สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 (เมษายน — มิถุนายน) พ.ศ. 2553(อุตสาหกรรมเซรามิก)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 27, 2010 14:36 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิต

การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2553 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณผลิต 41.84 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.16 และ 11.03 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณผลิต 1.67 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลง ร้อยละ3.51 แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.46 ซึ่งการผลิตเซรามิกที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออก (ตารางที่ 1 และ 2)

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 การผลิตเซรามิกเพิ่มขึ้น โดยการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนังมีปริมาณ 80.53 ล้านตารางเมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 3.41 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปกี อน เพิ่มขึ้น รอ้ ยละ 16.86 และ 21.49 ตามลำดับ เนื่องจากในชว่ งตน้ ปีจะเปน็ ชว่ งฤดูกาลขาย ประกอบกับมีการเร่งโอนกรรมสิทธิ์จำนวนมากให้ทันก่อนที่มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์จะสิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน 2553 ทำให้มีการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้น

2. การตลาด

2.1 ตลาดในประเทศ

การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2553 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณจำหน่าย42.45 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณจำหน่าย 1.06 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 0.40 และ 8.58 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเกิดความไม่สงบทางการเมือง จึงทำให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ส่งผลให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อลดลง แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.89 และ 14.15 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากปีก่อน (ตารางที่ 1 และ 2)

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 การจำหน่ายเซรามิกเพิ่มขึ้น โดยการจำหน่าย กระเบื้องปูพื้นบุผนัง มีปริมาณ 85.06 ล้านตารางเมตร และการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.22 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.81 และ 16.94 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกับมีการเร่งโอนกรรมสิทธิ์จำนวนมากให้ทันภายในเดือนมิถุนายน 2553 จึงทำให้มีความต้องการใช้เซรามิกในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น

2.2 การส่งออก

การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่ารวม 141.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 1.33 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกลดลง ได้แก่ ของชำร่วยเครื่องประดับ ลูกถ้วยไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นๆ แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.90 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และลูกถ้วยไฟฟ้า (ตารางที่ 3)

การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน เยอรมนี เกาหลีใต้ และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 มีมูลค่ารวม 283.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.76 ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว โดยผลิตภัณฑ์เซรามิกเกือบทุกผลิตภัณฑ์มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ยกเว้น ของชำร่วยเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นๆ ที่มีการส่งออกลดลงในตลาดหลักทั้งสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

2.3 การนำเข้า

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เยอรมนี และอินโดนีเซีย โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่า 80.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลง ร้อยละ 5.13 แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 55.81 สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 มีมูลค่า 165.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 83.49 (ตารางที่ 4) ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่จะนำเข้าจากญี่ปุ่น และมาเลเซีย และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นจะนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน โดยการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง จะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 71 ของการนำเข้าในหมวดผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น

3. สรุป

การผลิตและจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2553 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบทางการเมือง ประกอบกับไตรมาสนี้เป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน ทำให้ความต้องการใช้เซรามิกในการก่อสร้างลดลง สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ไตรมาส ที่ 3 ปี 2553 คาดว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศและการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2553 ลดลง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของชำร่วยเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ไม่สามารถเติบโตในตลาดหลักที่สำคัญทั้งสหภาพยุโรป และญี่ปุ่นจึงทำให้ภาพรวมของการส่งออกลดลง สำหรับการส่งออกเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการปรับตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตไทย โดยเฉพาะผู้ผลิตของชำร่วยเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น จำเป็นต้องเร่งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งขยายตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่ลดลงด้วย

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