สศอ.เผยภาวะอุตสาหกรรมช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.4 ต้านกระแสปัจจัยเสี่ยงราคาน้ำมันปรับสูง-วิกฤตหวัดนก-การก่อการร้าย ชี้อุตฯปิโตรเคมี-เหล็ก-ยานยนต์-สิ่งทอ-อัญมณีและเครื่องประดับภาวะการผลิตและจำหน่ายดีดตัว มั่นใจไตรมาสที่ 4 หลายอุตสาหกรรมยังโตต่อเนื่อง
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ.ได้จัดทำรายงานภาวะอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) ปี 2547 โดยสรุปจากภาวะเศรษฐกิจภาพรวม ดัชนีชี้วัดต่างๆของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งข้อมูลจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้บริโภค ซึ่งจากผลวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมครอบคลุมทั้ง 50 กลุ่มอุตสาหกรรม มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 0.3 และร้อยละ 7.4 ตามลำดับ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ได้แก่ ภาวะราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การระบาดของโรคไข้หวัดนก และสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมช่วงไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้น มีหลายกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยกัน ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ยังคงอยู่ในวัฎจักรขาขึ้นจากความต้องการเม็ดพลาสติกในตลาดโลก โดยเฉพาะ ประเทศจีน ประกอบกับ ปริมาณความต้องการปิโตรเคมีในประเทศก็ปรับสูงขึ้นเช่นเดียวกันโดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7 ต่อปี
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาสนี้ นับว่ามีการขยายตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 โดยปริมาณการผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.72 ส่วนปริมาณการใช้ในประเทศรวมเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 8.74 โดยเฉพาะ เหล็กทรงยาวที่มีการขยายตัวของการใช้จากในประเทศถึงร้อยละ 26.71 เนื่องจาก ภาวะการเติบโตในอุตสาหกรรมก่อสร้างจากโครงการต่างๆของภาครัฐ และการเร่งสร้างสนามบินสุวรรณภูมิให้เสร็จทันตามกำหนดภายในเดือนกันยายนปี 2548
อุตสาหกรรมยานยนต์ หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล ช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ พบว่า มีแนวโน้มที่ดีทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย โดยจากสถิติในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 (ม.ค.-ก.ย.)ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 23.55 และ 15.72 ตามลำดับ ขณะที่ การส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.26 เมื่อเทียบกับปีก่อน พร้อมกันนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า งานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2004 ที่จะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม ซึ่งบริษัทรถยนต์หลายค่ายจะนำรถรุ่นใหม่มาเปิดตัว และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย จะช่วยกระตุ้นให้การผลิตรถยนต์เป็นไปตามเป้าหมายประมาณ 9 แสนคัน โดยแบ่งเป็นผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 6 แสนคัน และผลิตเพื่อส่งออก 3 แสนคัน
ส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ช่วงไตรมาส 3 นี้ พบว่า การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่มูลค่าการส่งออกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 14.6 โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป แคนาดาและญี่ปุ่น ทั้งนี้ คาดว่าภายหลังจากไทยเปิดเขตการค้าเสรี [FTA
] กับบรรดาประเทศคู่ค้าสำคัญจะช่วยขยายการส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจาก ไม่มีข้อจำกัดทางด้านภาษี รวมทั้ง ขณะนี้รัฐบาลได้เร่งผลักดันยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมแฟชั่นภายในประเทศให้แข็งแกร่งและส่งออกได้ดีขึ้น
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ พบว่า ในไตรมาสที่3 ของปี 2547 ดัชนีผลผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณต่างๆที่เกี่ยวข้อง มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.44 และจากสถิตตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน ปี 2547 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,926.30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.29 โดยตลาดส่งออกหลักได้แก่ สหรัฐอเมริกา อิสราเอล เบลเยียม ฮ่องกง ซึ่งในไตรมาสที่ 4 คาดการณ์ว่าทั้งการผลิตและการส่งออกจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจาก เข้าสู่ช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ผู้บริโภคนิยมซื้ออัญมณีและเครื่องประดับเป็นของขวัญ
ขณะที่อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อภาวะอุตสาหกรรมช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร ที่ภาวะการผลิตและส่งออกไม่ขยายตัวเท่าที่ควร โดยภาวะการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 50.33 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.34 เป็นไปตามภาวะความซบเซาของตลาดผู้บริโภคที่ลดลงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก รวมถึง การประกาศไต่สวนการทุ่มตลาดกุ้งขั้นสุดท้ายของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งไทย
