ภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือเดือนมิถุนายน 2548 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยทางด้านอุปสงค์ กิจกรรมการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการส่งออกชะลอลงจากเดือนก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้น ทางด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากราคาพืชผลที่เพิ่มขึ้นไม่มาก ขณะที่ผลผลิตลดลงมากจากภัยแล้ง การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงโดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออก ขณะที่ภาคบริการปรับตัว ดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวตามราคาน้ำมันเป็นสำคัญ ด้านเงินฝากชะลอลง ขณะที่สินเชื่อยังขยายตัวดี
สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 เศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากได้รับผลกระทบ จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ภาวะภัยแล้ง เหตุการณ์ธรณีพิบัติในภาคใต้ด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค การลงทุนของภาคเอกชน รวมทั้งการส่งออกชะลอตัวลง ขณะที่แรงกดดันต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจชัดเจนขึ้น อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 เร่งตัวสูงขึ้นจากปลายปีก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากผลของการปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเป็นสำคัญ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2548 และครึ่งแรกปี 2548 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร
ผลผลิตพืชหลักในเดือนนี้ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 ตามผลผลิตข้าวนาปรังและลิ้นจี่ที่ลดลงร้อยละ 21.1 และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ จากภาวะภัยแล้ง ส่วนหอมแดงลดลงร้อยละ 4.1 เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจ เกษตรกรจึงหันไปปลูกพืชอื่นทดแทน ด้านราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นไม่มากเพียงร้อยละ 6.1 โดยราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนราคาลิ้นจี่สูงขึ้นจากผลผลิตที่ลดลงและการกระจายผลผลิตที่ดี ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยลดลงร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับครึ่งแรกปี 2548 ผลผลิตพืชหลักลดลงมากจากปัญหาภัยแล้ง โดยลดลงร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ผลผลิตพืชหลักได้แก่ ข้าว อ้อยและมันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 21.1 ร้อยละ 18.5 และร้อยละ 20.9 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ราคาพืชผลหลักเฉลี่ยสูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 15.2 ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังที่สูงขึ้นจากราคาในตลาดโลกที่อยู่ในเกณฑ์สูงและผลของมาตรการภาครัฐ ราคาอ้อยโรงงานที่เพิ่มขึ้นจากผลผลิตอ้อยที่ลดลงและตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก สำหรับมันสำปะหลังสดคละมีราคาเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเนื่องจากความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อส่งออก ทำให้รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 เหลือ 138.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทำให้มีการผลิตสินค้าบางชนิดลดลง เช่น หลอดภาพที่ใช้กับโทรทัศน์จอโค้ง เป็นต้น และการผลิตสังกะสีลดลงร้อยละ 18.1 เหลือ 9,446 เมตริกตัน อย่างไรก็ดี ผลผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 30.4
สำหรับครึ่งแรกปี 2548 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมภาคเหนือชะลอตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน มูลค่าการผลิตและส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.6 เทียบกับร้อยละ 35.6 ระยะเดียวกันปีก่อน เป็น 826.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวในไตรมาส 1/2548 รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต สินค้าสำคัญที่ผลิตลดลง อาทิ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา และสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้น อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ผลผลิตน้ำตาลในภาคเหนือลดลงร้อยละ 27.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน เหลือ 1,138.7 พันเมตริกตัน เนื่องจากปริมาณอ้อยเข้าโรงงานลดลง และการผลิตสังกะสีในช่วง 5 เดือนแรกลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.7 เป็น 42,207 เมตริกตัน ตามจำนวนการส่งมอบที่กำหนดในสัญญาขายล่วงหน้า
3. ภาคบริการ
เดือนนี้ภาคบริการชะลอตัวลงจากนักท่องเที่ยวชาวไทยระมัดระวังการใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ลดการเดินทาง ประกอบกับการจัดประชุมสัมมนาในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ด้านนักท่องเที่ยวต่างประเทศบางกลุ่มยังขาดความเชื่อมั่นจากข่าวแผ่นดินไหวและสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญได้แก่ อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 เหลือเพียงร้อยละ 38.4 ส่วนราคา ห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมอยู่ที่ 830.6 บาทต่อห้อง ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารสูงกว่าปีก่อนร้อยละ 14.5
สำหรับครึ่งแรกปี 2548 ภาวะท่องเที่ยวชะลอลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แม้ว่าได้รับประโยชน์จากนักท่องเที่ยวบางส่วนที่เปลี่ยนแผนเดินทางท่องเที่ยวภาคเหนือแทนภาคใต้ อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบางกลุ่มยังกังวลเกี่ยวกับเหตุธรณีพิบัติภัยเมื่อปลายปีก่อนและข่าวแผ่นดินไหว สถานการณ์ความไม่สงบและการวางระเบิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะที่นักท่องเที่ยวในประเทศลดการเดินทางเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ประกอบกับกิจกรรมการประชุมสัมมนาในภาคเหนือลดลง ส่งผลให้อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.1 เหลือเพียงร้อยละ 51.9 ส่วนราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เป็นราคา 964.0 บาทต่อห้อง เป็นผลจากการปรับปรุงห้องพักในช่วงก่อนหน้า ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 เนื่องจากความนิยมเดินทางทางอากาศเพิ่มขึ้นตามแรงจูงใจด้านราคาของสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline)
