สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่1 (มกราคม—มีนาคม) พ.ศ.2552(อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 12, 2009 15:52 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิต

ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552

มีปริมาณการผลิต 2.46 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 6.46 และ 3.91 ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการผลิตที่ลดลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อลดลง ภาวะซบเซาโดยรวมของภาคอสังหาริม ทรัพย์ภายในประเทศ ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ ทำให้ผู้ประกอบการปรับลดปริมาณการผลิตลง

2. การตลาด

2.1 การจำหน่ายในประเทศ

ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีปริมาณการจำหน่าย 1.22 ล้านชิ้น เมื่อ เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.19 และ 139.22 ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอุปสงค์โดยเฉพาะตลาดบนยังมีอยู่ ภาวะค่าครองชีพของผู้บริโภคที่บรรเทาลงจากมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาล ดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขา ลง และการจัดกิจกรรมการขายต่างๆในช่วงต้นปีเพื่อกระตุ้นยอดขาย

2.2 การส่งออก

การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 423.24 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 17.67 และ 27.65 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกที่ลดลง เนื่อง จากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ของไทย ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว รวมทั้งการ ที่ไทยประสบการแข่งขันอย่างค่อนข้างรุนแรงจากจีน เวียดนาม และมาเลเซียในตลาดโลก

สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้

1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในไตรมาสนี้ มี มูลค่าการส่งออก 191.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 45 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออก ลดลงร้อยละ 23.90 และ 28.94 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนใน การส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน คือ ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย

2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้ ในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่ง ออก 65.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 15 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออก ลดลงร้อยละ 18.15 และ 26.18 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุด ในกลุ่มนี้ คือ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์ แลนด์

3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และ ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 166.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกสินค้า ประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 8.90 และ 26.68 ตาม ลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือไม้อัด รองลงมาคือ ไม้แปรรูป และไฟเบอร์บอร์ด สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่ม ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย และเวียดนาม

2.3 การนำเข้า

มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีจำนวน 122.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน ลดลงร้อยละ12.39 และ19.50 ตามลำดับ การนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อ แข็ง ได้แก่ ไม้แปรรูปและไม้ซุง ซึ่งนำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่อง เช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้แปรรูปส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ มาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา สำหรับไม้ซุงส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเมียนมาร์และมาเลเซีย และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์นำเข้า จากประเทศจีน มาเลเซีย และเมียนมาร์

3. สรุปและแนวโน้ม

การผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง จากปัจจัยเศรษฐกิจทั้งภาย ในและภายนอกประเทศที่ชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ส่งผลให้อุปสงค์ ลดลง ประกอบกับภาวะซบเซาโดยรวมของภาคอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีความแน่นอน ทำให้ผู้ประกอบการ ปรับลดปริมาณการผลิตลง

การจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น เนื่องจาก อุปสงค์โดยเฉพาะตลาดบนยังมีอยู่ ประกอบกับภาวะค่าครองชีพของผู้บริโภคที่บรรเทาลงจากมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาล และดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วง ขาลง อีกทั้งมีการจัดกิจกรรมการขายต่างๆในช่วงต้นปีเพื่อกระตุ้นยอดขาย

สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 คาดว่าจะทรง ตัว เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศ และโดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของไทยยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายใน ประเทศที่คงภาวะซบเซา สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ และราคาน้ำมันที่ยังแปรปรวน ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการผลิตและผู้บริโภค ชะลอการจับจ่ายใช้สอยออกไป อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวก ได้แก่ ดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาลง และการต่ออายุมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของ รัฐบาล ซึ่งจะมีผลต่อการกระตุ้นอุปสงค์ของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ที่เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่อไป

การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เนื่องจากการชะลอตัวของ เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะของประเทศคู่ค้าหลักของไทย ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อความต้องการสินค้าของไทย

สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 คาดว่าจะยังทรงตัว เนื่องจากภาวะ เศรษฐกิจชะลอตัวของประเทศคู่ค้าหลัก และประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ของไทย ตลอดจนการประสบการแข่งขันค่อนข้างรุนแรงจากประเทศคู่แข่งของไทยใน ตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวก ได้แก่ ค่าเงินบาทที่ค่อนข้างนิ่ง การส่งออกไปยังตลาดรอง เช่น ประเทศแถบตะวันออกกลาง และเอเซียใต้ ยัง ขยายตัวได้ดี คุณภาพสินค้าของไทยยังเป็นที่ยอมรับ ในขณะที่ประเทศคู่แข่งของไทยประสบปัญหาคุณภาพสินค้าในตลาดส่งออก และปัญหาเศรษฐกิจภายใน ประเทศของตนทำให้ลดกำลังการผลิต ซึ่งเป็นโอกาสที่ไทยจะสามารถเพิ่มการส่งออกในตลาดโลก นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลักของไทย คาดว่าจะเห็นผลที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

ในสภาวะการณ์เช่นนี้ ผู้ประกอบการควรปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการต้นทุนการผลิต รวมถึงวัตถุดิบและการขนส่ง เน้นตลาดภาย ในประเทศเพิ่มขึ้นเพราะยังมีอุปสงค์ ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อผลิตสินค้าที่แตกต่างหรือเอนกประสงค์ตามความต้องการของตลาด อีกทั้งควรศึกษา ตลาดต่างประเทศ เช่น ประเทศแถบตะวันออกกลาง อินเดีย รัสเซีย และอัฟริกาใต้ เพราะเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และมีการเติบโตของภาคก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์สูง เป็นการเพิ่มโอกาสการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ต่อไป

ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้

หน่วย : ล้านชิ้น

                 ผลิตภัณฑ์                               ไตรมาส
                                           Jan-51      Apr-51      Jan-52
เครื่องเรือนทำด้วยไม้                            2.56        2.63        2.46
     เทียบกับไตรมาสก่อน                                               -6.46
     เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน                                     -3.91

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน

ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้

หน่วย : ล้านชิ้น

                 ผลิตภัณฑ์                                  ไตรมาส
                                              Jan-51      Apr-51      Jan-52
เครื่องเรือนทำด้วยไม้                                0.51        1.05        1.22
    เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   16.19
    เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน                                         139.2

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

          รายการ                         ไตรมาส             เทียบกับ             เทียบกับ

Jan-51 Apr-51 Jan-52 ไตรมาสก่อน ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน              269.4    251.5    191.4    -23.9              -28.9
1.1 เครื่องเรือนไม้                  135.8    137.8    110.2      -20              -18.9
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ                61.04    57.38    43.86    -23.6              -28.2
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน                72.5    56.33    37.36    -33.7              -48.5
2. ผลิตภัณฑ์ไม้                      88.46    79.78     65.3    -18.2              -26.2
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้                21.7    21.01    15.57    -25.9              -28.3
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้                31.96    22.98    20.63    -10.2              -35.5
2.3 กรอบรูปไม้                     18.89    22.58    17.55    -22.3              -7.09
2.4 รูปแกะสลักไม้                   15.91    13.21    11.55    -12.6              -27.4
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น               227.1    182.8    166.5     -8.9              -26.7
3.1 ไม้แปรรูป                      64.98    59.61    49.42    -17.1                -24
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์                    2.06     0.49     0.52     6.12              -74.8
3.3 ไม้อัด                         68.45    47.19    50.59      7.2              -26.1
3.4 Fiber Board                  64.75    40.49    37.45    -7.51              -42.2
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ                 26.88    35.02    28.55    -18.5               6.21
รวม                                585    514.1    423.2    -17.7              -27.7
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

       รายการ                          ไตรมาส                       เทียบกับ           เทียบกับ
                           Jan-51      Apr-51      Jan-52         ไตรมาสก่อน   ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง                        22.07       20.83        10.9           -47.67          -50.61
ไม้แปรรูป                      83.5       80.51       73.89            -8.22          -11.51
ไม้อัด วีเนียร์                  32.02       24.68       23.13            -6.28          -27.76
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ                 14.25        13.5       14.31                6            0.42
รวม                         151.8       139.5       122.2           -12.39           -19.5
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