ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 16, 2023 13:37 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมIndicators 2564 2565 2565 2566 %YoY Year Year มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. MPI 5.8 0.4 -0.5 6.0 14.6 3.0 -4.3 -5.3 -8.5 -4.8 -2.4 -3.9 -8.7 -3.1 -5.2 ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว ร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่ยังคงเปราะบาง จากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ยังอ่อนแอ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว ยังคงทำให้ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมหลายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม อาทิ น้ำตาล ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เครื่องปรุงรส สุรา กาแฟ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนมีนาคม หดตัวร้อยละ 3.9 เดือนเมษายน หดตัวร้อยละ 8.7 และเดือนพฤษภาคม หดตัวร้อยละ 3.1 Indicators 2565 2566 %MoM มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. MPI -0.2 -2.3 4.2 -1.8 -4.2 2.1 -1.8 6.1 -0.1 6.2 -21.3 14.3 -2.5 สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนมีนาคม เดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนมีนาคม ขยายตัวร้อยละ 6.2 เดือนเมษายน หดตัวร้อยละ 21.3 และเดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 14.3

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมิถุนายน 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ หดตัวร้อยละ 18.13 ลดลงทุกรายการสินค้า ตามการหดตัวของตลาดส่งออก ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยในส่วนของการผลิตถุงมือยาง ลดลงลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 จากฐานตัวเลขเมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับสูงและความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ชะลอตัวลงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564

Hard Disk Drive (HDD) หดตัวร้อยละ 20.68 ตามการพัฒนาเทคโนโลยีความจุ ทำให้ปริมาณการผลิตน้อยลง แต่ราคาต่อหน่วยสูงขึ้นตามปริมาณความจุ รวมถึงความต้องการใช้ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ Solid State Drive (SSD) มีสัดส่วนการใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ทดแทน HDD เพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีฐานการผลิต SSD ในประเทศ

เฟอร์นิเจอร์ หดตัวร้อยละ 37.14 จากเครื่องเรือนทำด้วยไม้ และทำด้วยโลหะ จากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ลูกค้าลดคำสั่งซื้อ และฐานสูงจากปีก่อนที่มีคำสั่งซื้อส่วนหนึ่งมาไทย หลังจากที่จีนปิดประเทศ รวมถึงใน ปีที่แล้วมีคำสั่งซื้อพิเศษเป็นชั้นวางสินค้าในห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้มีปริมาณลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16

อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนมิถุนายน 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 3.37 โดยมาจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกเป็นสำคัญ จากการส่งออก ไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชีย โอเชียเนีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ

เม็ดพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 5.64 จากการผลิตเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น และ ขั้นปลาย ส่วนหนึ่งมาจากโรงงานกลับมาเปิดการผลิต หลังจากที่ปีก่อนโรงงานบางโรงมีการปิดซ่อมบารุง เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ

เดือนมิถุนายน 2566

          เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนมิถุนายน 2566 การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย ที่มา : กระทรวงพาณิชย์                                                   ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนมิถุนายน 2566 มีมูลค่า 1,718.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.73 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวจากการนำเข้าในสินค้าประเภท เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะ และส่วนประกอบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก เครื่องจักรสิ่งทอ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ เป็นต้น

          การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมิถุนายน 2566 มีมูลค่า 9,127.92             ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 16.98 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าหดตัวในสินค้าประเภท เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

          โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมิถุนายน 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 127 โรงงาน ลดลง        จากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 11.19 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27.84 (%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมิถุนายน 2566 มีมูลค่ารวม 18,259 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 124.69 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 87.11 (%YoY)"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมิถุนายน 2566 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 23 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 7 โรงงาน"

"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2566 คือ อุตสาหกรรมการบรรจุสินค้าทั่วไป จำนวนเงินทุน 8,925 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำยางแผ่นรมควัน การทำยางเครป ยางแท่ง ยางน้ำ หรือการทำยางให้เป็นรูปแบบอื่นใด จำนวนเงินทุน 1,402 ล้านบาท

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนมิถุนายน 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 131 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 219.51 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.76 (%YoY) เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนมิถุนายน 2566 มีมูลค่ารวม 2,622 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 112.96 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.07 (%YoY) "อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมิถุนายน 2566 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 33 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการสี ฝัด หรือขัดข้าว จำนวน 8 โรงงาน

