีนี้การส่งออกมีการขยายตัวได้ดี

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนกุมภาพันธ์ การผลิตหดตัวร้อยละ

1.4 เดือนมีนาคม ขยายตัวร้อยละ 5.9 และเดือนเมษายน ขยายตัวร้อยละ 18.0

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนกุมภาพันธ์ เดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

หรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนกุมภาพันธ์ หดตัวร้อยละ 3.1 เดือนมีนาคม

ขยายตัวร้อยละ 10.2 และเดือนเมษายน หดตัวร้อยละ 16.5

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนพฤษภาคม 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

คือ

? รถยนต์และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 151.44 จากฐานต่ำ เนื่องจากปีก่อนอยู่ในช่วงการแพร่ระบาด

ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกและเพิ่งเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

? เครื่องปรับอากาศ และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.25 จากฐานต่ำในปีก่อนตามผลกระทบของการ

แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปีนี้ผู้ผลิตได้ออก

ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ตอบสนองและจูงใจผู้บริโภค (ประหยัดพลังงานและกรองอากาศจากฝุ่นและเชื้อโรค) รวมถึง

ตลาดส่งออกขยายตัวดี หลังประสบปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และเรือขนส่งสินค้าในเดือนก่อน

? ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.35 จากความต้องการของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ของโลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามปัจจัยบวกของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและมีความต้องการใช้

ในหลากหลายผลิตภัณฑ์มากขึ้น

? เหล็กและเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.28 ตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เติบโต

ได้มากขึ้นหลังจากชะลอตัวตามสถานการณ์โควิด-19 จากมาตรการล็อกดาวน์และการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิต

อุตสาหกรรมปลายน้ำในช่วงปีก่อน (ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า) รวมถึงการเร่งดำเนินการก่อสร้างสาธารณูปโภค

พื้นฐานต่าง ๆ ในปีนี้

? ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 167.86 จากฐานต่ำในปีก่อน ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ระลอกแรก ทำให้ประเทศคู่ค้า อย่างเช่น จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์และสหรัฐอเมริกา ล็อกดาวน์ประเทศและชะลอ

คำสั่งซื้อ รวมถึงปีนี้ผู้ผลิตมีการปรับลดราคาสินค้าเพื่อกระตุ้นตลาดด้วย

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ

เดือนพฤษภาคม 2564

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนพฤษภาคม 2564

? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนพฤษภาคม 2564 มีมูลค่า 1,486.7

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 58.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลัง

และส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เครื่องจักรและ

อุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะ และส่วนประกอบ ตลับลูกปืน และ

เครื่องจักรในอุตสาหกรรมการพิมพ์ เป็นต้น

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนพฤษภาคม 2564 มีมูลค่า 9,506.3

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 60.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเหล็ก ผลิตภัณฑ์

กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนพฤษภาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 223 โรงงาน ลดลง

จากเดือนเมษายน 2564 ร้อยละ 3.88 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.2 (%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนพฤษภาคม 2564 มีมูลค่ารวม

62,867 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2564 ร้อยละ 436.74 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 273.94 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนพฤษภาคม 2564 คือ อุตสาหกรรม

การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 26 โรงงาน และอุตสาหกรรมการขุด

หรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 25 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2564 คือ อุตสาหกรรมการถลุง หลอม หล่อ รีด ดึง

หรือผลิตเหล็กหรือเหล็กกล้า ในขั้นต้น จำนวนเงินทุน 48,857 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการซ่อมแซม

ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ จำนวนเงินทุน 2,183 ล้านบาท

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนพฤษภาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 68 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือน

เมษายน 2564 ร้อยละ 74.36 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.64 (%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนพฤษภาคม 2564 มีมูลค่ารวม 2,295 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน

เมษายน 2564 ร้อยละ 143.48 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 162.60 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนพฤษภาคม 2564 คือ

อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 10 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการกลึง เจาะ

คว้าน กัด ไส เจียน หรือเชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 4 โรงงาน

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนพฤษภาคม 2564 คือ อุตสาหกรรม

ผลิต ประกอบ หรือซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ ตู้เย็นหรือเครื่องประกอบตู้เย็น มูลค่าเงินลงทุน 1,310 ล้านบาท

รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องประดับโดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาว เงิน นาก มูลค่าเงินลงทุน

157 ล้านบาท?