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามความระมัดระวังการใช้จ่ายของผู้บริโภค กิจกรรมที่สำคัญได้แก่ ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 และระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 โดยชะลอลงทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ สำหรับปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 4.6 โดยลดลงมากในภาคเหนือตอนล่าง และปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทค้าส่งค้าปลีกฯลดลงร้อยละ 9.5
สำหรับครึ่งแรกปี 2548 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคชะลอลงจากครึ่งหลังปีก่อน เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น สะท้อนจากกิจกรรมที่สำคัญได้แก่ ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทค้าส่งค้าปลีกฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 ของช่วงเดียวกันปีก่อน ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์และปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 และร้อยละ 2.0 ชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
5. การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนเพื่อการก่อสร้างยังคงขยายตัว อย่างไรก็ดีพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 0.2 ตามการชะลอตัวของการก่อสร้างประเภทอาคารพาณิชย์ หอพัก และโรงแรม สำหรับสัญญาณการลงทุนเพื่อการผลิตปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน สะท้อนจากโครงการที่ได้รับอนุมัติจากศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคเหนือ (BOI) ในเดือนนี้ จำนวน 4 แห่ง มูลค่าเงินลงทุน 1,087.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 97.7 โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับครึ่งแรก ปี 2548 กิจกรรมการลงทุนขยายตัว ตามการลงทุนเพื่อการก่อสร้างที่เร่งตัวในช่วงไตรมาสแรกโดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตเทศบาล เพราะคาดว่าต้นทุนช่วงต่อไปจะเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน ส่วนปริมาณพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลขยายตัวร้อยละ 4.4 ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวต่อเนื่องในอัตราที่ชะลอลง สำหรับความสนใจลงทุนเพื่อการผลิตอยู่ในเกณฑ์ลดลง จากมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.7 และมูลค่าโครงการที่ได้รับอนุมัติจาก BOI ลดลงร้อยละ 52.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
6. การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.8 เป็น 199.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากเดือนก่อน การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.9 เป็น 20.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องจักรและเครื่องจักรกล การส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 เป็น 40.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกไปพม่า ลาว และจีนตอนใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ร้อยละ 69.0 และร้อยละ 43.5 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงร้อยละ 3.2 เป็น 138.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยลดลงจากเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา และทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ เป็นสำคัญ
การนำเข้า เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.1 เป็น 132.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 เป็น 122.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรและเครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชนิดอื่น เป็นสำคัญ การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.6 เป็น 2.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เป็น 7.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าจากลาวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 เป็น 1.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าไม้แปรรูปและลิกไนต์ และการนำเข้าสินค้าจากจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เป็น 3.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากพืช ขณะที่การนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 6.0 เหลือ 3.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ดุลการค้า เกินดุล 67.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.9
สำหรับครึ่งแรกปี 2548 การส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 จากระยะเดียวกันเดียวกันปีก่อน เป็น 1,199.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ชะลอตัวลงจากครึ่งหลังปีก่อน โดยการส่งออกสินค้าผ่านด่านศุลกากรนิคมฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เป็น 826.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกเพิ่มขึ้นของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทสื่อบันทึก การส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 เป็น 84.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.6 เป็น 289.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกไปพม่าสูงขึ้นร้อยละ 33.2 เป็น 229.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. และการส่งออกไปลาวที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว เป็น 15.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงหลังจากการปรับราคาสูงขึ้น การส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 44.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกยางแผ่น ยางแท่ง และผลิตภัณฑ์ยาง
การนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เป็น 728.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าผ่านด่านศุลกากรนิคมฯ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เป็น 678.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องจักรและเครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิน การนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0 เป็น 11.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน การนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เป็น 38.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าจากพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เป็น 21.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้า โค-กระบือ ผลิตภัณฑ์พืชสวน และสินค้าประมง การนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 เป็น 7.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าลิกไนต์และไม้แปรรูป และการนำเข้าสินค้าจากจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เป็น 9.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์พืชสวน ไม้แปรรูป และสิ่งทอเพิ่มขึ้น
