เศรษฐกิจในเดือนพฤษภาคมขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า โดยได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ทั้งนี้ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวสูงกว่าเดือนก่อนเล็กน้อย ขณะที่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่การใช้จ่ายของรัฐบาลเร่งตัวขึ้น
ส่วนด้านต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกยังคงขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าส่งออกเป็นสำคัญ และมีส่วนทำให้ดุลการค้าเกินดุลเล็กน้อยในเดือนนี้ แม้ว่ามูลค่าการนำเข้าจะขยายตัวสูง
ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลหลักถูกกระทบจากภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ราคาพืชผลหลักที่สูงต่อเนื่องช่วยให้รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังคงขยายตัวดี ส่วนดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อนแต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะวัตถุดิบขาดแคลนในหมวดอุตสาหกรรมอาหาร สำหรับภาคบริการ การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้เพียงเล็กน้อย เนื่องจากพื้นที่เกิดเหตุไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวหลักของประเทศ
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานต่ำ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเร่งตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลอีกครั้งหลังจากขาดดุลเล็กน้อยในเดือนก่อน ส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่มูลค่าหนี้ต่างประเทศในรูปดอลลาร์ สรอ.ลดลงเนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยนเป็นสำคัญ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤษภาคม มีดังนี้
1.การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตของอุตสาหกรรมที่ขายในประเทศเป็นหลักขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะยานยนต์และปิโตรเลียม ส่วนผลผลิตของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกชะลอลงเล็กน้อยจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมน้ำตาล อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋องเป็นสำคัญ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 73.3
2.การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน สะท้อนว่าการอุปโภคบริโภคยังขยายตัวได้ต่อเนื่องแม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยรวมจะลดลงเป็นลำดับตั้งแต่ช่วงต้นปี ทั้งนี้ เครื่องชี้ที่ขยายตัวร้อยละ 14.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการขยายตัวของเครื่องชี้สำคัญชะลอลงจากเดือนก่อนทั้งในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและหมวดก่อสร้าง อย่างไรก็ดีการขยายตัวในระดับดังกล่าวยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจภายใต้ภาวะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
3.ภาคการคลัง ในเดือนนี้ รายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 โดยรายได้ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.6 ขณะที่รายได้ภาษีลดลงร้อยละ 7.9 เนื่องจากมีการจัดสรรรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)จำนวน 15.1 พันล้านบาท ซึ่งหากบวกกลับการจัดสรรรายได้แก่ อปท.ดังกล่าว รายได้รัฐบาลจะขยายตัวร้อยละ 13.6 สำหรับรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 โดยรายการสำคัญได้แก่ รายจ่ายบำเหน็จบำนาญ และการเบิกจ่ายให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดุลเงินในงบประมาณและดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 4.4 และ 6.5 พันล้านบาท ตามลำดับ ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 10.9 พันล้านบาท
4.ระดับราคาดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 ตามราคาอาหารและเครื่องดื่มที่สูงขึ้นร้อยละ 4.6 โดยเฉพาะราคาไข่และผลิตภัณฑ์นมที่ปริมาณผลลิตยังมีน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการ กอปรกับราคาอาหารสำเร็จรูปเริ่มทยอยปรับขึ้นตามต้นทุนอาหารสดและพลังงานที่เพิ่มขึ้นไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ส่วนราคาสินค้าที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากการปรับขึ้นค่าเล่าเรียนของสถานศึกษาเอกชนเป็นสำคัญ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนนี้
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้น จากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 ตามราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.0 ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 และ 4.4 ตามลำดับ
5.ภาคต่างประเทศ ในเดือนพฤษภาคมดุลการค้ากลับมาเกินดุล 10 ล้านดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่ขาดดุล 2 เดือนติดต่อกัน โดยมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 7,950 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 21.7 จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกในหมวดยานยนต์อิเล็กทรอนิกส์ และเกษตร ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 7,940 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 33.8 โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของการนำเข้าน้ำมัน วัตถุดิบและสินค้าทุน ส่วนดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 204 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งน้อยกว่าในเดือนก่อนเนื่องจากมิใช่ช่วงฤดูการท่องเที่ยวของชาวต่างประเทศรายรับจากการท่องเที่ยวจึงน้อย ประกอบกับเป็นช่วงจ่ายกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างชาติด้วย สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 214 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ดุลการชำระเงินขาดดุล 155 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ที่ระดับ 42.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 5.8 ล้านดอลลาร์ สรอ.