"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนมิถุนายน 2566 คือ อุตสาหกรรม จัดหาน้ำ หรือจำหน่ายน้ำไปยังอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรม มูลค่าเงินลงทุน 479 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการตัด พับ หรือม้วนโลหะ มูลค่าเงินลงทุน 305 ล้านบาท"ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนมิถุนายน 2566

1.อุตสาหกรรมอาหาร ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

          ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือนมิถุนายน 2566 ชะลอตัว (%YoY) ร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน     ของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตชะลอตัว มีดังนี้      1) มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 28.3 จากสินค้าสำคัญคือ แป้ง       มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 31.1 เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่เพาะปลูก ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังและเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง ส่งผลให้มีหัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง 2) ผักและผลไม้     แปรรูป หดตัวร้อยละ 14.7 จากสินค้าสำคัญคือ สับปะรดกระป๋อง หดตัวร้อยละ 43.8 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศลดลง 3) เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 6.0 จากสินค้า ได้แก่ เบียร์ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มรสน้ำผลไม้ 4) ปศุสัตว์ หดตัวร้อยละ 5.1 จากสินค้าสำคัญ คือ เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น หดตัวร้อยละ 6.3 เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้ผลผลิตของไก่ที่เข้าโรงงาน     มีปริมาณลดลง 5) ประมง หดตัวร้อยละ 3.5 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง หดตัวร้อยละ 21.5 เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง อย่างไรก็ตาม ยังมีดัชนีผลผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร         ที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 8.3 จากน้ำตาลทรายขาว ขยายตัวร้อยละ 55.9 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยปีนี้ผลผลิตของน้ำตาลมีปริมาณมากขึ้นและคุณภาพดีขึ้น รวมถึงความต้องการของตลาดต่างประเทศ         ที่เพิ่มขึ้นจากการที่อินเดียจำกัดการส่งออกน้ำตาล โดยตลาดส่งออกหลักของไทย ได้แก่ อินโดนีเซีย

การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนมิถุนายน 2566 ขยายตัวจากกลุ่มสินค้าอาหาร (%YoY) ร้อยละ 14.2 เช่น 1) น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 27.2 2) ข้าวโพดหวานกระป๋อง ขยายตัวร้อยละ 21.2 3) น้ำผลไม้ ขยายตัวร้อยละ 21.2 และ 4) ไส้กรอก ขยายตัวร้อยละ 18.4 5) น้ำอัดลม ขยายตัวร้อยละ 7.9

          ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าอาหารเดือนมิถุนายน 2566       ในภาพรวม ชะลอตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน        จากกลุ่มไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์ม เนื่องจากผลผลิตน้ำมันปาล์มโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความต้องการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากไทยลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ น้ำตาล จากสินค้าสำคัญ คือ น้ำตาลทราย โดยตลาดหลัก คือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
          คาดการณ์แนวโน้ม เดือนกรกฎาคม 2566 ในภาพรวมมีแนวโน้ม   ชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์          ทางเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังคงชะลอตัว รวมถึงความกังวลในการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังไม่มีความแน่นอน อย่างไรก็ตาม การบริโภคในประเทศและภาคการท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มที่ดี จากอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

อุตสาหกรรมไฟฟ้า ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 104.3 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า ตู้เย็น คอมเพรสเซอร์ สายไฟฟ้า หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน และหม้อแปลงไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 37.6, 15.2, 14.7, 14.6, 11.6, 7.5 และ 1.8 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายเคเบิ้ล เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ พัดลม และเครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8, 20.6, 16.9, 8.5 และ 2.3 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

          การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,542.0        ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มีมูลค่า 100.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 ในตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป เครื่องซักผ้า ซักแห้ง และส่วนประกอบ มีมูลค่า 105.9           ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ในตลาดสหรัฐอเมริกา อินเดีย และยุโรป และเครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 160.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ในตลาดญี่ปุ่น และฮ่องกง ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ ตู้เย็น มีมูลค่า 145.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.4 ในตลาด ญี่ปุ่น และ
"เวียดนาม เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.7 ในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม และ สายไฟฟ้าฟ้า ลดลงร้อยละ 10.3 ในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และจีน "คาดการณ์การผลิตเดือนกรกฏาคม 2566 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการตลาดโลกลดลงและเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวและการชะลอคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้า"

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 83.7 ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ Semiconductor devices Transistors, Printer, HDD, PWB, และ IC โดยลดลง ร้อยละ 29.5, 23.2, 20.4, 18.3 และ 0.2 ตามลำดับ เนื่องจาก มีความต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง

          การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 4,404.4  ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์ กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 421.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.65 ในตลาดอินเดีย สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ และแผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 872.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ในตลาด ไต้หวัน และจีน ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ HDD มีมูลค่า 1,008.7           ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 36.51 ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน และวงจรพิมพ์ มีมูลค่า 105.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.8 ในตลาด สหรัฐอเมริกา           สหราชอาณาจักร และอาเซียน "คาดการณ์การผลิตเดือนกรกฎาคม 2566 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะยังคงปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากแนวโน้มต้นทุนการผลิต ที่สูงขึ้น และการแบ่งส่วนการตลาดกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย เวียดนาม และอินเดีย เป็นต้น"

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ คันข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์200,000 180,000 160,000 140,000 120,000 100,000

80,000 60,000 40,000 20,000

0มิ ย ก ค ส ค ก ย ต ค พ ย ธ ค ม ค ก พ มี ค เม ย พ ค มิ ย ปริมาณการจำหน่ายปริมาณการส่งออกปริมาณการผลิตการผลิตรถยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2566 มีจำนวน 145,557 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2566 ร้อยละ 3.30 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.78 (%YoY) โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

          การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนมิถุนายน            ปี 2566 มีจำนวน 64,440 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม  ปี 2566 ร้อยละ 1.00 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.16 (%YoY) โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์กระบะ    1 ตัน เนื่องจากสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการให้สินเชื่อมากขึ้น หลังจากกำลังซื้อผู้บริโภคได้อ่อนตัวลง
          การส่งออกรถยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2566              มีจำนวน 88,826 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมปี 2566          ร้อยละ 2.86 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.22 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม ปี 2566 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ปี 2565 เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออก และการคลี่คลายสถานการณ์การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์"

อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ คันข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์220,000 200,000 180,000 160,000 140,000 120,000 100,000

80,000 60,000 40,000 20,000

0ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

          การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน                  ปี 2566 มีจำนวน 207,166 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม          ปี 2566 ร้อยละ 3.94 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 32.34 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
          การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน            ปี 2566 มียอดจำหน่ายจำนวน 179,365 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2566 ร้อยละ 2.57 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.92 (%YoY)จากการเพิ่มขึ้นของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 126-250 ซีซี และ 251-399 ซีซี
          การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป ในเดือนมิถุนายน ปี 2566 มีจำนวน 40,100 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม        ปี 2566 ร้อยละ 5.18 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 60.01 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้นในประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย

"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2566 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ปี 2565 เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก" 4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 21.74 จากการชะลอตัวของการผลิต ทั้งยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น

          ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 4.48 จากการลดลงของ     การผลิตยางรถยนต์นั่ง ยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและ           รถโดยสาร  และยางรถแทรกเตอร์

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 18.45 จากความต้องการ ถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 3.93 จากความต้องการยางแท่ง ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ลดลงเป็นหลัก

ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 10.53 จากการชะลอตัวของตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturer)

ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.07 จากความต้องการใช้ ถุงมือยางทางการแพทย์ที่เพิ่มสูงขึ้น การส่งออก

          ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ         น้ำยางข้น) มีมูลค่าลดลงร้อยละ 42.67 เป็นผลจากการลดลงของการส่งออกยางแผ่นไปตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา    ยางแท่งไปตลาดเกาหลีใต้ และน้ำยางข้นไปตลาดจีนและมาเลเซีย

ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.54 จากการขยายตัวที่ดีของการส่งออกไปยังตลาดเกาหลีใต้ และซาอุดีอาระเบีย

ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 16.62 จากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงจากช่วงที่ผ่านมา คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2566

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะชะลอตัวจากแนวโน้มความต้องการยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น ในต่างประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะในตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย และจีน สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ ในประเทศ คาดว่าจะกลับมาขยายตัวตามแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรม ยานยนต์ในประเทศ ในส่วนการผลิตถุงมือยาง คาดว่าจะยัง ชะลอตัวจากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของการจำหน่ายถุงมือยางในประเทศ คาดว่าจะขยายตัวจากความต้องการใช้ถุงมือยางทางการแพทย์ ที่อยู่ในระดับสูง

