ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 27, 2022 14:46 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

Indicators 2563 2564 2564 2565

%YoY Year Year พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค.

MPI -9.5 5.9 26.0 18.6 3.7 -4.9 0.4 2.7 4.6 6.7 2.0 2.5 0.4 -0.03 -2.1

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว

ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่อุปทานโลก ส่งผลให้

เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบบางรายการ

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนกุมภาพันธ์ 2565 การผลิตขยายตัว

ร้อยละ 2.5 เดือนมีนาคม ขยายตัวร้อยละ 0.4 และเดือนเมษายน หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.03

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนกุมภาพันธ์ เดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

หรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนกุมภาพันธ์ หดตัวร้อยละ 2.6 เดือนมีนาคม

ขยายตัวร้อยละ 8.1 และเดือนเมษายน หดตัวร้อยละ 17.0

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนพฤษภาคม 2565 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

? ยานยนต์ หดตัวร้อยละ 9.11 จากการขาดแคลนชิ้นส่วนและเซมิคอนดักเตอร์ที่ใช้ผลิตรถยนต์บางรุ่น

รวมทั้งผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ทำให้การส่งออก

หดตัว

? Hard Disk Drive หดตัวร้อยละ 29.74 จากการขาดแคลนวัตถุดิบซึ่งส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบของ

มาตการการควบคุมโควิด-19 ของประเทศจีน

? เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 15.59 จากการปิดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย

อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนพฤษภาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

? การกลั่นน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.06 เนื่องจากหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุม

การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งการ

ท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ

? ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.29 ตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก

ที่ขยายตัวต่อเนื่อง

Indicators 2564 2565

%MoM พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค.

MPI 9.7 -2.0 -8.3 -3.6 9.3 2.9 3.3 1.5 2.1 -2.6 8.1 -17.0 7.5

2

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ

เดือนพฤษภาคม 2565

3

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนพฤษภาคม 2565

? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนพฤษภาคม 2565 มีมูลค่า 1,487.20

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเครื่องจักรใช้ในการก่อสร้าง

และส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะ และส่วนประกอบ เครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบ

อื่น ๆ เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก และเครื่องจักรใช้ในการแปรรูปไม้ และ

ส่วนประกอบ เป็นต้น

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนพฤษภาคม 2565 มีมูลค่า 10,831.7

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16

โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแผงวงจรไฟฟ้า

ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ปุ๋ย และ ยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ประเภทเคมีภัณฑ์อนินทรีย์

และสารปรุงแต่งที่ใช้หล่อลื่นหรือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

4

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนพฤษภาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 162 โรงงาน เท่ากันกับ

เดือนเมษายน 2565 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27.35 (%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนพฤษภาคม 2565 มีมูลค่ารวม

20,585 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2565 ร้อยละ 25.08 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อนร้อยละ 67.26 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนพฤษภาคม 2565 คือ อุตสาหกรรมการ

ทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 18 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการ

ขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดินจำนวน 12 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2565 คือ อุตสาหกรรมผลิต ประกอบหรือซ่อมแซม

เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวกึ่งนำ จำนวนเงินทุน 9,221 ล้านบาท รองลงมาคือ

อุตสาหกรรมการทำเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมี จำนวนเงินทุน 2,627 ล้านบาท

5

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนพฤษภาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 79 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือน

เมษายน 2565 ร้อยละ 64.58 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.18 (%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนพฤษภาคม 2565 มีมูลค่ารวม 1,214 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน

2565 ร้อยละ 24.17 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 47.1 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนพฤษภาคม 2565 คือ

อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 15 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการดูดทราย

จำนวน 7 โรงงาน

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนพฤษภาคม 2565 คือ อุตสาหกรรม

การทำอาหารหรือเครื่องดื่มจากผัก พืชหรือผลไม้ มูลค่าเงินลงทุน 158 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำ

ส่วนประกอบสำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคาร มูลค่าเงินลงทุน 125 ล้านบาท?

