วสท. ผงาดศักดิ์ศรีวิศวกรไทยในงานประชุมสมาพันธ์วิศวกรรมแห่งอาเซียน 2015 (CAFEO 33) ณ เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย

ข่าวทั่วไป Monday March 7, 2016 17:10 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 มี.ค.--เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น วิศวกรเป็น 1 ใน 8 ของวิชาชีพที่จะทำงานได้อย่างเสรีในประชาคมอาเซียน ขณะที่วิศวกรรมทวีบทบาทความสำคัญในการสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพชีวิตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สิ่งปลูกสร้าง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์การแพทย์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ระบบราง รถไฟฟ้าความเร็วสูง การผลิตอาหารรูปแบบใหม่ๆ เป็นต้น เมื่อเร็วๆ นี้ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) นำทีมผงาดประกาศศักดิ์ศรีวิศวกรไทยเข้าร่วม งานประชุมสมาพันธ์วิศวกรรมแห่งอาเซียน 2015 (CAFEO ครั้งที่ 33) ภายใต้ธีม "The Light to Bytes" นอกจากนี้ยังมี 8 คนไทยและ 5 โครงการของบริษัทชั้นนำได้รับรางวัลวิศวกรดีเด่นและรางวัลเกียรติยศจากงานครั้งสำคัญนี้ ท่ามกลางวิศวกรและบุคคลชั้นนำกว่า 1,000 คน ณ โรงแรมอิเควทอเรียล เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (Prof. Dr. Suchatvee Suwansawat) นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า "นับเป็นอีกความก้าวหน้าและความสำเร็จของประเทศไทยในความร่วมมือทางวิศวกรรมกับ 10 ประเทศในเวทีอาเซียน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ซึ่งเป็นองค์กรตัวแทนของประเทศไทย ได้เข้าร่วมงานประชุมสมาพันธ์วิศวกรรมแห่งอาเซียน 2015 หรือ CAFEO ครั้งที่ 33 (Conference of ASEAN Federation of Engineering Organization 2015 ) และในโอกาสนี้คนไทยที่ได้รับรางวัลวิศวกรดีเด่นและรางวัลเกียรติยศในครั้งนี้ คือ 1.) รางวัล AFEO Distinguished Honorary Fellow Award ได้แก่ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 2.) รางวัล AFEO Honorary Fellow Award ได้แก่ คุณบวร วงศ์สินอุดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 3.) รางวัล AFEO Honorary Member Award ได้แก่ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และประธานคณะอนุกรรมการผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลมของ วสท. รศ.ดร.นพดล เพียรเวช สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และคุณณรงค์ แสงสุริยะ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 4.) รางวัล ASEAN Outstanding Engineering Achievement Project Award มี 5 บริษัทจากประเทศไทยได้รางวัลนี้จากความสำเร็จด้านวิศวกรรมของโครงการต่างๆซึ่งสร้างสรรค์ประโยชน์ ได้แก่ บริษัท เอเซีย แอมโร อินดัสตรี้ จำกัด, บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด, บริษัท จรุงไทยไวร์แอนด์ เคเบิ้ล จำกัด มหาชน และบริษัท เซโต (ประเทศไทย) จำกัด 5.) รางวัล ASEAN Outstanding Engineering Achievement Contribution Award ได้แก่ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์, คุณอรสา วิมลเฉลา และคุณศิริโชติ สิงห์ษา การประชุมสมาพันธ์วิศวกรรมแห่งอาเซียน 2015 ครั้งที่ 33 นี้ ภายใต้หัวข้อ "The Lights to Bytes" มุ่งพัฒนาเปลี่ยนแปลงวิศวกรรมในภูมิภาคอาเซียนและความท้าทายแห่งอนาคต ประกอบไปด้วยเนื้อหาการประชุมที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับระบบการคมนาคมขนส่งสาธารณะแบบบูรณาการในการพัฒนาเมือง, เทคโนโลยีวิศวกรรมการสื่อสาร ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องกล และสารสนเทศ, วิศวกรรมและเทคโนโลยีการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน, การพัฒนาวิศวกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม, การเสริมสร้างการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ และส่งเสริมบทบาทสตรีในด้านวิศวกรรมสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา การประชุม ครั้งที่ 33 จัดขึ้น ณ เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย โดยงานประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คน และเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่วิศวกรไทยและหลายบริษัทจากประเทศไทยได้รับรางวัลในงานประชุมนี้ด้วย" สมาพันธ์วิศวกรรมแห่งอาเซียน (AFEO) เป็นสมาชิกของสมาพันธ์วิศวกรรมโลก (World Federation of Engineering Organizations - WFEO) นับเป็นองค์กรสากลที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร ก่อตั้งขึ้นในปี 1973 มีเครือข่ายเป็นองค์กรและสมาคมด้านวิศวกรรมจาก 10 ประเทศในอาเซียน AFEO มีบทบาทหน้าที่เสริมสร้างความก้าวหน้าในองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมในอาเซียน ส่งเสริมด้านการศึกษาเทคโนโลยี วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมในอาเซียนให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงเสริมสร้างและพัฒนามาตรฐานพื้นฐานวิชาชีพวิศวกรรมอาเซียนและการขึ้นทะเบียนวิชาชีพวิศวกรอาเซียน (The ASEAN Chartered Professional Engineer - ACPE) เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ประชาชน สังคมและเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ภายใต้ AFEO ยังมีการตั้งสมาพันธ์วิศวกรรุ่นใหม่ (Young Engineers ASEAN Federation of Engineering Organization - YEAFEO) เพื่อส่งเสริมบทบาทของวิศวกรรุ่นใหม่ในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าของสังคม เศรษฐกิจและการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมในอาเซียน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวอาเซียน รวมทั้งช่วยส่งเสริมโอกาสในการทำงานภายในภูมิภาคอาเซียน และพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความร่วมมือระหว่างกัน รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อุปนายกและประธานต่างประเทศ วสท. กล่าวว่า ปัจจุบันองค์กรตัวแทนใน 10 ประเทศ ของสมาพันธ์วิศวกรรมแห่งอาเซียน (ASEAN Federation of Engineering Organization - AFEO) ได้แก่ ประเทศไทย (The Engineering Institute of Thailand - EIT), สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao Union of Science and Engineering Associations - LUSEA), กัมพูชา (Board of Engineers Cambodia - BEC), ฟิลิปปินส์ (The Philippines Technological Council - PTC), อินโดนีเซีย (Persatuan Insinyur Indonesia - PII), บรูไน (Pertubuhan Ukur Jurutera & Arkitek - PUJA), สิงคโปร์ (The Institution of Engineers Singapore - IES), เวียดนาม (Vietnam Union of Science and Technology Associations - LUSEA), สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ (Myanmar Engineer Society - MES) และมาเลเซีย (The Institution of Engineers Malaysia - IEM) พร้อมด้วยพันธมิตรสมาคมวิศวกรรมจากประเทศอื่นๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ออสเตรเลีย, จีน, อินเดีย, เยอรมัน และอังกฤษ รวมทั้งสมาพันธ์วิศวกรรมโลก (World Federation of Engineering Organizations - WFEO) และสถาบันเทคโนโลยีและวิศวกรรมแห่งอาเซียน (ASEAN Academy of Engineering and Technology - AAET) ใน งานประชุมสมาพันธ์วิศวกรรมแห่งอาเซียน 2015 (CAFEO ครั้งที่ 33) มีการแบ่งประชุม 6 กลุ่มทำงาน (Working Group) ดังนี้ 1.) การขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation and Logistic) โดยมี นายอรวิทย์ เหมะจุฑา ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมจราจรและขนส่ง วสท. เป็นประธานในที่ประชุม 2.) การเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ, การจัดการและบรรเทาสาธารณภัย (Disaster Preparedness, Mitigation and Management) โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อุปนายกและประธานต่างประเทศ วสท. เป็นประธานในที่ประชุม 3.) พลังงาน (Energy) 4.) วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering) 5.) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน (Smart Sustainable City) และ 6.) การศึกษาและการพัฒนาศักยภาพ (Education and Capacity Building) นอกจากนี้ยังมีการประชุมภายในกลุ่มของ AER, ประชุมสมาพันธ์วิศวกรสตรีอาเซียน (Women Engineers ASEAN Federation of Engineering Organization - WE-AFEO), และสมาพันธ์วิศวกรรุ่นใหม่อาเซียน (Young Engineers ASEAN Federation of Engineering Organization - YEAFEO) ในงานนี้ยังมีการจัดกิจกรรมบูธนิทรรศการและสัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจ พร้อมด้วยการนำเสนอผลงานวิชาการและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านวิศวกรรม ตลอดจนจัดเวทีเสวนาของวิศวกรจาก 10 ชาติในอาเซียน ภายใต้หัวข้อ "The Light to Bytes" ครอบคลุมในเรื่องระบบการคมนาคมขนส่งสาธารณะอย่างบูรณาการในการพัฒนาเมือง, เทคโนโลยีวิศวกรรมการสื่อสาร ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องกลและสารสนเทศ, วิศวกรรมและเทคโนโลยีการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน, การพัฒนาวิศวกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม, การเสริมสร้างการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ และส่งเสริมบทบาทสตรีในงานวิศวกรรมสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา" CAFEO ครั้งที่ 33 ยังเปิดเวทีให้ตัวแทนจากองค์กรวิศวกรรมจากประเทศต่าง ๆ ได้นำเสนอรายงานความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมของแต่ละประเทศสมาชิก สำหรับตัวแทนจากประเทศไทย ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้นำเสนอเกี่ยวกับศักยภาพด้านวิศวกรรมที่มีความโดดเด่นของประเทศไทยใน 3 ด้าน คือ 1.) ด้านการคมนาคมขนส่ง (Transportation and Logistic) ด้วยประเทศไทยมีปัจจัยด้านศักยภาพและทางภูมิศาสตร์เอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาคอาเซียน แต่การจะก้าวไปเป็นฮับโลจิสติกส์แห่งอาเซียนอย่างสมบูรณ์แบบนั้นต้องอาศัยความพร้อมในหลายด้าน ดังนั้นการพัฒนาประสิทธิภาพการขนส่งทางถนนจึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยกำลังพัฒนาและเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งของประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย 12เส้นทาง รวมระยะทางทั้งสิ้น 6,693 กิโลเมตร เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกในการขนส่งสินค้าได้คล่องตัว ช่วยประหยัดเวลาและต้นทุนในการขนส่ง สนับสนุนการส่งออกของไทยให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็จะส่งเสริมการเดินทางข้ามพรมแดนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนที่สะดวก รวดเร็วและเข้าถึงง่ายขึ้น จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งจากประเทศในอาเซียนและประเทศอื่นๆ เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น อันจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งนี้ประเทศไทยก็ต้องมีความมั่นใจว่าถนนและทางหลวง รวมถึงระบบขนส่งมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่จะรองรับการเติบโตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต วิศวกรรมจราจรและขนส่งจึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ตามมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ เช่น ต้องมีระบบสัญญาณและเครื่องหมายจราจรที่เพียงพอและเป็นสากล สำหรับโครงสร้างพื้นฐานของการขนส่งสาธารณะที่สำคัญต้องประกอบไปด้วยที่พักรถ หรือที่หยุดรถ และสถานีขนส่ง เพื่อให้การจัดการการขนส่งมีประสิทธิภาพในภาพรวม 2.) ด้านภารกิจของ วสท. ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนและสังคมในเรื่องของภัยพิบัตินอกจาก วสท. จะมีภารกิจในการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพวิศวกรให้ก้าวไกลเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าแล้ว เรายังมุ่งช่วยเหลือแบ่งปันแก่สังคมด้วย วสท.จึงมุ่งเน้นการช่วยเหลือประเทศไทยเมื่อเกิดภัยพิบัติอย่างรอบด้าน ทั้งการวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อป้องกัน และเตรียมการรับมือก่อนเกิดภัยพิบัติ การเข้าฟื้นฟูและช่วยเหลือเมื่อยามเกิดภัยพิบัติ การอบรมและให้ความรู้ รวมถึงการถอดบทเรียนหลังการเกิดภัยพิบัติในแต่ละครั้งเพื่อนำมาปรับใช้หากมีการเกิดภัยพิบัติขึ้นอีกครั้ง 3.) ด้านความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ (MOU) ในการดำเนินโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน สังคมและเศรษฐกิจ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