6.ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2a และM3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 8.1 8.8 และ 7.0 ตามลำดับ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 5.7 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากจากภาคธุรกิจ ขณะที่สินเชื่อ (ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 จากการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ให้แก่ภาคธุรกิจเป็นสำคัญ
สำหรับอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินทรงตัวใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.98 และ 1.00 ต่อปีตามลำดับ
7.เงินบาท ค่าเงินบาทในเดือนพฤษภาคมเฉลี่ยอยู่ที่ 40.57 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากเดือนก่อนเพราะ (1)ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ (2)ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นได้ส่งผลให้บริษัทน้ำมันต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้น และ(3)ความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย
ในช่วงวันที่ 1-25 มิถุนายน 2547 ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่องโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 40.79 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ตามปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ความกังวลของนักลงทุนจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ประกอบกับผู้นำเข้าและบริษัทน้ำมันมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ.ค่อนข้างมากในช่วงดังกล่าว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ/ชบ-
ส่วนด้านต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกยังคงขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าส่งออกเป็นสำคัญ และมีส่วนทำให้ดุลการค้าเกินดุลเล็กน้อยในเดือนนี้ แม้ว่ามูลค่าการนำเข้าจะขยายตัวสูง
ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลหลักถูกกระทบจากภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ราคาพืชผลหลักที่สูงต่อเนื่องช่วยให้รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังคงขยายตัวดี ส่วนดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อนแต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะวัตถุดิบขาดแคลนในหมวดอุตสาหกรรมอาหาร สำหรับภาคบริการ การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้เพียงเล็กน้อย เนื่องจากพื้นที่เกิดเหตุไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวหลักของประเทศ
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานต่ำ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเร่งตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลอีกครั้งหลังจากขาดดุลเล็กน้อยในเดือนก่อน ส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่มูลค่าหนี้ต่างประเทศในรูปดอลลาร์ สรอ.ลดลงเนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยนเป็นสำคัญ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤษภาคม มีดังนี้
1.การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตของอุตสาหกรรมที่ขายในประเทศเป็นหลักขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะยานยนต์และปิโตรเลียม ส่วนผลผลิตของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกชะลอลงเล็กน้อยจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมน้ำตาล อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋องเป็นสำคัญ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 73.3
2.การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน สะท้อนว่าการอุปโภคบริโภคยังขยายตัวได้ต่อเนื่องแม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยรวมจะลดลงเป็นลำดับตั้งแต่ช่วงต้นปี ทั้งนี้ เครื่องชี้ที่ขยายตัวร้อยละ 14.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการขยายตัวของเครื่องชี้สำคัญชะลอลงจากเดือนก่อนทั้งในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและหมวดก่อสร้าง อย่างไรก็ดีการขยายตัวในระดับดังกล่าวยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจภายใต้ภาวะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
3.ภาคการคลัง ในเดือนนี้ รายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 โดยรายได้ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.6 ขณะที่รายได้ภาษีลดลงร้อยละ 7.9 เนื่องจากมีการจัดสรรรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)จำนวน 15.1 พันล้านบาท ซึ่งหากบวกกลับการจัดสรรรายได้แก่ อปท.ดังกล่าว รายได้รัฐบาลจะขยายตัวร้อยละ 13.6 สำหรับรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 โดยรายการสำคัญได้แก่ รายจ่ายบำเหน็จบำนาญ และการเบิกจ่ายให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดุลเงินในงบประมาณและดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 4.4 และ 6.5 พันล้านบาท ตามลำดับ ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 10.9 พันล้านบาท
4.ระดับราคาดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 ตามราคาอาหารและเครื่องดื่มที่สูงขึ้นร้อยละ 4.6 โดยเฉพาะราคาไข่และผลิตภัณฑ์นมที่ปริมาณผลลิตยังมีน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการ กอปรกับราคาอาหารสำเร็จรูปเริ่มทยอยปรับขึ้นตามต้นทุนอาหารสดและพลังงานที่เพิ่มขึ้นไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ส่วนราคาสินค้าที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากการปรับขึ้นค่าเล่าเรียนของสถานศึกษาเอกชนเป็นสำคัญ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนนี้
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้น จากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 ตามราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.0 ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 และ 4.4 ตามลำดับ
5.ภาคต่างประเทศ ในเดือนพฤษภาคมดุลการค้ากลับมาเกินดุล 10 ล้านดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่ขาดดุล 2 เดือนติดต่อกัน โดยมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 7,950 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 21.7 จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกในหมวดยานยนต์อิเล็กทรอนิกส์ และเกษตร ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 7,940 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 33.8 โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของการนำเข้าน้ำมัน วัตถุดิบและสินค้าทุน ส่วนดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 204 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งน้อยกว่าในเดือนก่อนเนื่องจากมิใช่ช่วงฤดูการท่องเที่ยวของชาวต่างประเทศรายรับจากการท่องเที่ยวจึงน้อย ประกอบกับเป็นช่วงจ่ายกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างชาติด้วย สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 214 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ดุลการชำระเงินขาดดุล 155 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ที่ระดับ 42.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 5.8 ล้านดอลลาร์ สรอ.
6.ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2a และM3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 8.1 8.8 และ 7.0 ตามลำดับ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 5.7 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากจากภาคธุรกิจ ขณะที่สินเชื่อ (ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 จากการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ให้แก่ภาคธุรกิจเป็นสำคัญ
สำหรับอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินทรงตัวใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.98 และ 1.00 ต่อปีตามลำดับ
7.เงินบาท ค่าเงินบาทในเดือนพฤษภาคมเฉลี่ยอยู่ที่ 40.57 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากเดือนก่อนเพราะ (1)ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ (2)ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นได้ส่งผลให้บริษัทน้ำมันต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้น และ(3)ความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย
ในช่วงวันที่ 1-25 มิถุนายน 2547 ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่องโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 40.79 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ตามปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ความกังวลของนักลงทุนจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ประกอบกับผู้นำเข้าและบริษัทน้ำมันมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ.ค่อนข้างมากในช่วงดังกล่าว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ/ชบ-