รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประจำเดือนธันวาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 2, 2010 14:59 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนพฤศจิกายน 2552
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2552 ทรงตัวโดยการผลิตอยู่ในระดับเดียวกับเดือนตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นเกือบทุกอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องประดับ มีอุตสาหกรรมสำคัญเพียงบางอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง คือ ยานยนต์ และเครื่องแต่งกาย ซึ่งเป็นการผลิตลดลงในอัตราที่น้อยลงกว่าเดือนก่อนๆ ทั้งนี้การที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหนึ่งมาจากฐานตัวเลขการผลิตที่ต่ำในเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งเป็นเดือนที่เห็นสัญญาณการหดตัวที่ชัดเจนของการผลิต เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนพฤศจิกายน 2552 อยู่ที่ระดับร้อยละ 60.3 ลดลงเล็กน้อย จากร้อยละ 60.9 ในเดือนตุลาคม 2552
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนธันวาคม 2552

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  • การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวตามคำสั่งซื้อ แต่ยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน เช่น ค่าเงินด่องของเวียดนาม เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยต้องปรับลดราคาสินค้าลง เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคากับเวียดนามได้
  • อย่างไรก็ตามภาพรวมของการส่งออกเครื่องนุ่งห่มคาดว่าจะขยายตัวได้ดี เนื่องจากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปสินค้าแนวแฟชั่นยังมีแนวโน้มที่ดี มีการพัฒนาด้านการออกแบบและสร้างตราสินค้า(Brand) ด้วยตนเองจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้มีความสามารถการแข่งขันมากขึ้นและสินค้าของไทยอาจจะไม่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันด้านราคามากนัก

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

  • สถานการณ์เหล็กในเดือนธันวาคม 2552 ในส่วนเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาวัตถุดิบ คือ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต มีราคาที่เพิ่มขึ้น แต่ราคาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป คือ เหล็กเส้นกลับมีราคาที่ลดลง จึงทำให้ผู้ผลิตไม่กล้าที่จะนำเข้าเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตในปริมาณมาก ส่งผลให้การผลิตเหล็กเส้นในช่วงนี้ลดลง สำหรับในส่วนของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ คาดการณ์ว่าการผลิตจะเพิ่มขึ้นเนื่องจาก บริษัทสยามยามาโตะซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ได้รับอนุญาตจากศาลปกครองการให้สามารถเริ่มการผลิตของโรงงานผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณแห่งที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ได้แล้วตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2552 หลังจากได้ถูกระงับการผลิตตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา
  • สำหรับเหล็กทรงแบนคาดว่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เริ่มขยายตัวขึ้น
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ต.ค. 52 = 180.32

พ.ย. 52 = 180.37

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • เครื่องแต่งกาย
  • เบียร์
  • เสื้อผ้าบุรุษ เด็กชาย และสตรี
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ต.ค. 52 = 60.9

พ.ย. 52 = 60.3

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล
  • ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
  • เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนพฤศจิกายน 2552 มีค่า 180.37 ทรงตัวในระดับเดียวกับเดือนตุลาคม 2552 (180.32) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (167.7) ร้อยละ 7.5
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม2552 ได้แก่ เครื่องแต่งกาย เบียร์ เสื้อผ้าบุรุษ เด็กชาย และสตรี Hard Disk Drive เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับ เม็ดพลาสติก เป็นต้น
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2552 อยู่ที่ระดับร้อยละ 60.3 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนตุลาคม 2552 (ร้อยละ 60.9) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (ร้อยละ 55.8)
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนตุลาคม 2552 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน อาหารสัตว์สำเร็จรูป เม็ดพลาสติก เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน เหล็ก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เยื่อกระดาษ กระดาษ กระดาษแข็งผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2552

