ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 31, 2023 14:14 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม Indicators 2563 2564 2564 2565 %YoY Year Year พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.

MPI

-

9.5

5.9

4.6

6.7

2.0

2.5

0.4

-

0.03

-

2.0

-

0.2

6.4

14.9

3.3

-

3.9

-

5.6

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว ร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่หดตัวจากผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศหลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี อาทิ รถยนต์ น้ำมันปาล์ม อาหารสัตว์

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 14.9 เดือนกันยายน ขยายตัวร้อยละ 3.3 และเดือนตุลาคม หดตัวร้อยละ 3.9

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนสิงหาคม เดือนกันยายน และเดือนตุลาคม 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 4.1 เดือนกันยายน หดตัวร้อยละ 1.7 และเดือนตุลาคม หดตัวร้อยละ 4.3

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนพฤศจิกายน 2565 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ

? การกลั่นน้ำมัน หดตัวร้อยละ 20.58 จากการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นบางรายต่อเนื่องจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม พบว่าสินค้าน้ำมันเครื่องบินมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ตามความต้องการใช้เพื่อการเดินทางที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน หลังการเปิดประเทศรับการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบในปีนี้

? Hard Disk Drive หดตัวร้อยละ 47.67 ตามการทยอยยกเลิกผลิตสินค้าที่มีความต้องการในตลาดโลกลดลง รวมถึงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลต่อการลงทุนและกำลังซื้อ

? เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 15.32 จากการหยุดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย รวมถึงมีการปรับลดการผลิตและจำหน่ายลงจากความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อ

อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนพฤศจิกายน 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

? รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 12.95 จากปัญหาการขาดแคลนชิปในปีนี้คลี่คลายลง ผู้ผลิตสามารถ ทยอยผลิตและส่งมอบรถยนต์ได้เพิ่มขึ้น

? น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 32.47 ตามความต้องการสินค้าเพื่อบริโภคในภาคอุตสาหกรรมและภาคพลังงาน รวมถึงมีผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดจำนวนมากกว่าปีก่อน

Indicators 2564 2565 %MoM พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.

MPI

3.3

1.5

2.1

-2.6

8.1

-

17.0

7.6

-

0.3

-

2.2

4.1

-

1.7

-

4.3

1.5

2

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ

เดือนพฤศจิกายน 2565

3

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนพฤศจิกายน 2565

? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีมูลค่า 1,467.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากการนำเข้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะ และส่วนประกอบ เป็นต้น

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีมูลค่า 8,617.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าหดตัวในสินค้าประเภทเหล็ก ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์อื่น

4

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงาโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 134 โรงงาน ลดลงจาก เดือนตุลาคม 2565 ร้อยละ 20.24 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 35.89 (%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีมูลค่ารวม 48,873 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2565 ร้อยละ 557.8 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 374.71 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนพฤศจิกายน 2565 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 18 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 15 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2565 คือ อุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกชีวภาพจากเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมี ที่ผลิตจากวัตถุดิบพื้นฐานทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่อง จำนวนเงินทุน 19,810 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมโรงงานผลิต ประกอบหรือดัดแปลง เครื่องมือหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ระบุไว้ในลำดับใด และส่วนประกอบ จำนวนเงินทุน 15,000 ล้านบาท

5

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 56 ราย ลดลงจากเดือนตุลาคม 2565 ร้อยละ 45.1 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.75 (%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีมูลค่ารวม 2,001 ล้านบาท ลดลงจากเดือนตุลาคม 2565 ร้อยละ 46.78 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.86 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนพฤศจิกายน 2565 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 12 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการปอกหัวพืช หรือทำหัวพืชให้เป็นเส้น แว่น หรือแท่ง จำนวน 4 โรงงาน

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนพฤศจิกายน 2565 คือ อุตสาหกรรม ผลิต ประกอบ ดัดแปลง หรือซ่อมแซมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ มูลค่าเงินลงทุน 864 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน มูลค่าเงินลงทุน 155 ล้านบาท?