ดุลการค้า เกินดุล 471.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 379.1 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ จากการเร่งตัวของราคาหมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ สำหรับราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 เร่งตัวเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.1 ระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับครึ่งแรกปี 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เร่งตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยในช่วงไตรมาสแรกราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นตามราคาเนื้อสุกร ปลา สัตว์น้ำ และไข่ เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจด้านความปลอดภัยในการบริโภคมากขึ้น รวมทั้งจากผักสดที่มีราคาเพิ่มขึ้นจากปริมาณที่ออกสู่ตลาดลดลง นอกจากนี้ ราคาได้ปรับเพิ่มขึ้นอีกตามแรงกดดันของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 และหมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
8. การจ้างงาน
จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนพฤษภาคม 2548 มีกำลังแรงงานในภาคเหนือ 6.6 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.2 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 98.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน การจ้างงานภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 4.0 เนื่องจากพื้นที่ทำการเกษตรประสบปัญหาภัยแล้ง อย่างไรก็ตาม นอกภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.2 ตามการขยายตัวของการจ้างงานในสาขาโรงแรมและภัตตาคาร และสาขาการผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ ด้านอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 3.2 เหลือร้อยละ 2.9 ปีนี้
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ในเดือนมิถุนายน 2548 มีจำนวน 555,357 คน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 4.5 และร้อยละ 1.2 ตามลำดับ
9. การเงิน
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดคงค้างเงินฝากทั้งสิ้น 303,506 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.2 เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังขยายตัวร้อยละ 3.1 เนื่องจากการโอนเงินของส่วนราชการเป็นสำคัญ ประกอบกับการโอนเงินเพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับที่ดินและเงินโอนของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 228,618 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 เร่งตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังขยายตัวร้อยละ 9.3 เนื่องจากการโอนบัญชีสินเชื่อจากการควบรวมกิจการสถาบันการเงิน รวมทั้งความต้องการใช้เงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ สัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 75.3 สูงกว่าร้อยละ 70.5 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ--
สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 เศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากได้รับผลกระทบ จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ภาวะภัยแล้ง เหตุการณ์ธรณีพิบัติในภาคใต้ด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค การลงทุนของภาคเอกชน รวมทั้งการส่งออกชะลอตัวลง ขณะที่แรงกดดันต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจชัดเจนขึ้น อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 เร่งตัวสูงขึ้นจากปลายปีก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากผลของการปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเป็นสำคัญ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2548 และครึ่งแรกปี 2548 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร
ผลผลิตพืชหลักในเดือนนี้ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 ตามผลผลิตข้าวนาปรังและลิ้นจี่ที่ลดลงร้อยละ 21.1 และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ จากภาวะภัยแล้ง ส่วนหอมแดงลดลงร้อยละ 4.1 เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจ เกษตรกรจึงหันไปปลูกพืชอื่นทดแทน ด้านราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นไม่มากเพียงร้อยละ 6.1 โดยราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนราคาลิ้นจี่สูงขึ้นจากผลผลิตที่ลดลงและการกระจายผลผลิตที่ดี ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยลดลงร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับครึ่งแรกปี 2548 ผลผลิตพืชหลักลดลงมากจากปัญหาภัยแล้ง โดยลดลงร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ผลผลิตพืชหลักได้แก่ ข้าว อ้อยและมันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 21.1 ร้อยละ 18.5 และร้อยละ 20.9 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ราคาพืชผลหลักเฉลี่ยสูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 15.2 ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังที่สูงขึ้นจากราคาในตลาดโลกที่อยู่ในเกณฑ์สูงและผลของมาตรการภาครัฐ ราคาอ้อยโรงงานที่เพิ่มขึ้นจากผลผลิตอ้อยที่ลดลงและตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก สำหรับมันสำปะหลังสดคละมีราคาเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเนื่องจากความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อส่งออก ทำให้รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 เหลือ 138.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทำให้มีการผลิตสินค้าบางชนิดลดลง เช่น หลอดภาพที่ใช้กับโทรทัศน์จอโค้ง เป็นต้น และการผลิตสังกะสีลดลงร้อยละ 18.1 เหลือ 9,446 เมตริกตัน อย่างไรก็ดี ผลผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 30.4