6

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนพฤษภาคม 2565

1. อุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาห กรรมอาหาร เดือน

พฤษภาคม 2565 หดตัว (%YoY) ร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตหดตัว

มีดังนี้ 1) น้ำมันปาล์ม หดตัวร้อยละ 23.0 จากสินค้าสำคัญคือ

น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เนื่องจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรม

อาหารยังคงชะลอตัว จากการที่ราคาวัตถุดิบยังคงอยู่ในระดับสูง

สำหรับน้ำมันปาล์มดิบ หดตัวเนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศ

ทั้งการบริโภคและนำไปผลิตไบโอดีเซลลดลงเมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากผลผลิตปาล์ม

น้ำมันลดลง เนื่องจากฝนตกหนักส่งผลให้น้ำท่วมในพื้นที่สวน

ปาล์ม 2) อาหารสัตว์สำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 3.7 จากสินค้าสำคัญ

ได้แก่ อาหารสุกรสำเร็จรูป เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ผลิต เช่น

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง จากการที่ฝนตก

ในหลายพื้นที่ส่งผลให้ผลผลิตมีไม่เพียงพอ ประกอบกับจำนวนสุกร

ที่ลดน้อยลงจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ส่งผลให้ผู้ผลิตอาหาร

สัตว์ชะลอการผลิต สำหรับอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป หดตัวจาก

ตลาดในประเทศ 3) ประมง หดตัวร้อยละ 2.8 จากสินค้าสำคัญ

ได้แก่ กุ้งแช่แข็ง เนื่องจากตลาดทั้งในและต่างประเทศชะลอตัว

อย่างไรก็ตาม ยังมีดัชนีสินค้าอาหารบางรายการขยายตัว ดังนี้

1) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 26.4 จากสินค้าสำคัญคือ

แป้งมันสำปะหลัง จากความต้องการบริโภคของตลาดในประเทศ

และต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก เพื่อใช้

เป็นสินค้าทดแทนแป้งข้าวโพดในช่วงที่มีราคาสูง 2) เครื่องปรุงรส

อาหารประจำโต๊ะและเครื่องประกอบอาหาร ขยายตัวร้อยละ 12.3

จากสินค้าสำคัญคือ เครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร เนื่องจากบาง

บริษัทมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดต่างประเทศ ประกอบกับวัตถุดิบ

เข้าโรงงานมีปริมาณมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน และผงชูรส

ขยายตัว จากการผ่อนคลายมาตรการของรัฐบาล ทำให้ร้านอาหาร

เปิดให้นั่งทานได้ 3) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากสินค้าสำคัญ

คือ น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และน้ำตาลทรายขาว จากความ

ต้องการบริโภคในประเทศสูงขึ้น 4) ผักและผลไม้แปรรูป ขยายตัว

ร้อยละ 3.6 จากสับปะรดกระป๋อง จากความต้องการบริโภคทั้ง

ตลาดในและต่างประเทศ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อเมริกา

เยอรมนี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 5) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ

1.7 จาก แฮม ไส้กรอก จากการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ทำให้

สินค้าดังกล่าวเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศ

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า

อาหารในประเทศเดือนพฤษภาคม 2565 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 19.3

โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่ขยายตัว เช่น 1) ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ

154.2 2) สับปะรดกระป๋อง ขยายตัวร้อยละ 52.7 3) เครื่องปรุงรสประจำ

โต๊ะอาหาร ขยายตัวร้อยละ 34.0 4) น้ำดื่มบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 17.4

ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าอาหารเดือนพฤษภาคม 2565

ในภาพรวม ขยายตัวร้อยละ 39.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

จากสินค้าดังนี้ 1) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ

น้ำมันปาล์ม เนื่องจากราคาน้ำปาล์มดิบในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง ทำให้

ผู้ผลิตส่งออกน้ำมันปาล์มดิบอย่างต่อเนื่อง 2) ผักผลไม้ จากสินค้าสำคัญคือ

ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง โดยมีจีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญ

3) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดหลักได้นำเข้ามันเส้นเพื่อ

ใช้ในการผลิตเอทานอล อาหารสัตว์ และแป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้ใน

อุตสาหกรรมอาหาร และ 4) น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล จากสินค้าสำคัญ

คือ น้ำตาลทราย ในตลาดอินโดนีเซีย และกัมพูชา

คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือน

มิถุนายน 2565 ในภาพรวมมีแนวโน้มจะขยายตัวมากขึ้นเมื่อเทียบช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการของรัฐ รวมถึงนโยบายเปิดประเทศทำให้

มีนักท่องเที่ยวเข้ามาช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ อย่างไรก็ตาม

