กำลังแรงงานมีความสำคัญในภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะแรงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การจัดทำแบบจำลองความต้องการแรงงานอุตสาหกรรม เพื่อประกอบการดำเนินนโยบายด้านการพัฒนากำลังคนภาคอุตสาหกรรม ถือว่าเป็นแบบโมเดลที่จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และศึกษาโครงสร้างตลาดแรงงานที่มีอยู่ในรูปแบบของการพยากรณ์การคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต
แบบจำลองความต้องการแรงงานอุตสาหกรรม นับว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อช่วยให้การวิเคราะห์และพยากรณ์การคาดการณ์แนวโน้มทางด้านแรงงานอย่างมีระบบ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประกอบการจำทำนโยบายต่อไป ขอบเขตของการจัดทำแบบจำลองได้จัดทำโครงสร้างแรงงานในภาค อุตสาหกรรมการผลิตที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนไป เท่านั้น ถ้านำแรงงานในสถานประกอบการที่มีจำนวนน้อยว่า 10 คนขั้นไป อาจจะทำให้การวิเคราะห์มีความคลาดเคลื่อนสูงได้ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ดำเนินการศึกษาได้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 13 สาขา ตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย
1) อุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์
2) อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
3) อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง
4) อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
5) อุตสาหกรรมเซรามิกส์และแก้ว
6) อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
7) อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
8) อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
9) อุตสาหกรรมยาและเคมีภัณฑ์
10) อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
11) อุตสาหกรรมผิลตภัณฑ์พลาสติก
12) อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
13) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
1. ข้อมูลประกอบการจัดทำโมเดลแบบจำลองตลาดแรงงาน
1.1 ข้อสมมุติอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (CGE)
1.2 ค่าความยืดหยุ่นของการจ้างงานต่อผลผลิตรายอุตสาหกรรม
1.3 ชั่วโมงการทำงานทั้งหมดของปีฐาน
1.4 ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของปีฐาน
1.5 ความต้องการแรงงานรายอุตสาหกรรมโดยรวม
1) ข้อสมมุติอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (CGE)
ลักษณะการบักทึกข้อมูลข้อสมมุติอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนี้ แบ่งเป็น 3 หน้าต่าง คือ
1.1.1 ค่าถ่วงน้ำหนัก การพยากรณ์ผลผลิตที่ได้จาก CGE Model นั้นแบ่งเป็น 61 ภาคการผลิต เป็นภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด 33 สาขา ซึ่งไม่ตรงกับ 13 อุตสาหกรรมจึงต้องทำการจัดกลุ่มและถ่วงน้ำหนัก ค่าถ่วงน้ำหนักคำนวณจากข้อมูล Social Accounting Matrix (SAM) ค่าที่ set ไว้ให้เป็น default นั้นไม่ควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะมีการพัฒนา CGE Model ใหม่
1.1.2 ข้อสมมุติอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ให้เติมผลการพยากรณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจาก CGE Model หรืออาจทำการสมมุติอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นเองก็ได้