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนพฤษภาคม 2564

1. อุตสาหกรรมอาหาร

การผลิต ดัชนีผลผลิตเดือนพฤษภาคม 2564

ขยายตัวเพิ่มขึ้น (%YoY) ร้อยละ 6.5 เนื่องจากมีคำสั่งซื้ออย่าง

ต่อเนื่องตามความต้องการบริโภคในประเทศและต่างประเทศจาก

การทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนี

ผลผลิตขยายตัว มีดังนี้ 1) เครื่องปรุงรสอาหารประจำโต๊ะและ

เครื่องประกอบอาหาร ขยายตัวร้อยละ 34.0 จากสินค้าสำคัญคือ

เครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร 2) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ

25.4 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง 3) ผักและผลไม้แปรรูป

ขยายตัวร้อยละ 18.9 จากสินค้าสำคัญคือ สับปะรดกระป๋อง

ผักผลไม้แช่แข็ง และข้าวโพดหวานกระป๋อง 4) อาหารสัตว์สำเร็จรูป

ขยายตัวร้อยละ 18.4 จากสินค้าสำคัญคือ อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป

5) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 8.1 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมัน

ปาล์มบริสุทธิ์ และน้ำมันปาล์มดิบ และ 6) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ

4.7 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่สุกปรุงรส

อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าบางรายการ เช่น 1) น้ำตาล

ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.7 เนื่องจากอ้อยในฤดูการปลูกปี 63/64

ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้การผลิตน้ำตาลลดลง ประกอบ

กับความต้องการบริโภคน้ำตาลในประเทศช่วงโควิดลดลง

2) สินค้าสัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.8

เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือ

ที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการชะลอคำสั่งซื้อและการส่งมอบสินค้า

ประกอบกับปัจจัยฐานสูงในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงการระบาดของ

โควิดรอบแรก สินค้าสัตว์น้ำบรรจุกระป๋องจึงเป็นที่ต้องการทั่วโลก

3) ผลิตภัณฑ์นม ปรับลดลงร้อยละ 6.1 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ (1)

นมพร้อมดื่ม และ (2) นมเปรี้ยว เนื่องจากในช่วงเวลาเดียวกันของ

ปีก่อน มีปริมาณน้ำนมดิบซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์

ดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้ในปีที่ผ่านมามีฐานสูง และ (3) นมผง

เนื่องจากมีปริมาณสินค้าคงคลังในระดับสูง และช่องทางการ

จำหน่ายไม่สามารถทำได้เต็มที่จากการระบาดของโควิดรอบ 3

การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า

อาหารในประเทศเดือนพฤษภาคม 2564 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 3.0

โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่ขยายตัว มีดังนี้ 1) น้ำมันพืช (ยกเว้นน้ำมันปาล์ม)

ขยายตัวร้อยละ 11.0 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์

2) เครื่องปรุงอาหารประจำโต๊ะและเครื่องประกอบอาหาร ขยายตัว

ร้อยละ 10.7 จากสินค้าสำคัญคือ เครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร

3) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 10.3 จากสินค้าสำคัญคือ แป้ง

มันสำปะหลัง 4) อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 8.0 จากสินค้า

สำคัญคือ อาหารสัตว์เลี้ยง และ 5) มักกะโรนี เส้นก๋วยเตี๋ยว และ

ผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกแป้งที่คล้ายกัน ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากสินค้า

สำคัญคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนพฤษภาคม

2564 มีมูลค่า 3,198.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน (%YoY) ร้อยละ 6.6 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ 1) ผัก ผลไม้ สด

แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป เนื่องจากมีมาตรการบริหารจัดการ

ผลไม้เชิงรุก 2) สิ่งปรุงรสอาหาร เนื่องจากผู้บริโภคปรับพฤติกรรมตามการ

ใช้ชีวิตวิถีใหม่ ส่งผลให้มีการทำอาหารรับประทานเองที่บ้านเป็นกิจวัตร

ประจำวันมากขึ้น 3) อาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากแนวโน้มการเลี้ยงสัตว์

ที่เติบโตขึ้นทั่วโลก ซึ่งส่งผลบวกธุรกิจต่ออาหารสัตว์เลี้ยงของไทยที่มี

ศักยภาพในการรับจ้างผลิต 4) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูป

เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศที่เป็นตลาดสำคัญ

ทำให้ร้านค้าและร้านอาหารกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง และ

5) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากเป็นที่ต้องการในตลาดสำคัญอย่างจีน

