การจัดการ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 27, 2004 14:26 —กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

                                หลักการบริหารงาน (อาชีพ)
และ
การบริหารชีวิต
มรรคมีองค์ 8
1. การทำงานชอบ ศีล
2. การเลี้ยงชีพชอบ การนำความคิด ความชั่ว
3. การจรจาชอบ ออกจากกาย วาจาและใจ
4. เพียร สมาธิ
5. ระลึกชอ ฝึก ควบคุม กลั่นกรอง
6. ตั้งใจชอบ อารามณ์ของจิตใจ
ผ่องใสอยู่เสมอ
7. ความคิดชอบ ปัญญา
8. ความเห็นชอบ ฝึกอดกลั่นต่อความ
ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
รู้เท่าทันกับเหตุการณ์
หรือปัญหาที่เกิดขึ้น
หลักศาสนาพุทธ
|
สอนให้มนุษย์คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
|
เกิดจากปัญญา
|
การเรียนรู้และปฏิบัติ
สุ (โสต) ศึกษาด้วยการอ่าน การดู การฟัง การชิม การสูดดม
จิ (จินตนาการ) นำมาพิจารณาใคร่ครวญ สู่กระบวนความคิดว่าอะไรจริง อะไร
เท็จด้วยเหตุและผล
ปุ (ปุจฉา) สอบถามบัณฑิตหรือปราชญ์ ผู้รู้ให้กระจ่างซึ่งความจริง
ลิ (ลิขิต) การจดบันทึก ข้อเท็จจริง ความรู้ นำมาปฏิบัติให้กระจ่างด้วย
ตนเอง(ปัญญา)
"ทำทันที อย่าดีแต่พูด"
หลักของธรรมะ
ทำความดี
ละเว้นความชั่ว
ทำจิตใจให้ผ่องใส
พุทธโอวาทสุดท้ายก่อนนิพพาน
"มนุษย์ไม่ควรดำเนินชีวิตอยู่ในความประมาท"
...โดย...
"วางปรัชญาแห่งการดำรงชีวิตไว้ 8 ข้อ"
3 ข้อแรก คือ ให้รู้จักรักษาและปฏิบัติ "ศีล" เพื่อนำความผิดความชั่วออกจาก กาย วาจา ใจ
1. งานชอบ การเป็นมนุษย์ต้องรู้จักทำงานให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินใช้สอยในครอบครัวที่
ถูกต้อง
2. เลี้ยงชีพชอบ รู้จักวิธีการบริหารการเงิน อย่างมีเหตุผลในการรักษาทรัพย์และจ่ายทรัพย์
ที่หามาได้
3. เจรจาชอบ รู้จัก เจรจา พาที ในสิ่งที่ควร ตามกาละเทศ และเวลา สถานที่
อย่างถูกต้อง
3 ข้อต่อมา คือ ให้รู้จักกลั่นกรองอารมณ์ให้ผ่องใส สมาธิ "เพื่อควบคุมอารมณ์ในการทำงานอย่างถูกต้อง
4. เพียรชอบ ต้องเพียรพยายามดำเนินการในการทำงานในการรักษา ทรัพย์-จ่ายทรัพย์และการเจรจาดังกล่าวข้างต้น (พยายามรักษา+ปฏิบัติศีล) ตามสติ กำลังของแต่ละบุคคลให้ได้มากและดีที่สุด
5. ระลึกชอบ ต้องมีสติ (ความทรงจำ)ในสิ่งที่ถูกที่ดี ที่เป็นกุศล เพื่อต่อสู้กับกิเลส ด้วยความไม่ประมาท
ทางกาย 1. ไม่ฆ่าสัตย์
2. ไม่ลักทรัพย์
3. ไม่ประพฤติผิดในกามารมณ์
ทางวาจา 4. ไม่พูดปด
5. ไม่พูดคำหยาบ
6. ไม่พูดส่อเสียด
7. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
ทางใจ 8. ไม่โลภ
9. ไม่โกรธ
10.ไม่หลง
6. ตั้งใจชอบ มีสัมปรัญญะ = รู้สึกตัวในการกระทำธุรกิจหรือดำเนินชีวิตอย่าง
ไม่มี อคติ 4 = ไม่โลภ
= ไม่โกรธ
= ไม่หลง
= ไม่กลัว
2 ข้อสุดท้าย คือ ได้มีกระบวนการคิด การเห็น การได้ยินได้ฟัง เท่าทันกับเหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นจริงด้วยตนเอง "ปัญญา" เพื่อสร้างกระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
7. คิดชอบ ทัศนคติ หรือวิสัยทัศน์ที่เป็นกุศลไม่สิ้นเปลืองกับความคิดที่เป็นกุศลต่างๆ "ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ไม่กังวลต่ออดีตที่ผ่านมา และไม่วิตกต่ออนาคตที่มาไม่ถึง"
8. เห็นชอบ มีความเข้าใจและเห็นเท็จจริงในการดำเนินชีวิตอย่าง อุเบกขาและสันโดด