6

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนพฤศจิกายน 2565

1. อุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือนพฤศจิกายน 2565 หดตัว (%YoY) ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตหดตัว มีดังนี้ 1) ผักและผลไม้แปรรูป หดตัวร้อยละ 17.4 จากสินค้าสำคัญ คือ ผักผลไม้อบแห้ง หดตัวร้อยละ 38.4 เนื่องจากความต้องการบริโภค ทั้งในและต่างประเทศของสินค้าดังกล่าวลดลง และสับปะรดกระป๋อง หดตัวร้อยละ 1.1 เนื่องจากในปีนี้พื้นที่เพาะปลูกสับปะรดลดลง จากต้นทุนที่สูงขึ้น 2) มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 10.3 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 10.6 เนื่องจากปริมาณหัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง จากการที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่องหลายพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตมันสำปะหลังบางส่วนได้รับความเสียหาย 3) ประมง หดตัวร้อยละ 7 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ กุ้งแช่แข็ง หดตัวร้อยละ 6.1 เนื่องจากราคาอาหารกุ้งปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการเพาะเลี้ยงและราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการบริโภคของตลาดในประเทศลดลง อย่างไร ก็ตาม ยังมีดัชนีสินค้าอาหารบางรายการขยายตัว ดังนี้ 1) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 32.5 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 49.4 และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 18.5 เนื่องจากความต้องการใช้ที่มากขึ้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และในปีนี้ปาล์มน้ำมันมีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก รวมถึงการที่ผู้ประกอบการเร่งผลิตสำหรับการเพิ่มสัดส่วนน้ำมัน ปาล์มดิบในส่วนผสมของน้ำมันไบโอดีเซลจาก B5 เป็น B7 2) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 19.6 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทรายขาว ขยายตัวร้อยละ 92.7 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากการที่เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ และโรงงานสามารถกลับมาผลิตได้ตามปกติ 3) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 6.2 เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ทำให้สินค้าดังกล่าว เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และการที่ไทยได้ขยายตลาดส่งออกใหม่

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนพฤศจิกายน 2565 หดตัว (%YoY) ร้อยละ 22.8 โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่หดตัว เช่น 1) สุราขาว หดตัวร้อยละ 49.4 2) ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 43.5 3) ทูน่ากระป๋อง หดตัว ร้อยละ 28.1 4) นมถั่วเหลือง หดตัวร้อยละ 19.7

ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าอาหารเดือนพฤศจิกายน 2565 ในภาพรวม ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าดังนี้ 1) ปศุสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง โดยตลาดหลัก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น 2) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โดยตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา จีน 3) น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทราย โดย ตลาดหลักคือ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้

คาดการณ์แนวโน้ม เดือนธันวาคม 2565 ในภาพรวมมีแนวโน้มหดตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ชะลอตัว รวมถึงฐานของปีก่อนค่อนข้างสูง จากการที่สภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น หลังการคลี่คลายของโรคไวรัสโควิด--19 อย่างไรก็ตามในส่วนของมูลค่าการส่งออกยังคงมีแนวโน้มขยายตัว จากค่าขนส่งและค่าระวางเรือที่มีทิศทางลดลง ส่งผลให้ราคาสินค้าอาหารของไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

7

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ

96.9 ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.2 เมื่อ เทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า ตู้เย็น

เตาไมโครเวฟ สายเคเบิ้ล เครื่องซักผ้า และ หม้อแปลงไฟฟ้า โดย

ลดลงร้อยละ 27.1, 26.7, 21.7, 18.3, 14.5 และ 10.9 ตามลำดับ

เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจา ก

ต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระติก

น้ำร้อน สายไฟฟ้า หม้อหุงข้าว เครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์

และพัดลมตามบ้าน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3, 12.1, 12.0, 10.2,

