1. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาผู้ว่าการธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asian Central Banks: SEACEN) ครั้งที่ 42 และการประชุมสภาผู้ว่าการ SEACEN ครั้งที่ 26 ระหว่างวันที่ 28 - 29 กรกฎาคม 2550 ที่กรุงเทพฯ โดยมีดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง เปิดการสัมมนาอย่างเป็นทางการ และดร. ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธานการสัมมนาและการประชุม สำหรับผู้เข้าร่วมการสัมมนาประกอบด้วย ผู้ว่าการธนาคารกลางสมาชิก SEACEN จำนวน 16 แห่ง และผู้ว่าการธนาคารกลางที่เป็นผู้สังเกตการณ์ของ SEACEN อีก 2 แห่ง (2) รวมทั้งกรรมการจัดการและกรรมการบริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศ รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ และกรรมการบริหารศูนย์วิจัยและฝึกอบรม SEACEN สำหรับหัวข้อการสัมมนาในปีนี้เป็นเรื่อง "Living with Volatilities: Managing Exchange Rates and Capital Flows in SEACEN Economies"
2. ในระหว่างการเปิดการสัมมนา ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ได้กล่าวถึงประเด็นและความ ท้าทายต่างๆ ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ รวมทั้งความสำคัญของความร่วมมือในระดับภูมิภาคและการพัฒนาตลาดการเงิน และเห็นว่าการสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นโอกาสดีที่ ผู้กำหนดนโยบายจะได้แลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการป้องกันหรือรองรับผลกระทบจากความเสี่ยงเหล่านี้
3. ในระหว่างการสัมมนา ผู้ว่าการธนาคารกลางประเทศสมาชิกตระหนักว่า แม้กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศจะให้ประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้มีความเสี่ยงจากกระแสโลกาภิวัฒน์เพิ่มขึ้นจากการเชื่อมโยงของตลาดการเงินที่สูงขึ้น อีกทั้งผลที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับตัวอย่างฉับพลันของภาวะความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก และการไหลออกของการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) รวมถึงการปรับตัวของธุรกรรมการเงินที่เกิดจากการเก็งกำไรในส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศ (carry trade activities)
4. ผู้ว่าการประเทศสมาชิกเห็นพ้องกันว่า การจะบริหารความเสี่ยงเหล่านี้ได้จะต้องเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและการเงินในระดับประเทศ พร้อมร่วมกันเสริมสร้างการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคเพิ่มขึ้น และที่สำคัญยิ่งคือ ควรมีการผสมผสานแนวนโยบายการเงินและมาตรการการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถรองรับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจและการเงินโลก และผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้ ทั้งนี้ มาตรการที่แต่ละธนาคารกลางนำออกใช้อาจแตกต่างไปเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับโครงสร้างและภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
5. ผู้ว่าการรับทราบความพยายามของกองทุนการเงินฯ ในการปรับเปลี่ยนบทบาทให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศสมาชิกที่เป็นตลาดเกิดใหม่ ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ทางการเงิน และเห็นว่า กองทุนการเงินฯ ควรดำเนินการปฏิรูปธรรมาภิบาลในกองทุนการเงินฯ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มบทบาทของประเทศสมาชิกที่เป็นตลาดเกิดใหม่ในกองทุนการเงินฯ
6. ผู้ว่าการเห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องต่อไป ในปี 2550 และ 2551 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างมากของประเทศตลาดเกิดใหม่ อย่างไรก็ตาม การเติบโตดังกล่าวยังคงมีปัจจัยเสี่ยง ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ชะลอตัวจากการหดตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งมีแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อจากด้านอุปทานและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และตลาดการเงินที่มีความผันผวนเพิ่มขึ้น
7. ผู้ว่าการประเทศสมาชิกได้แสดงความขอบคุณต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในการอำนวย ความสะดวก และให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นในระหว่างการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาผู้ว่าการ SEACEN ในปีนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม : พรวิภา ตั้งเจริญมั่นคงโทร. 0 2283 5124 E-mail: [email protected]
(1) คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ
(2) สมาชิก SEACEN ประกอบด้วย กระทรวงการคลังบรูไน และธนาคารกลางกัมพูชา ฟิจิ อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย มองโกเลีย พม่า เนปาล ปาปัวนิวกีนี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม ในขณะที่ผู้สังเกตการณ์ของ SEACEN ประกอบด้วย ธนาคารกลางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และตองกา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
2. ในระหว่างการเปิดการสัมมนา ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ได้กล่าวถึงประเด็นและความ ท้าทายต่างๆ ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ รวมทั้งความสำคัญของความร่วมมือในระดับภูมิภาคและการพัฒนาตลาดการเงิน และเห็นว่าการสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นโอกาสดีที่ ผู้กำหนดนโยบายจะได้แลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการป้องกันหรือรองรับผลกระทบจากความเสี่ยงเหล่านี้
3. ในระหว่างการสัมมนา ผู้ว่าการธนาคารกลางประเทศสมาชิกตระหนักว่า แม้กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศจะให้ประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้มีความเสี่ยงจากกระแสโลกาภิวัฒน์เพิ่มขึ้นจากการเชื่อมโยงของตลาดการเงินที่สูงขึ้น อีกทั้งผลที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับตัวอย่างฉับพลันของภาวะความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก และการไหลออกของการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) รวมถึงการปรับตัวของธุรกรรมการเงินที่เกิดจากการเก็งกำไรในส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศ (carry trade activities)
4. ผู้ว่าการประเทศสมาชิกเห็นพ้องกันว่า การจะบริหารความเสี่ยงเหล่านี้ได้จะต้องเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและการเงินในระดับประเทศ พร้อมร่วมกันเสริมสร้างการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคเพิ่มขึ้น และที่สำคัญยิ่งคือ ควรมีการผสมผสานแนวนโยบายการเงินและมาตรการการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถรองรับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจและการเงินโลก และผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้ ทั้งนี้ มาตรการที่แต่ละธนาคารกลางนำออกใช้อาจแตกต่างไปเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับโครงสร้างและภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
5. ผู้ว่าการรับทราบความพยายามของกองทุนการเงินฯ ในการปรับเปลี่ยนบทบาทให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศสมาชิกที่เป็นตลาดเกิดใหม่ ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ทางการเงิน และเห็นว่า กองทุนการเงินฯ ควรดำเนินการปฏิรูปธรรมาภิบาลในกองทุนการเงินฯ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มบทบาทของประเทศสมาชิกที่เป็นตลาดเกิดใหม่ในกองทุนการเงินฯ
6. ผู้ว่าการเห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องต่อไป ในปี 2550 และ 2551 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างมากของประเทศตลาดเกิดใหม่ อย่างไรก็ตาม การเติบโตดังกล่าวยังคงมีปัจจัยเสี่ยง ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ชะลอตัวจากการหดตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งมีแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อจากด้านอุปทานและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และตลาดการเงินที่มีความผันผวนเพิ่มขึ้น
7. ผู้ว่าการประเทศสมาชิกได้แสดงความขอบคุณต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในการอำนวย ความสะดวก และให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นในระหว่างการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาผู้ว่าการ SEACEN ในปีนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม : พรวิภา ตั้งเจริญมั่นคงโทร. 0 2283 5124 E-mail: [email protected]
(1) คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ
(2) สมาชิก SEACEN ประกอบด้วย กระทรวงการคลังบรูไน และธนาคารกลางกัมพูชา ฟิจิ อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย มองโกเลีย พม่า เนปาล ปาปัวนิวกีนี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม ในขณะที่ผู้สังเกตการณ์ของ SEACEN ประกอบด้วย ธนาคารกลางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และตองกา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--