อุเบกขา ปลงตกโดยยอมรับสภาพความเป็นจริงตาม "กฎธรรมชาติ"
สันโดษ รู้จัก - ประมาณในการแสวงหา
- ประมาณในการรับ
- ประมาณในการบริโภค
ไม่อ่อนไหวไปตาม โลภะ โทสะ โมหะ ความพอใจ ความไม่พอใจ
วิถีทางแก้ปัญหา
1. ต้องมองเห็นและเข้าใจความจริง 4 ประการ (อริยสัจจ์ 4)
คือ ทุกข์ = ปัญหาต้องมี(ลักษณะอย่างไร)
สมุหทัย = ต้องมีสาเหตุ(หาข้อมูล)
นิโรจน์ = สามารถแก้ไขได้(ข้อสิ้นสุดของปัญหา)
มรรค = วิธีแก้เพื่อความสิ้นสุดของปัญหา(แนวทางการแก้ไข)
2. ต้องมีการพัฒนาคนให้มีความรู้ ความเข้าใจและเห็นด้วยปัญหา
คือ 4 รู้ = รู้งาน
= รู้วิชา
= รู้ตนเอง
= รู้คน
4 รู้เพื่อความสำเร็จ
1. รู้งาน รู้วัตถุประสงค์ รู้นโยบาย รู้หลักการ รู้วิธีการ รู้ปฏิบัติการในเชิงรุกและเชิงรับ ทั้งทางตรงและทางอ้อม อะไรควรปฏิบัติก่อน อะไรควรปฏิบัติหลัง รู้หลักการบริหารกระบวนการขั้นตอนการทำงาน (Process) ที่มีความซับซ้อนให้ง่ายขึ้น (Comlex Tasks - Simple Processes) โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ หรือผลลัพธ์ที่ได้ (Out put - Out Come) ให้เป็นรูปธรรม
ดังนั้น จะมุ่งผลงานที่ได้มากกว่า วิธีการ สร้างความชัดเจนโปร่งใส กระจายอำนาจให้กับบุคลากรทุกระดับสามารถดำเนินงานและรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
2. รู้วิชา ว่าด้วยหลักการบริหารงานทั้งวิชาการและประสบการณ์ รวมถึงมีทัศนคติ (แนวคิด) ในการประสานงานแผนคน แผนงาน และแผนเงิน ที่ยืดหยุ่น ง่าย กระชับโปร่งใส มีหลัก การกระจายอำนาจ ความรับผิดชอบให้กับบุคลากรทุกระดับสามารถตรวจสอบได้ (Authotity & Responsibility) มีกลยุทธ์ที่สำคัญ
2.1 สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานได้ตามสถานการณ์ในปัจจัยต่างๆ (Out put - Out come) ไว้ได้
2.2 สามารถแก้ไข สถานการณ์และวิกฤตการณ์อันได้พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน อย่างมีเหตุผล รวมเร็ว รอบคอบ (Crisis Management) เช่น อุทกภัย วาทภัยและอุบัติเหตุอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งมีผลต่อชื่อเสียง และสร้างภาพในเชิงบวกให้กับองค์กรและบุคลากร สินค้าและบริการ
Input Process Out put - Out come
ปัจจัยที่ป้อน กระบวนการทำงานต้อง ผลสัมฤทธิ์ หรือ ผลลัพธ์ ที่ได้
- คน - ง่าย,กระชับ - ปริมาณ คุณภาพ ประสิทธิ
- การเงิน - มีความยืดหยุ่นโปร่งใส มี ภาพ สามรถวัดได้ทั้ง
- เครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยี การกระจายอำนาจ ระยะสั้น และระยะยาวที่สร้าง
ที่เหมาะสม - แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ พอใจสูงสุด มีความผิดพลาด
- วัตถุดิบ น้อยที่สุด
3. รู้ตน ต้องมีสติ (ความทรงจำที่ดี) สัมปชัญญะ รู้สึกตัวทุกขณะในการทำงาน ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงในการทำงานมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อสังคมโดยรวม เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพ การเรียนรู้ระบบการทำงานร่วมกัน ทั้งองค์กรภายในและองค์กรอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานความถูกต้อง มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างขวัญกำลังใจที่ดีตลอดทั้งภาพพจน์ให้เกิดขึ้นในองค์กร
