สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ปี 2565 และแนวโน้ม ปี 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 31, 2023 14:12 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

บทสรุปผู้บริหาร

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ปี 2565 และแนวโน้ม ปี 2566

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปี 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) คาดว่าจะขยายตัว

ร้อยละ 1.0 ชะลอตัวจากปี 2564 ที่ MPI ขยายตัวร้อยละ 5.85 ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลกระทบต่อเนื่องผ่านราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น การชะลอตัว

ของเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของตลาดการเงินโลก และการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตโลก อย่างไรก็ตาม

เศรษฐกิจในประเทศทยอยฟื้นตัวหลังจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญ

ที่ขยายตัวในปี 2565 อาทิ รถยนต์ จากการเพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศ เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนชิป

เริ่มคลี่คลาย สามารถผลิตและส่งมอบรถยนต์ได้ตามปกติ รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ

ไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ การกลั่นปิโตรเลียม เป็นผลจาก

สถานการณ์การท่องเที่ยวทั้งในประเทศและจากต่างประเทศฟื้นตัวขึ้นมาก หลังจากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ยังขยายตัว การผลิตน้ำตาล เนื่องจาก

ในปีนี้โรงงานต่าง ๆ ได้กลับมาผลิตได้ตามปกติ หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ในขณะที่ปีก่อนโรงงานได้รับ

ผลกระทบจากการระบาดค่อนข้างมาก เภสัชภัณฑ์ ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศ โดยเฉพาะ

โรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ต้องสำรองยาเพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนยาบางชนิด และเพื่อรองรับความต้องการของ

ผู้ป่วยทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

แนวโน้ม ปี 2566

ประมาณการอัตราการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ

2.5 ? 3.5 โดยมีแรงสนับสนุนจาก (1) อุปสงค์ในประเทศขยายตัว เนื่องจากมีการเปิดประเทศส่งผลให้มีการจ้างงาน

นอกภาคเกษตรเพิ่มมากขึ้น ทำให้การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น (2) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

จากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศที่ผ่อนคลายลง

ใกล้เคียงกับช่วงปกติ (3) แนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคการเกษตร ตามแนวโน้มการขยายตัวของผลผลิต

การเกษตร โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ส่งผลต่อเนื่องให้กำลังซื้อจาก

ภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้น

? เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่า การผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน

สำหรับการบริโภคเหล็กปี 2566 คาดว่ามีปริมาณ 17.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการ

ขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างของภาครัฐ ซึ่งคาดว่า

จะส่งผลให้ปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่น่าติดตาม

เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก และการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค

และผู้ส่งออกเหล็กรายใหญ่ของโลก เนื่องจากส่งผลต่อปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศไทย

? เครื่องใช้ไฟฟ้า คาดว่า จะมีการผลิตและการส่งออกที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.0 - 10.0 เมื่อเทียบกับ

ปีก่อน จากเศรษฐกิจโลกและตลาดส่งออกหลักของประเทศไทยฟื้นตัวจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 และการพัฒนานวัตกรรม การปรับปรุงเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความสำคัญ

ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน น่าจะเอื้อโอกาสให้ไทยสามารถ

ส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เช่น เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น ไปยังตลาดสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้

มีแนวโน้มความต้องการใช้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

ต่อเนื่อง

? อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่า จะมีการผลิตและการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.0 - 10.0

เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการปรับตัว

ของผู้ผลิตสินค้ากลุ่มเซมิคอนดักเตอร์จากสถานการณ์การขาดแคลนชิป ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของการทำงานและการศึกษาระยะไกล ทำให้เกิดความต้องการใช้สินค้า

อิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

? รถยนต์ คาดว่า จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1,800,000 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.86

โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ

45-50

? รถจักรยานยนต์ คาดว่า การผลิตจะขยายตัว คิดเป็นปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ประมาณ 2,000,000

คัน ทั้งนี้ จากปริมาณการผลิตที่คาดการณ์ไว้ข้างต้นจะเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 85-90

และการผลิตเพื่อการส่งออก ร้อยละ 10-15

? เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่าผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ (กระดาษแข็ง

กระดาษคราฟท์ กระดาษลูกฟูก) จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษ

จะได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ สำหรับการส่งออก คาดว่าเยื่อกระดาษจะกลับมา

ขยายตัวได้อีกครั้ง หากประเทศจีนได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมไวรัสโควิด-19 ซึ่งประเทศจีนเป็นคู่ค้าหลัก สำหรับ

กลุ่มสิ่งพิมพ์ คาดว่าจะขยายตัวได้ โดยเป็นกลุ่มหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่ม โบรชัวร์ แผ่นปลิวและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิต มีแนวโน้มชะลอลงตามอุปสงค์ของตลาดโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า

ส่วนการส่งออกและจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

การผ่อนคลายมาตรการควบคุมเดินทางระหว่างประเทศ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่งผลให้

การบริโภคภายในประเทศรวมทั้งการส่งออกสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้อาจจะมี

ปัจจัยเสี่ยง เช่น ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ การขาดแคลนพลังงานในทวีปยุโรป อาจเป็นปัจจัยกดดัน

ที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว รวมทั้งการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและค่าจ้างแรงงาน ซึ่งกระทบต่อต้นทุน

การผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเช่นกัน

? ยา คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 4.00-6.00 เนื่องจากฐานตัวเลขของปี 2565 ที่ค่อนข้างสูง แต่อุตสาหกรรมยังจะ

อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยที่ดี ตามทิศทางความต้องการใช้ยาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะมี

แนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดอาเซียน

ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง คาดการณ์ว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์จะขยายตัว

อย่างต่อเนื่อง จากการผลิตเพื่อตอบสนองอุปสงค์ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในขณะที่

ปริมาณการผลิตถุงมือยางคาดการณ์ว่าจะยังคงชะลอตัวจากแนวโน้มความต้องการใช้ถุงมือยางในประเทศและ

ต่างประเทศที่ปรับลดลง

? อาหาร ภาพรวมของดัชนีผลผลิตอาหารในปี 2566 จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการที่ประเทศไทยเปิดรับ

นักท่องเที่ยวและการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ในประเทศ ในส่วนของกลุ่มที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดีในปี 2566

ได้แก่ กลุ่มผลไม้แช่เย็น แช่แข็ง ที่จีนยังคงมีความนิยมในการบริโภค และไทยได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้า

ในสินค้าดังกล่าว กลุ่มสินค้ามันสำปะหลัง เช่น แป้งมันสำปะหลัง เพื่อทดแทนแป้งข้าวโพดที่ยังคงราคาสูง ไก่สด

แช่เย็นแช่แข็งที่มีทิศทางดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายตลาดใหม่ และกลุ่มน้ำตาลที่ทิศทางราคาสูงขึ้น รวมถึง

ตลาดอาหารแปรรูปและอาหารสัตว์ ที่มีโอกาสเติบโตจากการที่ไทยกำลังขยายตลาดใหม่ไปยังกลุ่มประเทศอาหรับ

อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมจะมีการขยายตัวแต่ยังต้องเฝ้าระวังภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย โดยเฉพาะประเทศคู่ค้า

หลักของไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรบางชนิดที่เติบโตได้ดีในปีที่ผ่านมา รวมถึงต้นทุนด้านวัตถุดิบและ

พลังงานที่ยังคงผันผวนอยู่ จึงอาจทำให้ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี มีราคาสูงขึ้น

ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2565

และแนวโน้ม ปี 2566

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2565 และแนวโน้ม ปี 2566

GDP

สามไตรมาสแรก ขยายตัวร้อยละ 3.1 (%YoY)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP

สามไตรมาสแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 3.1

เมื่อเทียบกับสามไตรมาสแรกของปี 2564 ที่ขยายตัว

ร้อยละ 1.5

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อ GDP

ในสามไตรมาสแรกของปี 2565 การผลิต

ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.7 ภาคบริการขยายตัว

ร้อยละ 4.2 การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชน

ขยายตัวร้อยละ 6.5 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.6

การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.5

การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 10.0

GDP ภาคอุตสาหกรรม

สามไตรมาสแรก ขยายตัวร้อยละ 2.6 (%YoY)

GDP ภาคอุตสาหกรรม สามไตรมาสแรกของปี 2565

ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 โดยขยายตัวจากการผลิตยานยนต์

เป็นสำคัญ จากคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น

และสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น ชิป

และเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลายลง

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัว

ในช่วงร้อยละ 3.0 ? 4.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก

(1) การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว (2) การขยายตัวของ

การลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ (3) การขยายตัว

อย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ

(4) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคเกษตร

ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การผลิตภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.7

การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.5

ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในสามไตรมาสแรก

ของปี 2565 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

จากการคลี่คลายของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19

และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

กิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการผลิตกลับมาดำเนินการ

ได้เต็มที่รองรับคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น

การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชน

ขยายตัวร้อยละ 6.5

การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.6

การส่งออกสินค้าและบริการ

ขยายตัวร้อยละ 10.0

ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 4.2

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ม.ค. ? ต.ค. 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.17

(%YoY)

ดัชนีการส่งสินค้า

ม.ค. ? ต.ค. 2565 ขยายตัวร้อยละ 3.36

(%YoY)

ในช่วง 10 เดือนแรก (เดือนมกราคม ? ตุลาคม)

ของปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 99.06

ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2564 (96.96) ร้อยละ

2.17

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 อาทิ การผลิต

ยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม

และการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์

เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มปี 2566 คาดว่า ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2565 และอาจจะ

ก ล บ ไ ป เ ทีย บ เ ท่า กับ ปี 2 5 6 1 เ นื่อ ง จ ก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ได้คลี่คลาย กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาสู่ภาวะ

ป ก ติ ร ว ม ทั้ง ก ร ผ ลิต ด เ นิน ก ร ไ ด้เ ต็ม

ประสิทธิภาพจากการบริโภคในประเทศที่เติบโตดี

โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหาร

ในช่วง 10 เดือนแรก (เดือนมกราคม ? ตุลาคม)

ของปี 2565 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 100.17

ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2564 (96.92) ร้อยละ

3.36

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจาก

ช่วงเดียวกันของปี 2564 อาทิ การผลิตยานยนต์

การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการ

ผลิตน้ำตาล เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มปี 2566 คาดว่า ดัชนีการส่งสินค้า

จะสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมข้างต้น

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ม.ค.?ต.ค. 2565 หดตัวร้อยละ 1.02 (%YoY)

อัตราการใช้กำลังการผลิต

อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ร้อยละ 63.06

ในช่วง 10 เดือนแรก (เดือนมกราคม ? ตุลาคม)

ของปี 2565 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ

137.46 หดตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2564 (138.88)

ร้อยละ 1.02

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2564 อาทิ การผลิต

ยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ และการผลิต

จักรยานยนต์ เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มปี 2566 คาดว่า ดัชนีสินค้า

สำเร็จรูปคงคลังน่าจะลดลงจากปี 2565 เป็นการผลิต

เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าตามคำสั่งซื้อทั้งจากการบริโภค

ในประเทศและการส่งออกไปต่างประเทศ ทำให้สินค้า

สำเร็จรูปคงคลังมีปริมาณไม่สูงเท่าปีก่อน

ในช่วง 10 เดือนแรก (เดือนมกราคม ? ตุลาคม)

ของปี 2565 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ

ร้อยละ 63.06 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564

(ร้อยละ 62.56)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต

เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 อาทิ การผลิต

ยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม

และการผลิตเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มปี 2566 คาดว่า อัตราการใช้กำลัง

การผลิตจะปรับตัวดีขึ้นจากการผลิตและบริการกลับมา

ดำเนินการผลิตได้ปกติ

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม

ม.ค. ? ต.ค. อยู่ที่ระดับ 88.51

ในช่วงเดือน ม.ค. ? ต.ค. (10 เดือนแรก)

ของปี 2565 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 88.51 เพิ่มขึ้นจาก

ช่วงเดียวกันของปี 2564 (82.00) และดัชนีความเชื่อมั่น

คาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 98.20 เพิ่มขึ้น

จากช่วงเดียวกันของปี 2564 (92.07)

สำหรับแนวโน้มในปี 2566 คาดว่า ดัชนีความ

เชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจาก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลาย

และรัฐบาลประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่น มีการ

เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อุปสงค์

ในประเทศฟื้นตัวเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการ

มีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น ส่งผลดีต่อภาคการผลิตและ

อุตสาหกรรมมีการขยายตัวดีต่อเนื่อง

ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การค้าต่างประเทศของไทย

?การค้าระหว่างประเทศ ปี 2565 (ม.ค.-ต.ค.) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564

(ม.ค.-ต.ค.) โดยฟื้นตัวต่อเนื่องภายหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง ประกอบกับการผ่อนคลาย

มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าหลักของไทย

กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์บรรเทาลง ต้นทุนค่าระวางเรือขนส่งสินค้า

เริ่มเข้าสู่สมดุล และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาให้กับสินค้าไทย ซึ่งล้วนเป็น

ปัจจัยเชิงบวกที่สนับสนุนให้อุปสงค์การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวขึ้น ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศ

ของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย?

โดยการค้าต่างประเทศของไทย ปี 2565 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่าทั้งสิ้น 501,858.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 243,138.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

และมูลค่าการนำเข้า 258,719.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยดุลการค้า ปี 2565 (ม.ค.-ต.ค.) ขาดดุล 15,581.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกสินค้าของไทย ปี 2565 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่า 243,138.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

ร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเกษตรกรรม

มีมูลค่าการส่งออก 22,697.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.3 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่า

การส่งออก 19,438.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 22.6 สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการส่งออก

190,672.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.8 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 10,330.2

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.4 โดยภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกหมวดสินค้า

สินค้าอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เคมีภัณฑ์ (มูลค่าการส่งออก 8,253.0

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.3) แผงวงจรไฟฟ้า (มูลค่าการส่งออก 7,756.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

ร้อยละ 11.4) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล (มูลค่าการส่งออก 7,389.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ขยายตัวร้อยละ 9.7) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 5,981.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

ร้อยละ 11.0) และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (มูลค่าการส่งออก 5,946.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ

5.0) เป็นต้น

ตลาดส่งออกสินค้า

ปี 2565 (ม.ค.-ต.ค.) การส่งออกสินค้าไปตลาดคู่ค้า

หลักของไทยส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น อาเซียน (9 ประเทศ)

สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ด้านการส่งออก

สินค้าไทยไปจีนเป็นประเทศเดียวที่หดตัวลง ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบ

จากมาตรการควบคุมโควิดเป็นศูนย์ของจีน ทั้งนี้ ภาพรวมสัดส่วน

การส่งออก 5 ตลาด คิดเป็นร้อยละ 70.2 และการส่งออกไปยัง

ตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 29.8 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมี

รายละเอียด ดังนี้

? ไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปอาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป คิดเป็นร้อยละ

25.3, 16.4, 12.0, 8.6 และ 7.9 ตามลำดับ

? อัตราการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกไปยัง

ประเทศคู่ค้าหลักในภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 16.8 อาเซียน ขยายตัว

ร้อยละ 16.1 สหภาพยุโรป ขยายตัวร้อยละ 6.8 และญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 0.5 ขณะที่การส่งออก

ไปจีนหดตัวร้อยละ 6.1

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าของไทยปี 2565 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่านำเข้า 258,719.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

ร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเชื้อเพลิง

มีมูลค่าการนำเข้า 54,016.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 76.8 สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 56,118.8

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.9 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 107,824.8

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.1 สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 27,362.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ขยายตัวร้อยละ 7.5 ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 10,177.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว

ร้อยละ 15.9 และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 3,220.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ขยายตัวร้อยละ 947.6

ตลาดนำเข้าสินค้า

ปี 2565 (ม.ค.-ต.ค.) การนำเข้าของไทยขยายตัว

ในตลาดจีน อาเซียน (9 ประเทศ) สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และ

สหรัฐอเมริกา ขณะที่การนำเข้าจากญี่ปุ่นหดตัวลงเล็กน้อย โดยมี

สัดส่วนการนำเข้ารวม 5 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 63.5 และการนำเข้า

จากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 36.5 ของการนำเข้าทั้งหมด ซึ่งมี

รายละเอียด ดังนี้

? ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจากจีน อาเซียน ญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 23.1, 17.3 และ 11.3 ตามลำดับ ในขณะที่

การนำเข้าจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนเท่ากันที่ร้อยละ 5.9

? อัตราการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการนำเข้าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาด

สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 30.6 อาเซียน ขยายตัวร้อยละ 18.7 จีน ขยายตัวร้อยละ 9.8 และสหภาพ

ยุโรป ขยายตัวร้อยละ 1.9 มีเพียงตลาดญี่ปุ่นที่การนำเข้าหดตัวร้อยละ 2.1

เศรษฐกิจโลก ปี 2565

?เศรษฐกิจโลกปี 2565 ยังคงขยายตัวได้แต่มีทิศทางชะลอตัวลง ด้านเศรษฐกิจไทยขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่

บรรยากาศการค้าและภาคการผลิตยังคงขยายตัวได้ อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง?

สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ปี 2565

(%YoY)

GDP

2565F

Inflation

2565F

MPI

(JAN-OCT)

Export

(JANOCT)

Import

(JAN-OCT)

Unemp.

RateF

Policy

RateF

สหรัฐฯ ? 1.6 ? 8.1 ? 3.9 ? 19.9 ? 18.3 At 3.7 At 3.75-4.00

จีน ? 3.2 ? 2.2 ? 3.3F ? 11.1 ? 3.8 At 4.2 At 3.65

ญี่ปุ่น ? 1.7 ? 2.2 ? 0.3F ? 0.4 ? 19.4 At 2.6 At -0.10

เกาหลีใต้ ? 2.6 ? 5.5 ? 3.6F ? 10.3 ? 23.4 At 3.0 At 3.00

สิงคโปร์ ? 3.0 ? 5.5 ? 3.4F ? 17.2 ? 22.2 At 2.1 n.a.