สำหรับครึ่งแรกปี 2548 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมภาคเหนือชะลอตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน มูลค่าการผลิตและส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.6 เทียบกับร้อยละ 35.6 ระยะเดียวกันปีก่อน เป็น 826.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวในไตรมาส 1/2548 รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต สินค้าสำคัญที่ผลิตลดลง อาทิ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา และสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้น อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ผลผลิตน้ำตาลในภาคเหนือลดลงร้อยละ 27.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน เหลือ 1,138.7 พันเมตริกตัน เนื่องจากปริมาณอ้อยเข้าโรงงานลดลง และการผลิตสังกะสีในช่วง 5 เดือนแรกลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.7 เป็น 42,207 เมตริกตัน ตามจำนวนการส่งมอบที่กำหนดในสัญญาขายล่วงหน้า
3. ภาคบริการ
เดือนนี้ภาคบริการชะลอตัวลงจากนักท่องเที่ยวชาวไทยระมัดระวังการใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ลดการเดินทาง ประกอบกับการจัดประชุมสัมมนาในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ด้านนักท่องเที่ยวต่างประเทศบางกลุ่มยังขาดความเชื่อมั่นจากข่าวแผ่นดินไหวและสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญได้แก่ อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 เหลือเพียงร้อยละ 38.4 ส่วนราคา ห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมอยู่ที่ 830.6 บาทต่อห้อง ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารสูงกว่าปีก่อนร้อยละ 14.5
สำหรับครึ่งแรกปี 2548 ภาวะท่องเที่ยวชะลอลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แม้ว่าได้รับประโยชน์จากนักท่องเที่ยวบางส่วนที่เปลี่ยนแผนเดินทางท่องเที่ยวภาคเหนือแทนภาคใต้ อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบางกลุ่มยังกังวลเกี่ยวกับเหตุธรณีพิบัติภัยเมื่อปลายปีก่อนและข่าวแผ่นดินไหว สถานการณ์ความไม่สงบและการวางระเบิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะที่นักท่องเที่ยวในประเทศลดการเดินทางเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ประกอบกับกิจกรรมการประชุมสัมมนาในภาคเหนือลดลง ส่งผลให้อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.1 เหลือเพียงร้อยละ 51.9 ส่วนราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เป็นราคา 964.0 บาทต่อห้อง เป็นผลจากการปรับปรุงห้องพักในช่วงก่อนหน้า ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 เนื่องจากความนิยมเดินทางทางอากาศเพิ่มขึ้นตามแรงจูงใจด้านราคาของสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline)
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามความระมัดระวังการใช้จ่ายของผู้บริโภค กิจกรรมที่สำคัญได้แก่ ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 และระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 โดยชะลอลงทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ สำหรับปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 4.6 โดยลดลงมากในภาคเหนือตอนล่าง และปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทค้าส่งค้าปลีกฯลดลงร้อยละ 9.5
สำหรับครึ่งแรกปี 2548 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคชะลอลงจากครึ่งหลังปีก่อน เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น สะท้อนจากกิจกรรมที่สำคัญได้แก่ ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทค้าส่งค้าปลีกฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 ของช่วงเดียวกันปีก่อน ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์และปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 และร้อยละ 2.0 ชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
5. การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนเพื่อการก่อสร้างยังคงขยายตัว อย่างไรก็ดีพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 0.2 ตามการชะลอตัวของการก่อสร้างประเภทอาคารพาณิชย์ หอพัก และโรงแรม สำหรับสัญญาณการลงทุนเพื่อการผลิตปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน สะท้อนจากโครงการที่ได้รับอนุมัติจากศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคเหนือ (BOI) ในเดือนนี้ จำนวน 4 แห่ง มูลค่าเงินลงทุน 1,087.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 97.7 โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับครึ่งแรก ปี 2548 กิจกรรมการลงทุนขยายตัว ตามการลงทุนเพื่อการก่อสร้างที่เร่งตัวในช่วงไตรมาสแรกโดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตเทศบาล เพราะคาดว่าต้นทุนช่วงต่อไปจะเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน ส่วนปริมาณพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลขยายตัวร้อยละ 4.4 ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวต่อเนื่องในอัตราที่ชะลอลง สำหรับความสนใจลงทุนเพื่อการผลิตอยู่ในเกณฑ์ลดลง จากมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.7 และมูลค่าโครงการที่ได้รับอนุมัติจาก BOI ลดลงร้อยละ 52.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
6. การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.8 เป็น 199.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากเดือนก่อน การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.9 เป็น 20.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องจักรและเครื่องจักรกล การส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 เป็น 40.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกไปพม่า ลาว และจีนตอนใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ร้อยละ 69.0 และร้อยละ 43.5 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงร้อยละ 3.2 เป็น 138.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยลดลงจากเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา และทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ เป็นสำคัญ