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าลดลง เป็นผลจากตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย และจีน มีแนวโน้มชะลอการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากไทย ในส่วนของการส่งออกยางรถยนต์ คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากอุปสงค์ความต้องการยางรถยนต์ในตลาดรอง อาทิ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย จีน และซาอุดีอาระเบียที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางด้านการส่งออก ถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงจากความต้องการถุงมือยาง ในตลาดโลก ทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และกลุ่มประเทศยุโรป ที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการสyงสินคญา ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต เดือนมิถุนายน ปี 2566 ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 5.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิต หดตัวในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 15.65 พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 15.02 และกระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 14.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมิถุนายน ปี 2566 หดตัวร้อยละ 10.13 โดยผลิตภัณฑ์ที่หดตัว เช่น แผ่นฟิล์มพลาสติก หดตัวร้อยละ 22.40 ถุงพลาสติก หดตัวร้อยละ 15.40 และกระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 14.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก เดือนมิถุนายน ปี 2566 มีมูลค่ารวม 347.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 19.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกหดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3920) หดตัวร้อยละ 27.50 ผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) หดตัวร้อยละ 27.25 และผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) หดตัวร้อยละ 13.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณ"ละมลคาการสงออก-นา"ขา

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเดือนมิถุนายน ปี 2566 มีมูลค่ารวม 436.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 7.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) หดตัวร้อยละ 32.75 ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) หดตัว ร้อยละ 22.48 และผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) หดตัวร้อยละ 20.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน

          แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนกรกฎาคม ปี 2566 คาดการณ์ว่าการผลิตชะลอตัวเนื่องจากราคาน้ำมันดิบมีความ    ผันผวน การซื้อขายในตลาดเบาบาง และผู้ซื้อส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการเพิ่มปริมาณสินค้าคงคลัง ผู้ซื้อรอดูสถานการณ์ด้านราคา     การส่งออกหดตัวตามตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และจีน เป็นต้น6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ดัชนีผลผลิต เดือนมิถุนายน 2566 หดตัวร้อยละ 11.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานหดตัวร้อยละ 7.53 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ กรดเกลือ หดตัวร้อยละ 24.27 คลอรีน หดตัวร้อยละ 9.68 และโซดาไฟ หดตัวร้อยละ 9.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายหดตัวร้อยละ 12.71 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 28.07 น้ำยาล้างจาน หดตัวร้อยละ 17.90 และแป้งฝุ่น หดตัวร้อยละ 17.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

          ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมิถุนายน 2566 หดตัวร้อยละ 15.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 13.31 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ กรดเกลือ หดตัวร้อยละ 27.72 โซดาไฟ หดตัวร้อยละ 18.39 และคลอรีน หดตัวร้อยละ 12.22  กลุ่มเคมีภัณฑ์      ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 2.09 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 39.52 แป้งฝุ่น หดตัวร้อยละ 26.14 น้ำยาทำความสะอาด หดตัวร้อยละ 28.62 และ        สีอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 17.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนมิถุนายน 2566 มูลค่าการส่งออกรวม 885.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 12.64 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการส่งออก 470.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 20.17 ในส่วนของกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 376.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปริมาณ"ละมลคyการสงออก"ละการนา"ขญา

ของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด หดตัวร้อยละ 30.17 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ หดตัวร้อยละ 23.31 และสีหดตัวร้อยละ 20.50 เป็นต้น

การนำเข้า ในช่วงเดือนมิถุนายน 2566 มูลค่าการนำเข้ารวม 1,660.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 21.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 1,039.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 19.41 ในส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 620.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 24.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น ปุ๋ย หดตัวร้อยละ 39.82 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ หดตัวร้อยละ 33.83 และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ หดตัวร้อยละ 28.69 เป็นต้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนกรกฎาคม 2566 คาดการณ์ว่าการความผันผวนของราคาน้ำมัน และความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ส่งผลให้ผู้ผลิตชะลอการผลิตและผลิตตามคำสั่งซื้อเท่านั้น ในส่วนของการส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และการส่งออกเคมีภัณฑ์หดตัวจากตลาดหลัก เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย เป็นต้น

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนมิถุนายน ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 103.75 หรือขยายตัว ร้อยละ 5.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.35 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene ขยายตัวร้อยละ 11.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE resin และ PET resin ขยายตัวร้อยละ 11.29 และ 8.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการที่โรงงานกลับมาผลิตตามปกติ โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีการหยุดซ่อมบำรุง 1 โรง

ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 98.09 หดตัวร้อยละ 5.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 6.41 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene หดตัวร้อยละ 22.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP resin หดตัวร้อยละ 7.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