1.1.3 แสดงอัตราการเจริญเติบโตรายสาขาตั้งแต่ปีฐานถึงปีคาดการณ์ จะแสดงอัตราการเจริญเติบโตรายอุตสาหกรรมทั้ง 13 อุตสาหกรรมหลังจากทำการถ่วงน้ำหนักแล้ว (ได้จากการคำนวณจากข้อมูลใน 1.1.1 และ 1.1.2)
2) ค่าความยืดหยุ่นของการจ้างงานต่อผลผลิตรายอุตสาหกรรม
ค่าความยืดหยุ่นดังกล่าวได้จากการคำนวณซึ่งอาศัยข้อมูล 2 ส่วนคือ
1) อัตราการเจริญเติบโตของชั่วโมงการทำงานรายอุตสาหกรรม ได้จากการนำจำนวนลูกจ้างของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมใน "สำมะโนอุตสาหกรรม" คูณด้วยชั่วโมงทำงานเฉลี่ยของแรงงานแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมจาก "การสำรวจกำลังแรงงาน LFS" (เนื่องจากใน LFS ไม่มีแรงงานกลุ่มปิโตรเคมี การคำนวณค่าความยืดหยุ่นจึงใช้จำนวนลูกจ้าง) หลังจากได้ชั่วโมงแรงงานแล้วทั้งหมดแล้วจึงนำมาคำนวณอัตราการเจริญเติบโต
2) อัตราการเจริญเติบโตของผลผลิตรายอุตสาหกรรม ได้จาก "สำมะโนอุตสาหกรรม" นำมาคำนวณอัตราการเจริญเติบโต
หลังจากนั้นจึงทำการคำนวณค่าความยืดหยุ่นโดยการนำอัตราการเจริญเติบโตของชั่วโมงการทำงานรายอุตสาหกรรม ในข้อแรกหารด้วยอัตราการเจริญเติบโตของผลผลิตรายอุตสาหกรรมในข้อสอง ตามปกติแล้ว ค่าความยืดหยุ่นของการจ้างงานต่อผลผลิตของอุตสาหกรรมจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 หากค่าความยืดหยุ่นจากการคำนวณมีค่านอกเหนือจากนี้ควรทำการตรวจสอบข้อมูลใหม่
3) ชั่วโมงการทำงานทั้งหมดของปีฐาน
ชั่วโมงการทำงานทั้งหมดของปีฐาน เป็นชั่วโมงการทำงานของแรงงานทั้งหมดที่ทำงานในอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้จากการ run SPSS ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยจาก LFS แล้วจึงนำมาคูณกับจำนวนแรงงานจากสำมะโนอุตสาหกรรม
4) ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของปีฐานชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาป์ของปีฐาน ได้จากการ run SPSS ข้อมูลการสำรวจกำลังแรงงาน (LFS) ในปีฐาน
2. เมนูหลักในการจัดทำโมเดล ซึ่งประกอบด้วย
1. กำหนดปีฐาน
2. บันทึกข้อมูลแบบสอบถาม
3. รายงานข้อมูลจากแบบสอบถาม
4. อุปสงค์ Demand
5. อุปทาน Supply
6. เปรียบเทียบแรงงาน S&T
7. เชื่อมโยงฐานข้อมูล
8. จบการทำงาน
2.1 อุปสงค์ Demand
เมนูหลักนี้ เป็นส่วนการพยากรณ์อุปสงค์แรงงานสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยประกอบด้วยการรับข้อมูลทางด้านอุปสงค์ การประมวลผลจากแบบสอบถามบางส่วน และการพยากรณ์อุปสงค์แรงงานสำหรับภาคอุตสาหกรรม (รายละเอียดอยู่ในบทที่ 3)
2.1 อุปทาน Supplyเมนูหลักนี้ เป็นส่วนการพยากรณ์จำนวนผู้จบการศึกษาที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยประกอบด้วยการรับข้อมูลทางการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ การรายงานผล และการพยากรณ์จำนวนผู้จบการศึกษาที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน (รายละเอียดอยู่ในบทที่ 4)
2.3 เปรียบเทียบแรงงาน S&T
เมนูหลักนี้ เป็นการเปรียบเทียบการพยากรณ์อุปสงค์และอุปทานแรงงาน ในส่วนของแรงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยประกอบด้วยการเตรียมข้อมูลทางด้านอุปสงค์ อุปทานแรงงาน และการทำการเปรียบเทียบเมื่อเลือกเข้าไปในเมนูรายงานผล จะปรากฏเมนูต่างๆ ซึ่งรายงานผลในรูปของตารางซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. แบ่งตามขนาดอุตสาหกรรม
