กรุงเทพ--3 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 30-31 มกราคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมเวทีความร่วมมือเอเชีย-ลาตินอเมริกา ระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยมีนางเดเลีย โดมิงโก อัลเบิร์ต รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ และนางคาโรลินา บาร์โก รัฐมนตรีต่างประเทศโคลอมเบียเป็นประธานร่วม ในฐานะที่ทั้งสองประเทศเป็นผู้ประสานงานในเวทีความร่วมมือฯ การประชุมดังกล่าวมีรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก โอเชียเนีย อเมริกากลางและใต้ และคาริบเบียนรวมทั้งสิ้น 32 ประเทศ โดยรวมประเทศสมาชิกใหม่ได้แก่ นิคารากัวและกัวเตมาลาด้วย
รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งหมดได้ร่วมการหารืออย่างไม่เป็นทางการที่เมืองตาไกไต ตามธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติมา เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2547 โดยที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจที่มีความสนใจและกังวลร่วมกันอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา ในประเด็นด้านการเมือง ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวถึงบทบาทของไทยในด้านความมั่นคง เช่น ยาเสพติด การค้าสตรีและเด็ก การค้าอาวุธขนาดเล็ก และโรคติดต่อ ซึ่งเป็นประเด็นข้ามเขตแดนที่เป็นสิ่งท้าทายร่วมกัน นอกจากนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งผลการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องสถานการณ์โรคติดต่อในสัตว์ปีกที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา ในด้านเศรษฐกิจ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้อธิบายเกี่ยวกับความคืบหน้าในกรอบความร่วมมือในเอเชีย (ACD) ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งตลาดพันธบัตรเอเชีย และการให้วงเงินกู้เป็นพิเศษระหว่างธนาคารชาติของกันและกัน ซึ่งจะนำไปสู่สถาปัตยกรรมด้านการคลังใหม่ในเอเชีย
ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้มีข้อเสนอหลายข้อโดยมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความใกล้ชิดระหว่างสองภูมิภาค เช่น การท่องเที่ยวระหว่างภูมิภาค การส่งเสริมความสัมพันธ์ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน รวมทั้งการสร้างสังคมความรู้ และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในซีกโลกใต้ในการเสริมสร้างขีดความสามารถและการฝึกอบรม ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้ ได้รับการตอบรับด้วยดีจากที่ประชุม และได้ถูกนำไปบรรจุเป็นโครงการที่สำคัญหลายโครงการที่คณะทำงานทั้งสามกลุ่มจะนำไปพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
ในวันที่ 31 มกราคม 2547 ได้มีการประชุมเต็มคณะของรัฐมนตรีต่างประเทศของเวทีความร่วมมือฯ ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติของฟิลิปปินส์ ซึ่งที่ประชุมได้หารือและพิจารณาประเด็นที่มีความสนใจและความกังวลร่วมกันหลายประเด็น และได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือในเรื่องต่างๆ และขอให้คณะทำงานนำความเห็นเหล่านี้ไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์ของประชาชนกว่า 2 พันล้านคนในประเทศสมาชิก ที่ประชุมเห็นพ้องว่าเวทีความร่วมมือฯ มีบทบาทสำคัญในระบบพหุภาคี และเห็นชอบให้เจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิกพยายามเสริมสร้างความเข้าใจและประสานท่าทีเกี่ยวกับประเด็นที่มีความสำคัญต่อสมาชิกในกรอบองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติและองค์การการค้าโลก เป็นต้น
ที่ประชุมได้รับรองแผนปฏิบัติการมะนิลา ซึ่งจะกำหนดแนวทางความร่วมมือในระยะต่อไป แผนปฏิบัติการได้เรียกร้องให้มีการดำเนินโครงการที่เป็นรูปธรรมในด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถ การพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและเล็ก รวมทั้งการมีแนวทางในการรับมือกับสิ่งท้าทายด้านความมั่นคงร่วมกัน ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการระบุให้ความสำคัญต่อโครงการที่จะมีผลกระทบในระดับประชาคม
ในพิธีปิดการประชุม รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์และโคลอมเบีย ซึ่งจะสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ผู้ประสานงานภายหลังการประชุมครั้งนี้ ได้แสดงความเชื่อมั่นต่อเวทีความร่วมมือฯ และย้ำว่าการประชุมรัฐมนตรีเป็นโอกาสดีในการสร้างความสัมพันธ์ และเครือข่ายระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้การหารือและการประสานงานง่ายขึ้น ที่ประชุมต้อนรับเกาหลีใต้และบราซิลซึ่งจะทำหน้าที่ผู้ประสานงานในช่วงเวลาสองปีนับจากนี้