ยังคงต้องติดตามการปรับตัวของราคาวัตถุดิบสินค้าอาหาร ซึ่งได้รับผลกระทบจาก

สถานการณ์เงินเฟ้อรวมถึงพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออก

มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลก

7

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ

114.7 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สายเคเบิ้ล กระติกน้ำ

ร้อน สายไฟฟ้า เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว เตาอบไมโครเวฟ พัดลม

ตามบ้าน และตู้เย็น โดยลดลงร้อยละ 42.2, 34.3, 24.8, 23.3,

20.2, 19.9, 3.4 และ 2.3 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้า

ในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้า

ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ และ

หม้อแปลงไฟฟ้า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0, 1.6 และ 0.7 ตามลำดับ

เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ

เพิ่มขึ้น

การส่งออกเครื่องใช้ไฟ ฟ้า มีมูลค่า 2,200.1

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือน

เดียวกันของปีก่อน

?คาดการณ์การผลิตเดือนมิถุนายน 2565 อุตสาหกรรม

เครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 1.0-3.0

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบจาก

สถานการณ์เงินเฟ้อรวมถึงราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น

อย่างต่อเนื่อง?

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ

91.8 ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD และ PCBA

เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศลดลงและคำสั่งซื้อจาก

ต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ PWB,

Printer, IC และ Semiconductor devices Transistors โดย

เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9, 17.6, 6.9 และ 1.1 ตามลำดับ เนื่องจาก

ความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 2,791.4

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับเดือน

เดียวกันของปีก่อน

?คาดการณ์การผลิตเดือนมิถุนายน 2565 อุตสาหกรรม

อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยประมาณร้อยละ

0.5-2.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก

ส ถ น ก รณ์ก ร เงิน เฟ้อ ที่ส่งผ ล ให้ผู้ป ร ก อ บ ก ร

ต้องแบกรับภาระต้นทุนด้านต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น รวมถึง

การขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์และ

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ

ต่อความต้องการใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกได้?

8

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

พ.ค.

64

มิ.ย.

64

ก.ค.

64

ส.ค.

64

ก.ย.

64

ต.ค.

64

พ.ย.

64

ธ.ค.

64

ม.ค.

65

ก.พ.

65

มี.ค.

65

เม.ย.

65

พ.ค.

65

คนั ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์

ปริมาณการจำหน่าย ปริมาณการส่งออก

ปริมาณการผลิต

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถยนต์ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2565 มีจำนวน

129,231 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ปี 2565 ร้อยละ 9.72

(%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.80

(%YoY) จากการปรับลดลงของรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และ

อนุพันธ์ โดยการผลิตลดลงเนื่องจากการขาดแคลนชิ้นส่วนและ

เซมิคอนดักเตอร์ของรถยนต์บางรุ่น

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนพฤษภาคม

ปี 2565 มีจำนวน 64,735 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ปี 2565

ร้อยละ 2.06 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 15.71 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง

รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ

SUV เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อเยียวยาผู้ได้รับ

ผลกระทบจากโควิด-19 การประกันรายได้เกษตรกร มีการจัดกิจกรรม

ทางเศรษฐกิจมากขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19

ทำให้เศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัว

การส่งออกรถยนต์ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2565

มีจำนวน 76,937 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ปี 2565

ร้อยละ 38.14 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 3.20 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการลดลงในตลาดเอเชีย

ตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือ และอเมริกากลางและใต้

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์

ในเดือนมิถุนายน ปี 2565 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน

ปี 2564 เนื่องจาก ยังคงต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์

การล็อกดาวน์ในประเทศจีน สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ราคา

น้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาก และการขาดแคลนชิ้นส่วนและเซมิคอนดักเตอร์?

? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

พ.ค.

64

มิ.ย.

64

ก.ค.

64

ส.ค.

64

ก.ย.

64

ต.ค.

64

พ.ย.

64

ธ.ค.

64

ม.ค.

65

ก.พ.

65

มี.ค.

65

เม.ย.

65

พ.ค.

