รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนธันวาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 23, 2009 14:53 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนพฤศจิกายน 2551
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) = 168.4 ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 (181.1) ร้อยละ 7.0 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (183.8) ร้อยละ 8.4
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2551 ได้แก่ การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 56.2 ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 (60.8) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน(68.0)

ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนธันวาคม 2551

อุตสาหกรรมอาหาร

  • คาดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมจะชะลอตัวจากเดือนก่อน ส่วนการส่งออกคาดว่า จะมีมูลค่าลดลงจากเดือนก่อนเช่นกัน เนื่องจากได้เลยช่วงคำสั่งซื้อสินค้าเพื่อรองรับเทศกาลสำคัญปลายปี ประกอบกับสถานการณ์วิกฤตการเงินสหรัฐฯ ส่งผลกระทบไปสู่การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก ได้ส่งสัญญาณต่อระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกมีแนวโน้มปรับลดลง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากประชาชนยังวิตกกังวลกับภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ จึงชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  • ในเดือนธันวาคม คาดว่าปริมาณการผลิต การจำหน่าย ตลอดจนทิศทางราคาสินค้าสิ่งทอมีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลง เพราะมีการกดราคาจากลูกค้าประกอบกับคำสั่งซื้อสินค้าลดลงเนื่องจากปัญหาการเมืองในประเทศและปัญหา ความเชื่อมั่นจากลูกค้าต่างประเทศ สำหรับในปี 2552 การส่งออกสิ่งทออาจจะติดลบ แต่การส่งออกเครื่องนุ่งห่มมีโอกาสขยายตัวร้อยละ 0-5 โดยสินค้าเครื่องนุ่งห่มหากจะได้รับผลกระทบแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มสินค้าแฟชั่นที่จะถูกลดการสั่งซื้อ อย่างไรก็ตามสินค้าเครื่องนุ่งห่มที่ไทยผลิตได้จะไม่ใช่สินค้าแฟชั่น ซึ่งมีโอกาสที่จะขยายตัวในตลาดญี่ปุ่นได้ เพราะตลาดญี่ปุ่นต้องการลดการนำเข้าจากจีน เนื่องจากราคาสูงขึ้นเร็วเมื่อเทียบกับสินค้าประเภทเดียวกันจากไทย

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  • แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนธันวาคมปี 2551 ปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 5 จากการปรับตัวลดลงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ส่วนประกอบ HDD ซึ่งประมาณการว่าจะทรงตัวประมาณร้อยละ 0.07 และชิ้นส่วน IC ปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 1 เนื่องจากการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้จำหน่ายออกไปตามคำสั่งซื้อที่ลดลงและยังคงไม่มีความชัดเจนในการวางแผนการผลิตเพิ่มเติมมากนัก
  • ขณะที่ เครื่องใช้ไฟฟ้ารายผลิตภัณฑ์พบว่า เครื่องปรับอากาศประมาณการว่าจะปรับตัวติดลบร้อยละ 19 จากตลาดส่งออกหลักสหภาพยุโรป ที่ปรับตัวลดลง ส่วนคอมเพรสเซอร์สำหรับเครื่องทำความเย็นยังคงทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.18 จากคำสั่งซื้อในตลาดญี่ปุ่นซึ่งมีแนวโน้มทรงตัวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม)

ต.ค. 51 = 181.1

พ.ย. 51 = 168.4

โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงได้แก่

  • การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ
  • การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
  • การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม

อัตราการใช้กำลังการผลิต

ต.ค. 51 = 60.8

พ.ย. 51 = 56.2

โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน
  • การผลิตยานยนต์
  • การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ
1.อุตสาหกรรมอาหาร

เดือนธันวาคม ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารชะลอตัวจากเดือนก่อน มูลค่าการส่งออกจะลดลง เนื่องจากได้ผ่านช่วงที่มีคำสั่งซื้อสำหรับรองรับเทศกาลปลายปี การจำหน่ายในประเทศชะลอตัวลง จากความวิตกกังวลในภาวะเศรษฐกิจและการเมือง ส่งผลให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอย

1. การผลิต

ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล)เดือนพฤศจิกายน ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 5.7 และ 3.6 แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง และสับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 7.7และ 6.4 จากวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ส่วนปลาทูน่ากระป๋อง และข้าวโพดฝักอ่อนกระป๋อง มีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 0.5 และ69.3และเดือนก่อนร้อยละ 9.0 และ 38.8 ตามลำดับ เนื่องจากกำลังซื้อของประเทศผู้นำเข้าลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่อง

กลุ่มสินค้าสำ คัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำ มันปาล์มมีปริมาณการกลั่นลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 15.2และ 0.1 เนื่องจากการพิจารณาปรับลดราคาจำหน่ายลง ส่วนน้ำมันถั่วเหลืองมีการผลิตลดลงเช่นกัน เมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 23.7 เนื่องจากราคาจำหน่ายได้ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ลดลง

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนพฤศจิกายน สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงจากปีก่อน และเดือนก่อนร้อยละ 4.8 และ 0.7 เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอยจากความไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ

2) ตลาดต่างประเทศ เดือนพฤศจิกายน มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 0.6 แต่ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 15.9 เนื่องจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

3. แนวโน้ม

เดือนธันวาคม คาดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมจะชะลอตัวจากเดือนก่อน ส่วนการส่งออก คาดว่า จะมีมูลค่าลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากได้เลยช่วงที่คำสั่งซื้อสินค้าเพื่อรองรับเทศกาลสำคัญปลายปีเข้ามา ประกอบกับสถานการณ์วิกฤตการเงินสหรัฐฯ ส่งผลกระทบไปสู่การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก ได้ส่งสัญญาณต่อระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกมีแนวโน้มปรับลดลง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากประชาชนยังวิตกกังวลกับภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ จึงชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

...ในปี 2552 การส่งออกสิ่งทออาจจะติดลบ แต่การส่งออกเครื่องนุ่งห่มมีโอกาสขยายตัวร้อยละ 0-5...

1. การผลิต

ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอในเดือนพฤศจิกายน 2551 ส่วนใหญ่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ (-22.2%) ผ้าทอ (-5.7%)เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก (-7.4%) และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ (-6.6%) และลดลงเมื่อเทียบเดือนเดียวกันของปีก่อน โดย เส้นใยสิ่งทอฯ(-26.2%) ผ้าทอ (-17.4%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก (-3.1%) และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ (-6.3%) ซึ่งสาเหตุหลักจากปัญหาการเมืองภายในประเทศรวมทั้งผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ทำให้ลูกค้าทั้งภายใน ประเทศและส่งออกลดการซื้อสินค้าลง ซึ่งคาดว่าการผลิตเส้นใยฯ จะปรับตัวดีขึ้นประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ผ้าทอจะปรับตัวดีขึ้นในเดือนมีนาคม สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปสถานการณ์ยังคงผันผวน ซึ่งยังไม่สามารถคาดการณ์แนวโน้มได้ ทั้งนี้ขึ้นกับตลาดส่งออกหลักและตลาดในประเทศ รวมถึงคำสั่งซื้อ (order) จากลูกค้าที่จะมีเข้ามา

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนพฤศจิกายน ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอฯ (-13.0, -23.7%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก (-3.0%, -10.4%) ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดหดตัวลง แต่เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอยังมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนการส่งออก ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่วนใหญ่เดือนพฤศจิกายน 2551 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 14.6 ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (-6.4%) ผ้าผืน(-19.0%) ด้ายฝ้าย (-26.2%) ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ (-34.4%) เคหะสิ่งทอ(-14.1%) เส้นใยประดิษฐ์ (-22.0%) เป็นต้น และลดลงร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับลดลงในทุกตลาดส่งออก ทั้งสหรัฐอเมริกา อาเซียน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป

3. แนวโน้ม

คาดว่าปริมาณการผลิต การจำหน่าย ตลอดจนทิศทางราคาสินค้าสิ่งทอมีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลง เพราะมีการกดราคาจากลูกค้าประกอบกับคำสั่งซื้อสินค้าลดลงเนื่องจากปัญหาการเมืองในประเทศ ความเชื่อมั่นจากลูกค้าต่างประเทศ สำหรับในปี 2552 การส่งออกสิ่งทออาจจะติดลบแต่การส่งออกเครื่องนุ่งห่มมีโอกาสขยายตัวร้อยละ 0-5 สินค้าเครื่องนุ่งห่มหากจะได้รับผลกระทบแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มสินค้าแฟชั่นที่จะถูกลดการสั่งซื้อ อย่างไรก็ตามสินค้าเครื่องนุ่งห่มที่ไทยผลิตได้จะไม่ใช่สินค้าแฟชั่น ซึ่งมีโอกาสที่จะขยายตัวในตลาดญี่ปุ่นได้ เพราะตลาดญี่ปุ่นต้องการลดการนำเข้าจากจีน เนื่องจากราคาสูงขึ้นเร็วเมื่อเทียบกับสินค้าประเภทเดียวกันจากไทย

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ประเทศเวียดนามได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต จาก ร้อยละ 2 เป็น ร้อยละ 5 และเหล็กทรงยาว(เหล็กเส้น เหล็กลวดและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขนาดเล็ก) จาก ร้อยละ 8 เป็น ร้อยละ 12 โดยอัตรานี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 ธันวาคม 2008 ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวเป็นข้อเสนอของผู้ประกอบการเหล็กเพื่อปกป้องตลาดของตนเองในช่วงวัฏจักรขาลงของธุรกิจ

1.การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพฤศจิกายน 2551 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.22 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 87.57 เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตชะลอตัวถึง ร้อยละ 3.49 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของลวดเหล็กแรงดึงสูงที่ลดลง ร้อยละ 17.70 รองลงมาคือ เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 11.88 เนื่องจากสถานการณ์การชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวมทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงจึงส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กในกลุ่มทรงยาวลดลงด้วย แต่มีผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น คือ เหล็กเส้นกลม โดยมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 196.86 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นผลมาจากผู้ผลิตรายใหญ่โรงงานหนึ่งได้ผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากเมื่อช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาโรงงานดังกล่าวได้ลดการผลิตลงเนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงประกอบกับยังคงมีสต๊อกเหล็กเส้นกลมในโรงงานอยู่ สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่าดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 1.89 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ร้อยละ 34.88 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกที่ลดลง ร้อยละ 1.54 ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง ร้อยละ 40.84 โดยเหล็กทรงยาว มีการผลิตที่ลดลงร้อยละ 54.41 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กลวดลดลง ร้อยละ 65.03 และลวดเหล็กแรงดึงสูง ลดลง ร้อยละ 55.97 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 38.55 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน มีการผลิตที่ลดลงร้อยละ 64.36

2.ราคาเหล็ก

การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนธันวาคม 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของเหล็กในกลุ่มเหล็กทรงแบนลดลงทุกตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน คือ เหล็กแท่งแบน ลดลง จาก 633 เป็น 450 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 28.85 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง จาก 593 เป็น 454 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 23.42 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง จาก 1,168 เป็น 985 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 15.67 สำหรับผลิตภัณฑ์อื่นมีราคาที่เพิ่มขึ้น คือ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้น จาก 323 เป็น 359 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.24 และเหล็กเส้น เพิ่มขึ้น จาก 423 เป็น 435 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.96

3. แนวโน้ม

สถานการณ์เหล็กในเดือนธันวาคม 2551 คาดว่าในส่วนของการผลิตจะลดลงทั้งเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ความต้องการใช้ลดลง ประกอบกับเป็นเดือนสิ้นปีซึ่งมีวันหยุดมาก จึงทำให้มีวันทำงานน้อยลง ส่งผลให้การผลิตในเดือนนี้ลดลงด้วย