4.9 และ 0.8 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศ

เพิ่มมากขึ้น

การส่งอ อกเครื่องใช้ไฟ ฟ้า มีมูลค่า 2,423.0

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ เตาอบ

ไมโครเวฟ มีมูลค่า 24.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0

ในตลาดแคนาดา เวียดนาม และญี่ปุ่น พัดลม มีมูลค่า 47.3

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ในตลาดอาเซียน เยอรมนี

และสหรัฐอเมริกา สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มีมูลค่า 109.0 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 ในตลาดฝรั่งเศส เวียดนาม และจีน

และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มีมูลค่า 546.8 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากตลาดอิตาลี ไต้หวัน และสเปน

ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และ

ส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 26.6 ในตลาดแคนาดา สหรัฐอเมริกา

และออสเตรเลีย มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 13.6

ในตลาดฮ่องกง ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เครื่องซักผ้า ซักแห้ง และ

ส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 10.1 ในตลาดเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และ

ออสเตรเลีย และเครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า ลดลงร้อยละ

8.2 ในตลาดจีน สิงคโปร์ และเกาหลีใต้

?คาดการณ์การผลิต เดือน ธันวาคม 2565 อุตสาห กรรม

เครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1-2.0

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะชะลอตัว

ทางเศรษฐกิจจากราคาต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบที่สูง รวมทั้ง

ผลกระทบจากเงินเฟ้อที่ยังคงต้องติดตามต่อไป?

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ

85.9 ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD, PWB และ

Semiconductor Devices Transistors โดยลดลงร้อยละ 51.8,

26.0 และ 12.4 ตามลำดับ โดยเฉพาะ HDD ที่มีการพัฒนา

เทคโนโลยีความจุเพิ่มขึ้น รวมทั้ง สถานการณ์โควิดที่เริ่มคลี่คลาย

ทำให้มีก ร Work From Home น้อยลง ใน ขณ ที่สิน ค้า

ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ PCBA, Integrated circuits (IC) และ

Printer โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6, 2.5 และ 0.1 เนื่องจาก

ความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 3,665.0

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์

กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 349.2 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.1 ในตลาดอาเซียน และสหรัฐอเมริกา

และแผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 816.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 3.9 ในตลาดไต้หวัน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สินค้า

ที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ HDD มีมูลค่า 683.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลดลงร้อยละ 31.8 ในตลาดอาเซียน ยุโรป และสหรัฐอเมริกาและ

วงจรพิมพ์ มีมูลค่า 113.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.4

ในตลาดสหรัฐอเมริกา และอาเซียน

?คาดการณ์การผลิต เดือนธันวาคม 2565 อุตสาหกรรม

อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1-3.0 เมื่อเทียบ

กับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยี

ความจุของ HDD ที่มากขึ้น และปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ

ในการผลิตที่ทำให้ราคาต้นทุนสูงขึ้น?

0

500

1,000

1,500

2,000

2,500

3,000

0

20

40

60

80

100

120

140

Nov-64

Dec-64

Jan-65

Feb-65

Mar-65

Apr-65

May-65

Jun-65

Jul-65

Aug-65

Sep-65

Oct-65

Nov-65

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ดัชนีผลผลิต

ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมเครอื่ งใช้ไฟฟ้า

มูลค่าการส่งออก ดัชนีผลผลิต

0

500

1,000

1,500

2,000

2,500

3,000

3,500

4,000

4,500

5,000

0

20

40

60

80

100

120

Nov-64

Dec-64

Jan-65

Feb-65

Mar-65

Apr-65

May-65

Jun-65

Jul-65

Aug-65

Sep-65

Oct-65

Nov-65

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ดัชนีผลผลิต

ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

มูลค่าการส่งออก ดัชนีผลผลิต

8

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 มีจำนวน

190,155 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2565 ร้อยละ 11.39

(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.00

(%YoY) เนื่องจาก ได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้นในรถยนต์

นั่งบางรุ่น ทั้งนี้ เป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง และ

รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน

ปี 2565 มีจำนวน 68,284 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2565

ร้อยละ 5.67 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

4.79 (%YoY) จากการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์

กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

การส่งออกรถยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565

มีจำนวน 87,979 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคมปี 2565 ร้อยละ 6.63

(%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.98

(%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการลดลงในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย ยุโรป

อเมริกาเหนือ และอเมริกากลางและใต้

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเดือน

ธันวาคม ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม ปี 2564

เนื่องจากการคลี่คลายของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 และการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวดีขึ้น?

? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565

มีจำนวน 189,040 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2565 ร้อยละ

10.13 (%MoM) และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 0.29 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์

แบบสปอร์ต

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน

ปี 2565 มียอดจำหน่ายจำนวน 150,980 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน

ตุลาคม ปี 2565 ร้อยละ 12.66 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.38 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของ

ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี,

126-250 ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี

การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน

ปี 2565 มีจำนวน 40,697 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม ปี 2565

ร้อยละ 10.97 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 7.41 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้นในประเทศ

เบลเยียม สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ในเดือนธันวาคม ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม

ปี 2564 เนื่องจาก แนวโน้มการขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและ

ตลาดส่งออก จากการคลี่คลายสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

เชื้อไวรัสโควิด-19?

9

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นลงร้อยละ 1.54 จากการขยายตัวของ การผลิตน้ำยางข้น

ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 6.38 จากการลดลงของ การผลิตยางรถยนต์นั่ง และยางรถบรรทุกและรถโดยสาร

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 24.43 จากความต้องการ ถุงมือยางในตลาดต่างประเทศที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง

การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 10.17 จากความต้องการทั้งผลิตภัณฑ์ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ลดลง

ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 10.80 ตามการชะลอตัวของตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturer)

ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.64 จากความต้องการใช้ ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง

การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ น้ำยางข้น) มีมูลค่าลดลงร้อยละ 34.17 เป็นผลจากการลดลงของการส่งออกยางแผ่นและยางแท่งไปตลาดจีน และ น้ำยางข้นไปตลาดมาเลเซีย

ยางรถยนต์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 6.60 จากการชะลอตัวของการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 37.87 จากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกและราคาที่ปรับลดลง จากช่วงที่ผ่านมา

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2565

การผลิตและจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมในประเทศ คาดว่าจะชะลอตัวจากแนวโน้มความต้องการใช้ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง ประกอบกับฝนที่ตกชุกในพื้นที่ภาคใต้ช่วงเดือนธันวาคมส่งผลให้มีน้ำยางสดเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมลดลง สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศ คาดว่าจะกลับมาขยายตัวตามการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศที่ขยายตัว อย่างต่อเนื่องและความต้องการยางรถยนต์ในตลาด REM ที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วงปลายปี ทางด้านการผลิตถุงมือยาง คาดว่าจะชะลอตัว จากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลก ที่ปรับลดลงเป็นหลัก แต่ในส่วนของการจำหน่ายถุงมือยาง ในประเทศ คาดว่าจะขยายตัวจากความต้องการใช้ถุงมือยาง เพื่อป้องกันโรคในประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของทั้งผลิตภัณฑ์ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น มีแนวโน้มชะลอ การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากไทย สำหรับการส่งออก ยางรถยนต์คาดว่าจะกลับมามีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ ความต้องการยางรถยนต์ในตลาดสหรัฐอเมริกาที่คาดว่า จะกลับมาฟื้นตัว ในส่วนของการส่งออกถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง จากฐานตัวเลขการส่งออก เมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับสูง และราคาของถุงมือยาง ที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา

10

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนพฤศจิกายนปี 2565 อยู่ที่ระดับ 86.48 หดตัวร้อยละ 6.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตหดตัวในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น กระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 23.15 พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 20.93 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 17.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนพฤศจิกายน 2565 อยู่ที่ระดับ 89.04 หดตัวร้อยละ 6.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ ที่หดตัว เช่น กระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 19.46 พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 18.48 และแผ่นฟิล์มพลาสติก หดตัวร้อยละ 16.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนพฤศจิกายนปี 2565 มีมูลค่า 344.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดร้อยละ 8.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกหดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3920) หดตัวร้อยละ 28.32 ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) หดตัวร้อยละ 22.74 และผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3921) หดตัวร้อยละ 14.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การนำเข้า เดือนพฤศจิกายน 2565 มีมูลค่า 445.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ขยายตัวร้อยละ 0.96 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) ขยายตัวร้อยละ 12.22 ผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3920) ขยายตัวร้อยละ 10.15 และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัว ร้อยละ 7.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนธันวาคม 2565 จากปัจจัยราคาน้ำมันดิบโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการผลิตเพื่อดูสถานการณ์ด้านราคา และผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อเท่านั้น

ดัชนีผลผลิต--ดัชนีการส่งสินค้า

ปริมาณและมูลค่าการส่งออก--นาเข้า

11

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ดัชนีผลผลิต--ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนาเข้า

ที่มา : สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนพฤศจิกายนปี 2565 อยู่ที่ระดับ 81.40 หดตัวร้อยละ 6.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายหดตัวร้อยละ 11.44 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ สีน้ำมัน หดตัวร้อยละ 25.41 ยาสระผม หดตัวร้อยละ 20.74 และสีอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 18.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานขยายตัวร้อยละ 20.56 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ โซดาไฟ ขยายตัวร้อยละ 46.50 คลอรีน ขยายตัวร้อยละ 32.85 และกรดเกลือ ขยายตัวร้อยละ 8.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนพฤศจิกายน 2565 อยู่ที่ระดับ 75.97 หดตัวร้อยละ 9.26 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัว ร้อยละ 12.02 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 56.07 ยาสระผม หดตัวร้อยละ 16.89 สีน้ำมัน หดตัวร้อยละ 6.56 ส่วนกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 3.75 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ โซดาไฟ ขยายตัวร้อยละ 2.31 คลอรีน ขยายตัวร้อยละ 0.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนพฤศจิกายน 2565 มีมูลค่าการส่งออก 803.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.30 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการส่งออก 465.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 20.67 กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 337.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ หดตัวร้อยละ 30.06 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด หดตัวร้อยละ 19.95 ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 9.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน

การนำเข้า เดือนพฤศจิกายน 2565 มีมูลค่า การนำเข้ารวม 1,592.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัว ร้อยละ 7.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 1,137.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ หดตัวร้อยละ 4.49 กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้า 455.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนธันวาคม 2565 ทิศทางราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก การส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ มีราคาเพิ่มขึ้นตามต้นทุน การผลิตสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้การผลิตและการส่งออกมีแนวโน้มหดตัวลดลง

12

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต หดตัวร้อยละ 15.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 3.56 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene และ Toluene หดตัวร้อยละ 28.29 และ 18.58 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PS resin และ PP resin หดตัวร้อยละ 40.17 และ 16.34 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า หดตัวร้อยละ 17.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 5.95 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Toluene หดตัวร้อยละ 52.91 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PS resin และ PE resin หดตัวร้อยละ 31.07 และ 16.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน

การส่งออก เดือนพฤศจิกายน ปี 2565 มีมูลค่า 907.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 25.96 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 6.96 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี ขั้นปลาย เช่น PE resin และ PP resin เป็นต้น และหดตัว ในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Propylene เป็นต้น เนื่องจากสภาพการณ์ตลาดมีลักษณะการเก็งกำไรและรอให้ราคาปรับลดลง ประกอบกับความต้องการในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำ เช่น อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment : PPE) สำหรับโควิด ลดลง อย่างไรก็ดี แนวโน้มการผ่อนคลายมาตรการโควิด ของจีน อาจทำให้เกิดความต้องการที่จะนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นเพื่อปรับสต็อกในการทำแผนการผลิตก่อนกลับมาผลิตได้ใหม่หลังการลดการผลิตไปในช่วงโควิด