  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2552 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 310 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 363 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 14.60 การจ้างงานรวมมีจำนวน 8,159 คน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2552 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,468 คนร้อยละ 3.65 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 21,163 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีการลงทุน14,440 ล้านบาท ร้อยละ 46.56
  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 282 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 9.93 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งมีการลงทุน 18,002 ล้านบาท ร้อยละ 17.56 แต่การจ้างงานรวมลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 10,739 คน ร้อยละ 24.02
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2552 คืออุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือนจากไม้ จำนวน 27 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ 17 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2552 คืออุตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า เงินลงทุน 5,747.58 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ และซีเมนต์แปรรูป (ท่ออัดแรง) เงินลงทุน 5,176.49 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2552 คืออุตสาหกรรม ประกอบเครื่องยนต์และชิ้นส่วนเครื่องยนต์สำหรับจักรยานยนต์ จำนวนคนงาน 815 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทอเสื้อไหมพรม จำนวนคนงาน 766 คน
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2552 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 85 ราย น้อยกว่าเดือนตุลาคม 2552ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 87 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.30 การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,144 คน น้อยกว่าเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 4,779 คน แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการจำนวน 1,378 ล้านบาท มากกว่าเดือนตุลาคม 2552 ที่ การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,178 ล้านบาท
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 130 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.62 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 3,548 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,710 คน
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2552 คืออุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ พ่นสีรถยนต์ จำนวน 12 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ จำนวน 7 ราย
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2552 คืออุตสาหกรรมทำเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องเรือน เครื่องประดับจากพลาสติก เงินทุน 386 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำภาชนะบรรจุจากพลาสติก เงินทุน 346 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2552 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 512 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำภาชนะบรรจุจากพลาสติก คนงาน 261 คน
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในช่วงเดือนมกราคม —พฤศจิกายน 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 905 โครงการ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 1,134 โครงการ ร้อยละ 20.1 และมีเงินลงทุน 260,100 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 412,200 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 36.90
  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2552
            การร่วมทุน                     จำนวน(โครงการ)         มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%                 310                     68,500
          2.โครงการต่างชาติ 100%                320                     78,700
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ          275                    112,900
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2552 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 118,500 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 46,400 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะดีขึ้นจากปีก่อน ตามระดับราคาที่ปรับเพิ่มขึ้น สำ หรับการจำ หน่ายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่เพิ่มขึ้นจากความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

1. การผลิต

ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนพฤศจิกายน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8 แบ่งเป็น

กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น ไก่แปรรูป สับปะรดกระป๋อง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 7.4 5.2 และ 17.6 ตามลำดับ จากคำสั่งซื้อของต่างประเทศที่ชะลอตัวลงหลังจากนำเข้ามากในเดือนก่อน

กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม และอาหารสัตว์ (ไก่) มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 11.4 และ 5.1 เนื่องจากเป็นช่วงวัตถุดิบน้อย ประกอบกับราคาวัตถุดิบสูงขึ้น

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนพฤศจิกายน มีปริมาณการจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.9 เนื่องจากราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง

2) ตลาดต่างประเทศ เดือนพฤศจิกายน มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารในรูปเงินบาทลดลงร้อยละ 1 จากเดือนก่อนเนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท แต่หากเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 จากปริมาณสต๊อกในตลาดโลกลดลง ประกอบกับราคาสินค้าอาหารและเกษตรในตลาดโลกเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่สูงนัก จึงทำให้มีการเร่งนำเข้า ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นในสินค้าเกือบทุกชนิด มูลค่าส่งออกจึงเพิ่มขึ้นตาม โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังและน้ำตาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 137.0 และ 62.6 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ตามระดับราคาที่เพิ่มขึ้น สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการจับจ่ายใช้สอยที่จะเพิ่มขึ้นตามความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

““การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวตามคำสั่งซื้อ แต่ยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน”

1. การผลิต

ภาวะการผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2552 ส่วนใหญ่มีการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3, 30.0 และ 14.4 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.9 และ 3.7 ตามลำดับ ซึ่งจะสังเกตได้ว่าการผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนใหญ่เป็นการผลิตไว้จำหน่ายในช่วงปลายปีและต่อเนื่องต้นปี

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนพฤศจิกายน 2552 ยังไม่กระเตื้องเท่าที่ควรรวมถึงการส่งออกที่ยังปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 8.0 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม (-4.4%) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (-4.4%) ผ้าผืน (-6.5%) ด้ายฝ้าย (-2.6%) เคหะสิ่งทอ(-20.7%) และเส้นใยประดิษฐ์ (-15.6%) เป็นต้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในสินค้าผ้าผืน ด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ และเส้นใยประดิษฐ์ ร้อยละ 13.7, 35.8, 35.4 และ 69.1 ตามลำดับ

การส่งออก สำหรับตลาดส่งออกปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนในตลาดสหรัฐอเมริกา (-3.4%) สหภาพยุโรป (-7.2%) ญี่ปุ่น(-3.2%) และอาเซียน(-9.4%) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นและอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และ 23.1 และยังติดลบในตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปร้อยละ 20.4 และ 1.9 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเดือนมกราคม 2553 คาดว่าจะขยายตัวตามคำสั่งซื้อ แต่ยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน เช่น ค่าเงินด่องของเวียดนาม เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยต้องปรับลดราคาสินค้าลง เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคากับเวียดนามได้ อย่างไรก็ตามภาพรวมของการส่งออกเครื่องนุ่งห่มคาดว่าจะขยายตัวได้ดี เนื่องจากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปสินค้าแนวแฟชั่นยังมีแนวโน้มที่ดีมีการพัฒนาด้านการออกแบบและสร้างตราสินค้า(Brand) ด้วยตนเองจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้มีความสามารถการแข่งขันมากขึ้นและสินค้าของไทยอาจจะไม่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันด้านราคามากนัก