และญี่ปุ่น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร อาหารสัตว์ และเอทานอล

คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกของ

อุตสาหกรรมอาหารเดือนมิถุนายน 2564 ในภาพรวมจะขยายตัวเล็กน้อย

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า

อย่างไรก็ตาม ในด้านการส่งออกยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหา

ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และค่าระวางเรือสูง ซึ่งอาจส่งผลให้

ผู้ประกอบการมีผลต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.7 เมื่อ

เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 120.8 สินค้า

เครื่องใช้ไฟ ฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องซักผ้า กระติกน้ำร้อน

เครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ สายเคเบิ้ล ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ มอเตอร์

ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว สายไฟฟ้า และพัดลมตามบ้าน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 114.7,

93.9, 93.1, 78.8, 60.2, 57.3, 56.9, 52.4, 49.0, 44.9 และ 34.9 ตามลำดับ

เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,150.9 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องซักผ้า มีมูลค่า 115.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 136.9 ในตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และอาเซียน หม้อแปลงไฟฟ้า

มีมูลค่า 11.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 129.4 ในตลาดจีน ญี่ปุ่น และ

อาเซียน สายไฟฟ้า ชุดสายไฟ มีมูลค่า 72.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ

67.7 ในตลาดสหรัฐอเมริกา อาเซียน และยุโรป มอเตอร์ไฟฟ้า มีมูลค่า 61.6

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.0 ในตลาดสหรัฐอเมริกา อาเซียน และ

ยุโรป เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่า 446.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7

ในตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป และเครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่อง

ทำความเย็น และส่วนประกอบ มีมูลค่า 65.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ

32.6 ในตลาดยุโรป อาเซียน และสหรัฐอเมริกา

?คาดการณ์การผลิตเดือนมิถุนายน 2564 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะ

ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 25.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัว เช่น ตลาดสหรัฐอเมริกา

สหภาพยุโรป และจีน ทำให้มีความต้องการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมทั้ง

การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น เช่น

เครื่องปรับอากาศที่สามารถกรองฝุ่นละออง PM 2.5 และป้องกันเชื้อโรค?

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 เมื่อ

เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 98.4 สินค้า

อิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ PCBA, PWB, IC, Semiconductor

devices Transistors และ HDD โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.6, 30.3, 29.5,

24.1 และ 13.9 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อ

จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,912.9

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรพิมพ์ มีมูลค่า 125.2

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.2 ในตลาดยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา

เครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ มีมูลค่า 260.9 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.4 ในตลาดยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น วงจรรวม มีมูลค่า

591.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ในตลาด ยุโรป อาเซียน และ

สหรัฐอเมริกา และไดโอด ทรานซิสเตอร์ กลอุปกรณ์กึ่งตัวนำ และส่วนประกอบ

มีมูลค่า 144.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ในตลาดสหรัฐอเมริกา

อาเซียน และญี่ปุ่น

?คาดการณ์การผลิตเดือนมิถุนายน 2564 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

คาดว่าจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องประมาณร้อยละ 30.0

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดโลกขยายตัว

อย่างต่อเนื่องทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่ม

สินค้าเซมิคอนดักเตอร์ HDD รวมทั้งการขยายโครงข่ายและพัฒนา

อุปกรณ์เครือข่าย 5G ซึ่งทำให้เกิดความต้องการอุปกรณ์และชิ้นส่วน

อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ?

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

การผลิตรถ ยน ต์ ใน เดือน พ ฤษ ภ ค ม ปี 2 56 4

มีจำนวน 140,168 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ปี 2564 ร้อยละ

34.32 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

150.14 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ

1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เนื่องจากช่วง

เดียวกันของปีที่ผ่านมามีการล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดของเชื้อ

ไวรัสโควิด-19 ในระลอกแรก ประกอบกับมีหยุดการผลิตชั่วคราว

ส่งผลให้ฐานปีที่ผ่านมาต่ำ

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนพฤษภาคม

ปี 2564 มีจำนวน 55,948 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน ปี 2564

ร้อยละ 3.76 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

38.42 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์

กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รถยนต์ PPV และ

SUV เนื่องจากฐานปีที่ผ่านมาต่ำจากการล็อกดาวน์

การส่งออกรถยนต์ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2564

มีจำนวน 79,479 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ปี 2564 ร้อยละ

50.30 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

165.87 (%YoY) เนื่องจากฐานปีที่ผ่านมาต่ำจากการล็อกดาวน์

ประกอบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัวมากขึ้น

โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกรถยนต์ทุกประเภทในตลาด

ทุกตลาด

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือน

มิถุนายน ปี 2564 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ปี 2563

เนื่องจากฐานการผลิตรถยนต์ในช่วงเดือนมิถุนายนของปี 2563

ลดลงต่ำจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อ

ตลาดรถยนต์ทั่วโลก?

อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2564

มีจำนวน 183,760 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ปี 2564 ร้อยละ

39.82 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

175.63 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ

อเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤษภาคม

ปี 2564 มียอดจำหน่ายจำนวน 141,881 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน

เมษายน ปี 2564 ร้อยละ 6.00 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 45.75 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของยอด

จำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250

ซีซี และ 251-399 ซีซี

การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤษภาคม

ปี 2564 มีจำนวน 37,493 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน

ปี 2564 ร้อยละ 22.60 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ

ปีก่อน ร้อยละ 148.46 (%YoY) โดยตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์

สำเร็จรูปมีการเพิ่มขึ้นในประเทศจีน เบลเยียม สหราชอาณาจักร

และสหรัฐอเมริกา

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน

ปี 2563 เนื่องจากฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ในช่วงเดือนมิถุนายน

ของปี 2563 ลดลงต่ำจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งได้

ส่งผลกระทบต่อตลาดรถจักรยานยนต์ทั่วโลก?

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.05 จากการขยายตัวของ

การผลิตสินค้ายางแปรรูปขั้นปฐมทุกชนิด

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 197.42 เนื่องจากตลาด

ทั้งในและต่างประเทศมีการขยายตัวที่ดี ประกอบกับฐาน

ตัวเลขของปีก่อนค่อนข้างต่ำ

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 5.34 เนื่องจากโรงงานบาง

แห่งหยุดทำการผลิตชั่วคราวในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม

2564

การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.92 โดยเป็นการจำหน่ายสินค้า

ยางแท่งและน้ำยางข้นเพิ่มขึ้น

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 118.83 ตามการขยายตัว

ที่ดีของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ประกอบกับฐาน

ตัวเลขของปีก่อนค่อนข้างต่ำ

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 28.41 เนื่องจากผู้ผลิต

ในประเทศลดการจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางลง และหันไป

ทำตลาดต่างประเทศเองมากขึ้น

การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.21 จากการขยายตัวของ

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมทุกชนิด

ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.36 ตามการ

ขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้

ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 98.24 ตามการขยายตัว

ที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2564

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยาง

แท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก

เดือนก่อน เนื่องจากประเทศไทยมีฝนตกเร็วกว่าปีที่ผ่านมา

จึงเข้าสู่ฤดูเปิดกรีดยางเร็วขึ้น และมีแนวโน้มปริมาณยาง

เข้าสู่ตลาดมากขึ้น สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์

คาดว่าจะมีการขยายตัวที่ดีตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีขึ้น

ต่อเนื่องของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของการ

ผลิตถุงมือยางในภาพรวมคาดว่าจะยังขยายตัวได้ เนื่องจาก

ทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มความต้องการใช้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงแม้อาจมีปริมาณ

การผลิตลดลงจากการปิดโรงงานบางแห่งเป็นการชั่วคราว

เนื่องจากการติดเชื้อภายในโรงงาน ในขณะที่การจำหน่าย

ถุงมือยางในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากการที่

ผู้ผลิตถุงมือยางในประเทศปรับลดการจำหน่ายผ่านพ่อค้า

คนกลางลงและหันไปทำตลาดต่างประเทศเองมากขึ้น

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน

ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

จากเดือนก่อน โดยเฉพาะในตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และ

มาเลเซีย สำหรับการส่งออกยางรถยนต์คาดว่าจะมีมูลค่า

สูงขึ้นจากแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา

ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ เวียดนาม และมาเลเซีย ถึงแม้จะมี

ประเด็น Anti-dumping ของสินค้ายางรถยนต์ไทยในตลาด

สหรัฐอเมริกา เนื่องจากผู้ประกอบการไทยสามารถปรับตัวต่อ

ต้นทุนที่สูงขึ้นได้บ้างแล้ว ในส่วนของการส่งออกถุงมือยาง

คาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นตามแนวโน้มความต้องการใช้ทางการ

แพทย์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเฉพาะในตลาด

สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนพฤษภาคม 2564 ค่าดัชนีผลผลิต