นางชุตาภรณ์กล่าวเสริมว่า แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดว่า ยังคงมีทิศทางการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายกลุ่มอุตสาหกรรม สาเหตุหลักมาจาก ความต้องการของผู้บริโภคจะปรับเพิ่มขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม โดยผู้ผลิตจะเร่งผลิตสินค้า สต๊อกไว้เพื่อจำหน่ายรับความต้องการตลาดที่เติบโตเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่4นี้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ.ได้จัดทำรายงานภาวะอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) ปี 2547 โดยสรุปจากภาวะเศรษฐกิจภาพรวม ดัชนีชี้วัดต่างๆของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งข้อมูลจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้บริโภค ซึ่งจากผลวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมครอบคลุมทั้ง 50 กลุ่มอุตสาหกรรม มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 0.3 และร้อยละ 7.4 ตามลำดับ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ได้แก่ ภาวะราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การระบาดของโรคไข้หวัดนก และสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมช่วงไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้น มีหลายกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยกัน ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ยังคงอยู่ในวัฎจักรขาขึ้นจากความต้องการเม็ดพลาสติกในตลาดโลก โดยเฉพาะ ประเทศจีน ประกอบกับ ปริมาณความต้องการปิโตรเคมีในประเทศก็ปรับสูงขึ้นเช่นเดียวกันโดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7 ต่อปี
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาสนี้ นับว่ามีการขยายตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 โดยปริมาณการผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.72 ส่วนปริมาณการใช้ในประเทศรวมเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 8.74 โดยเฉพาะ เหล็กทรงยาวที่มีการขยายตัวของการใช้จากในประเทศถึงร้อยละ 26.71 เนื่องจาก ภาวะการเติบโตในอุตสาหกรรมก่อสร้างจากโครงการต่างๆของภาครัฐ และการเร่งสร้างสนามบินสุวรรณภูมิให้เสร็จทันตามกำหนดภายในเดือนกันยายนปี 2548
อุตสาหกรรมยานยนต์ หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล ช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ พบว่า มีแนวโน้มที่ดีทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย โดยจากสถิติในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 (ม.ค.-ก.ย.)ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 23.55 และ 15.72 ตามลำดับ ขณะที่ การส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.26 เมื่อเทียบกับปีก่อน พร้อมกันนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า งานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2004 ที่จะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม ซึ่งบริษัทรถยนต์หลายค่ายจะนำรถรุ่นใหม่มาเปิดตัว และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย จะช่วยกระตุ้นให้การผลิตรถยนต์เป็นไปตามเป้าหมายประมาณ 9 แสนคัน โดยแบ่งเป็นผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 6 แสนคัน และผลิตเพื่อส่งออก 3 แสนคัน
ส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ช่วงไตรมาส 3 นี้ พบว่า การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่มูลค่าการส่งออกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 14.6 โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป แคนาดาและญี่ปุ่น ทั้งนี้ คาดว่าภายหลังจากไทยเปิดเขตการค้าเสรี [FTA
] กับบรรดาประเทศคู่ค้าสำคัญจะช่วยขยายการส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจาก ไม่มีข้อจำกัดทางด้านภาษี รวมทั้ง ขณะนี้รัฐบาลได้เร่งผลักดันยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมแฟชั่นภายในประเทศให้แข็งแกร่งและส่งออกได้ดีขึ้น
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ พบว่า ในไตรมาสที่3 ของปี 2547 ดัชนีผลผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณต่างๆที่เกี่ยวข้อง มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.44 และจากสถิตตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน ปี 2547 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,926.30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.29 โดยตลาดส่งออกหลักได้แก่ สหรัฐอเมริกา อิสราเอล เบลเยียม ฮ่องกง ซึ่งในไตรมาสที่ 4 คาดการณ์ว่าทั้งการผลิตและการส่งออกจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจาก เข้าสู่ช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ผู้บริโภคนิยมซื้ออัญมณีและเครื่องประดับเป็นของขวัญ
ขณะที่อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อภาวะอุตสาหกรรมช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร ที่ภาวะการผลิตและส่งออกไม่ขยายตัวเท่าที่ควร โดยภาวะการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 50.33 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.34 เป็นไปตามภาวะความซบเซาของตลาดผู้บริโภคที่ลดลงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก รวมถึง การประกาศไต่สวนการทุ่มตลาดกุ้งขั้นสุดท้ายของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งไทย
นางชุตาภรณ์กล่าวเสริมว่า แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดว่า ยังคงมีทิศทางการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายกลุ่มอุตสาหกรรม สาเหตุหลักมาจาก ความต้องการของผู้บริโภคจะปรับเพิ่มขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม โดยผู้ผลิตจะเร่งผลิตสินค้า สต๊อกไว้เพื่อจำหน่ายรับความต้องการตลาดที่เติบโตเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่4นี้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-