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
  • คณะกรรมการเหล็กกล้าของกลุ่มประเทศ Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) ได้แสดงความเห็นว่า สภาวะตลาดเหล็กโลกกำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ ทั้งนี้เป็นผลมาจากความต้องการเหล็กในเอเชียที่พื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง แต่เตือนว่า ความไม่สมดุลระหว่างกำลังการผลิตและความต้องการเหล็กมีแนวโน้มขยายในอนาคต อาจนำไปสู่ภาวะราคาตกต่ำ อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ลดลง การปิดโรงงาน และการเลิกจ้าง

1.การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพฤศจิกายน 2552 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 4.72 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 17.36 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กเส้นกลม ลดลง ร้อยละ 33.29 รองลงมาคือ เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 18.02และลวดเหล็กแรงดึงสูง ร้อยละ 16.16 เนื่องจากราคาวัตถุดิบของเหล็กทรงยาว คือเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตเพิ่มขึ้น จึงทำให้ผู้ผลิตมีต้นทุนสูงขึ้นในขณะที่ราคาขายไม่สามารถปรับสูงขึ้นได้เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัว จึงมีผลทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตลง นอกจากนี้ ผู้ผลิตบางรายได้ปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักร จึงทำให้การผลิตโดยรวมในเดือนนี้ลดลง สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิต เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.60 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 55.60 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.70 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.02 ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 64.74 โดยเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 70.11 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 166.36 และลวดเหล็กแรงดึงสูง ร้อยละ 58.17 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 75.70 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 182.43 และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 173.13 เนื่องจากเมื่อปีที่แล้วการผลิตโดยรวมลดลงจึงทำให้ฐานต่ำจากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจโลก ประกอบกับปีนี้เริ่มมีคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ภาพรวมของการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

2.ราคาเหล็ก

การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ(Black Sea) ในช่วงเดือนธันวาคม 2552 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กสำคัญส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นโดย เหล็กแท่งเหล็กบิลเล็ตเพิ่มขึ้นจาก 393 เป็น 415 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.73 เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 497 เป็น 508 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.14 เหล็กแผ่นรีดเย็นเพิ่มขึ้นจาก 602 เป็น 608 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.93 ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาทรงตัว คือ เหล็กแท่งแบน อยู่ที่ 410 เหรียญสหรัฐต่อตัน และผลิตภัณฑ์ที่มีราคาลดลงคือ เหล็กเส้น ลดลงจาก 444 เป็น 440 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 0.98

3. แนวโน้ม

สถานการณ์เหล็กในเดือนธันวาคม 2552 ในส่วนเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในขณะที่ราคาวัตถุดิบ คือ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต มีราคาที่เพิ่มขึ้น แต่ราคาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป คือ เหล็กเส้นกลับมีราคาที่ลดลง จึงทำให้ผู้ผลิตไม่กล้าที่จะนำเข้าเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตในปริมาณมาก ส่งผลให้การผลิตเหล็กเส้นในช่วงนี้ลดลง สำหรับในส่วนของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ คาดการณ์ว่าการผลิตจะเพิ่มขึ้นเนื่องจาก บริษัทสยามยามาโตะซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ได้รับอนุญาตจากศาลปกครองการให้สามารถเริ่มการผลิตของโรงงานผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณแห่งที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ได้แล้วตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2552 หลังจากได้ถูกระงับการผลิตตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา สำหรับเหล็กทรงแบนคาดว่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เริ่มขยายตัวขึ้น

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2552 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 สำหรับข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน มีดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 120,985 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งมีการผลิต 116,041 คัน ร้อยละ 4.26 และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2552 ร้อยละ 5.17
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 57,031 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งมีการจำหน่าย 46,068 คัน ร้อยละ 23.80 โดยมาจากความต้องการรถยนต์ทุกประเภทที่เพิ่มขึ้น และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2552 ร้อยละ 7.06
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 58,665 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งมีการส่งออก 65,919 คัน ร้อยละ 11.00 ซึ่งเป็นการลดลงในตลาดยุโรป อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกา และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนตุลาคม 2552 ร้อยละ 1.41
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม 2552 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2552 เนื่องจากเป็นฤดูกาลการจำหน่าย อีกทั้งผู้ประกอบการรถยนต์มีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนธันวาคม 2552 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 52 และส่งออกร้อยละ 48