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2551 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐอเมริกา ที่ส่งกระทบรุนแรงไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยและตลาดส่งออกหลัก เช่น ออสเตรเลียและอาเซียน เป็นต้น อีกทั้งสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศได้ส่งผลทางด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภค และนักลงทุน โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำ นวน 116,052 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งมีการผลิต 125,071 คัน ร้อยละ 7.21 และมีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ร้อยละ 6.90
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 46,068 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 57,719 คัน ร้อยละ 20.19 และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ร้อยละ 5.87
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 65,917 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งมีการส่งออก 69,783 คัน ร้อยละ 5.54 และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ร้อยละ 2.39
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม 2551 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2551 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนธันวาคม ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 48 และส่งออกร้อยละ 52

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายนดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 173,782 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งมีการผลิต 141,998 คัน ร้อยละ 22.38 เนื่องจากมีการผลิตรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้ระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีดซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ และกำลังได้รับความนิยม แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ร้อยละ 1.67
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 125,323 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 129,608 คัน ร้อยละ 3.31 และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ร้อยละ 9.47 ซึ่งสอดคล้องกับราคาพืชผลทางการเกษตรกรที่ปรับตัวลดลงส่งผลต่อรายได้และกำลังซื้อของประชาชนในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์ จำนวน 16,348 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งมีการส่งออก 7,072 คัน ร้อยละ 131.17 และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2551 ร้อยละ 82.43 สาเหตุสำคัญมาจากการส่งออกรถยนต์รุ่นใหม่ที่สามารถใช้เทคโนโลยีระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีดได้เพิ่มขึ้น
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2551 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคมประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 90 และส่งออกร้อยละ 10
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงไม่ฟื้นตัวตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา กำลังลุกลามไปทั่วโลก”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2551 ลดลงร้อยละ 11.82 และ 10.73 ตามลำดับและเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 15.81 และ 20.43 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงไม่ฟื้นตัว ตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน ทำให้ตัดสินใจเลื่อนการลงทุนออกไปก่อนประกอบกับความล่าช้าในการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนพฤศจิกายน 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ18.78และ 15.51 ตามลำ ดับ เนื่องจากวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา ได้แพร่กระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ อย่างรวดเร็วสำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ บังคลาเทศซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย รองลงมา คือเวียดนามและกัมพูชา

3.แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนธันวาคม 2551 และเดือนมกราคม 2552 คาดว่าจะทรงตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน และการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ยังไม่มีความชัดเจน

สำหรับการส่งออกยังมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา ได้แพร่กระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ อย่างรวดเร็ว

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนธันวาคม 2551 ปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการปรับตัวลดลงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ได้แก่ ส่วนประกอบ HDD ซึ่งประมาณการว่าจะทรงตัวประมาณร้อยละ 0.07 และชิ้นส่วน IC ปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 1 เนื่องจากการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้จำหน่ายออกไปตามคำสั่งซื้อที่ลดลงและยังคงไม่มีความชัดเจนในการวางแผนการผลิตเพิ่มเติมมากนัก

ตารางที่ 1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน พ.ย. 2551
          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์            มูลค่า            %MoM             %YoY
          อุปกรณ์คอมพิวเตอร์                1,230.86           -20.25           -22.76
          IC                              423.06           -22.06           -33.97
          เครื่องปรับอากาศ                   133.31           -18.00           -28.18
          เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า                  118.08           -31.16           -14.06
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์   3,304.92           -20.93           -20.04

ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพฤศจิกายน 2551 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 316.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวลดลงร้อยละ 3.12 ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 7.94 เป็นผลเนื่องจากการปรับตัวลดลงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพื่อส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงเนื่องจากประเทศคู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อลงซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดกับประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น

เมื่อพิจารณาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 23.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 99.96 และเมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัว ลดลง ร้อยละ 7.02 ซึ่งปรับตัวลดลงทุกตัวสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ายกเว้นหม้อหุงข้าวที่มีแรงหนุนจากการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนปรับตัวเพิ่มขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.3โดยมีดัชนีอยู่ที่ระดับ 439.87 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวลดลง ร้อยละ 8.06 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น IC และการปรับตัวเพิ่มขึ้นและในอัตราชะลอลงมากของส่วนประกอบ HDD ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนนี้ปรับตัวลดลงมาก

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนพฤศจิกายน 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 20.93 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 20.04 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 3,304.92 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าเดือนพฤศจิกายน 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 17.35 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 10.05 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,268.49 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เดือนพฤศจิกายน 2551 มีมูลค่า 2,036.43 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 25.21 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 23.01

3. แนวโน้ม

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนธันวาคมปี 2551ปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 5 จากการปรับตัวลดลงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ส่วนประกอบ HDD ซึ่งประมาณการว่าจะทรงตัวประมาณร้อยละ 0.07 และชิ้นส่วน IC ปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 1 เนื่องจากการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้จำหน่ายออกไปตามคำสั่งซื้อที่ลดลงและยังคงไม่มีความชัดเจนในการวางแผนการผลิตเพิ่มเติมมากนัก

ขณะที่ เครื่องใช้ไฟฟ้ารายผลิตภัณฑ์พบว่า เครื่องปรับอากาศประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 19 จากตลาดส่งออกหลัก EU ที่ปรับตัวลดลงโดยคอมเพรสเซอร์ยังคงทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.18 จากคำสั่งซื้อในตลาดญี่ปุ่นซึ่งมีแนวโน้มทรงตัวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนพฤศจิกายน 2551 มีค่า 168.4 ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 (181.1) ร้อยละ 7.0 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (183.8) ร้อยละ 8.4
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ เป็นต้น
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2551 มีค่า 56.2 ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 (60.8) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (68.0)
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจนอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2551

  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2551 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 282 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 336 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -16.07 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 18,002.09 ล้านบาท ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งมีการลงทุน19,518.39 ล้านบาท ร้อยละ -7.77 แต่การจ้างงานรวมมีจำนวน 10,739 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,468 คน ร้อยละ 13.42
  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 336 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -16.07 มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งมีการลงทุน 26,372.94 ล้านบาท ร้อยละ -31.74 และการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 13,13970 คนร้อยละ -23.13
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2551 คือ อุตสาหกรรม ทำมันเส้น จำนวน 53 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ขุด ตักดิน กรวด ทราย จำนวน 20 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2551 คือ อุตสาหกรรม ผลิตเม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก เงินทุน 5,525.70 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิตเอทานอลเป็นเชื้อเพลิง เงินลงทุน 3,672.60 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2551 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 5,527 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ จำนวนคนงาน 317 คน
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2551 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 130 ราย น้อยกว่าเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 153 ราย คิดเป็นร้อยละ -15.03 การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,710 คน น้อยกว่าเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 4,782 คน และในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมีจำนวน 3,548.42 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนตุลาคม 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 3,597.95 ล้านบาท
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 186 รายคิดเป็นร้อยละ -30.11 แต่มีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2550 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,638 คน และมีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2550 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,560.33 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2551 คือ อุตสาหกรรมกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 10 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน และอุตสาหกรรม สี ฝัด หรือขัดข้าวมีจำนวนเท่ากันอุตสาหกรรมละ 9 ราย
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2551 คืออุตสาหกรรมผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ เส้นใยสังเคราะห์มิใช่ใยแก้ว เงินทุน 1,946 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องปรุงกลิ่น รสหรือสีอาหาร เงินทุน 470 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2551 คือ อุตสาหกรรมเลื่อย ไส ซอย เซาะร่อง หรือแปรรูปไม้ด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกัน คนงาน626 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ เส้นใยสังเคราะห์ มิใช่ใยแก้ว คนงาน 522 คน
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤศจิกายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2551 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 159 โครงการ น้อยกว่าเดือนตุลาคม 2551 ที่มีจำนวน 176 โครงการร้อยละ -9.66 แต่มีเงินลงทุน 80,400 ล้านบาท มากกว่าเดือนตุลาคม 2551 ที่มีเงินลงทุน 63,000 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 27.62
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤศจิกายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2550 ที่มีจำนวน 101 โครงการ ร้อยละ 57.43 แต่มีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2550 ที่มีเงินลงทุน 83,100 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -3.25
  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2551
             การร่วมทุน               จำนวน(โครงการ)           มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%            370                     125,600
          2.โครงการต่างชาติ 100%           450                     138,800
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ     314                     147,900
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2551 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 162,900 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 69,600 ล้านบาท

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