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การนำเข้า เดือนพฤศจิกายน ปี 2565 มีมูลค่า 474.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 19.97 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 0.83 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี ขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene เป็นต้น และหดตัวในกลุ่ม ปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ PP resin เป็นต้น

คาดการณ์แนวโน้ม เดือนธันวาคม ปี 2565 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอการส่งออก โดยเฉพาะปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Propylene จากระดับราคาที่ปรับขยายตัวตามราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลกระทบจากการหยุดการผลิตในหลายประเทศ จากความขัดแย้งยูเครน--รัสเซียที่ยืดเยื้อ ความขัดแย้งของจีน--ไต้หวัน ประกอบกับประเทศกลุ่มโอเปกยังไม่พิจารณาปรับขึ้นปริมาณการผลิต อีกทั้งประเทศรัสเซียที่เป็นผู้ผลิตพลังงานโลกรายสำคัญ หยุดส่งก๊าซธรรมชาติ ให้ประเทศในยุโรป นอกจากนี้ความต้องการใช้อุปกรณ์ป้องกันและที่เกี่ยวกับโควิดชะลอตัวลงตามสถานการณ์ การระบาดที่ลดลง ทำให้ความต้องการใช้เม็ดพลาสติก ที่เกี่ยวข้องลดลง

13

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีค่า 87.2 หดตัวร้อยละ 14.3 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างในส่วนของภาคเอกชน และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวทั้งในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 85.2 หดตัวร้อยละ 12.8 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน หดตัวร้อยละ 27.9 รองลงมา คือ ลวดเหล็กแรงดึงสูง ลวดเหล็ก และเหล็กเส้นกลม หดตัวร้อยละ 18.1 13.1 และ 12.0 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 88.2 หดตัวร้อยละ 21.2 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัวร้อยละ 34.2 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่น รีดร้อนชนิดม้วน และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 26.6 22.4 และ 15.3 ตามลำดับ

การบริโภคในประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีปริมาณการบริโภค 1.4 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการบริโภคเหล็ก ทรงยาวมีปริมาณ 0.6 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 13.1 จากการบริโภคเหล็กลวด และเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.1 และ 8.0 ตามลำดับ ส่วนการบริโภคเหล็กทรงแบนมีปริมาณ 0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 5.7

จากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัวร้อยละ 38.0 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน หดตัวร้อยละ 16.6 และ 15.9 ตามลำดับ

การนำเข้า ในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีปริมาณการนำเข้า 0.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปริมาณการนำเข้าขยายตัวในกลุ่มเหล็กทรงยาวเป็นหลัก โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการนำเข้า 0.3 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 46.0 เหล็กทรงยาวที่มีการขยายตัว เช่น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิด Carbon Steel ขยายตัวร้อยละ 429.1 (ประเทศหลัก ที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) ท่อเหล็ก ไร้ตะเข็บ ขยายตัวร้อยละ 302.8 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อิตาลี และอาร์เจนตินา) ลวดเหล็ก ขยายตัวร้อยละ 108.9 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ รัสเซีย) และเหล็กลวด ชนิด Alloy Steel ขยายตัวร้อยละ 108.9 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน และรัสเซีย) ส่วนกลุ่มเหล็กทรงแบนมีปริมาณการนำเข้า 0.7 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 0.2 เหล็กทรงแบนที่มีการหดตัว เช่น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยวิธีทางไฟฟ้า (EG) หดตัวร้อยละ 71.2 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และไต้หวัน) เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม หดตัวร้อยละ 43.1 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) เหล็กแผ่นบางรีดเย็น ชนิด Carbon Steel หดตัวร้อยละ 36.6 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ เกาหลีใต้ และไต้หวัน) และเหล็กแผ่นหนารีดร้อน ชนิด Alloy Steel หดตัวร้อยละ 34.6 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน และเยอรมนี)

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนธันวาคม 2565 คาดการณ์ว่า การผลิตจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงราคาเหล็กต่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก ราคาเหล็กต่างประเทศ และการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออกเหล็กรายใหญ่ของโลก เนื่องจากส่งผลต่อปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศไทย?