1.1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการ
1.1.1 อัตราการใช้กำลังการผลิตของสถานประกอบการ
1.1.2 สินทรัพย์ถาวรของสถานประกอบการ
1.1.3 รายได้จากการผลิตของอุตสาหกรรมที่ได้จากสำรวจ (ไม่รวมผู้ไม่ตอบ)
1.1.4 ลักษณะความเป็นเจ้าของของสถานประกอบการ
1.2 ข้อมูลด้านเทคโนโลยีของสถานประกอบการ
1.2.1 ข้อมูลด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม
1.3 ข้อมูลด้านการจ้างงาน
1.3.1 การจ้างงานตามขนาดของอุตสาหกรรม
1.3.2 ระดับการศึกษาของบุคลากรในอุตสาหกรรม
1.3.3 ระดับการศึกษา/สาขา/ฝ่ายสังกัดของบุคลากรในอุตสาหกรรม
1.3.4 อัตราส่วนร้อยละของระดับการศึกษา/สาขา/ฝ่ายสังกัดของบุคลากรในอุตสาหกรรม
1.3.5 บุคลากรที่ เข้า-ออก ในรอบปีที่ผ่านอุตสาหกรรม
1.3.6 ร้อยละบุคลากรที่ เข้า-ออกในรอบปีที่ผ่านมาในอุตสาหกรรม
1.3.7 อัตราส่วนร้อยละของการหมุนเวียน (Turnover) บุคลากรในอุตสาหกรรม
1.3.8 ความพอใจในคุณภาพด้านความรู้เฉพาะทาง
1.3.9 ความพอใจในคุณภาพด้านอื่นๆ โดยรวม (ยกเว้น ความรู้เฉพาะทาง) ในอุตสาหกรรม
1.3.10 ความยาก/ง่ายในการสรรหาบุคลากรในอุตสาหกรรม
1.3.11 สาเหตุและการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร
1.4 ข้อมูลสถานการณ์ในอนาคต
1.4.1 การดำเนินกิจการใน 3 ปีข้างหน้า
1.4.2 การเปลี่ยนแปลงสุทธิของการจ้างงานใน 3 ปีข้างหน้าของอุตสาหกรรม
1.4.3 อัตราส่วนร้อยละของการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานใน 3 ปีข้างหน้าของอุตสาหกรรม
2. แบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการ
2.1.1 อัตราการใช้กำลังการผลิตของสถานประกอบการ
2.1.2 สินทรัพย์ถาวรของสถานประกอบการ
2.1.3 รายได้จากการผลิตของอุตสาหกรรมที่ได้จากสำรวจ (ไม่รวมผู้ไม่ตอบ)
2.1.4 ลักษณะความเป็นเจ้าของของสถานประกอบการ
2.2 ข้อมูลด้านเทคโนโลยีของสถานประกอบการ
2.2.1 ข้อมูลด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม
2.3 ข้อมูลด้านการจ้างงาน
2.3.1 การจ้างงานตามขนาดของอุตสาหกรรม
2.3.2 ระดับการศึกษาของบุคลากรในอุตสาหกรรม
2.3.3 ระดับการศึกษา/สาขา/ฝ่ายสังกัดของบุคลากรในอุตสาหกรรม
2.3.4 อัตราส่วนร้อยละของระดับการศึกษา/สาขา/ฝ่ายสังกัดของบุคลากรในอุตสาหกรรม
2.3.5 บุคลากรที่ เข้า-ออก ในรอบปีที่ผ่านอุตสาหกรรม
2.3.6 ร้อยละบุคลากรที่ เข้า-ออกในรอบปีที่ผ่านมาในอุตสาหกรรม
2.3.7 อัตราส่วนร้อยละของการหมุนเวียน (Turnover) บุคลากรในอุตสาหกรรม
2.3.8 ความพอใจในคุณภาพด้านความรู้เฉพาะทาง
2.3.9 ความพอใจในคุณภาพด้านอื่นๆ โดยรวม (ยกเว้น ความรู้เฉพาะทาง) ในอุตสาหกรรม
2.3.10 ความยาก/ง่ายในการสรรหาบุคลากรในอุตสาหกรรม
2.3.11 สาเหตุและการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร
2.4 ข้อมูลสถานการณ์ในอนาคต
2.4.1 การดำเนินกิจการใน 3 ปีข้างหน้า
2.4.2 การเปลี่ยนแปลงสุทธิของการจ้างงานใน 3 ปีข้างหน้าของอุตสาหกรรมอัตราส่วนร้อยละของการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานใน 3 ปีข้างหน้า
3.ข้อมูลแสดงผลพยากรณ์ความต้องการแรงงาน มีรายละเอียดของเมนูย่อยดังนี้
3.1 พยากรณ์ความต้องการแรงงานรายอุตสาหกรรม