ไทย ? 3.2 ? 6.3 ? 2.2 ? 9.1 ? 18.3 At 1.0 At 1.25

ที่มา : รวบรวมจาก www.ceicdata.com, www.imf.org, www.oie.go.th, www.nesdc.go.th

หมายเหตุ : F เป็นตัวเลขประมาณการ

ปี 2565 IMF ประมาณการว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.2 และในปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 2.7

โดยภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกส่งสัญญาณถดถอย เนื่องจากเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ข้อขัดแย้ง

ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อ วิกฤตพลังงานและค่าครองชีพที่มีระดับสูงจากภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง อัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งช่วงปลายปี 2565 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าจะคงระดับอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ

3.75-4.00 และจะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อปรับสมดุลทางเศรษฐกิจจากนโยบายทางการเงินที่เข้มงวด

ขณะเดียวกันการค้าระหว่างประเทศและภาคการผลิตในหลายประเทศยังคงขยายตัวได้ดี

ด้านราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนจากราคาน้ำมันดิบดูไบ ช่วง 10 เดือนแรก

(ม.ค.-ต.ค.) ของปี 2565 อยู่ที่ 99.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2564 ซึ่งช่วง 10 เดือน

แรกของปี 2564 อยู่ที่ 67.9 ดอลล่าร์สหรัฐฯ /บาร์เรล โดยกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันและพันธมิตรดำเนินนโยบาย

ปรับลดกำลังการผลิตลง ส่งผลให้อุปทานการผลิตตึงตัวตรงข้ามกับอุปสงค์การบริโภคน้ำมันที่โตต่อเนื่อง

ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว กอปรจีนมีแนวโน้มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ลง จึงส่งผลให้ระยะต่อไป

ราคาน้ำมันยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกมีประเด็นที่ต้องติดตามทั้งภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัว สถานการณ์

การค้าในตลาดโลกที่อาจยกระดับมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจ ราคาพลังงานและอัตรา

ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน รวมถึงภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดเล็กมีข้อจำกัด

ในการฟื้นตัว ส่งผลให้รายได้และกำลังซื้อของผู้บริโภคซบเซาลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อ

มีแนวโน้มชะลอตัวลงในระยะข้างหน้า ตลอดจนการฟื้นตัวของภาคบริการและการท่องเที่ยวภายหลังการเปิด

ประเทศทั่วโลกเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การอุปโภคบริโภคเติบโตต่อไปได้ ซึ่งเป็นแรงส่งสำคัญที่ผลักดันให้การส่งออก

และการผลิตขยายตัวได้ ทั้งนี้ ภาคธุรกิจอาจต้องบริหารจัดการความเสี่ยงให้สอดคล้องกับภาวการณ์ดังกล่าว

โดยเฉพาะการบริหารทรัพยากรด้านวัตถุดิบและแรงงานที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาปี 2565

และแนวโน้มปี 2566

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

* คาดการณ์ปี 2565 โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปริมาณการจำหน่ายและมูลค่าการนำเข้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้า

แห่งประเทศไทย

* คาดการณ์ปี 2565 โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและ

สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปี 2565* คาดว่าลดลง

เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ 92.2 ลดลง

ร้อยละ 9.7 (%YoY) ซึ่งลดลงทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและ

เหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวที่ลดลง เช่น

เหล็กเส้นกลม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน เหล็กลวด และ

ลวดเหล็ก จากการชะลอตัวของการก่อสร้างของภาคเอกชน สำหรับ

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนที่ลดลง เช่น เหล็กแผ่นรีดเย็น และ

เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ซึ่งลดลงจากการผลิตของอุตสาหกรรม

ต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

การบริโภคในประเทศ ปี 2565* คาดว่ามีปริมาณ

16.8 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 9.9 (%YoY) ลดลงทั้งผลิตภัณฑ์

ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก

ทรงยาวทุกประเภทมีการบริโภคลดลง โดยเฉพาะเหล็กลวด

ซึ่งนำมาผลิตเป็น ตะปู ตะแกรง น็อต สกรู ลวดเชื่อม ลวดเสริม

ยางรถยนต์ สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีการบริโภค

ลดลงทุกประเภทเช่นกัน โดยเฉพาะเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก

เหล็กแผ่นเคลือบประเภทอื่น ๆ และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ซึ่งใช้ใน

อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง ยานยนต์

เครื่องใช้ไฟฟ้า

การนำเข้า ปี 2565* คาดว่ามีมูลค่า 12.8

พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.2 (%YoY) โดยลดลง

ทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน

โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวที่มีมูลค่านำเข้าลดลง เช่น

เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณที่ใช้ในอุตสาหกรรม

ต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง และเหล็กลวด สำหรับ

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ที่มีมูลค่านำเข้าลดลง เช่น

เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่น

บางรีดร้อน ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าปี 2566

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในปี 2566 คาดการณ์ว่า

การผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.5

เมื่อเทียบกับปีก่อน สำหรับการบริโภคเหล็กปี 2566 คาดว่า

มีปริมาณ 17.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุน

จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรม

ก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างของภาครัฐ ซึ่งคาดว่า

จะส่งผลให้ปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็ก

ในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่น่าติดตาม เช่น

สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก และการดำเนินนโยบาย

อุตสาหกรรมเหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออก

เหล็กรายใหญ่ของโลก เนื่องจากส่งผลต่อปริมาณการผลิต

ผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ปี 2565* ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2564 โดยลดลงทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก

ทรงยาวและเหล็กทรงแบน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวที่ลดลง เช่น เหล็กเส้นกลม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน เหล็กลวด

และลวดเหล็ก และผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนที่ลดลง เช่น เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

แนวโน้มอุตสาหกรรมไฟฟ้าของปี 2566

คาดว่า จะมีการผลิตและการส่งออกที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.0-10.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากเศรษฐกิจโลกและ

ตลาดส่งออกหลักของประเทศไทยฟื้นตัวจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการพัฒนานวัตกรรม การปรับปรุงเทคโนโลยี

สมัยใหม่ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความสำคัญด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน น่าจะ

เอื้อโอกาสให้ไทยสามารถส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เช่น เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น ไปยังตลาดสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้

มีแนวโน้มความต้องการใช้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องในปี 2566

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก เครื่องใช้ไฟฟ้า

ที่มา : ข้อมูลการผลิต : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2565* ขยายตัว

เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 103.8 ขยายตัว

เล็กน้อยร้อยละ 0.2 (%YoY) ทั้งนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัว

เพิ่มขึ้น ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ สายไฟฟ้า

พัดลม และเครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1, 10.8,

10.2, 7.2 และ 5.3 ตามลำดับ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อ

จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่มีการปรับตัว

ลดลง ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า กระติกน้ำร้อน

หม้อหุงข้าว และ ตู้เย็น ลดลงร้อยละ 18.6, 15.5, 14.5,

13.5 และ 4.7 ตามลำดับ เนื่องจากการจำหน่าย

ในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง

การจำหน่ายในประเทศ ในปี 2565* สินค้า

ที่จำหน่ายในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ

ปีก่อน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ และตู้เย็น

เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7, 6.4 และ 0.2 ตามลำดับ ในขณะที่

เตาอบไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน

และพัดลม หดตัวร้อยละ 105.4, 87.0, 27.3, 9.7 และ 2.1

ตามลำดับ

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ในปี 2565* มีมูลค่า

17,980.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวจากปีก่อน ร้อยละ

1.6 (%YoY) จากการนำเข้าสินค้าเครื่องปรับอากาศ

หม้อหุงข้าว ตู้เย็น คอมเพรสเซอร์ และเครื่องซักผ้า

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ในปี 2565* มีมูลค่า

29,701.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ

5.9 (%YoY) จากการส่งออกเครื่องทำน้ำร้อน หม้อแปลง

ไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า และ เครื่องปรับอากาศ

97.4 95.5 96.7 93.7 103.68 103.84

-

20.0

40.0

60.0

80.0

100.0

120.0

140.0

2560 2561 2562 2563 2564 2565*

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

ดัชนีผลผลิต

1,654.29 1,603.62 2,016.05 2,023.23 2,044.00

2,433.52

7,708.92 7,523.33

6,221.28

5,203.53 5,426.85 5,795.82

4,483.58

10,904.85

10,097.39 10,133.71

11,096.49 10,869.55

4,852.13

4,879.01 4,382.14 4,041.68 3,261.01

1,743.45

265.05 255.31 363.12 93.14 45.65 22.22

1,661.23 1,638.49 1,823.43 1,981.66 1,917.37 1,921.24

1,138.73 1,165.23 925.31 958.02 781.14 712.19

3,219.42 3,185.39 3,109.20 3,067.91 2,852.52 2,240.05

0.00

1,000.00

2,000.00

3,000.00

4,000.00

5,000.00

6,000.00

7,000.00

8,000.00

9,000.00

10,000.00

11,000.00

12,000.00

2560 2561 2562 2563 2564 2565*

ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ (พันเครื่อง)

เครื??องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ พัดลม เคร??องซักผ้า

เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น กระติกนำ?? ร้อน หม้อหุงข้าว

15,912.3 14,929.6 15,922.8 15,169.3

18,261.3 17,980.7

23,703.6 24,045.1 24016.3 23858.8

27953.8 29,701.90

-

10,000.0

20,000.0

30,000.0

40,000.0

2560 2561 2562 2563 2564 2565*

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้า มูลค่าการส่งออก

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2565* เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 ขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากสินค้ามอเตอร์ไฟฟ้า

คอมเพรสเซอร์ สายไฟฟ้า พัดลม และเครื่องปรับอากาศ ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น และมีการส่งออกเครื่องทำน้ำร้อน

หม้อแปลงไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า และ เครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : ข้อมูลการผลิต : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2565* มีดัชนีผลผลิต

อยู่ที่ระดับ 95.2 หดตัวจากปีก่อน ร้อยละ 3.8 (%YoY) โดยสินค้า

อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ PCBA, Semiconductor

devices transistors, Printer และ IC ลดลงร้อยละ 24.9, 21.0,

5.1 และ 3.6 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการขาดแคลน

วัตถุดิบในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และราคาต้นทุนที่สูงขึ้น

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2565*

มีมูลค่า 44,458.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจาก

ปีก่อนร้อยละ 5.4 (%YoY) จากการส่งออกสินค้า

เครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ

เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวม

การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2565*

มีมูลค่า 47,033.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากปีก่อน

ร้อยละ 7.1 (%YoY) จากการนำเข้าสินค้า วงจรรวม

วงจรพิมพ์ และ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ

และส่วนประกอบ

แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2566

?สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2566

คาดว่า จ มีกา รผ ลิต และ กา รส่ง อ อกส น ค้า

อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.0 -10.0

เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจาก

สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการ

ปรับตัวของผู้ผลิตสินค้ากลุ่มเซมิคอนดักเตอร์

จากสถานการณ์การขาดแคลนชิป ส่งผลให้มีความ

ต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการ

เพิ่มขึ้นของการทำงานและการศึกษาระยะไกล ทำให้

เกิดความต้องการใช้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและ

อิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น?