อยู่ที่ระดับ 95.78 ขยายตัวร้อยละ 3.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยการผลิตที่ขยายตัวอยู่ในหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น

พลาสติกแผ่น ขยายตัวร้อยละ 28.41 บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ

ขยายตัวร้อยละ 23.14 และแผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัวร้อยละ

10.38

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนพฤษภาคม 2564 ค่าดัชนี

การส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 92.61 ขยายตัวร้อยละ 1.26 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว เช่น พลาสติก

แผ่น ขยายตัวร้อยละ 41.82 บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ขยายตัว

ร้อยละ 16.01 และเครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ

ขยายตัวร้อยละ 7.80

การส่งออก เดือนพฤษภาคมปี 2564 มีมูลค่า 366.89

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 29.38 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อนโดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการส่งออกขยายตัวสูง

ที่สุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) ขยายตัวร้อยละ

113.58 กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ

ชนิดยึดติดในตัว (HS 3919) ขยายตัวร้อยละ 62.34 และกลุ่ม

ผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่เป็นแบบ

เซลลูลาร์ (HS 3921) ขยายตัวร้อยละ 56.95 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น

สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และจีน

การนำเข้า เดือนพฤษภาคม 2564 มีมูลค่า 459.10

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ขยายตัวร้อยละ 26.77 ผลิตภัณฑ์หลัก

ที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์

(HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 80.49 กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว

(HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 67.05 และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกใน

กลุ่มอื่น ๆ (HS 3926) ขยายตัวร้อยละ 40.80 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาห กรรมพ ลาสติก เดือนมิถุน ยน 2564

คาดการณ์ว่าการผลิตและการส่งออกจะขยายตัว อย่างไรก็ตาม

ต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

โดยเฉพาะการรับวัคซีนของประชาชนในประเทศ จะส่งผลต่อ

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และส่งผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม

พลาสติก

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนพฤษภาคม 2564 อยู่ที่ระดับ

104.60 ห ดตัวร้อยละ 1.86 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 7.37

ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวสูงสุด ได้แก่ ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ

41.77 สำหรับการผลิตในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน ขยายตัว

ร้อยละ 19.43 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวสูงสุด ได้แก่

คลอรีน ขยายตัวร้อยละ 34.15

ดัช นีก ร ส่ง สิน ค้า เดือ น พ ฤ ษ ภ ค ม 2564

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ

109.48 ขยายตัวร้อยละ 18.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน

ขยายตัวร้อยละ 14.77 ขยายตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์ คลอรีน

ขยายตัวร้อยละ 30.61 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ดัชนี

การส่งสินค้าขยายตัว ร้อยละ 19.10 ขยายตัวในหลาย ๆ กลุ่ม

ผลิตภัณฑ์ เช่น แป้งฝุ่น ขยายตัวร้อยละ 139.00 และสี

อุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 54.97 เป็นต้น

การส่งออก เดือนพฤษภาคม 2564 มีมูลค่า 856.17

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 45.99 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่า

การส่งออก 511.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 65.27

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์

ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 344.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ขยายตัวร้อยละ 24.46 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออก

ขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ขยายตัวร้อยละ 89.80 และปุ๋ย

ขยายตัวร้อยละ 89.18 การส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น

จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น และอินเดีย

การนำเข้า เดือ น พ ฤษ ภ ค ม 2564 มีมูล ค่า

1,833.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 54.93

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน

มีมูลค่าการนำเข้า 1,075.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัว

ร้อ ย ล 50.81 เมื่อ เทีย บ กับ ช่วงเดีย วกัน ข องปีก่อ น

ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 757.58 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 61.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนมิถุนายน 2564

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อความเชื่อมั่น

ในด้านการลงทุนในประเทศ และความต้องการใช้ของสินค้า

เคมีภัณฑ์บางประเภท และอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออก

ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัช นีผ ล ผ ลิต อุต ส ห ก ร ร ม ปิโต ร เค มี

เดือนพฤษภาคม ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 121.54 หรือขยายตัว