การหารือทวิภาคี
คิวบา
เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้หารือทวิภาคีกับนายฟิลิเป เปเรซ โรเก้ รัฐมนตรีต่างประเทศคิวบา ในช่วงระหว่างการประชุมเวทีความร่วมมือฯ ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 ฝ่ายคิวบาแจ้งว่าคิวบาให้ความสำคัญต่อการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก และติดตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยด้วยความสนใจ รัฐมนตรีต่างประเทศคิวบาขอบคุณประเทศไทยที่มีนโยบายต่อต้านการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยเจาะจงประเทศในสมัยที่ไทยเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนในสหประชาชาติ ในโอกาสนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เชิญให้รัฐมนตรีต่างประเทศคิวบามาเยือนไทยอย่างเป็นทางการด้วย
เปรู
ในวันเดียวกัน ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้พบกับนายหลุยส์ โซลาริ ทูเดลา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเปรู ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าโดยที่ได้มีการเจรจาเรื่องการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกันอยู่ ทั้งสองประเทศน่าจะใช้กันและกันเป็นศูนย์กลางเพื่อเป็นประตูสู่ภูมิภาคของอีกฝ่ายหนึ่ง และตกลงที่จะเร่งรัดความร่วมมือด้านกฎหมายอาญา การปราบปรามยาเสพติด และปรับปรุงความตกลงทวิภาคีที่มีอยู่ เพื่อให้มีผลเป็นรูปธรรมในโอกาสที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะเดินทางเยือนเปรู ซึ่งมีกำหนดการอย่างไม่เป็นทางการในปลายปีนี้
โคลอมเบีย
ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้พบกับนางคาโรลินา บาร์โก รัฐมนตรีต่างประเทศโคลอมเบียที่โรงแรมมะนิลา ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะส่งเสริมความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติด โดยเฉพาะในเรื่องการปลูกพืชทดแทน ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ทดแทนให้ผู้ปลูกพืชเสพติด รัฐมนตรีทั้งสองยังได้หารือเกี่ยวกับแนวทางในการส่งเสริมการค้าทวิภาคี อาทิ เช่น การจัดงานแสดงสินค้าของสินค้าโคลอมเบียในไทย ในโอกาสนี้ โคลอมเบียขอให้ไทยพิจารณาสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกเอเปคของโคลอมเบียภายหลังการระงับการรับสมาชิกชั่วคราวจะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2006
ญี่ปุ่น
ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้พบกับนายมาซาโตชิ อาเบะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นต่อเนื่องจากการประชุมกับโคลอมเบีย โดย ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้พยายามบรรเทาความกังวลของรัฐบาลญี่ปุ่นและสาธารณชนเกี่ยวกับการระบาดของโรคไข้หวัดนก ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งผลการประชุมรัฐมนตรีเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดต่อในสัตว์ปีกที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมือ่วันที่ 28 มกราคม ทั้งสองฝ่ายย้ำว่าการฟื้นฟูความมั่นใจของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ และตกลงที่จะร่วมมือกันในการฟื้นฟูความมั่นใจของผู้บริโภค และเห็นว่าการจัดตั้งเขตการค้าเสรีจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งว่าประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีคลังของ ACD ในเดือนเมษายน และหวังว่ารัฐมนตรีคลังของญี่ปุ่นจะเข้าร่วมการประชุมที่สำคัญนี้ด้วย
นิคารากัว
ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวต้อนรับนิคารากัวในฐานะประเทศสมาชิกใหม่ของเวทีความร่วมมือฯ นายนอร์แมน คาลเดรา คาร์เดนาล รัฐมนตรีต่างประเทศนิคารากัวแจ้งว่าได้เห็นชอบต่อกงสุลกิติมศักดิ์ของไทยในนิคารากัวแล้ว และหวังว่านักธุรกิจไทยจะเข้าไปประกอบธุรกิจในนิคารากัวมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเร่งรัดการจัดทำความตกลงด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างกัน และหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือด้านอื่นๆ เช่น การบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้ถือโอกาสนี้ขอให้นิคารากัวยกเลิกการห้ามนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 