หลังจากทำการบันทึกข้อมูลทั้งหมดแล้ว โปรแกรมจะทำการพยากรณ์ความต้องการแรงงานโดยอัตโนมัติ ตั้งแต่ปีฐานและปีพยากรณ์อีก 5 ปี โดยจำแนกตามอุตสาหกรรมทั้ง 14 อุตสาหกรรมพร้อมทั้งภาพรวมทุกอุตสาหกรรม
3.2 พยากรณ์ความต้องการแรงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรายอุตสาหกรรมส่วนนี้เป็นการพยากรณ์ความต้องการแรงงานเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรายปี ตั้งแต่ปีฐานและปีพยากรณ์อีก 5 ปี โดยจำแนกตามอุตสาหกรรมทั้ง 14 อุตสาหกรรมพร้อมทั้งภาพรวมทุกอุตสาหกรรม
3.3 พยากรณ์ความต้องการแรงงานด้านอื่นๆ รายอุตสาหกรรม
ส่วนนี้เป็นการพยากรณ์ความต้องการแรงงานด้านอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่แรงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่ปีฐานและปีพยากรณ์อีก 5 ปี โดยจำแนกตามอุตสาหกรรมทั้ง 14 อุตสาหกรรมพร้อมทั้งภาพรวมทุกอุตสาหกรรม
3.4 พยากรณ์ความต้องการแรงงานจำแนกตามสายการผลิตและการศึกษาการพยากรณ์ส่วนนี้ จะแสดงผลการพยากรณ์ความต้องการแรงงานจำแนกตามสายการผลิตและการศึกษา โดยแสดงผลทีละอุตสาหกรรม ทีละปี ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกอุตสาหกรรม และปีพยากรณ์ที่สนใจได้ทางด้านบน
3.5 สรุปความต้องการแรงงาน S&T และ non S&T ตั้งแต่ระดับ ปวช. ขึ้นไปส่วนนี้เป็นการสรุปความต้องการแรงงาน S&T และ non S&T เพื่อทำการเปรียบเทียบความต้องการแรงงาน S&T และ non S&T โดยเปรียบเทียบเฉพาะแรงงานที่มีระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับ ปวช. ขึ้นไป เนื่องจากแรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับนี้ถือว่ายังไม่ได้รับการฝึกเป็นแรงงาน S&T
3.6 อัตราการเจริญเติบโตของความต้องการแรงงาน S&T และ non S&T ตั้งแต่ระดับ ปวช. ขึ้นไปส่วนนี้เป็นการแสดงอัตราการเจริญเติบโตของความต้องการแรงงานทั้งด้าน S&T และ non S&T ตั้งแต่ระดับ ปวช. ขึ้นไป โดยจำแนกตามระดับการศึกษาในภาพรวมทุกอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
แบบจำลองความต้องการแรงงานอุตสาหกรรม นับว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อช่วยให้การวิเคราะห์และพยากรณ์การคาดการณ์แนวโน้มทางด้านแรงงานอย่างมีระบบ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประกอบการจำทำนโยบายต่อไป ขอบเขตของการจัดทำแบบจำลองได้จัดทำโครงสร้างแรงงานในภาค อุตสาหกรรมการผลิตที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนไป เท่านั้น ถ้านำแรงงานในสถานประกอบการที่มีจำนวนน้อยว่า 10 คนขั้นไป อาจจะทำให้การวิเคราะห์มีความคลาดเคลื่อนสูงได้ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ดำเนินการศึกษาได้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 13 สาขา ตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย
1) อุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์
2) อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
3) อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง
4) อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
5) อุตสาหกรรมเซรามิกส์และแก้ว
6) อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
7) อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
8) อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
9) อุตสาหกรรมยาและเคมีภัณฑ์
10) อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
