กรุงเทพ--8 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำแปล (อย่างไม่เป็นทางการ) คำกราบบังคมทูลรายงานในพิธีเปิด การประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียง โดย ฯพณฯ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 8 พฤศจิกายน 2547
ขอพระราชทานกราบบังคมทูล ทราบฝ่าละอองพระบาท
กระทรวงการต่างประเทศรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียง ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศในวันนี้
พสกนิกรทุกหมู่เหล่าล้วนมีความปีติยินดีอย่างหาที่สุดมิได้ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างถ้วนหน้าในการที่พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกรของพระองค์ นับตั้งแต่วันที่พระองค์เสด็จเถลิงถวัลย์พระราชสมบัติมาเป็นเวลากว่า 50 ปี ตลอดเวลาที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จ พระราชดำเนินเยือนทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้พื้นที่ทุรกันดาร เพื่อทอดพระเนตรความยากลำบากของประชาชนที่ดำรงชีพโดยการพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลักอย่างใกล้ชิด ไม่มีผู้ใดที่จะรู้ซึ้งและเข้าใจในทุก รายละเอียดเกี่ยวกับประเทศไทยดีไปกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และไม่มีผู้ใดบนผืนแผ่นดินนี้ที่จะเข้าใจเรื่องการพัฒนาและหนทางแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเหมาะสมดีไปกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ โดยทรงมีพระราชวิริยะในการศึกษา ค้นคว้า และทดลอง เพื่อพัฒนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชี้แนะพสกนิกรชาวไทยถึงวิถีการดำรงชีวิตอย่างสมดุล ปรัชญาแห่งทางสายกลางสามารถปรับใช้ได้กับภารกิจทุกด้าน รวมถึงการพัฒนาและ การบริหารงาน เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายของกระแสโลกาภิวัฒน์ และมีจิตสำนึกต่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน
และตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทุกหนแห่งอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อย และทรงรับทราบพระราช กรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการช่วยเหลือประชาชนในชนบทที่ยากจนอย่างใกล้ชิด จนอาจกล่าวได้ว่า ยากนักที่จะหาผู้ทรงคุณวุฒิในแผ่นนี้ ที่จะสามารถถ่ายทอดแนวพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้อย่างลึกซึ้งที่สุดดังเช่นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
รัฐบาลไทยซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และน้อมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ใส่เกล้าใส่กระหม่อม และนำไปประยุกต์สำหรับการวางแผนพัฒนาประเทศในระดับรากหญ้า ความสำเร็จในการฟื้นฟูและการสร้างความแข็งแกร่งเศรษฐกิจไทยเป็นผลมาจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้
พระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่ประจักษ์ต่อพสกนิสรชาวไทย และยังได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกด้วย เมื่อคราวประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ครั้งที่ 10 ณ ประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ที่ประชุมได้เชิดชูพระเกียรติ และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านการพัฒนา พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายด้วยพระเมตตาต่อพสกนิกรอย่างไม่สนพระทัยต่อความยากลำบากที่ต้องทรงตรากตรำ เพื่อให้ประเทศ และพสกนิกรของพระองค์มีความสุข และอยู่ดีกินดี นอกจากนั้น ในการประชุมประเมินผลการดำเนินงานของการประชุมดังกล่าวเมื่อปี 2545 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการสรรเสริญอีกครั้งว่าเป็นแนวทางที่มี ประสิทธิภาพต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่มาดูงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกในการพัฒนา ดังนั้น รัฐบาลไทยเล็งเห็นว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศ และสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วภายหลังจากวิกฤตการณ์ (เมื่อปี 2540) โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวทางในการดำเนินงาน จึงยินดีที่จะถ่ายทอดแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา
การประชุมระดับรัฐมนตรีในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน ศกนี้ โดยมีผู้แทนเข้าร่วมประชุมจาก 19 ประเทศใน 3 ภูมิภาค คือ เอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา โดยมาจากประเทศ อัฟกานิสถาน ภูฏาน บูร์กินาฟาโซ กัมพูชา จีน โคลอมเบีย อียิปต์ อิหร่าน จอร์แดน เคนยา ลาว มาดากัสการ์ มอริเชียส พม่า เนปาล ศรีลังกา ซูดาน ติมอร์ตะวันออก และเวียดนาม การประชุมครั้งนี้ คาดหวังจะเป็นเวทีที่ประเทศไทยจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตจริง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่านได้รับประสบการณ์ตรงในการนำปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงไปประยุกต์ใช้ และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ดังนั้น ผู้เข้าประชุมจะได้มีโอกาสไปดูงานในพื้นที่ต่างๆ เกือบตลอดรายการของการประชุม ได้แก่ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามแนวพระราชดำริจังหวัดฉะเชิงเทรา สกลนคร และเชียงใหม่ รวมถึงหมู่บ้านเกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทราและประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้เข้าร่วมการประชุมเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2547 อีกทั้ง ผู้เข้าประชุมฯ ยังจะได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ด้วยในวันนี้
เมื่อการประชุมฯ เสร็จสิ้น รัฐบาลไทยหวังว่าผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่านจะมีความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความร่วมมือเพิ่มเติมในระดับทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ที่มีความสนใจต่อไป
บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นศิริมงคลยิ่ง ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญใต้ฝ่าละอองพระบาทมีพระราชดำรัสเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียง
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
คำแปล (อย่างไม่เป็นทางการ) คำกราบบังคมทูลรายงานในพิธีเปิด การประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียง โดย ฯพณฯ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 8 พฤศจิกายน 2547
ขอพระราชทานกราบบังคมทูล ทราบฝ่าละอองพระบาท
กระทรวงการต่างประเทศรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียง ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศในวันนี้
พสกนิกรทุกหมู่เหล่าล้วนมีความปีติยินดีอย่างหาที่สุดมิได้ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างถ้วนหน้าในการที่พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกรของพระองค์ นับตั้งแต่วันที่พระองค์เสด็จเถลิงถวัลย์พระราชสมบัติมาเป็นเวลากว่า 50 ปี ตลอดเวลาที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จ พระราชดำเนินเยือนทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้พื้นที่ทุรกันดาร เพื่อทอดพระเนตรความยากลำบากของประชาชนที่ดำรงชีพโดยการพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลักอย่างใกล้ชิด ไม่มีผู้ใดที่จะรู้ซึ้งและเข้าใจในทุก รายละเอียดเกี่ยวกับประเทศไทยดีไปกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และไม่มีผู้ใดบนผืนแผ่นดินนี้ที่จะเข้าใจเรื่องการพัฒนาและหนทางแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเหมาะสมดีไปกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ โดยทรงมีพระราชวิริยะในการศึกษา ค้นคว้า และทดลอง เพื่อพัฒนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชี้แนะพสกนิกรชาวไทยถึงวิถีการดำรงชีวิตอย่างสมดุล ปรัชญาแห่งทางสายกลางสามารถปรับใช้ได้กับภารกิจทุกด้าน รวมถึงการพัฒนาและ การบริหารงาน เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายของกระแสโลกาภิวัฒน์ และมีจิตสำนึกต่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน
และตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทุกหนแห่งอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อย และทรงรับทราบพระราช กรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการช่วยเหลือประชาชนในชนบทที่ยากจนอย่างใกล้ชิด จนอาจกล่าวได้ว่า ยากนักที่จะหาผู้ทรงคุณวุฒิในแผ่นนี้ ที่จะสามารถถ่ายทอดแนวพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้อย่างลึกซึ้งที่สุดดังเช่นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
รัฐบาลไทยซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และน้อมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ใส่เกล้าใส่กระหม่อม และนำไปประยุกต์สำหรับการวางแผนพัฒนาประเทศในระดับรากหญ้า ความสำเร็จในการฟื้นฟูและการสร้างความแข็งแกร่งเศรษฐกิจไทยเป็นผลมาจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้
พระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่ประจักษ์ต่อพสกนิสรชาวไทย และยังได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกด้วย เมื่อคราวประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ครั้งที่ 10 ณ ประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ที่ประชุมได้เชิดชูพระเกียรติ และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านการพัฒนา พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายด้วยพระเมตตาต่อพสกนิกรอย่างไม่สนพระทัยต่อความยากลำบากที่ต้องทรงตรากตรำ เพื่อให้ประเทศ และพสกนิกรของพระองค์มีความสุข และอยู่ดีกินดี นอกจากนั้น ในการประชุมประเมินผลการดำเนินงานของการประชุมดังกล่าวเมื่อปี 2545 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการสรรเสริญอีกครั้งว่าเป็นแนวทางที่มี ประสิทธิภาพต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่มาดูงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกในการพัฒนา ดังนั้น รัฐบาลไทยเล็งเห็นว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศ และสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วภายหลังจากวิกฤตการณ์ (เมื่อปี 2540) โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวทางในการดำเนินงาน จึงยินดีที่จะถ่ายทอดแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา
การประชุมระดับรัฐมนตรีในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน ศกนี้ โดยมีผู้แทนเข้าร่วมประชุมจาก 19 ประเทศใน 3 ภูมิภาค คือ เอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา โดยมาจากประเทศ อัฟกานิสถาน ภูฏาน บูร์กินาฟาโซ กัมพูชา จีน โคลอมเบีย อียิปต์ อิหร่าน จอร์แดน เคนยา ลาว มาดากัสการ์ มอริเชียส พม่า เนปาล ศรีลังกา ซูดาน ติมอร์ตะวันออก และเวียดนาม การประชุมครั้งนี้ คาดหวังจะเป็นเวทีที่ประเทศไทยจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตจริง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่านได้รับประสบการณ์ตรงในการนำปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงไปประยุกต์ใช้ และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ดังนั้น ผู้เข้าประชุมจะได้มีโอกาสไปดูงานในพื้นที่ต่างๆ เกือบตลอดรายการของการประชุม ได้แก่ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามแนวพระราชดำริจังหวัดฉะเชิงเทรา สกลนคร และเชียงใหม่ รวมถึงหมู่บ้านเกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทราและประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้เข้าร่วมการประชุมเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2547 อีกทั้ง ผู้เข้าประชุมฯ ยังจะได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ด้วยในวันนี้
เมื่อการประชุมฯ เสร็จสิ้น รัฐบาลไทยหวังว่าผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่านจะมีความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความร่วมมือเพิ่มเติมในระดับทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ที่มีความสนใจต่อไป
บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นศิริมงคลยิ่ง ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญใต้ฝ่าละอองพระบาทมีพระราชดำรัสเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียง
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-