30-31 มกราคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมเวทีความร่วมมือเอเชีย-ลาตินอเมริกา ระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยมีนางเดเลีย โดมิงโก อัลเบิร์ต รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ และนางคาโรลินา บาร์โก รัฐมนตรีต่างประเทศโคลอมเบียเป็นประธานร่วม ในฐานะที่ทั้งสองประเทศเป็นผู้ประสานงานในเวทีความร่วมมือฯ การประชุมดังกล่าวมีรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก โอเชียเนีย อเมริกากลางและใต้ และคาริบเบียนรวมทั้งสิ้น 32 ประเทศ โดยรวมประเทศสมาชิกใหม่ได้แก่ นิคารากัวและกัวเตมาลาด้วย
รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งหมดได้ร่วมการหารืออย่างไม่เป็นทางการที่เมืองตาไกไต ตามธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติมา เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2547 โดยที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจที่มีความสนใจและกังวลร่วมกันอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา ในประเด็นด้านการเมือง ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวถึงบทบาทของไทยในด้านความมั่นคง เช่น ยาเสพติด การค้าสตรีและเด็ก การค้าอาวุธขนาดเล็ก และโรคติดต่อ ซึ่งเป็นประเด็นข้ามเขตแดนที่เป็นสิ่งท้าทายร่วมกัน นอกจากนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งผลการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องสถานการณ์โรคติดต่อในสัตว์ปีกที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา ในด้านเศรษฐกิจ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้อธิบายเกี่ยวกับความคืบหน้าในกรอบความร่วมมือในเอเชีย (ACD) ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งตลาดพันธบัตรเอเชีย และการให้วงเงินกู้เป็นพิเศษระหว่างธนาคารชาติของกันและกัน ซึ่งจะนำไปสู่สถาปัตยกรรมด้านการคลังใหม่ในเอเชีย
ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้มีข้อเสนอหลายข้อโดยมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความใกล้ชิดระหว่างสองภูมิภาค เช่น การท่องเที่ยวระหว่างภูมิภาค การส่งเสริมความสัมพันธ์ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน รวมทั้งการสร้างสังคมความรู้ และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในซีกโลกใต้ในการเสริมสร้างขีดความสามารถและการฝึกอบรม ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้ ได้รับการตอบรับด้วยดีจากที่ประชุม และได้ถูกนำไปบรรจุเป็นโครงการที่สำคัญหลายโครงการที่คณะทำงานทั้งสามกลุ่มจะนำไปพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
ในวันที่ 31 มกราคม 2547 ได้มีการประชุมเต็มคณะของรัฐมนตรีต่างประเทศของเวทีความร่วมมือฯ ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติของฟิลิปปินส์ ซึ่งที่ประชุมได้หารือและพิจารณาประเด็นที่มีความสนใจและความกังวลร่วมกันหลายประเด็น และได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือในเรื่องต่างๆ และขอให้คณะทำงานนำความเห็นเหล่านี้ไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์ของประชาชนกว่า 2 พันล้านคนในประเทศสมาชิก ที่ประชุมเห็นพ้องว่าเวทีความร่วมมือฯ มีบทบาทสำคัญในระบบพหุภาคี และเห็นชอบให้เจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิกพยายามเสริมสร้างความเข้าใจและประสานท่าทีเกี่ยวกับประเด็นที่มีความสำคัญต่อสมาชิกในกรอบองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติและองค์การการค้าโลก เป็นต้น
ที่ประชุมได้รับรองแผนปฏิบัติการมะนิลา ซึ่งจะกำหนดแนวทางความร่วมมือในระยะต่อไป แผนปฏิบัติการได้เรียกร้องให้มีการดำเนินโครงการที่เป็นรูปธรรมในด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถ การพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและเล็ก รวมทั้งการมีแนวทางในการรับมือกับสิ่งท้าทายด้านความมั่นคงร่วมกัน ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการระบุให้ความสำคัญต่อโครงการที่จะมีผลกระทบในระดับประชาคม
ในพิธีปิดการประชุม รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์และโคลอมเบีย ซึ่งจะสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ผู้ประสานงานภายหลังการประชุมครั้งนี้ ได้แสดงความเชื่อมั่นต่อเวทีความร่วมมือฯ และย้ำว่าการประชุมรัฐมนตรีเป็นโอกาสดีในการสร้างความสัมพันธ์ และเครือข่ายระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้การหารือและการประสานงานง่ายขึ้น ที่ประชุมต้อนรับเกาหลีใต้และบราซิลซึ่งจะทำหน้าที่ผู้ประสานงานในช่วงเวลาสองปีนับจากนี้
