เศรษฐกิจภาคเหนือเดือนพฤษภาคมยังคงขยายตัวแต่ในอัตราชะลอลงเล็กน้อยตามการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ สำหรับภาคการผลิต รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากปัจจัยทั้งทางด้านผลผลิตและราคา อย่างไรก็ดี การผลิตของอุตสาหกรรมส่งออกยังขยายตัวในเกณฑ์ดีแต่ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากไม่ประสบปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ( SARS ) เช่นปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปชะลอลง ขณะที่เงินให้สินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ยังขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนโดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อแก่อุตสาหกรรมแปรรูปพืชผลเกษตรและการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจในเดือนพฤษภาคม 2547 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชผลหลักของภาคเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 ตามผลผลิตของลิ้นจี่และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นปลายปีก่อนทำให้ลิ้นจี่ติดผลมาก ประกอบกับราคาข้าวโพดปีก่อนจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก ขณะที่ผลผลิตข้าวนาปรังลดลงร้อยละ 9.9 จากการที่เกษตรกรเลื่อนการเพาะปลูกออกไปและผลผลิตบางส่วนเสียหายจากปัญหาขาดแคลนน้ำ ด้านราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังและข้าวโพดที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 และร้อยละ 42.1 ตามลำดับ ตามราคาในตลาดโลกเป็นสำคัญ สำหรับราคาลิ้นจี่ลดลงถึงร้อยละ 60.2 ส่งผลต่อกำลังซื้อในแหล่งเพาะปลูก อย่างไรก็ดี รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักโดยรวมยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวเพื่อสนองตอบอุปสงค์ของสินค้าใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสูง โดยการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.5 ชะลอลงจากร้อยละ 37.9 เดือนก่อน เป็น 128.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ด้านผลผลิตสังกะสีเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.6 เป็น 11 , 540 เมตริกตัน เร่งตัวขึ้นและกลับมาอยู่ในระดับปกติหลังจากประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงก่อนหน้า ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จัดเก็บจากอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนเป็น 74.7 ล้านบาท
3. ภาคบริการ ขยายตัวดีเมื่อเทียบระยะเดียวกันปีก่อนที่ประสบปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ( SARS ) ประกอบกับช่วงปีนี้ ยังมีแรงสนับสนุนจากการเข้าเยี่ยมชมหมีแพนด้าและการเดินทางด้วยสายการบินราคาประหยัด ( Low Fare Airline ) และบางส่วนได้รับผลดีจากนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวทางภาคเหนือมากขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.2 จากปีก่อน โดยเพิ่มมากทั้งท่าอากาศยานเชียงราย และท่าอากาศยานเชียงใหม่ ร้อยละ 83.6 และร้อยละ 72.6 ตามลำดับ ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33.8 ระยะเดียวกันปีก่อนเป็นร้อยละ 43.9 และราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นจาก 796.66 บาทต่อห้องเป็น 863.14 บาทต่อห้อง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยังขยายตัวแต่มีอัตราชะลอลง โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เทียบกับร้อยละ 52.1 เดือนก่อน ขณะที่ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการลดลงในจังหวัดลำพูนและเชียงรายเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ในจังหวัดสำคัญของภาค เช่น เชียงใหม่ นครสวรรค์ และกำแพงเพชร ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ส่วนเครื่องชี้ภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทการขายส่ง/ขายปลีก อยู่ในเกณฑ์ดีโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากระยะเดียวกันปี ก่อน โดยเร่งตัวในภาคเหนือตอนล่างเพราะได้รับประโยชน์จากราคาพืชผลหลักที่สูงขึ้น ขณะที่ชะลอลงมากในภาคเหนือตอนบน
5. การลงทุนภาคเอกชน ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากราคาเหล็กเส้นที่อยู่ในเกณฑ์สูงส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจและประชาชน พื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงในพื้นที่ก่อสร้างฯ ประเภทอยู่อาศัยเป็นสำคัญ ด้านค่าธรรมเนียมขายที่ดินอยู่ในเกณฑ์ดีและเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน มูลค่านำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรกลและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.0 ชะลอตัวจากเดือนก่อนเนื่องจากการนำเข้าเครื่องจักรกลจากเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาลดลง ขณะที่การนำเข้าเครื่องจักรกลจากญี่ปุ่นขยายตัวสูงต่อเนื่องเพื่อนำมาปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ด้านโรงงานจดทะเบียนตั้งใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนผลิตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อสร้าง การเกษตร เครื่องเรือน และการซ่อมยานพาหนะ
