ฟรอสต์ฯ แนะ ธุรกิจไทยปรับใช้โมเดล EHL มาใช้เพื่อเตรียมตัวก้าวสู่ AEC

ข่าวทั่วไป Thursday August 23, 2012 18:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน แนะ ธุรกิจไทยปรับใช้โมเดล EHL เพื่อวางแผนระยะยาว และปรับตัวเข้าสู่ AEC หลายธุรกิจต้องการขยายตลาดออกสู่ AEC แต่ไม่มีประสบการณ์ ทั้งในด้านการกระจายสินค้า และการทำตลาดในต่างประเทศ ดังนั้น การทำความเข้าใจตลาดให้ถ่องแท้และหาลู่ทางให้เหมาะสมที่สุด จึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพการแข่งขัน ทั้งคู่แข่งภายในประเทศ และนอกประเทศ ทำให้หลายธุรกิจรู้สึกกดดันในการที่จะต้องขยายตลาด ทั้งๆที่ตนเองไม่มีความพร้อม ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก กล่าวว่า ปัจจุบัน หลายธุรกิจต้องการขยายตลาดออกสู่ AEC แต่ไม่มีประสบการณ์ ทั้งในด้านการกระจายสินค้า และการทำตลาดในต่างประเทศ ดังนั้น การทำความเข้าใจตลาดให้ถ่องแท้และหาลู่ทางให้เหมาะสมที่สุด จึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพการแข่งขัน ทั้งคู่แข่งภายในประเทศ และนอกประเทศ ทำให้หลายธุรกิจรู้สึกกดดันในการที่จะต้องขยายตลาด ทั้งๆที่ตนเองไม่มีความพร้อม ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ได้ทำการศึกษา เก็บรวมรวมข้อมูล และสรุปรูปแบบการทำธุรกิจสำหรับธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกและสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อนำไปใช้วางแผนในระยะยาว ซึ่งสาระสำคัญของโมเดลดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้ 1) Push คือการผลักสินค้าออกสู่ตลาด เป็นขั้นตอนในการส่งออกเริ่มต้นสำหรับธุรกิจที่มีสินค้าอยู่ในมือ แต่ยังไม่มีความพร้อมมากนัก ใช้ในการขยายธุรกิจตอนที่ตลาดร้อนแต่ยังไม่มข้อมูลหรือเครื่องไม้เครื่องมือมากนัก วิธีการ Push หรือผลักดันสินค้าที่ดี คือใช้เครือข่ายตัวแทนจำหน่าย และ/หรือ ผู้กระจายสินค้าท้องถิ่น ในการช่วยผลักดันสินค้า 2) Harmonize คือการหลอมรวม ไม่ใช่แค่ผลักดันสินค้าตามที่มีอยู่เพื่อส่งออก แต่มีการปรับเปลี่ยนหน้าตาหรือคุณลักษณะของสินค้าให้เข้ากับประเทศนั้นๆด้วย โดยในขั้นนี้ ผู้ประกอบการจะต้องมีประสบการณ์ในตลาดนั้นๆ มาสักระยะหนึ่ง และมีความเข้าใจตลาดพอสมควร ตลอดจนพฤติกรรมผู้บริโภคที่แตกต่างออกไปในแต่ละตลาด 3) Localize คือการนำธุรกิจเข้าสู่ท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มทำหลังจาก การดำเนินธุรกิจในขั้น 1 (Push) และ 2 (Harmonize) แล้ว เป็นการใช้โอกาสจากห่วงโซ่อุปทานของประเทศนั้นๆให้เป็นประโยชน์ เพื่อธุรกิจในระยะยาว ซึ่งถ้าถามว่า หากบริษัทมีความพร้อม สามารถจะเริ่มขั้นตอนที่ 3 โดยไม่ผ่าน 1 และ 2 ได้หรือไม่ คำตอบคือเป็นไปได้ แต่บริษัทต้องสามารถแบกรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จากการที่ไม่รู้จักตลาดและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจดีพอ แต่กลับเข้าไปแบบเต็มรูป (full-scale)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