14

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

การผลิตหดตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เส้นใยสิ่งทอ หดตัวร้อยละ 10.43 (YoY) ในกลุ่มเส้นใยโพลีเอสเตอร์ เส้นใยประดิษฐ์ และเส้นด้ายฝ้าย ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 9.65 (YoY) ในกลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย) และผ้าทอ (ใยสังเคราะห์) เสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัวร้อยละ 14.64 (YoY) จากเสื้อผ้าทอ และเสื้อผ้าถัก เนื่องจากต้นทุนด้านแรงงานและพลังงานที่สูงขึ้นส่งผลให้การผลิตตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำจนถึงปลายน้ำลดลง

การจำหน่ายในประเทศ

เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขยายตัว ร้อยละ 2.76 (YoY) ในกลุ่มเสื้อผ้าทอ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด--19 และการเตรียมเข้าสู่ช่วงเทศกาลเฉลิมฉลอง ส่งผลให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น

เส้นใยสิ่งทอ หดตัวร้อยละ 6.05 (YoY) จากเส้นด้ายฝ้ายและเส้นด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ กลุ่มผ้าผืนหดตัวร้อยละ16.69 (YoY) จากผ้าทอ (ฝ้าย) และผ้าทอ (ใยสังเคราะห์)

การนำเข้า

ขยายตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน กลุ่มด้ายและเส้นใย ขยายตัวร้อยละ 9.94 (YoY) ในตลาดสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม เพื่อเตรียมใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูป กลุ่มผ้าผืนขยายตัวร้อยละ 0.16 (YoY) ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ เพื่อรองรับเทศกาลเฉลิมฉลองและใช้ในการมอบเป็นของขวัญปีใหม่หรือการจับสลากของขวัญ สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 10.30 (YoY) ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม และอิตาลี

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การส่งออก

หดตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัวร้อยละ 21.90 12.45 และ 1.15 (YoY) ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้าสำคัญ และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว จากตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย อินโดนีเซีย ฮ่องกง เยอรมนี เวียดนาม เป็นต้น

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2565

คาดว่าการผลิตจะหดตัวเล็กน้อย จากปัญหาเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การขาดแคลนพลังงานในทวีปยุโรป อาจเป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว รวมทั้งการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและค่าจ้างแรงงาน ซึ่งกระทบต่อต้นทุนการผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยจะส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น

15

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2565

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 มีจำนวน 6.35 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 0.12 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.17 (%YoY) การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 2.95 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 3.24 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 1.93 (%YoY) เนื่องจากการฟื้นตัวในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์ ยังเป็นไปได้น้อย

การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 มีจำนวน 0.39 ล้านตัน ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 36.64 (%MoM) และลดลงเมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 63.00 (%YoY) โดยเป็นการปรับลดคำสั่งซื้อจากตลาดบังกลาเทศ และกัมพูชา ร้อยละ 74.78 และ 34.78 ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนธันวาคม 2565 คาดว่า จะเริ่มชะลอตัว เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เริ่มส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออก

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 มีจำนวน 3.36 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.62 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.63 (%YoY) การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 2.95 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 3.24 (%MoM) โดยได้ปัจจัยหนุนจากโครงการก่อสร้างภาครัฐและการเร่งทำตลาดอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 1.93 (%YoY)

การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 มีจำนวน 0.23 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.73 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 13.51 (%YoY) จากการ ปรับลดคำสั่งซื้อในตลาดฟิลิปปินส์ เวียดนาม และกัมพูชา ร้อยละ 81.97 6.23 และ 32.23 คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนธันวาคม ปี 2565 คาดว่าจะชะลอตัวตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