11) อุตสาหกรรมผิลตภัณฑ์พลาสติก
12) อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
13) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
1. ข้อมูลประกอบการจัดทำโมเดลแบบจำลองตลาดแรงงาน
1.1 ข้อสมมุติอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (CGE)
1.2 ค่าความยืดหยุ่นของการจ้างงานต่อผลผลิตรายอุตสาหกรรม
1.3 ชั่วโมงการทำงานทั้งหมดของปีฐาน
1.4 ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของปีฐาน
1.5 ความต้องการแรงงานรายอุตสาหกรรมโดยรวม
1) ข้อสมมุติอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (CGE)
ลักษณะการบักทึกข้อมูลข้อสมมุติอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนี้ แบ่งเป็น 3 หน้าต่าง คือ
1.1.1 ค่าถ่วงน้ำหนัก การพยากรณ์ผลผลิตที่ได้จาก CGE Model นั้นแบ่งเป็น 61 ภาคการผลิต เป็นภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด 33 สาขา ซึ่งไม่ตรงกับ 13 อุตสาหกรรมจึงต้องทำการจัดกลุ่มและถ่วงน้ำหนัก ค่าถ่วงน้ำหนักคำนวณจากข้อมูล Social Accounting Matrix (SAM) ค่าที่ set ไว้ให้เป็น default นั้นไม่ควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะมีการพัฒนา CGE Model ใหม่
1.1.2 ข้อสมมุติอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ให้เติมผลการพยากรณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจาก CGE Model หรืออาจทำการสมมุติอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นเองก็ได้
1.1.3 แสดงอัตราการเจริญเติบโตรายสาขาตั้งแต่ปีฐานถึงปีคาดการณ์ จะแสดงอัตราการเจริญเติบโตรายอุตสาหกรรมทั้ง 13 อุตสาหกรรมหลังจากทำการถ่วงน้ำหนักแล้ว (ได้จากการคำนวณจากข้อมูลใน 1.1.1 และ 1.1.2)
2) ค่าความยืดหยุ่นของการจ้างงานต่อผลผลิตรายอุตสาหกรรม
ค่าความยืดหยุ่นดังกล่าวได้จากการคำนวณซึ่งอาศัยข้อมูล 2 ส่วนคือ
1) อัตราการเจริญเติบโตของชั่วโมงการทำงานรายอุตสาหกรรม ได้จากการนำจำนวนลูกจ้างของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมใน "สำมะโนอุตสาหกรรม" คูณด้วยชั่วโมงทำงานเฉลี่ยของแรงงานแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมจาก "การสำรวจกำลังแรงงาน LFS" (เนื่องจากใน LFS ไม่มีแรงงานกลุ่มปิโตรเคมี การคำนวณค่าความยืดหยุ่นจึงใช้จำนวนลูกจ้าง) หลังจากได้ชั่วโมงแรงงานแล้วทั้งหมดแล้วจึงนำมาคำนวณอัตราการเจริญเติบโต
2) อัตราการเจริญเติบโตของผลผลิตรายอุตสาหกรรม ได้จาก "สำมะโนอุตสาหกรรม" นำมาคำนวณอัตราการเจริญเติบโต
หลังจากนั้นจึงทำการคำนวณค่าความยืดหยุ่นโดยการนำอัตราการเจริญเติบโตของชั่วโมงการทำงานรายอุตสาหกรรม ในข้อแรกหารด้วยอัตราการเจริญเติบโตของผลผลิตรายอุตสาหกรรมในข้อสอง ตามปกติแล้ว ค่าความยืดหยุ่นของการจ้างงานต่อผลผลิตของอุตสาหกรรมจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 หากค่าความยืดหยุ่นจากการคำนวณมีค่านอกเหนือจากนี้ควรทำการตรวจสอบข้อมูลใหม่
3) ชั่วโมงการทำงานทั้งหมดของปีฐาน
ชั่วโมงการทำงานทั้งหมดของปีฐาน เป็นชั่วโมงการทำงานของแรงงานทั้งหมดที่ทำงานในอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้จากการ run SPSS ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยจาก LFS แล้วจึงนำมาคูณกับจำนวนแรงงานจากสำมะโนอุตสาหกรรม
4) ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของปีฐานชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาป์ของปีฐาน ได้จากการ run SPSS ข้อมูลการสำรวจกำลังแรงงาน (LFS) ในปีฐาน
2. เมนูหลักในการจัดทำโมเดล ซึ่งประกอบด้วย
1. กำหนดปีฐาน
2. บันทึกข้อมูลแบบสอบถาม
3. รายงานข้อมูลจากแบบสอบถาม
4. อุปสงค์ Demand
5. อุปทาน Supply
6. เปรียบเทียบแรงงาน S&T
7. เชื่อมโยงฐานข้อมูล
8. จบการทำงาน
2.1 อุปสงค์ Demand
เมนูหลักนี้ เป็นส่วนการพยากรณ์อุปสงค์แรงงานสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยประกอบด้วยการรับข้อมูลทางด้านอุปสงค์ การประมวลผลจากแบบสอบถามบางส่วน และการพยากรณ์อุปสงค์แรงงานสำหรับภาคอุตสาหกรรม (รายละเอียดอยู่ในบทที่ 3)
2.1 อุปทาน Supplyเมนูหลักนี้ เป็นส่วนการพยากรณ์จำนวนผู้จบการศึกษาที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยประกอบด้วยการรับข้อมูลทางการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ การรายงานผล และการพยากรณ์จำนวนผู้จบการศึกษาที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน (รายละเอียดอยู่ในบทที่ 4)
2.3 เปรียบเทียบแรงงาน S&T
เมนูหลักนี้ เป็นการเปรียบเทียบการพยากรณ์อุปสงค์และอุปทานแรงงาน ในส่วนของแรงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยประกอบด้วยการเตรียมข้อมูลทางด้านอุปสงค์ อุปทานแรงงาน และการทำการเปรียบเทียบเมื่อเลือกเข้าไปในเมนูรายงานผล จะปรากฏเมนูต่างๆ ซึ่งรายงานผลในรูปของตารางซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. แบ่งตามขนาดอุตสาหกรรม
1.1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการ
1.1.1 อัตราการใช้กำลังการผลิตของสถานประกอบการ
1.1.2 สินทรัพย์ถาวรของสถานประกอบการ
1.1.3 รายได้จากการผลิตของอุตสาหกรรมที่ได้จากสำรวจ (ไม่รวมผู้ไม่ตอบ)
1.1.4 ลักษณะความเป็นเจ้าของของสถานประกอบการ
1.2 ข้อมูลด้านเทคโนโลยีของสถานประกอบการ
1.2.1 ข้อมูลด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม
1.3 ข้อมูลด้านการจ้างงาน
1.3.1 การจ้างงานตามขนาดของอุตสาหกรรม
1.3.2 ระดับการศึกษาของบุคลากรในอุตสาหกรรม
1.3.3 ระดับการศึกษา/สาขา/ฝ่ายสังกัดของบุคลากรในอุตสาหกรรม
1.3.4 อัตราส่วนร้อยละของระดับการศึกษา/สาขา/ฝ่ายสังกัดของบุคลากรในอุตสาหกรรม
1.3.5 บุคลากรที่ เข้า-ออก ในรอบปีที่ผ่านอุตสาหกรรม
1.3.6 ร้อยละบุคลากรที่ เข้า-ออกในรอบปีที่ผ่านมาในอุตสาหกรรม
1.3.7 อัตราส่วนร้อยละของการหมุนเวียน (Turnover) บุคลากรในอุตสาหกรรม
1.3.8 ความพอใจในคุณภาพด้านความรู้เฉพาะทาง
1.3.9 ความพอใจในคุณภาพด้านอื่นๆ โดยรวม (ยกเว้น ความรู้เฉพาะทาง) ในอุตสาหกรรม
1.3.10 ความยาก/ง่ายในการสรรหาบุคลากรในอุตสาหกรรม
1.3.11 สาเหตุและการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร
1.4 ข้อมูลสถานการณ์ในอนาคต
1.4.1 การดำเนินกิจการใน 3 ปีข้างหน้า
1.4.2 การเปลี่ยนแปลงสุทธิของการจ้างงานใน 3 ปีข้างหน้าของอุตสาหกรรม
1.4.3 อัตราส่วนร้อยละของการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานใน 3 ปีข้างหน้าของอุตสาหกรรม
2. แบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการ
2.1.1 อัตราการใช้กำลังการผลิตของสถานประกอบการ
2.1.2 สินทรัพย์ถาวรของสถานประกอบการ
2.1.3 รายได้จากการผลิตของอุตสาหกรรมที่ได้จากสำรวจ (ไม่รวมผู้ไม่ตอบ)
2.1.4 ลักษณะความเป็นเจ้าของของสถานประกอบการ