4. รู้คน การดำเนินงานใดๆ คนถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด เพราะคนมีชีวิตจิตใจมีความรู้สึกนึกคิดมีสภาพสังคมความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันโดยเฉพาะทัศนคติซึ่งมีลักษณะอ่อนไหว มีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ จึงจำเป็นต้องมีศาสตร์ และศิลป์ในการครองคน มีการเสริมสร้างแนวคิดที่ทุกฝ่ายสามารถเข้ามาเรียนรู้มีการทำงานเสริมสร้างซึ่งกันและกัน เพื่อหวังความเป็นเลิศในทุกๆ ด้านของกระบวนการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน อย่างเป็นเอกภาพ(หนึ่งเดียว)
สิ่งที่ควรทราบ
ตลาด หมายถึง สถานที่มีกิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน
การตลาด หมายถึง เทคนิคการบริหารการผลิตสินค้าหรือบริการให้ถึงมือผู้บริโภคจนเป็นที่ต้องการและยอมรับของลูกค้า
นักการตลาด หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถจัดการวางแผนเสนอขายให้มีประสิทธิภาพ ทั้งคำพูด เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือ ศรัทธาและยอมรับในตัวผลิตภัณฑ์ รวมถึงกิจการขององค์การและตัวเอง
นักการตลาด
ต้องสามารถจัดการ วางแผน เสนอขาย หรือแสดงการขายให้มีประสิทธิภาพทั้งคำพูด อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ในการเสนอขายเพื่อ
1. ให้เป็นที่ยอมรับและมีโอกาสขายต่อเนื่อง
2. สร้างความเชื่อถือ ศรัทธา ในตัวผลิตภัณฑ์ ต่อกิจการ องค์กรและตัวเอง
ตลาดสีเขียว (Green Marketing)
เป็นกลยุทธ์ใหม่ของการค้าในอนาคต เพราะเป็นไปตามกฎระเบียบของสังคมโลก พร้อมใจยอมรับส่งเสรมสินค้าที่มีส่วนอนุรักษ์ไว้ซึ่งสภาวะแวดล้อมโดยรวม ไม่ว่า อากาศ แหล่งน้ำ ต้นไม้ ป่าไม้ สัตว์หวงห้าม สัตว์ป่า และมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตการใช้สอยและการทำลาย จึงมีการดำเนินงาน ดังนี้
1. Re-Cycle คือการนำเอาส่วนเหลือใช้ที่ไม่เกิดประโยชน์ ผ่านขบวนการเทคโนโลยีและกรรมวิธีการผลิตเพื่อให้เกิดประโยชน์อีกครั้งหนึ่ง
2. Re-Duce พยายามคิดค้นการผลิต ให้สินค้ามีคุณภาพและประสิทธิภาพการใช้สูงขึ้น เพื่อจะได้ลดการใช้วัตถุดิบสิ้นเปลืองที่มีจำกัดในธรรมชาติให้น้อยลงเท่าที่จะทำได้
3. Re-Use การหมุนเวียนนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับคืนมาใช้อีกครั้งหนึ่งหรือหลายๆ ครั้งจนกว่าจะหมดสภาพ เพื่อเป็นการลดการใช้วัตถุดิบ ปริมาณขยะและการทำลายให้น้อยลง
4. Re-Fill ผลิตสินค้าในรูปแบบสำรอง โดยเน้นวัตถุดิบด้านบรรจุภัณฑ์ให้ประหยัดใช้ได้นาน สำหรับไว้เติมสินค้าที่ซื้อมาลดปริมาณขยะตลอดทั้งขบวนการผลิตและทำลายขยะให้ลดลง
5. Repair การนำสิ่งของที่ชำรุดหรือสิ่งของที่ไม่มีประโยชน์นำมาแก้ไข ซ่อมแซม ปรับปรุงรูปแบบ เพื่อสามารถนำมาใช้งานได้อีก
ทั้งหมดนี้ เพื่อ
- ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
- สงวนทรัพยากรอันมีจำกัดใช้ให้มีประโยชน์สูงสุด
- ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงและวัตถุดิบ
- ลดปริมาณขยะมูลฝอย ที่ส่งผลต่อแรงงานเชื้อเพลิงและมลภาวะเป็นพิษ
- เพิ่มรายได้และผลประโยชน์โดยรวมในทุกๆ ด้านเพื่อสังคม
(ยังมีต่อ).../ปัญหาพื้นฐาน..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