ร้อยละ 9.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ

ขยายตัวร้อยละ 8.26 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็น

ปิโต รเค มีขั้นพื้น ฐาน ได้แก่ Ethylene และ Toluene

ขยายตัวร้อยละ 19.76 และ 14.39 และปิโตรเคมีขั้นปลาย

ได้แก่ PS และ PP resin ขยายตัวร้อยละ 9.19 และ 5.39

การส่งออก การส่งออกเดือนพฤษภาคม ปี 2564

มีมูลค่า 1,213.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ

71.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว

ร้อยละ 3.59 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวใน

กลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Terephthalic Acid และ

Propylene เป็นต้น ร้อยละ 103.97 และขยายตัวในกลุ่ม

ปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ PP resin เป็นต้น

ขยายตัวร้อยละ 63.41

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การนำเข้า เดือนพฤษภาคม ปี 2564 มีมูลค่า

583.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 66.72 เมื่อ

เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 5.77

เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน เช่น Stylene เป็นต้น ร้อยละ 74.31 และ

ขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ PP

resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 65.22 ส่วนหนึ่งมาจากระดับ

ราคาที่เริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบ

คาดการณ์แนวโน้ม เดือนมิถุนายน ปี 2564

คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการผลิตเพิ่มขึ้นของ

เม็ดพลาสติกที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์การป้องกันโควิด

ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของระดับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทำให้

การผลิตและส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก

และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนพฤษภาคม

2564 มีค่า 115.1 ขยายตัวร้อยละ 40.3 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน ตามการปรับฟื้นตัวของอุตสาหกรรม

ต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและ

อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้ผลิตเร่งผลิตตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของ

ผู้ใช้ เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม

เหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมขยายตัวทั้งสองผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม

เหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 113.0 ขยายตัว

ร้อยละ 34.4 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัวมากที่สุด ได้แก่

ลวดเหล็กแรงดึงสูง ขยายตัวร้อยละ 81.7 รองลงมา คือ

เหล็กเส้นข้ออ้อยและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน

ขยายตัวร้อยละ 42.4 และ 38.6 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ใน

กลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 119.9

ขยายตัวร้อยละ 58.7 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัว ได้แก่

เหล็กแผ่นรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 112.3 รองลงมา คือ เหล็ก

แผ่นเคลือบสังกะสี ขยายตัวร้อยละ 83.3 และเหล็กแผ่น

เคลือบดีบุก ขยายตัวร้อยละ 77.5

การบริโภคในประเทศ ในเดือนพฤษภาคม 2564

มีปริมาณการบริโภค 1.8 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 55.8

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาว

มีปริมาณการบริโภค 0.6 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 77.8 จาก

การบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อนที่ขยายตัว

ร้อยละ 91.0 และเหล็กลวด ขยายตัวร้อยละ 70.2 สำหรับ

กลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการบริโภค 1.2 ล้านตัน

ขยายตัวร้อยละ 45.8 จากการบริโภคเหล็กแผ่นบางรีดเย็น

ขยายตัวร้อยละ 78.3 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน

ขยายตัวร้อยละ 47.0 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ขยายตัว

ร้อยละ 44.5

การนำเข้า ในเดือนพฤษภาคม 2564 มีปริมาณ

การนำเข้า 1.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 58.6 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวมีปริมาณการนำเข้า

0.3 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 56.9 จากการนำเข้าเหล็กลวด

ชนิด alloy steel ที่ขยายตัวร้อยละ 107.0 (นำเข้าจากจีน

อินเดีย ญี่ปุ่น) รองลงมา คือ เหล็กลวดชนิด carbon steel

ขยายตัวร้อยละ 101.2 (นำเข้าจาก มาเลเซีย ญี่ปุ่น เวียดนาม)

และลวดเหล็ก ขยายตัวร้อยละ 73.4 (นำเข้าจากจีนมากที่สุด)

สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณนำเข้า 0.9

ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 59.1 เหล็กทรงแบนที่การนำเข้า

ขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด carbon steel และ

ชนิด alloy steel ขยายตัวร้อยละ 136.2 และ 110.5

ตามลำดับ (ทั้งสองชนิดนำเข้าจากญี่ปุ่นมากที่สุด)

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมิถุนายน

2564 คาดการณ์ว่า การผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของ

อุตสาหกรรมต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จากราคาเหล็กและวัตถุดิบ

ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลต่อต้นทุนของผู้ผลิตและ

ผู้บริโภคที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม เช่น

สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก ราคาสินค้าเหล็ก

ต่างประเทศ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตและการบริโภค

ผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ?

