ภาวะตลาดทองคำวันนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 1, 2011 11:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 มี.ค.--เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์ ข้อมูลทองคำวันนี้ - ราคาสมาคม เปิดที่ 20,300 - 20,400 - ราคา Gold Spot เปิดที่ 1,413 - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท 30.58 — 30.60 - GFJ11 Hi- Low 20,600 — 20,530 ปิดที่ 20,550 Gold Insight สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 60 เซนต์ หรือ 0.04% ปิดที่ 1,409.90 ดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,407.90-1,417.00 ดอลลาร์เนื่องจากนักลงทุนยังคงเข้าซื้อทองคำเพื่อปกป้องความเสี่ยงจากสถานการณ์ รุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศตะวันออกกลางและลิเบีย นอกจากนี้ การที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง ยังเป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าถือครองทองคำเพื่อปกป้องความ เสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ พุ่งขึ้น 95.89 จุด หรือ 0.79% ปิดที่ 12,226.34 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 7.34 จุด หรือ 0.56% ปิดที่ 1,327.22 จุด และดัชนี Nasdaq ดีดตัวขึ้น 1.22 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 2,782.27 จุดหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมถึงตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภค นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการที่นายเจมส์ บุลลาร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐมากนัก สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 91 เซนต์ หรือ 0.93% ปิดที่ 96.97 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดในระหว่างวันที่ 99.96 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาด้านการลำเลียงน้ำมันใน ลิเบีย หลังจากมีรายงานว่าท่าเรือบางแห่งในลิเบียเริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง และลิเบียยังคงส่งออกน้ำมันไปยังประเทศต่างๆ กองทุน SPDR Gold Trust กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. วันที่ 1 มีนาคม ขายออก 0.61 ตัน เปลี่ยนแปลงการถือครองจากระดับ 1,211.57ตัน เข้าสู่ระดับ 1,210.96 ตัน USD/EU ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินอื่นๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (28 ก.พ.) เนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่านายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงสนับสนุนมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ขณะที่ค่าเงินยูโรทะยานขึ้นแข็งแกร่งก่อนที่การประชุมกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีนี้ และค่าเงินปอนด์ได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางอังกฤษจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากต้นทุนราคาอาหารและน้ำมันภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.40% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.3805 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.3750 ดอลลาร์สหรัฐ โดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลยูโรเช้านี้เปิดตลาดยู่ที่ระดับ 1.3806 ดอลลาร์ต่อยูโร USD/JPY ดอลลาร์สหรัฐขยับขึ้น 0.16% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 81.800 เยน จากระดับของวันศุกร์ที่ 81.670 เยน โดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลเยนเช้านี้เปิดอยู่ที่ระดับ 81.95 เยนต่อดอลลาร์ USD/THB ค่าเงินบาทปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 30.58-30.61 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งไม่มีการเคลื่อนไหวมากนักจากการเปิดตลาดในตอนเช้ามากนัก ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 30.57-30.60 บาทต่อดอลลาร์ ข่าวเศรษฐกิจโลก - สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนม.ค.ของสหรัฐ ลดลง 2.8% แตะที่ 88.9 จุด จากระดับ 91.5 จุดในเดือนธ.ค. ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลงเพียง 2.2% ดัชนีที่เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 100 จุดบ่งชี้ว่า ธุรกรรมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐยังคงซบเซา หลังจากที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตซับไพรม์ - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิด เผยว่า ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคประจำเดือนม.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.37 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 0.2% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.83 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 0.7%ส่วนอัตราการอมส่วนบุคคลในเดือนม.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.8% ซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ยในช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์การเงินในปี 2550 ที่ระดับ 2.1%ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคของสหรัฐเป็นหนึ่งในข้อมูลที่ตลาดการเงินให้ความ สนใจมากที่สุด เพราะตัวเลขดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 70 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ - นายกาลิด อัล-ฟาลีห์ ซีอีโอของบริษัทซาอุดิ อารามโก ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของซาอุดิอาระเบียกล่าวว่า ซาอุดิอาระเบียได้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอีก 3 ล้านบาร์เรล/วันเพื่อชดเชยผลกระทบจากภาวะติดขัดด้านการลำเลียงน้ำมันใน ลิเบีย ซึ่งข่าวดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง - สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX พุ่งขึ้นทั้งสิ้น 6.5% เนื่องจากความกังวลที่ว่าเหตุการณ์ประท้วงต่อต้านพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย จะส่งผลกระทบต่อการลำเลียงน้ำมันจากลิเบียไปยังประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในยุโรป โดยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สัญญาน้ำมันดิบทะยานขึ้นไปแตะระดับ 103 ดอลลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2551 และส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลในวงกว้างในตลาดการเงินทั่วโลก - เหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางและแอฟริกาใต้ รวมทั้งความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ได้หนุนราคาทองคำพุ่งขึ้นไปแล้ว 5.9% ในเดือนก.พ. ส่วนในปี 2553 ราคาทองคำปรับตัวขึ้นโดยรวม 30% และทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1,432.5 ดอลลาร์/ออนซ์เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. - เบอร์นันเก้ ประธานเฟดได้ออกมากล่าวปกป้องการใช้มาตรการ QE2 ว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐให้ฟื้นตัวขึ้น ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดอาจจะเดินหน้าใช้ QE2 ไปจนจบโครงการในช่วงกลางปีนี้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวทำให้สภาพคล่องในระบบการเงินสูงขึ้น แต่ส่งผลกดดันมูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ในการประชุมเมื่อเดือนพ.ย.ปี 2553 คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดได้ตัดสินใจใช้มาตรการ QE2 ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลสหรัฐ มูลค่า 6 แสนล้านดอลลาร์ โดยทยอยซื้อในสัดส่วน 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนไปจนถึงสิ้นเดือนมิ.ย.2554 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารย์ทั้งในและต่าง ประเทศจอร์จ เมลโลน รองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลายแห่งของโลกตำหนิว่า สหรัฐเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก โดยมาตรการ QE2 ซึ่งดำเนินการผ่านการซื้อพันธบัตรมูลค่า 6 แสนล้านดอลลาร์ของเบอร์นันเก้ เป็นต้นเหตุของเงินเฟ้อ และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเบอร์นันเก้จะสามารถรักษาตัวเลขเงินเฟ้อในสหรัฐ ได้ที่ระดับ 2% ได้หรือไม่ เนื่องจากราคาน้ำมันและอาหารกำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าจับตา อาทิตย์ที่ ข้อมูลที่น่าจับตา ตัวเลขเดิม ตัวเลข คาดการณ์ ตัวเลขจริง 28 กุมภาพันธ์ — 1 มีนาคม2554 วันจันทร์ ? Core PCE Price Index 0.0% 0.1% 0.1% ? Personal Spending 0.7% 0.5% 0.2% ? Personal Income 0.4% 0.4% 1.0% ? ChicagoPMI 68.8 67.9 71.2 ? Pending Home Sales 2.0% -2.2% -2.8% วันจันทร์ ? Fed Chairman Bernanke Testifies - - ? ISM Manufacturing PMI 60.8 60.9

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