การคิดข้ามพรมแดน — การจัดการเกี่ยวกับผู้เดินทางเพื่อธุรกิจที่ระยะเวลาการเดินทางได้ขยายออกไป

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 19, 2008 08:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ เอกสารตีพิมพ์เผยแพร่ของ เคพีเอ็มจี ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการจัดการกรณีผู้บริหารที่ต้องเดินทางเพื่อธุรกิจ อาจทำให้บริษัทมีความเสี่ยง จากการประกอบธุรกิจต่างประเทศ และการกระจายตัวไปทั่วโลก ของกลุ่มผู้บริหารซึ่งเพิ่มสูงขึ้น บริษัทจำนวนมากจึงอาศัยบรรดาผู้บริหาร ที่พร้อมเดินทางไปต่างประเทศ โดยที่ระยะเวลาอาจขยายออกไปได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่วิธีนี้ไม่ใช่ทางเลือกที่ปราศจากความเสี่ยง ตามความเห็นของคุณเบญจมาศ กุลกัตติมาส หัวหน้า งานบริการผู้บริหารต่างชาติ ของ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย คุณเบญจมาศ ฯ กล่าวว่า ความเสี่ยงที่สำคัญสำหรับบริษัท ก็คือการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี และข้อกำหนดต่างๆ ในการเข้าเมือง ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเกี่ยวกับธุรกิจ ซึ่งระยะเวลาอาจขยายออกไป — (ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในต่างประเทศเป็นระยะเวลามากกว่า 30 วัน แต่น้อยกว่า 180 วัน) คุณเบญจมาศ ฯ กล่าวว่า “ผู้บริหารอาจตัดสินใจขยายระยะเวลาการเดินทางที่เกี่ยวกับธุรกิจ สำหรับลูกจ้างออกไป โดยมิได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภาษี และการเข้าเมืองแต่อย่างใด การที่มิได้มีระบบการบันทึกอย่างเป็นทางการ ลูกจ้างอาจเดิมทางไปต่างประเทศ โดยที่บริษัทอาจจะไม่ทันสังเกต จนกระทั่งมีปัญหาเกิดขึ้น เนื่องจากมิได้มีการดำเนินการเพื่อให้การเดินทางที่เกี่ยวกับธุรกิจเหล่านี้ถูกต้องอย่างเป็นทางการในลักษณะเดียวกันกับการส่งลูกจ้างไปประจำในต่างประเทศ” บริษัทกิจการข้ามชาติควรที่จะต้องทราบ ไม่เฉพาะแต่กรณีพนักงานที่เดินทางออกไปเท่านั้น หากแต่จะต้องทราบถึงกรณีพนักงาน ที่เดินทางเข้ามาจากสำนักงานต่างๆ ด้วย การมีตัวตนอยู่ของลูกจ้างในต่างประเทศอาจที่จะทำให้บริษัทต้องเผชิญกับเรื่องภาษีของค่าใช้จ่ายของลูกจ้าง และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องของการมีสถานประกอบการถาวร บริษัทต่างๆ ที่ส่งลูกจ้างไปต่างประเทศควรที่จะทราบถึงเรื่องกฎหมายการเข้าเมือง และข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของประเทศเจ้าบ้านด้วย การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายต่างๆ เหล่านี้สามารถที่จะส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับในจำนวนที่สูง บริษัทไทยที่มีลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งเดินทางเข้ามาควรที่จะเตรียมการล่วงหน้าในการที่จะทำให้ความเสี่ยงเหล่านี้ลดน้อยลง ชาวต่างประเทศคนใดก็ตามที่เข้าประเทศไทย เพื่อที่จะมาทำงานจะต้องได้รับวีซ่า (การตรวจลงตรา) ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และขอใบอนุญาตทำงาน นอกจากนี้ เป็นสิ่งสำคัญมาก ที่ควรจะต้องทราบถึง และใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนใดๆ ก็ตามที่มีระหว่างประเทศที่ส่งลูกจ้างมาประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 50 ประเทศ ที่ได้มีอนุสัญญากับประเทศไทย เพื่อที่จะป้องกันการเก็บภาษีซ้อน และการร่วมมือระหว่างผู้มีอำนาจหน้าที่ทางด้านภาษีของรัฐ ทั้งไทย และต่างประเทศ ในการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ทางด้านภาษี ที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ คือผู้ที่อยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 180 วัน หรือน้อยกว่านั้น อาจจะต้องเสียภาษีไทย จากเงินได้ที่ได้รับจากบริการต่างๆ ซึ่งได้ดำเนินการในประเทศไทย หรือเพื่อธุรกิจของนายจ้างในประเทศไทย หากลูกจ้างชาวต่างประเทศมีแหล่งเงินได้ในไทย บริษัทจะต้องรับผิดชอบในการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินต่างๆ ที่ได้จ่ายไปให้แก่ลูกจ้างดังกล่าวนั้น ดังนั้น เพื่อที่จะช่วยในการจัดการปัญหาดังกล่าว กลุ่มงานบริการผู้บริหารต่างชาติ (ไออีเอส) ของ เคพีเอ็มจี จึงได้จัดทำ “การคิดข้ามพรมแดน — การจัดการเกี่ยวกับผู้เดินทางเพื่อธุรกิจที่ระยะเวลาการเดินทางได้ขยายออกไป” ขึ้นมา เอกสารเผยแพร่ชิ้นใหม่นี้ให้ข้อคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับภาษี และความหมายโดยนัยอื่นๆ ใน 22 ประเทศภายในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค และได้รับการออกแบบที่จะให้ช่วยบริษัท ในการชี้ประเด็นต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งมีผลต่อผู้เดินทางเพื่อธุรกิจที่ระยะเวลาการเดินทางได้ขยายออกไป ซึ่งรวมถึง: ภาระภาษีเงินได้ ภาระหน้าที่ต่างๆ ในการรายงาน และการหัก ณ ที่จ่ายของบริษัท ข้อพิจารณาต่างๆ ทางด้านภาษีนิติบุคคล เช่น ก่อให้เกิดสถานประกอบการถาวรหรือไม่ ภาระหน้าที่ต่างๆ ทางด้านประกันสังคม ข้อกำหนดต่างๆ ในการเข้าเมือง - ข้อกำหนดต่างๆ เรื่องใบอนุญาตทำงาน และวีซ่า ค่าใช้จ่ายสำหรับลูกจ้างที่ไม่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ ในบางประเทศอาจรวมถึงการจ่ายสมทบโดยนายจ้างให้แก่กองทุนบำนาญของประทศต่างๆ ในต่างประเทศด้วย การจัดระบบการบันทึกเวลาที่บุคคลต่างๆ ใช้ไปในแต่ละประเทศ คุณเบญจมาศ ฯ กล่าวว่า “เอกสารเผยแพร่นี้ จะช่วยบริษัท ในการพัฒนาวิธีการเหมาะสม เฉพาะสำหรับแต่ละบริษัท” ประวัติการทำงาน คุณเบญจมาศมีประสบการณ์ และความชำนาญในการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายภาษีอากรมากว่า 20 ปี ซึ่งครอบคลุมถึงการให้บริการ ในการจัดทำแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีอากร การให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับภาระภาษีในการเสียภาษีของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลของบริษัทไทยและบริษัทข้ามชาติ ประสบการณ์งานที่รับผิดชอบครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับรายการระหว่างประเทศ (cross border transaction) คำแนะนำเรื่องหลักการภาษีซ้อน (Double Taxation Agreement) การตรวจสอบภาษีและการให้คำแนะนำแนวทางแก้ไขข้อผิดพลาด รวมถึงการให้คำปรึกษาในเรื่องราคาโอน ( Transfer pricing ) การบริการรวมถึงการเป็นตัวแทนลูกค้าเมื่อถูกตรวจสอบภาษีโดยเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรและการขอข้อหารือ ประวัติการศึกษา: ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาบัญชี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประสบการณ์การในประเภทธุรกิจ:คุณเบญจมาศให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า ในหลายธุรกิจ ทั้งธุรกิจการผลิต ธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจการบริการ การก่อสร้าง การขนส่ง การเงิน การธนาคาร หมายเหตุ ถึงบรรณาธิการ การศึกษาล่าสุด เกี่ยวกับแนวโน้มของการเดินทางเกี่ยวกับธุรกิจนี้ ได้ถูกจัดทำขึ้นโดย กลุ่มงานบริการผู้บริหารต่างชาติ (ไออีเอส) ของ เคพีเอ็มจี เมื่อปลายปีก่อน การสำรวจเกี่ยวกับการมอบหมายหน้าที่การทำงานในระยะสั้น และผู้เดินทางเพื่อธุรกิจที่ระยะเวลาการเดินทางได้ขยายออกไป ได้รวบรวมคำตอบจากบริษัทต่างๆ ไว้ถึง 183 บริษัท ซึ่งครอบคลุมการธุรกิจต่างๆ ในด้านเทคโนโลยี, ด้านอุตสาหกรรม และด้านการเงิน ผลการสำรวจดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่า: ร้อยละ 93 ของบริษัทต่างๆ ได้ทำการขยายระยะเวลาของผู้เดินทางเพื่อธุรกิจออกไป; สำหรับบรรดาบริษัทที่มิได้มีการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม นั้น ร้อยละ 22 ของผู้ตอบการสำรวจ ระบุว่ามักจะพบว่ามีการขยายระยะเวลาของผู้เดินทางเพื่อธุรกิจออกไป เมื่อการเดินทางที่เกี่ยวกับธุรกิจดังกล่าวได้กลายเป็นการมอบหมายหน้าที่การทำงานอย่างเป็นทางการไปแล้ว หรือเมื่อผู้เดินทางเพื่อธุรกิจเรียกร้องเงิน หรือบริการต่างๆ เพิ่มมากขึ้น; ร้อยละ 87 ของบริษัทต่างๆ “ค่อนข้างรู้สึกกังวล” หรือ “รู้สึกกังวลอย่างมาก” ที่ผู้เดินทางเพื่อธุรกิจเหล่านั้นทำให้บริษัทมีความเสี่ยงในด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย สำหรับสำเนาของสิ่งตีพิมพ์เผยแพร่ดังกล่าว โปรดเข้าไปที่ www.kpmg.co.th เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายทั่วโลก ของบริษัทต่างๆ ที่เป็นมืออาชีพ ซึ่งให้บริการต่างๆ ทางด้านการตรวจสอบบัญชี, ภาษี และการให้คำปรึกษา บริษัทต่างๆ ที่เป็นสมาชิกอิสระของเครือข่าย เคพีเอ็มจี เป็นบริษัทสมาชิกของ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นบริษัทของสวิตเซอร์แลนด์ เคพีเอ็มจี แต่ละบริษัท เป็นองค์กร ที่แตกต่าง และแยกออกจากกันทางด้านกฎหมาย และเรียกชื่อบริษัทแตกต่างกันไปดังกล่าว เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เคพีเอ็มจี ในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายทั่วโลกของบริษัทต่างๆ ที่ให้บริการอย่างมืออาชีพ ทางด้านการตรวจสอบบัญชี, ภาษี และการให้คำปรึกษา บริษัทต่างๆ ที่เป็นสมาชิกอิสระของเครือข่าย เคพีเอ็มจี ประกอบธุรกิจอยู่ใน 145 ประเทศ และมีผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 123,000 คน ทั่วโลก ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ: จันทนา จัตุรงค์ธาริณี / วรางคณา พวงศิริ สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ โทร: 02-653 2717, 086-558 7918, 086-604 6070 อีเมล์: [email protected]; [email protected]

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