ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๓๖)

ข่าวกฏหมายและประกาศ Thursday January 31, 2013 15:44 —ข้อบังคับและประกาศภาษีสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๓๖)

เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้

สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ

ของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ ๒ (๖๑) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙)

ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

อาศัยอำนาจตามความในวรรคสามของข้อ ๒ (๖๑) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ ๒๗๙ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์และวีธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกักันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีมีเงินได้ ดังต่ต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๒ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๑๙๔) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกักันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีมีเงินได้ ตามวรรคสามของข้อ ๒ (๖๑) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวัวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน

"(๓) กรณีสามีภริริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้

(ก)ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในปีปีภาษีที่ล่วงมาตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าทีที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกักันชีวิต แบบบำนาญเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ ๑๕ ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

กรณีสามีหรือภริยาซึซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้ด้วยกองทุนบํบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือ จ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้ด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาทในปีภาษีเดียวกัน

(ข)ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินเฉพาะ ส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของ อีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ ๑๕ ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือ จ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาทในปีภาษีเดียวกัน

(ค)ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็น เบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ ๑๕ ของเงินได้ พึงประเมิน แต่ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็น เบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญในส่วนของสามีหรือภริยาเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ ๑๕ ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน๕๐๐,๐๐๐ บาท ในปีภาษีเดียวกัน

ทั้งนี้ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีตาม (ก) (ข) และ (ค) ต้องไม่เกิน เงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว"

ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บับสำหรับเงินได้พึงประเมินปีภาษี 2555 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

(นายสาธิต รังคสิริ)

อธิบดีกรมสรรพากร


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