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 32.81 และ

38.79 (%YoY) ปัจจัยหลักเนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อนที่ได้รับ

ผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบแรก

ที่มีการล็อกดาวน์ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการปิดโรงงานใน

บางส่วนเนื่องจากความต้องการบริโภคชะลอตัว ประกอบกับ

ได้รับแรงส่งจากการส่งออกที่ประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวอย่าง

สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเวียดนาม สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป

การผลิตยังคงลดลง ร้อยละ 18.34 จากกำลังซื้อของผู้บริโภค

ในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบของการระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 ระลอกล่าสุด ประกอบกับการปิดกิจการชั่วคราว และมี

การปิดกิจการถาวร เช่น โรงงานผลิตชุดชั้นในสตรี และเสื้อผ้า

แม้การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ใน

ตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง เยอรมนี อังกฤษ

และจีน

การจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว

ร้อยละ 38.43 29.59 และ 21.62 (%YoY) จากฐานที่ต่ำ

ในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 รอบแรก ประกอบกับความต้องการวัตถุดิบเพื่อการ

ส่งออกกลับมาขยายตัวในหลายประเทศที่การระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 คลายตัว เช่น จีน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และยุโรป

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การส่งออก

กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ฟื้นตัว

ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ

65.79 48.83 และ 30.95 (%YoY) เนื่องจากฐานที่ต่ำ

ในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 ทำให้หลายประเทศชะลอคำสั่งซื้อ และมาตรการ

การควบคุมการขนส่งของไทยและประเทศคู่ค้า ซึ่งปัจจุบัน

ประเทศคู่ค้าสำคัญ เริ่มฟื้นตัวจากการระบาด ทำให้

การส่งออกขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยเฉพาะตลาด

สำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง เยอรมนี อังกฤษ

และจีน

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2564

คาดว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอขยายตัวต่อเนื่องด้วยฐาน

ที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่มีอย่าง

ต่อเนื่องตลอดโซ่อุปทาน ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม

น่าจะยังคงชะลอตัวตามกำลังซื้อในประเทศลดลง จากการระบาด

ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ในขณะที่ความต้องการ

เครื่องนุ่งห่มในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ

ประเทศคู่ค้าสำคัญที่เศรษฐกิจฟื้นตัว เช่น จีน สหรัฐอเมริกา และ

ยุโรป ในกลุ่มสินค้าเสื้อผ้าที่เป็นทางการและกึ่งทางการ แม้จะ

ได้รับผลกระทบจากค่าระวางเรือที่ปรับขึ้นรอบใหม่ จึงมีการ

ขอเลื่อนการรับมอบสินค้าไปบางส่วน

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนพฤษภาคม

ปี 2564 มีจำนวน 7.52 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน

ปี 2564 ร้อยละ 1.43 (%MoM) แต่ลดลงเล็กน้อยจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.90 (% YoY) เนื่องจาก

สถานการณ์ของประเทศยังได้รับผลกระทบจากการแพร่

ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน

พฤษภาคม ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.42 ล้านตัน ลดลง

จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.44 (%YoY)

การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนพฤษภาคม

ปี 2564 มีจำนวน 1.36 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน

ปี 2564 ร้อยละ 59.04 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 1.22 (%YoY) เป็นผลจากการขยายตัวของ

คำสั่งซื้อจากตลาดบังคลาเทศอย่างมาก คือ ขยายตัวร้อยละ

98.17

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต

ปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนมิถุนายน ปี 2564 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าน่าจะมีการปรับตัวลดลงจาก

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ขยายวงเข้าไปในไซต์

งานก่อสร้างหลายแห่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤษภาคม

ปี 2564 มีจำนวน 4.01 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน

ปี 2564 ร้อยละ 8.62 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 2.12 (%YoY)

การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)

เดือนพฤษภาคม ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.42 ล้านตัน

ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.44 (%YoY)

การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือน

พฤษภาคม ปี 2564 มีจำนวน 0.49 ล้านตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก

เดือนเมษายน ปี 2564 ร้อยละ 4.14 (%MoM) และขยายตัว

เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.41 (%YoY)

เป็นผลจากการได้คำสั่งซื้อปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จากตลาด

หลักเดิมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ได้แก่ เมียนมา ฟิลิปปินส์ และ

เวียดนาม ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์

(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน คาดว่าการปรับตัวลดลงจากการแพร่ระบาด

ของเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าไปในไซต์ก่อสร้างหลายโครงการ

โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ของรัฐอาจมีผลให้การก่อสร้างอาจ

ต้องหยุดชะงัก

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