95.0 96.7 92.3 92.2 98.8 95.2

0.0

20.0

40.0

60.0

80.0

100.0

120.0

2560 2561 2562 2563 2564 2565*

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิต

35,095.5

38,003.3

35,737.1

36,028.1

43,673.1

47,033.3

35,584.7 38,063.3 35700.2

35761.8

42041.4

44,458.2

0.0

5,000.0

10,000.0

15,000.0

20,000.0

25,000.0

30,000.0

35,000.0

40,000.0

45,000.0

50,000.0

2560 2561 2562 2563 2564 2565*

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้า มูลค่าการส่งออก

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2565* หดตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 โดยปรับตัวลดลงในสินค้า

PCBA, Semiconductor devices transistors, Printer และ IC เป็นผลจากการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตและราคาต้นทุน

ที่สูงขึ้น และมีการส่งออกสินค้าเครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวมเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

ที่มา : - สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรม

ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

- *คาดการณ์จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : - ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

- * คาดการณ์จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตรถยนต์

ปี 2565 คาดว่า มีปริมาณการผลิตรถยนต์ จำนวน

1,750,000 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมี

ปริมาณการผลิตจำนวน 1,685,705 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ

3.81 โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ 30 รถกระบะ

1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 67 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

อื่น ๆ ร้อยละ 3

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ

ปี 2565 คาดว่า มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ

จำนวน 850,000 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ซึ่งมีปริมาณการจำหน่าย จำนวน 743,786 คัน เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 14.28 โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง

ร้อยละ 31 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 49 รถ PPV และ SUV

ร้อยละ 15 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 5

การส่งออกรถยนต์

ปี 2565 คาดว่า มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน

900,000 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซี่งมี

ปริมาณการส่งออก จำนวน 959,194 คัน ลดลงร้อยละ 6.17

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์

ปี 2565 คาดว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถยนต์ 10,295.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 10,168.62 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.25 ตลาดส่งออกที่สำคัญของ

ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา

ญี่ปุ่น และมาเลเซีย

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

ปี 2565 คาดว่า มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและ

อุปกรณ์ยานยนต์ 8,775.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซี่งมีมูลค่า 11,333.78

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.57 ตลาดนำเข้า

ที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ได้แก่

ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ปี 2566

สำหรับการประมาณการจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม คาดว่า จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1,800,000 คัน เพิ่มขึ้นจาก

ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.86 โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ

ร้อยละ 45-50

1,988,823 2,167,694 2,013,710

1,427,074

1,685,705 1,750,000

871,650 1,041,739 1,007,552

792,146 743,786 850,000

1,139,696 1,140,640 1,054,103

735,842 959,194 900,000

2560 2561 2562 2563 2564 2565*

การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถยนต์ (คัน)

การผลิต การจำหน่าย การส่งออก

9,032.26 9,980.34 9,517.60

7,830.98

10,168.62

10,295.95

11,402.56 11,984.60 11,507.43

9,011.62

11,333.78

8,775.45

2560 2561 2562 2563 2564 2565*

มูลค่าการส่งออกและนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)

มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า

อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2565 คาดว่า ปริมาณการผลิตขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้น

จากตลาดในประเทศ เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนชิปเริ่มคลี่คลาย สามารถผลิตและส่งมอบรถยนต์ได้ตามปกติ และการ

ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี 2566

สำหรับการประมาณการจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม คาดว่า การผลิตจะขยายตัว คิดเป็นปริมาณ

การผลิตรถจักรยานยนต์ประมาณ 2,000,000 คัน ทั้งนี้ จากปริมาณการผลิตที่คาดการณ์ไว้ข้างต้นจะเป็นการผลิตเพื่อจำหน่าย

ในประเทศ ประมาณร้อยละ 85-90 และการผลิตเพื่อการส่งออก ร้อยละ 10-15

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

*คาดการณ์จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

* คาดการณ์จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตรถจักรยานยนต์

ปี 2565 คาดว่า ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์

ของประเทศไทยมีจำนวน 1,980,000 คัน เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีการผลิตจำนวน

1,780,654 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.20

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ

ปี 2565 คาดว่า ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์

ของประเทศไทย มีจำนวน 1,730,000 คัน เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีการจำหน่ายจำนวน

1,606,481 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.69

การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD)

ปี 2565 คาดว่า ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU

& CKD) ของประเทศไทย มีจำนวน 1,015,000 คัน

(เป็นการส่งออก CBU จำนวน 404,000 คัน และ CKD

จำนวน 611,000 ชุด) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ซึ่งมีการส่งออกจำนวน 965,967 คัน (เป็นการส่งออก

CBU จำนวน 437,147 คัน และ CKD จำนวน 528,820 ชุด)

เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.08

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์

ป 2565 ม ลค การส งออกของส วนประกอบ

รถจักรยานยนต์ 952.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซี่งมีมูลค่า 973.38 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.10 ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่

จีน เบลเยี่ยม และสหราชอาณาจักร

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน

ปี 2565 คาดว่า มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและ

อุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน 1,122.24

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ซี่งมีมูลค่า 1,035.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ

8.38 ตลาดนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา

และจีน

2,055,193 2,120,000

1,948,480

1,615,319 1,780,654

1,980,000

1,810,771 1,870,000

1,718,587 1,516,096 1,606,481

1,730,000

849,081 886,275 948,839

727,152

965,967 1,015,000

2560 2561 2562 2563 2564 2565*

การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถจักรยานยนต์ (คัน)

การผลิต การจำหน่าย การส่งออก

734.12 765.48 835.22

711.57 973.38 952.94

545.42 578.93 659.95 671.39

1,035.49 1,122.24

2560 2561 2562 2563 2564 2565*

มูลค่าการส่งออกและนำเข้า ส่วนประกอบและ

อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)

มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ปี 2565 คาดว่า การผลิตรถจักรยานยนต์ขยายตัวต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดในประเทศและตลาดส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยตลาดในประเทศใด้รับอานิสงส์จากธุรกิจ

ขนส่ง

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

การผลิตและการจำหน่าย

ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2566* เป็นตัวเลขคาดการณ์

ดัชนีผลผลิต ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 94.51 คาดว่าหดตัว

ร้อยละ 1.89 เมื่อเทียบกับปี 2564 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผล

ให้ดัชนีผลผลิตหดตัว เช่น สีน้ำมัน หดตัวร้อยละ 25.66

น้ำยาปรับผ้านุ่ม หดตัวร้อยละ 7.93 และยาสระผม

หดตัวร้อยละ 6.79

ดัชนีการส่งสินค้า ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 95.88 คาดว่า

หดตัวร้อยละ 1.87 เมื่อเทียบกับปี 2564 ผลิตภัณฑ์

ที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าหดตัวมากที่สุด ได้แก่ ปุ๋ยเคมี

หดตัวร้อยละ 31.28 สีน้ำมัน หดตัวร้อยละ 24.79 น้ำยา

ปรับผ้านุ่ม หดตัวร้อยละ 8.66

การส่งออกผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ ปี 2565 คาดว่ามีมูลค่า

9,908 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 17.64

เมื่อเทียบกับปี 2564 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออก

ขยายตัว เช่น ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 58.13 เคมีภัณฑ์

อินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 56.48 และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด

ขยายตัวร้อยละ 36.40

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ ปี 2565 คาดว่า

มีมูลค่า 17,068.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

ร้อยละ 3.81 เมื่อเทียบกับปี 2564 ผลิตภัณฑ์

ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวมากที่สุด ได้แก่ ปุ๋ยเคมี

ขยายตัวร้อยละ 58.13 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ขยายตัว

ร้อยละ 56.48 และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ขยายตัว

ร้อยละ 36.40

มูลค่าการส่งออก ? มูลค่าการนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร ปี 2566* เป็นตัวเลขคาดการณ์

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ปี 2566

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ปี 2566 จากสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง

กับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ มีต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการชะลอการผลิต

เพื่อดูแนวโน้มต้นทุนการผลิต ในส่วนของการส่งออกและนำเข้ายังขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ปี 2565 ผู้ประกอบการบางรายชะลอการผลิตเพื่อดูราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจาก

ราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยการผลิตสินค้าบางประเภทมีการผลิตตามสถานการณ์ความต้องการ

ของผู้บริโภคเท่านั้น อย่างไรก็ตามการส่งออกและการนำเข้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก

ความต้องการของตลาดหลัก เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

อุตสาหกรรมพลาสติก

การผลิตและการจำหน่าย

ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า

ดัชนีผลผลิต ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 92.75 คาดว่าจะหดตัว

ร้อยละ 0.19 เมื่อเทียบกับปี 2564 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้ดัชนี

ผลผลิตหดตัว เช่น ท่อและข้อต่อพลาสติก หดตัวร้อยละ 1.58

แผ่นพลาสติก หดตัวร้อยละ 4.16 และถุงพลาสติก หดตัว

ร้อยละ 0.27

ดัชนีการส่งสินค้า ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 93.13 คาดว่าจะหดตัว

ร้อยละ 0.10 เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้

ดัชนีการส่งสินค้าหดตัวมากที่สุด คือ ท่อและข้อต่อพลาสติก

หดตัวร้อยละ 1.85 พลาสติกแผ่น หดตัว ร้อยละ 1.77 และ

ถุงพลาสติก หดตัวร้อยละ 0.30

การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก ปี 2565 คาดว่าจะ

มีมูลค่า 4,712.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.0

เมื่อเทียบกับปี 2564 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัว

เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 63.0

ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) ขยายตัวร้อยละ

13.57 และผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS

3923) ขยายตัวร้อยละ 8.97

การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก ปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่า

5,415.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.51

เมื่อเทียบกับปี 2564 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัว

เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) ขยายตัว

ร้อยละ 15.70 ผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัว

ร้อยละ 15.29 และเครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัว

ร้อยละ 12.29

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2565* และ ปี 2565* เป็นตัวเลขคาดการณ์

มูลค่าการส่งออก ? มูลค่าการนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดย

ความร่วมมือจากกรมศุลกากร ปี 2565* และ ปี 2565* เป็นตัวเลขคาดการณ์

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ปี 2566

อุตสาหกรรมพลาสติก ปี 2566 ดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมพลาสติกหดตัวจากผลิตภัณฑ์พลาสติกบางประเภท

จากกระแสรักษ์โลกและมาตรการ ลด ละ เลิกใช้พลาสติกบางชนิด ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวหันไปผลิตสินค้าอื่นหรือใช้

วัตถุดิบที่เป็นชีวภาพทดแทนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาคึกคักส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ

มีแนวโน้มดีขึ้น การนำเข้าและการส่งออกคาดว่าขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจากตลาดหลักดีขึ้น

อุตสาหกรรมพลาสติกภาพรวมปี 2565 ราคาน้ำมันและก๊าซปรับตัวสูงขึ้น ต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

สินค้าเพิ่มมากขึ้น เม็ดพลาสติกถือเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในกระบวนการผลิต ทำให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น

ผู้ประกอบการบางรายเริ่มมีการปรับราคาขายให้เหมาะสมกับต้นทุนที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นและบางส่วนมีการชะลอการ

ผลิตเพื่อรอดูสถานการณ์ด้านราคา การส่งออกและการนำเข้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกขยายตัว

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

การผลิตและการจำหน่าย

ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า ดัชนีผลผลิต ปี 2565 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 5.22

เมื่อเทียบกับปี 2564 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นและ

ขั้นปลายที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตหดตัว คือ Propylene

หดตัวร้อยละ 9.83 และ Polyethylene หดตัวร้อยละ 7.04

ดัชนีการส่งสินค้า ปี 2565 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 8.62

เมื่อเทียบกับปี 2564 ซึ่งเกือบทุกผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์

ปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลายที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้า

หดตัวมากที่สุด คือ Ethylene และ Polyethylene หดตัว

ร้อยละ 10.99 และ 6.94

การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่า

13,639.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.18 เมื่อเทียบ

กับปี 2564 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลายที่มีมูลค่า

การส่งออกหดตัว เช่น Ethylene หดตัวร้อยละ 3.14 และ

PP resin หดตัวร้อยละ 14.59

การนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่า

7,165.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.1

เมื่อเทียบกับปี 2564 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลาย

ที่มีมูลค่าการนำเข้าหดตัว คือ Propylene หดตัวร้อยละ

12.74 และ PP resin หดตัวร้อยละ 0.43

ท??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี ????????* และ ????????* เป็นตัวเลขคาดการณ์

มูลค่าการส่งออก ? มูลค่าการนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ท??มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการส??อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดย

ความร่วมมือจากกรมศุลกากร ปี ????????* และ ????????* เป็นตัวเลขคาดการณ์

แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปี 2566

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปี 2566 ดัชนีผลผลิตคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 2 ? 5 การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีคาดว่าจะหดตัวร้อยละ

5 - 10 เมื่อเทียบกับปี 2565 แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปี 2566 คาดว่าจะหดตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวลง

จากผลของเงินเฟ้อ อันเป็นผลมาจากการปรับราคาน้ำมันและอาหารเพิ่มขึ้นของตลาดโลก ประกอบกับการลงทุนที่คาดว่าชะลอตัวลง

จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าทิศทางค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ แต่จากการที่ตลาดซบเซา และกระแส

รักษ์สิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการในผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการส่งออก

ตามไปด้วย

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภาพรวมปี 2565 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวร้อยละ 5.22 เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยคาดว่า

การส่งออกจะหดตัวร้อยละ 3.18 และการนำเข้าจะหดตัวร้อยละ 0.1 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวจากความขัดแย้ง

ของรัสเซียและยูเครนที่ส่งผลต่อระดับราคาน้ำมันและภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาสินค้าปรับตัวตามต้นทุนการผลิต

ประกอบกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง กดดันให้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยตามการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ ยิ่งกดดัน

ทำให้เกิดการชะลอตัวของการลงทุนและการบริโภค

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

?

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม-ดัชนีการส่งสินค้า

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การส่งออก-นำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์

มูลค่าการนำเข้า-ส่งออก คาดการณ์โดย สศอ.

การผลิต

ในปี 2565 การผลิต และการจำหน่ายสินค้ากระดาษ

และผลิตภัณฑ์กระดาษ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน (%YOY)

ลดลง (-4.19%) และ (-3.59%) ตามลำดับ ลดลงในทุกกลุ่ม

ผลิตภัณฑ์ ยกเว้นกลุ่มกระดาษพิมพ์เขียนที่การผลิตยังเติบโต

ต่อเนื่องทั้งในประเทศและส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มเยื่อกระดาษ

ลดลง (-8.27%) ซึ่งกว่าร้อยละ 90 เป็นคำสั่งซื้อหลักจาก

ประเทศจีน ซึ่งยังมีปัญหาการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19

การส่งออก

การส่งออกเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ

ในปี 2565 มีมูลค่ารวม 2,421.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว

เล็กน้อย (-0.35%) เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน (%YOY)

โดยเฉพาะกลุ่มเยื่อกระดาษ หดตัวร้อยละ (-4.47%) ในขณะที่

กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์

ขยายตัว (+1.32%) และ (+6.28%) ตามลำดับ ตามความต้องการ

และคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากตลาดคู่ค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน

การนำเข้า

การนำเข้าเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ

ในปี 2565 มีมูลค่ารวม 3,547.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

ร้อยละ (+5.63%) เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน (%YoY) เนื่องจาก

การผลิตในประเทศลดลงค่อนข้างมาก บางส่วนยังจำเป็นต้องมี

การนำเข้า โดยเฉพาะเยื่อกระดาษ กระดาษหรือกระดาษแข็ง

ที่นำกลับคืนมาใช้ได้อีก และกลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษ เช่น บรรจุภัณฑ์

กระดาษ กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษพิมพ์เขียน และ

กระดาษคราฟท์ เป็นต้น

แนวโน้มปี 2566

แนวโน้มในปี 2566 คาดว่าผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ (กระดาษแข็ง กระดาษคราฟท์ กระดาษลูกฟูก)

จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษจะได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้า

ทางออนไลน์ และมีการนำเข้าบางส่วน สำหรับการส่งออก คาดว่าเยื่อกระดาษจะกลับเป็นบวกได้อีกครั้ง หากจีนได้ผ่อนคลาย

มาตรการควบคุมไวรัสโควิด-19 ซึ่งประเทศจีนเป็นคู่ค้าหลัก สำหรับกลุ่มสิ่งพิมพ์ คาดว่าจะขยายตัวได้ โดยเป็นกลุ่มหนังสือที่พิมพ์

เป็นเล่ม โบรชัวร์ แผ่นปลิวและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรวมของอุตสาหกรรม

เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ หดตัวลง สอดคล้องกับดัชนีการส่งสินค้า เนื่องจากคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศคู่ค้าหลัก

อุตสาหกรรมเซรามิก

การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจ

อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตัวเลขคาดการณ์)

หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้อง บุผนัง จำนวน 13 โรงงาน

และ เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 34 โรงงาน

2. มูลค่าการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวง

พาณิชย์ และคาดการณ์โดย สศอ.