65

คนั ขอ้ มูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถจกั รยานยนต์

ปรมิ ณการจำหน่าย

ปรมิ ณการส่งออก

ปรมิ ณการผลิต

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2565

มีจำนวน 157,940 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ปี 2565 ร้อยละ

20.81 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

14.05 (%YoY) จากการลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ

อเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤษภาคม

ปี 2565 มียอดจำหน่ายจำนวน 162,352 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน

เมษายน ปี 2565 ร้อยละ 33.24 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.43 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของยอด

จำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 111-125 ซีซี, 126-250 ซีซี และ

มากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี

การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2565

มีจำนวน 28,529 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ปี 2565 ร้อยละ

6.25 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.91

(%YoY)

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ในเดือนมิถุนายน ปี 2565 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ปี 2564

เนื่องจาก ยังคงต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์การล็อกดาวน์

ในประเทศจีน สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น

มาก และการขาดแคลนชิ้นส่วนและเซมิคอนดักเตอร์?

9

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น)

ลดลงร้อยละ 2.64 จากการชะลอตัวของการผลิตน้ำยางข้นเป็น

หลัก

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.90 จากการเพิ่มขึ้น

ของการผลิต ยางรถยนต์นั่ง ยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและ

รถโดยสาร และยางรถแทรกเตอร์

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 0.11 ตามการชะลอตัวของ

ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น)

ลดลงร้อยละ 1.17 สาเหตุจากความต้องการยางแท่งที่ลดลง

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.52 ตามการขยายตัว

ของตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturer)

เป็นหลัก

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 32.41 ตามความต้องการใช้

ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่ลดลง ซึ่งเป็นผลจาก

ปริมาณผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ลดลง

การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยาง

ข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.94 เป็นผลจากการขยายตัวของ

การส่งออกยางแท่งไปตลาดสหรัฐอเมริกา และน้ำยางข้น

ไปตลาดจีน

ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.53 จากการ

ขยายตัวที่ดีของการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 44.97 จากการชะลอตัว

ของตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2565

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) คาดว่าจะกลับมาขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนอง

ความต้องการของตลาด ต่างป ระเท ศโด ยเฉพ ตลาด

สหรัฐอเมริกาและตลาดจีนที่เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สำหรับการ

ผลิตยางรถยนต์ คาดว่าจะยังคงขยายตัวจากความต้องการของ

ตลาดต่างประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่การจำหน่ายยาง

รถยนต์ในประเทศ คาดว่าจะขยายตัวตามการเติบโตของ

อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ในส่วนของการผลิตและ

จำหน่ายถุงมือยางในประเทศ คาดว่าจะชะลอตัวตามความ

ต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่ลดลง ซึ่งเป็นผล

จากจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีแนวโน้มลดลง

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกไปยัง

ตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน สำหรับการส่งออกยาง

รถยนต์ คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องจากแนวโน้มการ

ขยายตัวที่ดีของการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาด

หลัก ในส่วนของการส่งออกถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าลดลง

อย่างต่อเนื่องจากฐานตัวเลขการส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ใน

ระดับสูง ราคาของถุงมือยางที่ปรับลดลงจากช่วงที่ผ่านมา และ

แนวโน้มความต้องการของตลาดโลกที่ชะลอตัวลง ซึ่งเป็นผลจาก

จำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทั่วโลกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

10

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนพฤษภาคมปี 2565 ดัชนีผลผลิต

หดตัวร้อยละ 2.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนี

ผลผลิตหดตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์กระสอบ

พลาสติก หดตัวร้อยละ 16.67 กลุ่มผลิตภัณฑ์ท่อและข้อต่อพลาสติก

หดตัวร้อยละ 4.33 และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ

4.97

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนพฤษภาคม 2565 ดัชนีการส่งสินค้า

หดตัวร้อยละ 2.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่ม

ผลิตภัณฑ์ที่หดตัว เช่น กระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 14.44 ท่อและ

ข้อต่อพลาสติก หดตัวร้อยละ 6.99 และบรรจุภัณฑ์พลาสติก อื่น ๆ หดตัว

ร้อยละ 10.37

การส่งออก เดือนพฤษภาคมปี 2565 มีมูลค่า 409.82

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 11.70 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น

กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 128.60

กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) ขยายตัวร้อยละ

43.91 และกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ

ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3920) ขยายตัวร้อยละ 16.11 การส่งออก

ขยายตัวในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม และ

มาเลเซีย

การนำเข้า เดือนพฤษภาคม 2565 มีมูลค่า 472.22

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 2.86 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว

เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) ขยายตัว

ร้อยละ 38.39 กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัว

ร้อยละ 31.04 และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS

3925) ขยายตัวร้อยละ 20.40

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนมิถุนายน 2565

สถานการณ์พลังงานที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย

สินค้าต่าง ๆ เริ่มมีการปรับขึ้นราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าสินค้า

จะทยอยแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผู้ประกอบการบางราย

เริ่มให้ความสนใจยกเลิกบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิล ส่งผลให้

การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เกี่ยวข้องลดลงตามความต้องการของ

ผู้บริโภค เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นำเข้า

11

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนำเข้า

ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนพฤษภาคม ปี 2565 อยู่ที่ระดับ

102.48 ขยายตัวร้อยละ 1.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 3.02

ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ เอทานอล ขยายตัว

ร้อยละ 13.58 กรดเกลือ ขยายตัวร้อยละ 3.47 และโซดาไฟ

ขยายตัวร้อยละ 1.58 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัว

ร้อยละ 0.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์

ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ น้ำยาล้างจาน ขยายตัวร้อยละ

29.94 น้ำยาปรับผ้านุ่ม ขยายตัวร้อยละ 12.42 และสบู่และ

เครื่องบำรุงผิว ขยายตัวร้อยละ 11.24

ดัช นีก ร ส่ง สิน ค้า เดือ น พ ฤ ษ ภ ค ม 2565

อยู่ที่ระดับ 95.96 หดตัวร้อยละ 10.29 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์

ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 13.58 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัว

ได้แก่ ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 35.46 สีน้ำมัน หดตัวร้อยละ

34.76 และผงซักฟอก หดตัวร้อยละ 27.37 ในส่วนกลุ่ม

เคมีภัณฑ์พื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 4.49 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการ

ผลิตขยายตัว ได้แก่ เอทานอล ขยายตัวร้อยละ 15.31 และ

กรดเกลือ ขยายตัวร้อยละ 4.99

การส่งออก เดือนพฤษภาคม 2565 มูลค่าการส่งออก

รวม 911.76 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.49

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน

มีมูลค่าการส่งออก 522.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ

2.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออก

เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 389.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ขยายตัวร้อยละ 12.95 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออก

ขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 49.56

เครื่องสำอาง ขยายตัวร้อยละ 17.06 และสารลดแรงตึงผิว ขยายตัว

ร้อยละ 16.38 การส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน

อินเดีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม

การนำเข้า เดือนพฤษภาคม 2565 มีมูลค่าการ

นำเข้ารวม 2,166.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัว

ร้อยละ 18.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่ม

เคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 1,340.22 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 24.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 826.01

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.03 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนมิถุนายน 2565

ธุรกิจค้าปลีกค่อย ๆ ฟื้นตัวดีขึ้น ตามความเชื่อมั่นในการใช้จ่าย

และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยกลับมาใช้ชีวิตประจำวัน

ตามปกติจากการผ่อนคลายการควบคุมโรคและมาตรการกระตุ้น

เศรษฐกิจของภาครัฐ รวมถึงการฟื้นตัวของรายได้ภาคเกษตร

ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น

12

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 103.95 หรือหดตัวร้อยละ

15.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลง

ร้อยละ 4.93 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene หดตัวร้อยละ 22.87 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ EPS

resin และ PE resin หดตัวร้อยละ 51.25 และ 24.89 เมื่อ

เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 105.13 หดตัว

ร้อยละ 6.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.15 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene หดตัวร้อยละ 19.11 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ EPS

resin และ PE resin หดตัวร้อยละ 44.95 และ 7.93 เมื่อ

เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนพฤษภาคม ปี 2565 มีมูลค่า

1,149.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 5.21

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 3.67

เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นปลาย เช่น PS resin เป็นต้น และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene เป็นต้น

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์*

การนำเข้า เดือนพฤษภาคม ปี 2565 มีมูลค่า

623.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 6.86

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ

8.34 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้น

ปลาย เช่น PP resin และ PE resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ

9.10 แต่หดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene

เป็นต้น ร้อยละ 3.91

คาดการณ์แนวโน้ม เดือนมิถุนายน ปี 2565

คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอการส่งออก

โดยเฉพาะปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ

Propylene จากระดับราคาที่ปรับขยายตัวตามราคา

น้ำมันดิบที่เป็นผลกระทบจากสถานการณ์สงคราม

รัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ประกอบกับประเทศกลุ่มโอเปกยังไม่