การหารือทวิภาคี
คิวบา
เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้หารือทวิภาคีกับนายฟิลิเป เปเรซ โรเก้ รัฐมนตรีต่างประเทศคิวบา ในช่วงระหว่างการประชุมเวทีความร่วมมือฯ ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 ฝ่ายคิวบาแจ้งว่าคิวบาให้ความสำคัญต่อการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก และติดตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยด้วยความสนใจ รัฐมนตรีต่างประเทศคิวบาขอบคุณประเทศไทยที่มีนโยบายต่อต้านการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยเจาะจงประเทศในสมัยที่ไทยเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนในสหประชาชาติ ในโอกาสนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เชิญให้รัฐมนตรีต่างประเทศคิวบามาเยือนไทยอย่างเป็นทางการด้วย
เปรู
ในวันเดียวกัน ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้พบกับนายหลุยส์ โซลาริ ทูเดลา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเปรู ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าโดยที่ได้มีการเจรจาเรื่องการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกันอยู่ ทั้งสองประเทศน่าจะใช้กันและกันเป็นศูนย์กลางเพื่อเป็นประตูสู่ภูมิภาคของอีกฝ่ายหนึ่ง และตกลงที่จะเร่งรัดความร่วมมือด้านกฎหมายอาญา การปราบปรามยาเสพติด และปรับปรุงความตกลงทวิภาคีที่มีอยู่ เพื่อให้มีผลเป็นรูปธรรมในโอกาสที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะเดินทางเยือนเปรู ซึ่งมีกำหนดการอย่างไม่เป็นทางการในปลายปีนี้
โคลอมเบีย
ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้พบกับนางคาโรลินา บาร์โก รัฐมนตรีต่างประเทศโคลอมเบียที่โรงแรมมะนิลา ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะส่งเสริมความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติด โดยเฉพาะในเรื่องการปลูกพืชทดแทน ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ทดแทนให้ผู้ปลูกพืชเสพติด รัฐมนตรีทั้งสองยังได้หารือเกี่ยวกับแนวทางในการส่งเสริมการค้าทวิภาคี อาทิ เช่น การจัดงานแสดงสินค้าของสินค้าโคลอมเบียในไทย ในโอกาสนี้ โคลอมเบียขอให้ไทยพิจารณาสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกเอเปคของโคลอมเบียภายหลังการระงับการรับสมาชิกชั่วคราวจะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2006
ญี่ปุ่น
ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้พบกับนายมาซาโตชิ อาเบะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นต่อเนื่องจากการประชุมกับโคลอมเบีย โดย ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้พยายามบรรเทาความกังวลของรัฐบาลญี่ปุ่นและสาธารณชนเกี่ยวกับการระบาดของโรคไข้หวัดนก ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งผลการประชุมรัฐมนตรีเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดต่อในสัตว์ปีกที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมือ่วันที่ 28 มกราคม ทั้งสองฝ่ายย้ำว่าการฟื้นฟูความมั่นใจของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ และตกลงที่จะร่วมมือกันในการฟื้นฟูความมั่นใจของผู้บริโภค และเห็นว่าการจัดตั้งเขตการค้าเสรีจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งว่าประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีคลังของ ACD ในเดือนเมษายน และหวังว่ารัฐมนตรีคลังของญี่ปุ่นจะเข้าร่วมการประชุมที่สำคัญนี้ด้วย
นิคารากัว
ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวต้อนรับนิคารากัวในฐานะประเทศสมาชิกใหม่ของเวทีความร่วมมือฯ นายนอร์แมน คาลเดรา คาร์เดนาล รัฐมนตรีต่างประเทศนิคารากัวแจ้งว่าได้เห็นชอบต่อกงสุลกิติมศักดิ์ของไทยในนิคารากัวแล้ว และหวังว่านักธุรกิจไทยจะเข้าไปประกอบธุรกิจในนิคารากัวมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเร่งรัดการจัดทำความตกลงด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างกัน และหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือด้านอื่นๆ เช่น การบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้ถือโอกาสนี้ขอให้นิคารากัวยกเลิกการห้ามนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-