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือลดลงร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เหลือ 9 , 722.0 ล้านบาท โดยลดลงในรายจ่ายหมวดลงทุน และลดลงมากที่จังหวัดน่าน ลำปาง ตากและพิษณุโลก อย่างไรก็ตาม รายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20. 6 โดยเฉพาะหมวดเงินเดือนซึ่งเพิ่มขึ้นหลายจังหวัด ทางด้านการจัดเก็บ รายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าโดยจัดเก็บได้ 2 , 612.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากจากการจัดเก็บภาษีปิโตรเลียมเป็นสำคัญ ส่งผลให้ดุลในงบประมาณขาดดุลเพียง 7 , 110.0 ล้านบาท เทียบกับ 8 , 303.3 ล้านบาท เดือนก่อนและ 8 , 875.9 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือยังขยายตัวในเกณฑ์สูง โดยมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 เป็น 178.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ อิสราเอล และมาเลเซีย ขณะที่การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงเล็กน้อย ส่วนมูลค่าการส่งออกผ่านชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.9 เป็น 37.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกสินค้าประเภทน้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และเคมีภัณฑ์ ไปพม่า และการส่งออกผลิตภัณฑ์พืชสวน ผลิตภัณฑ์ยาง และไขมันจากพืชไปจีนตอนใต้
มูลค่านำเข้า เร่งตัวจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.9 เป็น 118.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าวัตถุดิบ ประเภทชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และแผงวงจรไฟฟ้าเพื่อผลิตส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.2 เป็น 5.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าจากพม่าที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่งผลให้ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนพฤษภาคม 2547 เกินดุล 60.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงปีก่อนที่เกินดุล 58.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปชะลอลงโดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1 ตามราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เนื่องจากราคาเนื้อสุกรและผักสดสูงขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนราคาผลไม้สดลดลงเนื่องจากมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดพร้อมกันจำนวนมาก อย่างไรก็ตามราคาเนื้อสุกรเริ่มชะลอตัวลงจากเดือนก่อนเนื่องจากภาครัฐขอให้ผู้ประกอบการตรึงราคาสุกรมีชีวิตประกอบกับผู้บริโภคบางส่วนกลับไปบริโภคเนื้อไก่มากขึ้น ด้านราคาอาหารหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเร่งตัวโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามราคาจำหน่ายปลีกก๊าซหุงต้มและค่าไฟฟ้า สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานลดลงร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามค่าเช่าบ้านที่ลดลงต่อเนื่อง
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนเมษายน 2547 พบว่า ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.6 ล้านคน ประกอบด้วยผู้มีงานทำ 6.3 ล้านคน ผู้ว่างงาน 0.2 ล้านคน และผู้รอฤดูกาล 0.1 ล้านคน โดยอัตราการจ้างงานอยู่ที่ร้อยละ 96.0 ต่ำกว่าร้อยละ 96.5 เดือนเดียวกันปีก่อน การจ้างงานภาคเกษตรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.8 ขณะที่นอกภาคเกษตรมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 โดยเพิ่มขึ้นมากในภาคการขายส่ง-ปลีก การก่อสร้าง และการศึกษา ด้านอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.0 สูงกว่าร้อยละ 2.4 เดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากแรงงานใหม่ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาเข้าสู่ตลาด อย่างไรก็ตามบางธุรกิจมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านซึ่งต้องจ้างแรงงานจากส่วนกลางทดแทน
