กรุงเทพ--16 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมทบทวนโครงสร้างและองค์ประกอบของทีมประเทศไทยในต่างประเทศ (REVAMP) ครั้งที่ 6
ในวันที่ 16 สิงหาคม 2547 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมทบทวนปรับโครงสร้างและองค์ประกอบของทีมประเทศไทยในต่างประเทศ (Revamp) ครั้งที่ 6 ที่กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุม Revamp นี้ เป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหาการจัดโครงสร้างส่วนราชการในต่างประเทศตามแนวความคิดเดิมที่เป็นการแบ่งแยกงาน (division of labour) ในลักษณะต่างคนต่างอยู่ ต่างมีหน้าที่ และต่างมีงบประมาณของตนเอง ซึ่งค่อนข้างจะสิ้นเปลืองและไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ และเพื่อให้ความพยายามนี้เกิดผลอย่างจริงจัง จึงจำเป็นที่จะต้องปรับโครงสร้างส่วนราชการในต่างประเทศแบบขนานใหญ่บนพื้นฐานของแนวความคิดการใช้ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลหรืองานเป็นตัวตั้ง (agenda-based) ในการกำหนดสำนักงาน บุคลากร และงบประมาณของส่วนราชการไทยในต่างประเทศซึ่งประกอบเป็นทีมประเทศไทยในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเชิงรุกและความสามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างคุ้มค่า
การประชุม Revamp ภายใต้รัฐบาลปัจจุบันได้ดำเนินการมาแล้ว 5 ครั้ง โดยเริ่มการประชุมครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้แทนการค้าไทยหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจในต่างประเทศ และหัวหน้าส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานกลาง เข้าร่วมประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นในการ ”จัดทัพ” ใหม่ขนานใหญ่ของไทยในต่างประเทศ เพื่อรองรับการดำเนินงานในต่างประเทศตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
การประชุมได้เริ่มต้นด้วยการพิจารณาจากการสมมติว่าขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีข้าราชการจากหน่วยงานใด ๆ ในต่างประเทศ แล้วพิจารณาจากยุทธศาสตร์ของไทยในมิติต่าง ๆ ทั้งมิติการเมือง การส่งเสริมการลงทุน การท่องเที่ยว การค้า และสังคม ว่าประเทศไทยควรมีตัวแทน ณ จุดใดของโลก และจำนวนเท่าไร และภารกิจหลักของจุดนั้นคืออะไร เพื่อจะนำไปสู่การคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมไปเป็นหัวหน้า โดยดูจากมิติของภารกิจที่จุดนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังได้มีการพิจารณาถึงตัวเลือกในการเพิ่มประสิทธิภาพอื่น ๆ ในเชิงเปรียบเทียบสำหรับเมืองแต่ละเมือง/ประเทศแต่ละประเทศที่มีตัวแทนจากหน่วยงานไทยไปปฏิบัติหน้าที่ด้วย
นอกเหนือจากการใช้วิธีการตามแนวความคิดแบบดั้งเดิมที่มักจะใช้วิธีการเปิดสำนักงานหรือส่งบุคลากรจากส่วนกลางไปเพิ่มเติม อาทิ การใช้วิธีการว่าจ้างลูกจ้าง/ผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น การส่งคนไปปฏิบัติงานเฉพาะกิจเป็นครั้งคราว การฝากภารกิจระหว่างหน่วยงาน การขยายเขตอาณาสำนักงาน การจัดตั้ง Thai Service Center โดยมอบให้คนในท้องถิ่นดูแล การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตสัญจร (roving ambassador) เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อประเมินความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐตามแนวทางการบริหารราชการที่ดีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 โดยสรุป การปรับโครงสร้างส่วนราชการไทยในต่างประเทศแบบขนานใหญ่ดังกล่าวเป็นวิธีการบริหารจัดการใหม่ที่จะทำให้ประเทศไทยมีงบประมาณเหลือที่จะนำไปใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ได้อย่างพอเพียง รวมทั้งการเปิดสำนักงานหรือมีตัวแทนที่จะดูแลรักษาและแสวงหาผลประโยชน์ของประเทศไทยในพื้นที่หรือประเทศต่าง ๆ ได้เพิ่มเติมอีกด้วย นอกจากนี้ ยังจะนำไปสู่การรวมพลังทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ เพื่อได้คนที่เหมาะสมไปดำเนินภารกิจในต่างประเทศอย่างถูกที่ถูกทาง โดยถือว่าข้าราชการของทุกกระทรวงเป็นข้าราชการของประเทศไทยที่สามารถนำมารวมกันเพื่อคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมไปทำงานในต่างประเทศให้ถูกต้องในแต่ละจุดได้ ซึ่งในที่สุด จะนำไปสู่การจัดทำแผนงบประมาณเชิงบูรณาการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีภารกิจในต่างประเทศเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
อนึ่ง การประชุม Revamp ครั้งที่ 6 นี้ จะเป็นการพิจารณาต่อเนื่องจากการประชุมที่ผ่านมา 5 ครั้งเป็นรายภูมิภาคไปจนครบทุกภูมิภาค