พิจารณาปรับขึ้นปริมาณการผลิต ทั้งที่หลายประเทศ

ได้คว่ำบาตรการค้ากับประเทศรัสเซียที่เป็นผู้ผลิตพลังงาน

รายสำคัญ แต่สหรัฐเริ่มมีการปรับตัวเพิ่มแท่นขุดเจาะน้ำมัน

13

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่ม : ส นักงานเศ รษ ฐกิจ อุต สาห ก รรม แล สถ บัน เห ล็ก

และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนพฤษภาคม

2565 มีค่า 104.9 ห ด ตัว ร้อ ย ล 9.6 เมื่อ เทีย บ กับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการก่อสร้างภาคเอกชน

ชะลอตัว เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก พบว่าดัชนีผลผลิต

หดตัวทั้งเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์

ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 100.8

หดตัวร้อยละ 13.4 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ

เหล็กเส้นกลม หดตัวร้อยละ 35.4 รองลงมาคือ ลวดเหล็ก

โครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น หดตัวร้อยละ 28.7 และ

เหล็กเส้นข้ออ้อย หดตัวร้อยละ 28.2 สำหรับผลิตภัณฑ์

ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 112.3

หดตัวร้อยละ 5.8 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัว คือ เหล็กแผ่น

รีดเย็น หดตัวร้อยละ 19.3 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัว

ร้อยละ 11.7 และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม หดตัวร้อยละ

9.3

การบริโภคในประเทศ ในเดือนพฤษภาคม 2565

มีปริมาณการบริโภค 1.5 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 17.6

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ซื้อคาดว่า

ราคาเหล็กจะปรับตัวลดลง โดยกลุ่มเหล็กทรงยาวมีการ

บริโภค 0.6 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 14.6 จากการบริโภคเหล็ก

ลวด หดตัวร้อยละ 33.5 และเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้าง

รีดร้อน หดตัวร้อยละ 6.8 สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน

มีปริมาณการบริโภค 0.9 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 19.2

จากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบยกเว้นสังกะสีและดีบุก

หดตัวร้อยละ 39.7 รองลงมาคือเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี

ชนิด HDG และ EG หดตัวร้อยละ 27.7 และเหล็กแผ่นบาง

รีดเย็น หดตัวร้อยละ 8.2

การนำเข้า ในเดือนพฤษภาคม 2565 มีปริมาณ

การนำเข้า 0.9 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มเหล็กทรงยาว

มีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 17.2 จากการ

นำเข้าเหล็กลวด ประเภท Alloy steel หดตัวร้อยละ 36.7

(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน) รองลงมาคือ เหล็กลวด

ประเภท Carbon steel หดตัวร้อยละ 30.6 (ประเทศหลัก

ที่ไทยนำเข้า คือ เวียดนาม อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และจีน) และ

เหล็กเส้น ประเภท Alloy steel หดตัวร้อยละ 23.1 (ประเทศหลัก

ที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น และจีน) สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน

มีปริมาณการนำเข้า 0.7 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 22.5 จากการ

นำเข้าเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นยกเว้นสังกะสีและดีบุก หดตัว

ร้อยละ 42.9 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน) รองลงมาคือ

เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีชนิด Galv.sheet (HDG) หดตัว

ร้อยละ 36.4 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน) และเหล็ก

แผ่นบางรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ประเภท Alloy

steel หดตัวร้อยละ 18.5 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ

ญี่ปุ่น)

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมิถุนายน

2565 คาดการณ์ว่า ดัชนีการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากราคาเหล็กโลกมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม

ยังมีประเด็นที่อาจส่งผลให้ราคาเหล็กลดลงไม่มากนัก เช่น

ต้นทุนพลังงานและการขนส่งที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น และประเด็น

เรื่องนโยบายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศต่าง ๆ

เช่น นโยบายของจีนในการลดปริมาณการผลิตเหล็ก เพื่อบรรลุ

เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจีนเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค

และผู้ส่งออกเหล็กรายใหญ่ของโลก และนโยบายของอินเดีย

เรื่องการขึ้น ภ ษีส่งออกแร่เห ล็กแล เห ล็กขั้น กลาง

บางประเภท?