10. การเงิน ณ . สิ้นเดือนพฤษภาคม 2547 ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 เป็น 289,780 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากเงินโอนของส่วนราชการเพื่อรอการเบิกจ่ายในหลายจังหวัด อีกส่วนหนึ่งเป็นเงินฝากของลูกค้าที่ได้รับสินเชื่อใหม่ที่นำฝากไว้ก่อนนำไปใช้ในโครงการ ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 208 , 920 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2 ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อใหม่แก่อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเกษตรและธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัย ในจังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก และกำแพงเพชร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจในเดือนพฤษภาคม 2547 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชผลหลักของภาคเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 ตามผลผลิตของลิ้นจี่และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นปลายปีก่อนทำให้ลิ้นจี่ติดผลมาก ประกอบกับราคาข้าวโพดปีก่อนจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก ขณะที่ผลผลิตข้าวนาปรังลดลงร้อยละ 9.9 จากการที่เกษตรกรเลื่อนการเพาะปลูกออกไปและผลผลิตบางส่วนเสียหายจากปัญหาขาดแคลนน้ำ ด้านราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังและข้าวโพดที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 และร้อยละ 42.1 ตามลำดับ ตามราคาในตลาดโลกเป็นสำคัญ สำหรับราคาลิ้นจี่ลดลงถึงร้อยละ 60.2 ส่งผลต่อกำลังซื้อในแหล่งเพาะปลูก อย่างไรก็ดี รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักโดยรวมยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวเพื่อสนองตอบอุปสงค์ของสินค้าใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสูง โดยการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.5 ชะลอลงจากร้อยละ 37.9 เดือนก่อน เป็น 128.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ด้านผลผลิตสังกะสีเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.6 เป็น 11 , 540 เมตริกตัน เร่งตัวขึ้นและกลับมาอยู่ในระดับปกติหลังจากประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงก่อนหน้า ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จัดเก็บจากอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนเป็น 74.7 ล้านบาท
3. ภาคบริการ ขยายตัวดีเมื่อเทียบระยะเดียวกันปีก่อนที่ประสบปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ( SARS ) ประกอบกับช่วงปีนี้ ยังมีแรงสนับสนุนจากการเข้าเยี่ยมชมหมีแพนด้าและการเดินทางด้วยสายการบินราคาประหยัด ( Low Fare Airline ) และบางส่วนได้รับผลดีจากนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวทางภาคเหนือมากขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.2 จากปีก่อน โดยเพิ่มมากทั้งท่าอากาศยานเชียงราย และท่าอากาศยานเชียงใหม่ ร้อยละ 83.6 และร้อยละ 72.6 ตามลำดับ ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33.8 ระยะเดียวกันปีก่อนเป็นร้อยละ 43.9 และราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นจาก 796.66 บาทต่อห้องเป็น 863.14 บาทต่อห้อง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยังขยายตัวแต่มีอัตราชะลอลง โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เทียบกับร้อยละ 52.1 เดือนก่อน ขณะที่ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการลดลงในจังหวัดลำพูนและเชียงรายเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ในจังหวัดสำคัญของภาค เช่น เชียงใหม่ นครสวรรค์ และกำแพงเพชร ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ส่วนเครื่องชี้ภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทการขายส่ง/ขายปลีก อยู่ในเกณฑ์ดีโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากระยะเดียวกันปี ก่อน โดยเร่งตัวในภาคเหนือตอนล่างเพราะได้รับประโยชน์จากราคาพืชผลหลักที่สูงขึ้น ขณะที่ชะลอลงมากในภาคเหนือตอนบน
5. การลงทุนภาคเอกชน ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากราคาเหล็กเส้นที่อยู่ในเกณฑ์สูงส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจและประชาชน พื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงในพื้นที่ก่อสร้างฯ ประเภทอยู่อาศัยเป็นสำคัญ ด้านค่าธรรมเนียมขายที่ดินอยู่ในเกณฑ์ดีและเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน มูลค่านำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรกลและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.0 ชะลอตัวจากเดือนก่อนเนื่องจากการนำเข้าเครื่องจักรกลจากเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาลดลง ขณะที่การนำเข้าเครื่องจักรกลจากญี่ปุ่นขยายตัวสูงต่อเนื่องเพื่อนำมาปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ด้านโรงงานจดทะเบียนตั้งใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนผลิตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อสร้าง การเกษตร เครื่องเรือน และการซ่อมยานพาหนะ