          การส่งออกเดือนมิถุนายน ปี 2566 มีมูลค่า 953.406 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือปรับตัวลดลงร้อยละ 14.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 1.71 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่ม      ปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PP resin เป็นต้น และหดตัวในกลุ่ม  ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น  Propylene  เป็นต้น เนื่องจากสถานการณ์ตลาดมีลักษณะการเก็งกำไรและรอให้ราคา     ปรับลดลง ประกอบกับความต้องการในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำลดลงตามราคาปิโตรเคมีที่ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว
          การนำเข้า เดือนมิถุนายน ปี 2566 มีมูลค่า 487.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือปรับตัวลดลงร้อยละ 21.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 6.03 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่ม    ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene เป็นต้น และหดตัว     ในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น  PP resin เป็นต้น

คาดการณ์แนวโน้มเดือนกรกฎาคม ปี 2566 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมการผลิตจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตกลับมาผลิตได้หลังจากซ่อมบำรุงในช่วงต้นปี แต่ความต้องการใช้พลาสติกที่ลดลงจากการชะลอตัวของการส่งออก โดยเฉพาะปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Propylene จากระดับราคาที่ปรับผันผวนตามราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลกระทบจากการหยุดการผลิตในหลายประเทศ จากความขัดแย้งยูเครน-รัสเซียที่ยืดเยื้อ ยังทำให้การผลิตยังคงขยายตัวได้ไม่มากนัก

          8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก              และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
          ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน 2566 มีค่า 80.0 หดตัวร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน    ของปีก่อน เนื่องจากผู้บริโภคมีการชะลอคำสั่งซื้อ เพื่อดูแนวโน้มทิศทางราคา ประกอบกับผู้ผลิตมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง จากความไม่มั่นใจสถานการณ์ตลาด เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวทั้งในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 74.7 หดตัวร้อยละ 11.3 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กลวด หดตัวร้อยละ 36.5 รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน ลวดเหล็ก ลวดเหล็ก       แรงดึงสูง และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น หดตัวร้อยละ 18.3  15.8  13.7 และ 10.4 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม    มีค่า 87.6 หดตัวร้อยละ 7.7 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัว   มากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัวร้อยละ 28.8 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นรีดร้อน     ชนิดม้วน หดตัวร้อยละ 21.4 และ 11.1 ตามลำดับ
          การบริโภคในประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2566       มีปริมาณการบริโภค 1.3 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 23.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการบริโภคเหล็กทรงยาว มีปริมาณ 0.5 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 12.0 จากการบริโภค    ที่ลดลงของเหล็กลวด ส่วนการบริโภคเหล็กทรงแบน          มีปริมาณ 0.8 ล้านตัน หตัวร้อยละ 29.1 จากการบริโภค     ที่ลดลงของเหล็กแผ่นรีดร้อน (Plate/Coil/Sheet) เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบ (สังกะสี/โครเมียม/ดีบุก)

การนำเข้า ในเดือนมิถุนายน 2566 มีปริมาณ การนำเข้า 0.90 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 28.3 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปริมาณการนำเข้าหดตัวทั้งในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการนำเข้า 0.21 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 18.7 เหล็กทรงยาวที่มีการหดตัว เช่น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ประเภท Stainless Steel (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน ไต้หวัน มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา) เหล็กเส้น ประเภท Stainless Steel (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน) เหล็กลวด ประเภท Carbon Steel (ตลาดหลัก ที่ไทยนำเข้าลดลง คือ เวียดนาม จีน และญี่ปุ่น) ส่วนกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการนำเข้า 0.69 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 30.7 เหล็กทรงแบนที่มีการหดตัว เช่น เหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Alloy Steel (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น จีน และออสเตรเลีย) เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม (ตลาดหลัก ที่ไทยนำเข้าลดลง คือ เวียดนาม และจีน) เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี แบบจุ่มร้อน (HDG) (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน เกาหลี และไต้หวัน)

"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกรกฎาคม 2566 คาดการณ์ว่า การผลิตจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาวัตถุดิบ (บิลเล็ต สินแร่เหล็ก และเศษเหล็ก) ในตลาดโลก มีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา ประกอบกับคาดว่าจะมีการนำเข้าเหล็กที่มีราคาถูกจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้มีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม อาทิ การดำเนินการก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศ สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก ราคาเหล็กต่างประเทศ รวมถึงการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออกเหล็กรายใหญ่ของโลก"