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 165,557 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งมีการผลิต 173,782 คัน ร้อยละ 4.73 แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2552 ร้อยละ 1.03
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 130,264 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งมีการจำหน่าย 125,322 คัน ร้อยละ 3.94 และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2552 ร้อยละ 8.63
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 8,081คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งมีการส่งออก16,348 คัน ร้อยละ 50.57 เนื่องจากในช่วงนี้ของปี 2551 เริ่มมีการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีดส่งผลให้ความต้องการของตลาดส่งออกมีมากขึ้น แต่ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2552 เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2552 ร้อยละ 29.57
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2552 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2552 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2552 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 94 และส่งออกร้อยละ 6
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว สำหรับการส่งออกถึงแม้ว่าจะเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในตลาดส่งออกหลักของไทยก็ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้เนื่องจากเป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังคงมีการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนพฤศจิกายน 2552 ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.99 และ 0.42 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.25 และ17.58 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในภาพรวม ภาวะของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เริ่มฟื้นตัวขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการเพิ่มการผลิตเพื่อรองรับความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลก่อสร้างในช่วงไตรมาสที่ 4

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนพฤศจิกายน 2552 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 7.17 และ 15.51 ตามลำดับ ซึ่งลดลงในตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะประเทศบังคลาเทศ เวียดนาม และ เมียนมาร์

3.แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนธันวาคม 2552 และเดือนมกราคม 2553 มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูกาลก่อสร้าง รวมทั้งโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ที่รัฐบาลมีแผนการดำเนินการ ส่วนใหญ่อาจเริ่มก่อสร้างได้จริงประมาณต้นปี2553 สำหรับการส่งออก ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัวแต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน ตลาดใหม่ในประเทศแถบแอฟริกาและตะวันออกกลาง ยังคงมีโอกาสที่จะขยายตัวได้เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นประเทศกำ ลังพัฒนา ยังคงมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ เนื่องจากมีกิจกรรมการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนธันวาคมประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.99 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.67 และ 5.16 ตามลำดับ จากกำลังซื้อเริ่มกลับมาของตลาด EU และตลาดในประเทศที่ภาษีสรรพสามิตลดลงทำให้ราคาลดลง ช่วยกระตุ้นยอดผลิตมากขึ้น
  • แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.82 เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของส่วนประกอบ HDD และเซมิคอนดักเตอร์เริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 17.88 และ 35.89 โดยเฉพาะการผลิต HDD ปรับตัวสูงมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มีความต้องการจากสินค้าสำเร็จรูปค่อนข้างมากและฐานตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำในเดือนธันวาคม 2551 จากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอลง

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพฤศจิกายน 2552 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.04 ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.78 โดยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.61 โดยมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกตัวโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ยกเว้นเครื่องรับโทรทัศน์แบบ CRT เนื่องจากเครื่องปรับอากาศมีตลาดในประเทศที่น่าจะมีการปรับราคาลดลงจากภาษีสรรพสามิตที่ต่ำลงและตลาดส่งออกทดแทนตลาดอียู เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.36 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.97 โดยมีการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง หรือบางรายการอาจสูงกว่าปีก่อน เช่น HDD ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากกำลังซื้อหลักที่ได้จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจและเร่งผลิตเพื่อทันต่อความต้องการสินค้าสำเร็จรูปในช่วงเทศกาลปีใหม่ หลังจากชะลอการผลิตในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2552 ทำให้สินค้าคงคลังลดลง ทำให้มีการเติมเต็มสินค้าคงคลังด้วยในช่วงดังกล่าว

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนพฤศจิกายน 2552 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 5.69 ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.74 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 3,957.26 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 13.10 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.87 สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 1.10 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.89

3. แนวโน้ม

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนธันวาคม ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.99 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.67 และ 5.16 ตามลำดับ จากกำลังซื้อเริ่มกลับมาของตลาด EU และตลาดในประเทศที่ภาษีสรรพสามิตลดลงทำให้ราคาลดลง ช่วยกระตุ้นยอดผลิตมากขึ้น

ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.82 เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของส่วนประกอบ HDD และเซมิคอนดักเตอร์เริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 17.88 และ35.89 โดยเฉพาะการผลิต HDD ปรับตัวสูงมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มีความต้องการจากสินค้าสำเร็จรูปค่อนข้างมาก และฐานตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำในเดือนธันวาคม 2551 จากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอลงมาก

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการ

ส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน พ.ย. 2552

          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์           มูลค่า           %MoM            %YoY
          อุปกรณ์คอมพิวเตอร์               1,492.33           0.21           21.24
          IC                             643.56          -4.48           52.12
          เครื่องปรับอากาศ                  149.78         -17.72           12.35
          เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า                 149.58          -1.68           26.68
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  3,957.26          -5.69           19.74

ที่มา กรมศุลกากร

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