การผลิต ปี 2565 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 131.71

ล้านตารางเมตร ขยายตัวจากปีก่อน ร้อยละ 0.74 (%YoY)

เพื่อรองรับความต้องการของตลาดส่งออก ส่วนเครื่องสุขภัณฑ์

มีปริมาณการผลิต 7.21 ล้านชิ้น หดตัวจากปีก่อน ร้อยละ 7.74

(%YoY) จากยอดคำสั่งซื้อที่ลดลงของตลาดคู่ค้ากลุ่มประเทศยุโรป

การจำหน่าย ปี 2565 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการ

จำหน่าย 157.15 ล้านตารางเมตร หดตัวจากปีก่อน ร้อยละ 0.78

(%YoY) เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น

ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่วนเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ

การผลิต 3.39 ล้านชิ้น ขยายตัวจากปีก่อน ร้อยละ 8.06 (%YoY)

จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของผู้ประกอบการ

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และมาตรการกระตุ้นตลาดของภาคเอกชน

การส่งออก ปี 2565 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีมูลค่าการส่งออก

123.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากปีก่อน ร้อยละ 21.62

(%YoY) ตามความต้องการและคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากตลาดคู่ค้า

ในกลุ่มประเทศ CLMV ส่วนเครื่องสุขภัณฑ์ มีมูลค่า 223.52

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวจากปีก่อน ร้อยละ 13.55 (%YoY)

แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ปี 2566

ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเซรามิก ปี 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์และ

จำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ตามความต้องการของผู้บริโภคและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่ยังมีปัจจัยที่สำคัญอาจจะ

ส่งผลกระทบต่อการขยายตัว ได้แก่ ต้นทุนวัตถุดิบและการขนส่ง ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ และค่าครองชีพของผู้บริโภค

ที่สูงขึ้น ส่วนมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก คาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวตามความต้องการที่ลดลงของตลาดคู่ค้า จากภาวะ

เศรษฐกิจโลก และสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังเกิดขึ้นในหลายประเทศ ทั้งนี้ หากสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ

การส่งออกอาจจะกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2566 โดยตลาดหลักในการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกยังคงเป็นประเทศ

สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศ CLMV

ปริมาณการผลิต (ล้านตารางเมตร)

ปริมาณการจำหน่าย (ล้านตารางเมตร)

การผลิตและการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ปี 2565 ขยายตัวจากปีก่อน ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นจาก

ตลาดคู่ค้า ส่วนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นในกลุ่มเครื่องสุขภัณฑ์ จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการ

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์

มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

2557 2558 2559 2560

มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

มูลค่าการนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ปริมาณการผลิตและจำหน่าย

มูลค่าส่งออกและนำเข้าปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนี

เศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

(ตัวเลขคาดการณ์)

2. มูลค่าการส่งออก-นำเข้า : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงาน

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และคาดการณ์โดย สศอ.

การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในปี 2565 มีปริมาณ

การผลิต 42.96 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 0.86 (%YoY)

การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในปี 2565

มีปริมาณ 38.93 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 2.08

(%YoY) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ราคา

พลังงานสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน

และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคง

มีอยู่

การส่งออก-นำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในปี 2565

การส่งออกมีมูลค่า 202.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อน

ร้อยละ 19.16 (%YoY) โดยลดลงจากตลาดบังกลาเทศ และ

เมียนมา เนื่องจากตลาดส่งออกหลักได้รับผลกระทบ

ทางเศรษฐกิจจากความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน และยังคงได้รับ

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่นเดียวกับไทย

ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 65.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก

ปีก่อน ร้อยละ 0.41(%YoY) โดยลดลงจาก สปป.ลาว และ

ไต้หวัน

แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ปี 2566

ในปี 2566 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คาดว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากแม้ว่าจะได้ปัจจัยบวกจากภาครัฐที่เร่ง

ขยายการสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง แต่อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยลบหลายประการ

ทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยนอกจากมาตรการ LTV กำลังจะสิ้นสุดลงภายใน

สิ้นปี 2565 แล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกต่อเนื่องไปจนถึงปี 2566 คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่าง

รัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ หากสถานการณ์ดังกล่าวมีความรุนแรงมากขึ้นจะส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจากราคา

พลังงาน ภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จนกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการและกำลังซื้อของผู้บริโภคมากขึ้น รวมถึง

แนวโน้มของโรคไวรัสโควิดอาจกลับมาแพร่ระบาดมากอีกครั้งหนึ่งจะมีผลให้การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจในปีหน้ายิ่งชะลอตัวลง

ปริมาณรผลิต (ล้านตัน)

ปริมาณการจำหน่ายภายในประเทศ (ล้านตัน)

ปริมาณอุตกรการผลิต....ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560......เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559เป็นผลจาก.

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ปี 2565 เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการผลิต ปริมาณการจำหน่าย และ

มูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงจากปีก่อนโดยได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ราคาพลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผล

จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่าลดลงจากปีก่อน

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์

/ ปี 2565-2566 เป็นตัวเลขคาดการณ์

การผลิต

ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในปี 2565 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.73

(YoY) จากกลุ่มผ้าทอ (ใยสังเคราะห์) เนื่องจากฐานที่ต่ำ

ในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

ประกอบกับจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และได้รับ

แรงส่งจากตลาดคู่ค้าสำคัญที่ฟื้นตัว

ในขณะที่กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ

1.44 และ 0.20 (YoY) จากการบริโภคในประเทศที่ลดลงและ

คำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าและตลาดสำคัญที่ชะลอตัว

การจำหน่ายในประเทศ

กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ปี 2565 คาดว่า

จะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.63 และ 0.11 (YoY) เนื่องจาก

ความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกที่กลับมาขยายตัว และ

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจภายในประเทศและภาคการท่องเที่ยว

ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กลุ่มผ้าผืน หดตัวร้อยละ

3.99 เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัว

โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวหลักอย่างจีนที่ยังไม่กลับมา

การส่งออก

การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวมปี 2565

ขยายตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน คาดว่าจะมีมูลค่า 6,994.14

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.17 (YoY) หากพิจารณา

รายสินค้า คาดว่าเส้นใยสิ่งทอ มีมูลค่า 1,782.80 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.57 เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่า 2,158.67

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.01 เนื่องจากสถานการณ์

การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่คลี่คลายในประเทศคู่ค้าสำคัญ

ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น

การส่งออกจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดสำคัญอย่าง

สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เบลเยียม จีน และอิตาลี

คาดการณ์แนวโน้ม ปี 2566

การผลิต มีแนวโน้มชะลอลงตามอุปสงค์ของ

ตลาดโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า การส่งออก และจำหน่าย

ในประเทศ คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อย จากการฟื้นตัวของ

ภาคการท่องเที่ยว การผ่อนคลายมาตรการเดินทาง

ระหว่างประเทศ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ

ภาครัฐ ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง

การส่งออกสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

แต่ทั้งนี้อาจจะมีปัจจัยเสี่ยง เช่น ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น

ในหลายประเทศ การขาดแคลนพลังงานในทวีปยุโรป อาจเป็น

ปัจจัยกดดันที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว รวมทั้ง

การปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและค่าจ้างแรงงาน ซึ่งกระทบต่อต้นทุน

การผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเช่นกัน

100,000

150,000

200,000

250,000

300,000

350,000

400,000

450,000

500,000

100,000

200,000

300,000

400,000

500,000

600,000

700,000

800,000

900,000

ปริมาณการผลิตเส้นใยสิ่งทอ และ เสื้อผ้าสำเร็จรูป

เส้นใยสิ่งทอ (ตัน) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (พันชิ้น)

ตัน พันชิ้น

-

500

1,000

1,500

2,000

2,500

ล้านเหรียญฯ มูลค่าการส่งออกเส้นใยสิ่งทอ และ เสื้อผ้าสำเร็จรูป

เส้นใยสิ่งทอ (MUSD) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (MUSD)

สถานการณ์ปี 2565 คาดว่าภาคการผลิตจะมีการขยายตัวในกลุ่มผ้าผืน จากผ้าทอ (ใยสังเคราะห์) ด้านการ

จำหน่ายในประเทศจะขยายตัวจากกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อการ

ส่งออกที่กลับมาขยายตัว และการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ในหลายประเทศ ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว

อย่างต่อเนื่องในตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน

2

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้

ในประเทศ (ล้านชิ้น)

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเหตุ : *ค่าคาดการณ์

มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ หมายเหตุ : *ค่าคาดการณ์

การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ปี 2565 คาดว่าจะมีปริมาณ 8.31

ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 23.69 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เป็นผล

จากฐานตัวเลขการผลิตเมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับสูงและการ

ชะลอตัวของตลาดในประเทศเป็นหลัก

การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ปี 2565 คาดว่า

จะมีปริมาณ 1.22 ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 2.40 เมื่อเปรียบเทียบกับ

ปีก่อน สาเหตุจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว อัตรา

เงินเฟ้อและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการ

ใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่ารวม

4,392.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.39 เมื่อเปรียบเทียบ

กับปีก่อน แบ่งเป็น ไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้คาดว่าจะมีมูลค่า

การส่งออก 2,935.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.17

เครื่องเรือนและชิ้นส่วนคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออก 1,293.31

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.74 และผลิตภัณฑ์ไม้คาดว่า

จะมีมูลค่าการส่งออก 163.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ

2.80 ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ปรับเพิ่มขึ้น

ทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์จากอุปสงค์ความต้องการของประเทศคู่ค้า

สำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา จีน ที่เพิ่มขึ้นและการขยายตัวในตลาด

ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นความสัมพันธ์และการ

เปิดตลาดการค้าระหว่างทั้งสองประเทศในช่วงที่ผ่านมา

แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ปี 2566

การผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ปี 2566 คาดการณ์ได้ว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อตอบสนอง

อุปสงค์ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดการณ์ว่า จะมีแนวโน้ม

เพิ่มขึ้นจากมูลค่าการส่งออกเครื่องเรือนไม้ไปตลาดสหรัฐอเมริกาและมูลค่าการส่งออกไม้แปรรูปไปตลาดจีนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของมูลค่าการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ คาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อใช้

ในกระบวนการผลิตสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น

8.37 8.43 8.72

10.89

8.31

1.48 1.55 1.33 1.25 1.22

0.00

2.00

4.00

6.00

8.00

10.00

12.00

2561 2562 2563 2564 2565*

การผลิต (ลา นชน?? ) การจำหน่ายในประเทศ (ลา นชน?? )

-5.71 -7.63

-0.6

28.94

3.39

-10.00

0.00

10.00

20.00

30.00

40.00

-

1,000.00

2,000.00

3,000.00

4,000.00

2561 2562 2563 2564 2565*

เครอ?? งเรือนและชน?? ส่วน ผลิตภัณฑ์ไม

ไมแ ละผลิตภัณฑ์แผ่นไม อัตราการขยายตัว (YOY)

เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนคาดว่า ปี 2565 ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ

มีแนวโน้มลดลงร้อยละ 23.69 และ 2.40 ตามลำดับ เป็นผลจากภาวะค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งส่งผลให้

ความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง ในส่วนของมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 3.39 จากอุปสงค์ความต้องการของประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา จีน ที่เพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมยา

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ (ตัน)

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ: *ประมาณการโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออก-นำเข้ายา (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

หมายเหตุ: *ประมาณการโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตยา ในปี 2565 ประมาณการได้ว่ามีปริมาณ

48,091.73 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.99 จากปีก่อนโดยเป็นการ

ขยายตัวของการผลิตยาเม็ด ยาน้ำ และยาครีม ตามคำสั่งซื้อ

ที่เพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศ โดยเฉพาะโรงพยาบาลต่าง ๆ

ที่ต้องกักตุนยาเพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนยาบางชนิด

และเพื่อรองรับความต้องการของผู้ป่วยทั้งโรคติดต่อและโรค

ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

การจำหน่ายยา ในปี 2565 ประมาณการได้ว่ามีปริมาณ

41,018.55 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.77 จากปีก่อนตามความ

ต้องการใช้ในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นจากจำนวนผู้สูงอายุ

และผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การส่งออกยา ในปี 2565 ประมาณการได้ว่ามีมูลค่า

441.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.70 จากปีก่อน

โดยเป็นการเติบโตในตลาดอาเซียน อาทิ เมียนมา กัมพูชา

เวียดนาม ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย สำหรับ

การนำเข้ายาประมาณการได้ว่ามีมูลค่า 1,830.14

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับลดลงร้อยละ 2.88 จากปีก่อน

โดยเป็นการนำเข้ายาจากตลาดหลักลดลง อาทิ อินเดีย

ญี่ปุ่น อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร สเปน และ

จีน

แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ปี 2566

การผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศ ปี 2566 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 4.00-6.00 เนื่องจากฐานตัวเลข

ของปี 2565 ที่ค่อนข้างสูง แต่ยังจะอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยที่ดี ตามทิศทางความต้องการใช้ยาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

อย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดอาเซียน

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา

รัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ วงเงินรวม 5,280.22 ล้านบาท แก่สถาบันการศึกษาวิจัยและภาคเอกชน

ในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งมีความคืบหน้าตามลำดับ และคาดว่าบางราย

จะสามารถขึ้นทะเบียนได้ภายใน ปี 2566

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ ปี 2565 ประมาณการได้ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน

ร้อยละ 13.99 และ 11.77 ตามลำดับ ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นจากจำนวนผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น

อย่างต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกยังขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียนหลัก

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์

และถุงมือยาง (ล้านตัน/ล้านเส้น/พันล้านชิ้น)

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเหตุ: *ค่าคาดการณ์

มูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์

และถุงมือยาง (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ หมายเหตุ: *ค่าคาดการณ์

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง

ปี 2565 คาดว่าจะมีปริมาณ 1.98 ล้านตัน 72.18 ล้านเส้น และ

27,986.75 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.51 จากการ

เพิ่มขึ้นของการผลิตยางแท่งเป็นหลัก การผลิตยางรถยนต์มีปริมาณ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.42 จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตยางรถยนต์นั่ง

ยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและรถโดยสาร และยางรถแทรกเตอร์

ขณะที่การผลิตถุงมือยางมีปริมาณลดลงร้อยละ 13.55 จากความ

ต้องการถุงมือยางทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง

การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง

ปี 2565 คาดว่าจะมีปริมาณ 0.46 ล้านตัน 45.52 ล้านเส้น และ

2,347.51 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน

การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณลดลงร้อยละ 4.17

จากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ลดลง การจำหน่าย

ยางรถยนต์มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.95 ตามการขยายตัวของ

อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ และการจำหน่ายถุงมือยาง

มีปริมาณลดลงร้อยละ 5.61 จากความต้องการใช้ที่ลดลง

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง

ปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่า 5,624.94 7,330.34 และ 1,736.00

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ

0.63 และ 12.02 ตามลำดับ จากการขยายตัวที่ดีของตลาดส่งออก

สำคัญ ในขณะที่การส่งออกถุงมือยางมีมูลค่าลดลงร้อยละ 44.48

จากความต้องการและราคาของถุงมือยางที่ปรับลดลงจากปีที่ผ่านมา

แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ปี 2566

ปี 2566 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

จากการผลิตเพื่อตอบสนองอุปสงค์ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในขณะที่ปริมาณการผลิต

ถุงมือยางคาดการณ์ว่าจะยังคงชะลอตัวจากแนวโน้มความต้องการใช้ถุงมือยางในประเทศและต่างประเทศที่ปรับลดลง

-

0.50

1.00

1.50

2.00

2.50

0

20

40

60

80

2561 2562 2563 2564 2565

ยางรถยนต์ ถุงมือยาง ยางแปรรูปขั??นปฐม

-6.63

2.04

1.61

35.02

-3.74

-10

0

10

20

30

40

0

2,000

4,000

6,000

8,000

2561 2562 2563 2564 2565

ยางแปรรูปขั??นปฐม ยางรถยนต์

ถุงมือยาง อัตราการขยายตัว

เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนคาดว่า ปี 2565 ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.51

จากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ในส่วนของปริมาณการผลิตยางรถยนต์

เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.42 จากการขยายตัวที่ดีของตลาดในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ปริมาณการผลิตถุงมือยาง

ลดลง ร้อยละ 13.55 จากความต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคที่ลดลง

อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

การผลิต การส่งออก การนำเข้า

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์

* รวมถึงกระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก

การผลิต

ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน การฟอกและตกแต่ง

หนังฟอก คาดว่าดัชนีผลผลิตจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.61 การผลิต

ผลิตภัณฑ์กระเป๋าเดินทาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.20 การผลิตรองเท้า

เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.81 จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทั้งในประเทศ

และต่างประเทศ เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย

และต่างประเทศผ่อนคลายมาตรการโควิด-19

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออก ปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่ารวมราว 2,018.82

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.89 เมื่อเปรียบเทียบกับ

ปีก่อน เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์

หนังฟอกและหนังอัด เครื่องใช้สำหรับเดินทาง และรองเท้าและ

ชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.99 58.07 และ 13.95 ตามลำดับ

เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 หลายประเทศ

เริ่มเปิดประเทศ ทั้งนี้ ความผันผวนของราคาพลังงานและระบบ

การขนส่งทั่วโลก จากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน

รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก อาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า

การนำเข้า ปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่ารวมราว 2,126.18

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.59 เมื่อเปรียบเทียบกับ

ปีก่อน เป็นผลจากการนำเข้ากระเป๋าและรองเท้า เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 51.39 และ 22.31 ตามลำดับ เนื่องจากเริ่มมีการเดินทาง

ท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และมาตรการกระตุ้น

การใช้จ่ายของภาครัฐส่งผลให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ปี 2566

การผลิตผลิตภัณฑ์รองเท้าและเครื่องหนัง ปี 2566 คาดว่าการผลิตหนังฟอกและตกแต่งหนังฟอก และการผลิตรองเท้า จะลดลง

เล็กน้อย ส่วนการผลิตกระเป๋าเดินทางเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับการจำหน่ายในประเทศคาดว่าน่าจะดีขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ การส่งออก

คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวเนื่องจากมีหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 และเริ่มเปิดประเทศ อีกทั้งภาครัฐมีมาตรการกระตุ้น

การใช้จ่าย รวมถึงการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตากับความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อ ส่งผล

ต่อราคาพลังงานที่ผันผวน และภาวะเงินเฟ้อกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

ปี 2565 อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง การผลิตเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก การผลิต