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
การประชุมทบทวนโครงสร้างและองค์ประกอบของทีมประเทศไทยในต่างประเทศ (REVAMP) ครั้งที่ 6
ในวันที่ 16 สิงหาคม 2547 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมทบทวนปรับโครงสร้างและองค์ประกอบของทีมประเทศไทยในต่างประเทศ (Revamp) ครั้งที่ 6 ที่กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุม Revamp นี้ เป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหาการจัดโครงสร้างส่วนราชการในต่างประเทศตามแนวความคิดเดิมที่เป็นการแบ่งแยกงาน (division of labour) ในลักษณะต่างคนต่างอยู่ ต่างมีหน้าที่ และต่างมีงบประมาณของตนเอง ซึ่งค่อนข้างจะสิ้นเปลืองและไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ และเพื่อให้ความพยายามนี้เกิดผลอย่างจริงจัง จึงจำเป็นที่จะต้องปรับโครงสร้างส่วนราชการในต่างประเทศแบบขนานใหญ่บนพื้นฐานของแนวความคิดการใช้ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลหรืองานเป็นตัวตั้ง (agenda-based) ในการกำหนดสำนักงาน บุคลากร และงบประมาณของส่วนราชการไทยในต่างประเทศซึ่งประกอบเป็นทีมประเทศไทยในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเชิงรุกและความสามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างคุ้มค่า
การประชุม Revamp ภายใต้รัฐบาลปัจจุบันได้ดำเนินการมาแล้ว 5 ครั้ง โดยเริ่มการประชุมครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้แทนการค้าไทยหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจในต่างประเทศ และหัวหน้าส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานกลาง เข้าร่วมประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นในการ ”จัดทัพ” ใหม่ขนานใหญ่ของไทยในต่างประเทศ เพื่อรองรับการดำเนินงานในต่างประเทศตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
การประชุมได้เริ่มต้นด้วยการพิจารณาจากการสมมติว่าขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีข้าราชการจากหน่วยงานใด ๆ ในต่างประเทศ แล้วพิจารณาจากยุทธศาสตร์ของไทยในมิติต่าง ๆ ทั้งมิติการเมือง การส่งเสริมการลงทุน การท่องเที่ยว การค้า และสังคม ว่าประเทศไทยควรมีตัวแทน ณ จุดใดของโลก และจำนวนเท่าไร และภารกิจหลักของจุดนั้นคืออะไร เพื่อจะนำไปสู่การคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมไปเป็นหัวหน้า โดยดูจากมิติของภารกิจที่จุดนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังได้มีการพิจารณาถึงตัวเลือกในการเพิ่มประสิทธิภาพอื่น ๆ ในเชิงเปรียบเทียบสำหรับเมืองแต่ละเมือง/ประเทศแต่ละประเทศที่มีตัวแทนจากหน่วยงานไทยไปปฏิบัติหน้าที่ด้วย
นอกเหนือจากการใช้วิธีการตามแนวความคิดแบบดั้งเดิมที่มักจะใช้วิธีการเปิดสำนักงานหรือส่งบุคลากรจากส่วนกลางไปเพิ่มเติม อาทิ การใช้วิธีการว่าจ้างลูกจ้าง/ผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น การส่งคนไปปฏิบัติงานเฉพาะกิจเป็นครั้งคราว การฝากภารกิจระหว่างหน่วยงาน การขยายเขตอาณาสำนักงาน การจัดตั้ง Thai Service Center โดยมอบให้คนในท้องถิ่นดูแล การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตสัญจร (roving ambassador) เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อประเมินความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐตามแนวทางการบริหารราชการที่ดีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 โดยสรุป การปรับโครงสร้างส่วนราชการไทยในต่างประเทศแบบขนานใหญ่ดังกล่าวเป็นวิธีการบริหารจัดการใหม่ที่จะทำให้ประเทศไทยมีงบประมาณเหลือที่จะนำไปใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ได้อย่างพอเพียง รวมทั้งการเปิดสำนักงานหรือมีตัวแทนที่จะดูแลรักษาและแสวงหาผลประโยชน์ของประเทศไทยในพื้นที่หรือประเทศต่าง ๆ ได้เพิ่มเติมอีกด้วย นอกจากนี้ ยังจะนำไปสู่การรวมพลังทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ เพื่อได้คนที่เหมาะสมไปดำเนินภารกิจในต่างประเทศอย่างถูกที่ถูกทาง โดยถือว่าข้าราชการของทุกกระทรวงเป็นข้าราชการของประเทศไทยที่สามารถนำมารวมกันเพื่อคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมไปทำงานในต่างประเทศให้ถูกต้องในแต่ละจุดได้ ซึ่งในที่สุด จะนำไปสู่การจัดทำแผนงบประมาณเชิงบูรณาการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีภารกิจในต่างประเทศเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
อนึ่ง การประชุม Revamp ครั้งที่ 6 นี้ จะเป็นการพิจารณาต่อเนื่องจากการประชุมที่ผ่านมา 5 ครั้งเป็นรายภูมิภาคไปจนครบทุกภูมิภาค
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-