14

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

เส้นใยสิ่งทอหดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.74 เนื่องจากการบริโภค

ในประเทศยังคงชะลอตัว โดยหดตัวจากกลุ่มเส้นใยโพลีเอสเตอร์

ผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 9.54 และ 4.42

จากการขยายตัวในกลุ่มผ้าทอใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ และกลุ่มเสื้อผ้า

กีฬา ชุดออกกำลังกาย สูทหรือชุดยูนิฟอร์มที่ขยายตัวต่อเนื่อง

ปัจจัยหลักเนื่องจากตลาดต่างประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15

จากความต้องการของประเทศคู่ค้าหลักที่มีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ

ตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม และจีน

การจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 1.25 และ

16.75 ด้วยกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบ

ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น จากราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัว

สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยกลุ่มสินค้า

ฟุ่มเฟือย

ผ้าผืนขยายตัวร้อยละ 7.94 รองรับความต้องการวัตถุดิบ

เพื่อการส่งออกที่ขยายตัว

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้า

ด้ายและเส้นใย และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 31.92 และ 15.78

ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามคำสั่งซื้อ

ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการนำเข้าเพิ่มขึ้น สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป

การนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นเดือนที่ 2 ร้อยละ 25.94 จากจีน ญี่ปุ่น

และสหรัฐอเมริกา

การส่งออก

กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว

ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานเป็นเดือนที่ 15 ในตลาดหลัก

อย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม และจีน โดยกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ

ผ้าผืน และกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.7 17.00 และ

15.10 ตามลำดับ

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2565

คาดว่า ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัว

จากตลาดต่างประเทศที่มีความต้องการต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ประกอบกับการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์หลังจากการใช้นโยบาย

?Zero Covid? ของจีน ในวันที่ 1 มิ.ย. 2565 และมาตรการ

กระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐอาทิ การยกเลิก Thailand

Pass อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบอย่างต้นทุนการผลิตที่ปรับตัว

สูงขึ้น จากภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินบาทที่ผันผวน รวมทั้งการ

ระบาดโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ในสหรัฐอเมริกา และยุโรป

15

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2565

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนพฤษภาคม

ปี 2565 มีจำนวน 7.30 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน

ปี 2565 ร้อยละ 2.03 (% MoM) แต่ลดลงจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.17 (%YoY)

การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน

พฤษภาคม ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.16 ล้านตัน

เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ปี 2565 ร้อยละ 4.32 (%MoM)

แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.14

(%YoY)

การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนพฤษภาคม

ปี 2565 มีจำนวน 0.50 ล้านตัน ลดลงจากเดือนเมษายน

ปี 2565 ร้อยละ 52.09 (%MoM) และลดลงเมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 62.94 (%YoY) โดยเป็น

การลดคำสั่งซื้อจากตลาดฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ และ

เมียนมา ร้อยละ 97.32 77.88 และ 58.66 ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต

ปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนมิถุนายน 2565 คาดว่า

จะหดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศรวมทั้ง

ตล ด ส่งออกห ลักได้รับ ผล กระท บท งเศ รษ ฐกิจ

จากค่าครองชีพที่สูงขึ้นมากจากผลกระทบของความขัดแย้ง

รัสเซีย-ยูเครน

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ใน เดือน

พฤษภาคม ปี 2565 มีจำนวน 3.73 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก

เดือนเมษายน ปี 2565 ร้อยละ 6.12 (%MoM) แต่ลดลงจาก

เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.69 (%YoY)

การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)

ในเดือนพฤษภาคม ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.16

ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ปี 2565 ร้อยละ 4.32

(%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

16.83 (%YoY)

การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือน

พฤษภาคม ปี 2565 มีจำนวน 0.25 ล้านตัน ลดลงจากเดือน

เมษายน ปี 2565 ร้อยละ 29.02 (%MoM) และเมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 48.83 (%YoY) จากการ

ปรับลดคำสั่งซื้อจากตลาดเมียนมา ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 59.10

และ 8.66 ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต

ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมิถุนายน ปี 2565 คาดว่า

จะหดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคได้รับผลกระทบทาง

เศรษฐกิจจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นผลกระทบจาก

ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ประกอบกับการเข้าสู่

ฤดูฝนแล้ว

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