กระเป๋า และรองเท้า คาดว่าจะมีการผลิตเพิ่มขึ้น ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายในประเทศและการส่งออก

802.06 800.23

624.82

702.45

804.37

899.03 879.30

592.85

966.14 995.36

0

200

400

600

800

1000

1200

2561 2562 2563 2564 2565*

มูลค่าการส่งออก การนำเข้า

ส่งออก เครอ?? งใชส้ หรับเดินทาง นำเขา กระเป๋

ส่งออก รองเทา และชน?? ส่วน นำเขา รองเทา

ส่งออก หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด นำเขา หนังดิบและหนังฟอก

134.86

123.71

87.55

117.02

130.61

83.96

74.40

54.62 55.37

74.30

98.57 95.54

71.24 71.85

82.49

10

30

50

70

90

110

130

150

2561 2562 2563 2564 2565*

ดัชนีผลผลิต

ฟอกและตกแต่งหนงั ฟอก ผลิตกระเป๋ เดินทาง ผลิตรองเท้า

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

การผลิต และการส่งออก

ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์

* คาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ปี 2565 คาดว่า

จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.40 โดยการผลิตเครื่องประดับแท้ และ

เครื่องประดับเทียม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.54 และ 14.46

จากการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ และการบริโภค

ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น หลังการผ่อนคลายมาตรการการควบคุม

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศ ทำให้มีจำนวน

นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมในการบริโภคปรับตัวดีขึ้น

ส่วนการผลิตเพชรเจียระไน ลดลงร้อยละ 8.93

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ปี 2565

คาดว่าจะมีมูลค่ารวม 8,358.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ

35.67 จากการส่งออกเพชร พลอย เครื่องประดับแท้ และ

เครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.14 77.01 25.27 และ 27.43

ตามลำดับ โดยมีตลาดสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์

และสหรัฐอเมริกา หากพิจารณาการส่งออกในภาพรวมคาดว่าจะมี

มูลค่ารวม 16,487.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.13

จากมูลค่าการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูป ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 109.28

การนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ)

ปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่ารวม 6,777.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.79 จากการนำเข้าเพชร พลอย

เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ

85.57 113.75 62.30 และ 72.51 ตามลำดับ ในตลาดสำคัญ

ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และอินเดีย สำหรับการนำเข้า

ในภาพรวม มีมูลค่า 20,910.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 58.79

แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ปี 2566

การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ปี 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย จากการส่งออกไปยังตลาด

ต่างประเทศ และการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น หลังการผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19

ในหลายประเทศ ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมในการบริโภคปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การส่งออกอัญมณี

และเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) คาดว่าจะมีมูลค่าปรับตัวดีขึ้นตามคำสั่งซื้อประเทศคู่ค้าหลัก และการอ่อนค่า

ของเงินบาท อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลัก ความขัดแย้ง

ทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ อาจส่งผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาด

ของโควิด-19 ที่ยังมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

93.82 84.88

70.45

84.13 89.52 89.89

92.11

82.40

71.89

86.08

91.87

91.96

40.00

50.00

60.00

70.00

80.00

90.00

100.00

60

110

160

210

260

2561 2562 2563 2564 2565* 2566*

ดัชนีการผลิต ดัชนีการส่งสินค้า

11,986

15,691

18,207

10,045

16,488 16,146

7,615 8,097

4,867 6,161

8,359

8,659

4,408 5,171

3,093 4,268

6,777 7,382

15,746

12,134

8,138

12,759

20,911

23,961

-

5,000

10,000

15,000

20,000

25,000

30,000

2561 2562 2563 2564 2565* 2566*

มูลค่าส่งออก-นำเข้า

(หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ)

ส่งออกรวมทองคำ ส่งออกไม่รวมทองคำ

นำเข้าไม่รวมทอง นำเข้ารวมทอง

ปี 2565 การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการผลิตเครื่องประดับแท้ และ

เครื่องประดับเทียม เนื่องจากการส่งออกและการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น หลังการผ่อนคลายมาตรการการควบคุม

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมในการบริโภคปรับตัวดีขึ้น สำหรับการส่งออก (ไม่รวม

ทองคำ) ขยายตัวต่อเนื่อง ในตลาดหลักอย่างสวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา

อุตสาหกรรมอาหาร

ดัชนีการผลิต ปริมาณการจำหน่าย มูลค่าการส่งออก

และมูลค่าการนำเข้าอุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : 1) ดัชนีอุตสาหกรรมจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2) มูลค่าการนำเข้า-ส่งออกจากกระทรวงพาณิชย์ จัดกลุ่มโดย

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีการผลิตอาหาร ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 108.7 ขยายตัวร้อยละ 3.8

(%YoY) จากการผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผล

ให้เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว การเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบทำให้มีจำนวน

นักท่องเที่ยวมากขึ้น ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น รวมถึงคำสั่งซื้อจากทั้งในและ

ต่างประเทศเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยสินค้าอาหารที่การผลิต

ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ไก่แช่เย็นแช่แข็ง น้ำมันปาล์ม แป้งมันสำปะหลัง น้ำตาล

การจำหน่ายอาหารในประเทศ ปี 2565 มีปริมาณ 239.2 ล้านตัน

หดตัวร้อยละ 1.4 (%YoY) จากสินค้าสำคัญ ดังนี้ 1) กุ้งแช่แข็ง เนื่องจาก

ราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ความต้องการของตลาดในประเทศลดลง

2) สุราขาว เนื่องจากผู้บริโภคลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นตามภาวะเงินเฟ้อ

และ 3) นมพร้อมดื่ม เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ลดน้อยลง

การส่งออก ปี 2565 มีมูลค่า 36,489.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

ร้อยละ 13.8 (%YoY) จากการส่งออกสินค้าสำคัญ ดังนี้ 1) ผลิตภัณฑ์

มันสำปะหลัง เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 มีความต้องการใช้

ในอุตสาหกรรมเอทานอลและอาหาร 2) ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง เนื่องจาก

มีการปลดล็อคการนำเข้าไก่จากประเทศจีน รวมถึงการที่ไทยหาตลาด

ส่งออกใหม่ 3) อาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากแนวโน้มการเลี้ยงสัตว์ที่เติบโตขึ้น

ทั่วโลก และ 4) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เนื่องจากการผ่อนคลาย

มาตรการโควิด-19 ส่งผลให้ประเทศไทยมีคำสั่งซื้อและส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ

ได้มากขึ้น ประกอบกับปีนี้มีผลผลิตปาล์มออกสู่ตลาดในปริมาณมาก

การนำเข้า ปี 2565 มีมูลค่า 18,607.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

ร้อยละ 2.2 (%YoY) ดังนี้ 1) ไขมันและน้ำมันพืช จากความต้องการบริโภค

ที่มากขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ 2) กากพืชน้ำมัน เพื่อรองรับการ

ขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ 3) ประมง เช่น ปลาทูน่าสด แช่เย็น

แช่แข็ง ตามความต้องการสำรองทูน่ากระป๋องเพื่อความมั่นคงทางอาหาร

และ 4) ผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมบะหมี่

กึ่งสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ขนมอบ

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ปี 2566

คาดการณ์ว่า ภาพรวมของดัชนีผลผลิตอาหารในปี 2566 จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการที่ประเทศไทยเปิดรับนักท่องเที่ยว

และการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ในประเทศ ในส่วนของกลุ่มที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดีในปี 2566 ได้แก่ กลุ่มผลไม้แช่เย็น แช่แข็ง ที่จีน

ยังคงมีความนิยมในการบริโภค และไทยได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าในสินค้าดังกล่าว กลุ่มสินค้ามันสำปะหลัง เช่น แป้งมัน

สำปะหลัง เพื่อทดแทนแป้งข้าวโพดที่ยังคงราคาสูง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งที่มีทิศทางดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายตลาดใหม่ และน้ำตาล

ที่ทิศทางราคาสูงขึ้น รวมถึงตลาดอาหารแปรรูปและอาหารสัตว์ ที่มีโอกาสเติบโตจากการที่ไทยกำลังขยายตลาดใหม่ไปยังกลุ่มประเทศ

อาหรับ อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมจะมีการขยายตัวแต่ยังต้องเฝ้าระวังภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลักของไทย

ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรบางชนิดที่เติบโตได้ดีในปีที่ผ่านมา รวมถึงต้นทุนด้านวัตถุดิบและพลังงานที่ยังคงผันผวนอยู่ จึงอาจ

ทำให้ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี มีราคาสูงขึ้น

ดัชนีการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารปี 2565 ในภาพรวม ขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน จากการทยอย

ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังการผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 และความต้องการสินค้าของ

ประเทศต่าง ๆ เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารจากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน

0

50

100

150

200

250

300

0

5,000

10,000

15,000

20,000

25,000

30,000

35,000

40,000

2562 2563 2564 F 2565 F 2566

มูลค่าส่งออก/นำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ดัชนีการผลิต ปริมาณจำหน่าย มูลค่าส่งออก และ

มูลค่านำเข้า อุตสาหกรรมอาหารปี 2565

มูลค่าการนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

MPI การจำหน่ายในประเทศ (ล้านตัน)

ดัชนีการผลิต (MPI)/

ปริมาณจำหน่าย (ล้านตัน)

รายชื่อผู้รับผิดชอบการจัดทำ

หัวข้อ กองประสานงาน โทรศัพท์

? ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2565

และแนวโน้มปี 2566

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