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การผลิต

            การผลิตหดตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยเส้นใย  สิ่งทอหดตัวร้อยละ 7.63 ในกลุ่มเส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้ายฝ้าย  และเส้นด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 15.84 ในกลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย) ผ้าทอ (ใยสังเคราะห์) และผ้าขนหนู สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัวร้อยละ 27.68 จากคำสั่งซื้อ     ที่ลดลงของประเทศคู่ค้า เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้คำสั่งซื้อลดลง รวมถึงผู้บริโภค           ให้ความสำคัญและตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อม จึงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืน และเสื้อผ้ามือสองที่ราคาย่อมเยามากขึ้น ผู้ประกอบการ   บางรายได้ยกเลิกสายการผลิตและเปลี่ยนเป็นผู้นำเข้าสินค้า เพื่อจัดจำหน่ายแทน เนื่องจากสามารถเลือกสินค้า            ได้หลากหลาย ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น การจำหน่ายในประเทศ
           เส้นใยสิ่งทอหดตัวร้อยละ 16.77 ผ้าผืนหดตัว     ร้อยละ 13.88 สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นการหดตัวครั้งแรกหลังจากที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 12 เดือน โดยหดตัวร้อยละ 5.63 ในกลุ่มเสื้อผ้าทอเครื่องแต่งกาย          การนำเข้า

ด้ายและเส้นใยหดตัวร้อยละ 35.95 ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 24.33

ขยายตัวร้อยละ 11.26 (YoY) ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม และอิตาลี จากอุปสงค์ภายในประเทศที่ฟื้นตัวตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง และมีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ จึงช่วยให้การบริโภคเพิ่มขึ้น การส่งออก

          เส้นใยสิ่งทอหดตัวร้อยละ 18.91           จากตลาดสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 27.59 จากตลาดสำคัญ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา และเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัวร้อยละ 20.96 จากตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้าสำคัญ ส่วนหนึ่งมาจากเทรนด์เรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงรัฐบาลฝรั่งเศสได้ออกนโยบายเงินรางวัลสนับสนุนให้ประชาชนใช้บริการซ่อมแซมสินค้าเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า กระเป๋า กระตุ้นให้ประชาชนนำสินค้าไปซ่อมแซมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคทั่วโลก คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2566

คาดว่าภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ยังต้องติดตามปัญหาเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ เป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว อีกทั้งความผันผวนของค่าพลังงาน และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและความสามารถในการแข่งขันของไทย

14

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

          การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมิถุนายน          ปี 2566 มีจำนวน  6.68  ล้านตัน ลดลงจากเดือนเดียวกัน  ของปีก่อน ร้อยละ 8.5 (%YoY)
          การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน       มิถุนายน ปี 2566  มีปริมาณการจำหน่าย 3.26 ล้านตัน                   เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 5.0           (%YoY) ตามการชะลอตัวของตลาดในประเทศอันเกิดจากหลายปัจจัย  เช่น  การที่ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้หลังการเลือกตั้งเสร็จแล้ว  ภาวะเศรษฐกิจยังชะลอตัว     ค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง
          การส่งออกปูนซีเมนต์รวม  ในเดือนมิถุนายน      ปี 2566  มีจำนวน 0.54 ล้านตัน  ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ  36.46 (%YoY)  เนื่องจากตลาดส่งออกหลักหลายตลาดปรับลดคำสั่งซื้อ ได้แก่   เวียดนาม     บังกลาเทศ  ฟิลิปปินส์  และกัมพูชา ร้อยละ 95.60 45.04  36.20   และ 31.25 ตามลำดับ  โดยตลาดส่งออกชะลอตัว    ตามลำดับ จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากความขัดแย้งในสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่าจะ ชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมิถุนายน ปี 2566 มีจำนวน 3.58 ล้านตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.49 (%YoY)

การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)ในเดือนมิถุนายน ปี 2566 มีปริมาณการจำหน่าย 3.26 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลง ร้อยละ 4.84 (%YoY) จากความไม่เชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจในช่วงเวลาข้างหน้า หลังจากที่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ จึงทำให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อจากรัฐบาลยังไม่มีออกมา ประกอบกับเป็นช่วงฤดูฝน

          การส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมิถุนายน ปี 2566  มีจำนวน 0.22 ล้านตัน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 41.45 (%YoY)  โดยเป็นการ          ปรับลดคำสั่งซื้อในตลาดส่งออกหลัก  ได้แก่   เวียดนาม  ฟิลิปปินส์  และกัมพูชา ร้อยละ 95.60  45.04  และ 31.69  ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องตามกำลังซื้อของตลาดที่ยังรอนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ และได้รับผลกระทบจากการเข้าสู่ฤดูฝน

15

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