การนำเข้า เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.1 เป็น 132.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 เป็น 122.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรและเครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชนิดอื่น เป็นสำคัญ การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.6 เป็น 2.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เป็น 7.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าจากลาวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 เป็น 1.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าไม้แปรรูปและลิกไนต์ และการนำเข้าสินค้าจากจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เป็น 3.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากพืช ขณะที่การนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 6.0 เหลือ 3.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ดุลการค้า เกินดุล 67.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.9
สำหรับครึ่งแรกปี 2548 การส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 จากระยะเดียวกันเดียวกันปีก่อน เป็น 1,199.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ชะลอตัวลงจากครึ่งหลังปีก่อน โดยการส่งออกสินค้าผ่านด่านศุลกากรนิคมฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เป็น 826.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกเพิ่มขึ้นของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทสื่อบันทึก การส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 เป็น 84.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.6 เป็น 289.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกไปพม่าสูงขึ้นร้อยละ 33.2 เป็น 229.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. และการส่งออกไปลาวที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว เป็น 15.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงหลังจากการปรับราคาสูงขึ้น การส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 44.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกยางแผ่น ยางแท่ง และผลิตภัณฑ์ยาง
การนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เป็น 728.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าผ่านด่านศุลกากรนิคมฯ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เป็น 678.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องจักรและเครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิน การนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0 เป็น 11.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน การนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เป็น 38.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าจากพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เป็น 21.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้า โค-กระบือ ผลิตภัณฑ์พืชสวน และสินค้าประมง การนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 เป็น 7.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าลิกไนต์และไม้แปรรูป และการนำเข้าสินค้าจากจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เป็น 9.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์พืชสวน ไม้แปรรูป และสิ่งทอเพิ่มขึ้น
ดุลการค้า เกินดุล 471.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 379.1 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ จากการเร่งตัวของราคาหมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ สำหรับราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 เร่งตัวเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.1 ระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับครึ่งแรกปี 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เร่งตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยในช่วงไตรมาสแรกราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นตามราคาเนื้อสุกร ปลา สัตว์น้ำ และไข่ เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจด้านความปลอดภัยในการบริโภคมากขึ้น รวมทั้งจากผักสดที่มีราคาเพิ่มขึ้นจากปริมาณที่ออกสู่ตลาดลดลง นอกจากนี้ ราคาได้ปรับเพิ่มขึ้นอีกตามแรงกดดันของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 และหมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
8. การจ้างงาน
จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนพฤษภาคม 2548 มีกำลังแรงงานในภาคเหนือ 6.6 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.2 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 98.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน การจ้างงานภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 4.0 เนื่องจากพื้นที่ทำการเกษตรประสบปัญหาภัยแล้ง อย่างไรก็ตาม นอกภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.2 ตามการขยายตัวของการจ้างงานในสาขาโรงแรมและภัตตาคาร และสาขาการผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ ด้านอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 3.2 เหลือร้อยละ 2.9 ปีนี้
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ในเดือนมิถุนายน 2548 มีจำนวน 555,357 คน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 4.5 และร้อยละ 1.2 ตามลำดับ
9. การเงิน
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดคงค้างเงินฝากทั้งสิ้น 303,506 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.2 เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังขยายตัวร้อยละ 3.1 เนื่องจากการโอนเงินของส่วนราชการเป็นสำคัญ ประกอบกับการโอนเงินเพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับที่ดินและเงินโอนของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 228,618 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 เร่งตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังขยายตัวร้อยละ 9.3 เนื่องจากการโอนบัญชีสินเชื่อจากการควบรวมกิจการสถาบันการเงิน รวมทั้งความต้องการใช้เงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ สัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 75.3 สูงกว่าร้อยละ 70.5 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ--