สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 (เมษายน — มิถุนายน) พ.ศ. 2552 (ภาวะอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 27, 2009 15:46 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคการผลิตและภาคบริการอื่นๆ ของประเทศ ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า และมีบางอุตสาหกรรมสามารถพัฒนาไปสู่การส่งออกได้ เช่น ผงชูรส แชมพู เครื่อง สำอาง เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบจัดเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดประมาณร้อยละ 60 ประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมเคมี ภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ประเภทต่างๆ ประมาณ 1,700 โรงงาน โดยประมาณ ร้อยละ 10 เป็นอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานและขั้นกลาง ที่ใช้ บุคลากร เงินทุนและเทคโนโลยีการผลิตในระดับสูง ที่เหลือเป็นอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ซึ่งมีมูลค่ารวมของผลิตภัณฑ์มากกว่าร้อยละ 80 ลักษณะ โครงสร้างการตลาดของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพี้นฐานมีโครงสร้างตลาดแบบผู้ขายน้อยราย หรือกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง มี การผลิตต่อเนื่องทำให้มีผู้ผลิตไม่กี่รายก็เพียงพอสำหรับตอบสนองความต้องการของตลาดได้ ซึ่งมีตลาดในประเทศเป็นตลาดหลัก และความสามารถใน การแข่งขันอุตสาหกรรมนี้จะขึ้นอยู่กับ ต้นทุน วัตถุดิบขนาดของตลาด และการใช้พลังงานเป็นสำคัญ

ผลิตภัณฑ์เคมีพื้นฐานที่มีการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือ ส่วนประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่สำคัญได้แก่ โซดาไฟ คลอรีน ไฮโดรคลอ ริก(กรดเกลือ) และกรดซัลฟูริก ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้สำรวจข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซดาไฟ โดยในไตรมาสที่ 2 ปริมาณ การผลิต และการจำหน่ายมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การผลิต

โซดาไฟ

หน่วย: ตัน

โซดาไฟ        2550       2551    Q1ปี 2551    Q2ปี 2551    Q3ปี 2551    Q4ปี 2551     Q1ปี2552    Q2ปี 2552   Q2/52เทียบบ Q1/52(ร้อยละ)
การผลิต   571,599.9    842,967   221,325.7   239,833.6   227,467.5   154,340.2   183,735.1     247,693           34.80
การจำหน่าย  479,821  741,487.7   193,136.1   198,740.2   212,688.9   136,922.5   154,164.8   194,221.3           25.98

ที่มา :สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตโซดาไฟในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 มีปริมาณ 247,693 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 34.80 และการจำหน่ายโซดาไฟใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2552 มีปริมาณ 194,221.3 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 25.98 การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อ เนื่องมีการขยายตัวทำให้ต้องใช้วัตถุดิบเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้น

หมายเหตุ : โซดาไฟเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมาก มาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร เส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ

การตลาด

การนำเข้า

ไตรมาส 2 ปี 2552 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 7,804 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลง ร้อยละ 59.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 19,847 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 21.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่านำเข้า 16,197 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 124.65 เมื่อ เทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากเป็นวัฎจักรของปุ๋ยเคมี นำเข้าปุ๋ยเพื่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูการทำไร่นา แต่ลดลงร้อยละ 38.34 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสีมีการนำเข้า 7,984 เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.32 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรม ยานยนต์ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ดีขึ้นส่งผลให้มีการใช้สีเพิ่มขึ้น แต่ลดลงร้อยละ 18.09 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อนและเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 5,594 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากมีการแข่งขันที่รุนแรง มากขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาในตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยจะเน้นสินค้าเฉพาะกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูง เช่น เครื่องสำอาง สำหรับผู้ชาย และลูกค้าตามกลุ่มอายุต่าง ๆ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก

ไตรมาส 2 ปี 2552 การส่งออกเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 3,168 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลง ร้อยละ 7.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 8,482 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.98 เมื่อเทียบกับไตร มาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่าการส่งออก 763 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอุตสาหกรรมสีมีมูลค่าส่งออก 2,396 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 8.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกาย มีมูลค่าส่งออก 7,945 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนภาวะการ ส่งออกที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกดีขึ้น มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

แนวโน้ม

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ทั้งการผลิต การจำหน่าย นำเข้าและส่งออกน่าจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจาก มาตรการกระตุ้นของภาครัฐในเรื่องของเช็คช่วยชาติและการยืดระยะเวลาในการช่วยเหลือค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าออกไปอีก 6 เดือนทำให้ประชาชนมีอำนาจ ในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ อีกทั้งตัวเลขการว่างงานลดลง เศรษฐกิจของโลกปรับตัวดีขึ้น คำสั่งซื้อจากต่างประเทศก็เพิ่ม ขึ้นเช่นกัน แต่สิ่งที่ยังต้องตระหนักถึงก็ยังคงเป็นเรื่องเกี่ยวกับราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอาจทำให้การส่งออกลดลง และที่สำคัญคือ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจจะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