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือลดลงร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เหลือ 9 , 722.0 ล้านบาท โดยลดลงในรายจ่ายหมวดลงทุน และลดลงมากที่จังหวัดน่าน ลำปาง ตากและพิษณุโลก อย่างไรก็ตาม รายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20. 6 โดยเฉพาะหมวดเงินเดือนซึ่งเพิ่มขึ้นหลายจังหวัด ทางด้านการจัดเก็บ รายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าโดยจัดเก็บได้ 2 , 612.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากจากการจัดเก็บภาษีปิโตรเลียมเป็นสำคัญ ส่งผลให้ดุลในงบประมาณขาดดุลเพียง 7 , 110.0 ล้านบาท เทียบกับ 8 , 303.3 ล้านบาท เดือนก่อนและ 8 , 875.9 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือยังขยายตัวในเกณฑ์สูง โดยมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 เป็น 178.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ อิสราเอล และมาเลเซีย ขณะที่การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงเล็กน้อย ส่วนมูลค่าการส่งออกผ่านชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.9 เป็น 37.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกสินค้าประเภทน้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และเคมีภัณฑ์ ไปพม่า และการส่งออกผลิตภัณฑ์พืชสวน ผลิตภัณฑ์ยาง และไขมันจากพืชไปจีนตอนใต้
มูลค่านำเข้า เร่งตัวจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.9 เป็น 118.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าวัตถุดิบ ประเภทชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และแผงวงจรไฟฟ้าเพื่อผลิตส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.2 เป็น 5.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าจากพม่าที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่งผลให้ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนพฤษภาคม 2547 เกินดุล 60.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงปีก่อนที่เกินดุล 58.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปชะลอลงโดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1 ตามราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เนื่องจากราคาเนื้อสุกรและผักสดสูงขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนราคาผลไม้สดลดลงเนื่องจากมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดพร้อมกันจำนวนมาก อย่างไรก็ตามราคาเนื้อสุกรเริ่มชะลอตัวลงจากเดือนก่อนเนื่องจากภาครัฐขอให้ผู้ประกอบการตรึงราคาสุกรมีชีวิตประกอบกับผู้บริโภคบางส่วนกลับไปบริโภคเนื้อไก่มากขึ้น ด้านราคาอาหารหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเร่งตัวโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามราคาจำหน่ายปลีกก๊าซหุงต้มและค่าไฟฟ้า สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานลดลงร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามค่าเช่าบ้านที่ลดลงต่อเนื่อง
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนเมษายน 2547 พบว่า ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.6 ล้านคน ประกอบด้วยผู้มีงานทำ 6.3 ล้านคน ผู้ว่างงาน 0.2 ล้านคน และผู้รอฤดูกาล 0.1 ล้านคน โดยอัตราการจ้างงานอยู่ที่ร้อยละ 96.0 ต่ำกว่าร้อยละ 96.5 เดือนเดียวกันปีก่อน การจ้างงานภาคเกษตรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.8 ขณะที่นอกภาคเกษตรมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 โดยเพิ่มขึ้นมากในภาคการขายส่ง-ปลีก การก่อสร้าง และการศึกษา ด้านอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.0 สูงกว่าร้อยละ 2.4 เดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากแรงงานใหม่ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาเข้าสู่ตลาด อย่างไรก็ตามบางธุรกิจมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านซึ่งต้องจ้างแรงงานจากส่วนกลางทดแทน
10. การเงิน ณ . สิ้นเดือนพฤษภาคม 2547 ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 เป็น 289,780 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากเงินโอนของส่วนราชการเพื่อรอการเบิกจ่ายในหลายจังหวัด อีกส่วนหนึ่งเป็นเงินฝากของลูกค้าที่ได้รับสินเชื่อใหม่ที่นำฝากไว้ก่อนนำไปใช้ในโครงการ ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 208 , 920 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2 ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อใหม่แก่อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเกษตรและธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัย ในจังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก และกำแพงเพชร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-