2.2 ข้อมูลด้านเทคโนโลยีของสถานประกอบการ
2.2.1 ข้อมูลด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม
2.3 ข้อมูลด้านการจ้างงาน
2.3.1 การจ้างงานตามขนาดของอุตสาหกรรม
2.3.2 ระดับการศึกษาของบุคลากรในอุตสาหกรรม
2.3.3 ระดับการศึกษา/สาขา/ฝ่ายสังกัดของบุคลากรในอุตสาหกรรม
2.3.4 อัตราส่วนร้อยละของระดับการศึกษา/สาขา/ฝ่ายสังกัดของบุคลากรในอุตสาหกรรม
2.3.5 บุคลากรที่ เข้า-ออก ในรอบปีที่ผ่านอุตสาหกรรม
2.3.6 ร้อยละบุคลากรที่ เข้า-ออกในรอบปีที่ผ่านมาในอุตสาหกรรม
2.3.7 อัตราส่วนร้อยละของการหมุนเวียน (Turnover) บุคลากรในอุตสาหกรรม
2.3.8 ความพอใจในคุณภาพด้านความรู้เฉพาะทาง
2.3.9 ความพอใจในคุณภาพด้านอื่นๆ โดยรวม (ยกเว้น ความรู้เฉพาะทาง) ในอุตสาหกรรม
2.3.10 ความยาก/ง่ายในการสรรหาบุคลากรในอุตสาหกรรม
2.3.11 สาเหตุและการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร
2.4 ข้อมูลสถานการณ์ในอนาคต
2.4.1 การดำเนินกิจการใน 3 ปีข้างหน้า
2.4.2 การเปลี่ยนแปลงสุทธิของการจ้างงานใน 3 ปีข้างหน้าของอุตสาหกรรมอัตราส่วนร้อยละของการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานใน 3 ปีข้างหน้า
3.ข้อมูลแสดงผลพยากรณ์ความต้องการแรงงาน มีรายละเอียดของเมนูย่อยดังนี้
3.1 พยากรณ์ความต้องการแรงงานรายอุตสาหกรรม
หลังจากทำการบันทึกข้อมูลทั้งหมดแล้ว โปรแกรมจะทำการพยากรณ์ความต้องการแรงงานโดยอัตโนมัติ ตั้งแต่ปีฐานและปีพยากรณ์อีก 5 ปี โดยจำแนกตามอุตสาหกรรมทั้ง 14 อุตสาหกรรมพร้อมทั้งภาพรวมทุกอุตสาหกรรม
3.2 พยากรณ์ความต้องการแรงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรายอุตสาหกรรมส่วนนี้เป็นการพยากรณ์ความต้องการแรงงานเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรายปี ตั้งแต่ปีฐานและปีพยากรณ์อีก 5 ปี โดยจำแนกตามอุตสาหกรรมทั้ง 14 อุตสาหกรรมพร้อมทั้งภาพรวมทุกอุตสาหกรรม
3.3 พยากรณ์ความต้องการแรงงานด้านอื่นๆ รายอุตสาหกรรม
ส่วนนี้เป็นการพยากรณ์ความต้องการแรงงานด้านอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่แรงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่ปีฐานและปีพยากรณ์อีก 5 ปี โดยจำแนกตามอุตสาหกรรมทั้ง 14 อุตสาหกรรมพร้อมทั้งภาพรวมทุกอุตสาหกรรม
3.4 พยากรณ์ความต้องการแรงงานจำแนกตามสายการผลิตและการศึกษาการพยากรณ์ส่วนนี้ จะแสดงผลการพยากรณ์ความต้องการแรงงานจำแนกตามสายการผลิตและการศึกษา โดยแสดงผลทีละอุตสาหกรรม ทีละปี ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกอุตสาหกรรม และปีพยากรณ์ที่สนใจได้ทางด้านบน
3.5 สรุปความต้องการแรงงาน S&T และ non S&T ตั้งแต่ระดับ ปวช. ขึ้นไปส่วนนี้เป็นการสรุปความต้องการแรงงาน S&T และ non S&T เพื่อทำการเปรียบเทียบความต้องการแรงงาน S&T และ non S&T โดยเปรียบเทียบเฉพาะแรงงานที่มีระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับ ปวช. ขึ้นไป เนื่องจากแรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับนี้ถือว่ายังไม่ได้รับการฝึกเป็นแรงงาน S&T
3.6 อัตราการเจริญเติบโตของความต้องการแรงงาน S&T และ non S&T ตั้งแต่ระดับ ปวช. ขึ้นไปส่วนนี้เป็นการแสดงอัตราการเจริญเติบโตของความต้องการแรงงานทั้งด้าน S&T และ non S&T ตั้งแต่ระดับ ปวช. ขึ้นไป โดยจำแนกตามระดับการศึกษาในภาพรวมทุกอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-