ระบบการชำระเงินแบบทวิภาคีหรือ BPA เป็นอีกชื่อหนึ่งของระบบการค้าแบบหักบัญชี
(Account Trade) กล่าวคือ เป็นระบบการชำระเงินที่ธนาคารตัวแทนของทั้งสองประเทศเป็นผู้ทำหน้าที่
บันทึกบัญชีค่าสินค้าที่ได้รับชำระจากผู้นำเข้า และโอนชำระให้แก่ผู้ส่งออกในประเทศตนเพื่อนำมาหักกลบลบหนี้
(Net Settlement) และชำระบัญชีระหว่างประเทศเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ เช่น 3 เดือน
หรือ 6 เดือน โดยธนาคารตัวแทนฝ่ายที่เป็นลูกหนี้จะชำระเฉพาะส่วนต่างของมูลค่าสินค้าที่ซื้อขายพร้อม
ดอกเบี้ยตามอัตราและสกุลเงินที่ได้ตกลงกัน นอกจากนั้น ยังส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการทำ
ธุรกรรมระหว่างสองประเทศและลดการใช้เงินสกุลแข็ง (Hard Currency) ในการซื้อขายสินค้าระหว่าง
กันอีกด้วย สำหรับในประเทศไทยรัฐบาลได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
(ธสน.) เป็นผู้ทำหน้าที่ธนาคารตัวแทนในการทำธุรกรรมในโครงการ BPA ดังกล่าว
ประโยชน์ของการทำ BPA
ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากธนาคาร
ตัวแทนทั้งสองฝ่ายจะกำหนดวันชำระเงินตามรายละเอียดและเงื่อนไขในสัญญา ซึ่งผู้ส่งออกและผู้นำเข้า
จะทราบวันครบกำหนดชำระเงินที่แน่นอน ดังนี้
โครงการ BPA เครื่องมือ ธนาคารตัวแทนในประเทศคู่สัญญา วันครบกำหนดชำระเงิน
การชำระเงิน
ไทย - มาเลเซีย L/C Sight, Term Bank Negara Malaysia 3 วันทำการนับจากวันที่ผู้ส่งออก
โดยให้บริการผ่านธนาคารพาณิชย์ ได้ยื่นเอกสารส่งออกที่ถูกต้องครบถ้วน
ที่เข้าร่วมโครงการ* ตามเงื่อนไขใน L/C
ไทย - บังกลาเทศ L/C Sight Janata Bank
ไทย - อิหร่าน L/C Sight Export Development
Bank of Iran
ไทย - สหภาพพม่า L/C Sight Myanmar Investment 7 วันทำการหลังจากสิ้นสุดรอบการ
and Commercial Bank บันทึกบัญชีระหว่างธนาคารตัวแทน
(ต้นเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายน)
หมายเหตุ * ติดต่อขอรายชื่อธนาคารที่ให้บริการได้ที่สำนักพัฒนาบริการและลูกค้าสัมพันธ์ ธสน. ต่อ 2522—3
นอกจากนั้น ผู้ส่งออกยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ Confirm L/C เนื่องจากธนาคารตัวแทน
จะเป็นผู้รับรองการชำระเงินภายใต้ L/C ที่เปิดผ่านโครงการ
ขั้นตอนการใช้บริการ BPA
วิธีการและขั้นตอนไม่แตกต่างไปจากรูปแบบการค้าปกติ แต่อาจมีความแตกต่างกัน
ไปตามความตกลงระหว่างกันของแต่ละประเทศ ซึ่งการใช้บริการ BPA โดยทั่วไปมีขั้นตอนสังเขปดังนี้
1. ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าเจรจาตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างกัน
2. ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าตรวจสอบเงื่อนไขการใช้บริการจากธนาคารตัวแทน
3. ผู้นำเข้าแจ้งความประสงค์ในการเปิด L/C ภายใต้โครงการแก่ธนาคารตัวแทน/ธนาคาร
ที่ให้บริการ
4. ผู้ส่งออกผลิตและส่งสินค้าตามเงื่อนไขใน L/C และนำเอกสารการส่งออกมาเรียกเก็บเงิน
ผ่านธนาคารตัวแทน/ธนาคารให้บริการ
5. ธนาคารตัวแทน/ธนาคารที่ให้บริการของผู้ส่งออกตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วน
ของเอกสาร และส่งเอกสารไปให้ธนาคารผู้เปิด L/C พร้อมแจ้งวันครบกำหนดชำระเงินแก่ธนาคาร
ตัวแทนผู้นำเข้าเพื่อบันทึกบัญชี
6. ณ วันครบกำหนด
ผู้นำเข้าชำระเงินค่าสินค้าแก่ธนาคารตัวแทน/ธนาคารที่ให้บริการในประเทศของตน
- ธนาคารตัวแทน/ธนาคารที่ให้บริการในประเทศผู้ส่งออกชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ส่งออก
- ธนาคารตัวแทนของทั้งสองประเทศทำการบันทึกบัญชีค่าสินค้า เมื่อครบกำหนดระยะเวลา
ตามที่ตกลงกันจึงทำการหักกลบลบหนี้ โดยผู้มีฐานะเป็นลูกหนี้จะชำระเงินเฉพาะส่วนต่างพร้อมดอกเบี้ย
- ปัจจุบัน ธสน. ได้ลงนามในความตกลง BPA กับประเทศต่างๆ แล้ว 4 ประเทศ ได้แก่
มาเลเซีย บังกลาเทศ อิหร่าน และสหภาพพม่า ซึ่งคาดว่าจากความร่วมมือดังกล่าวจะเสริมสร้างความสัมพันธ์
ที่ดีกับธนาคารตัวแทนและประเทศคู่ค้า เพื่อประโยชน์ในการขยายปริมาณธุรกรรมทางการค้าและเพิ่มปริมาณ
การส่งออกของไทยต่อไปในอนาคต
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2547--
-พห-
(Account Trade) กล่าวคือ เป็นระบบการชำระเงินที่ธนาคารตัวแทนของทั้งสองประเทศเป็นผู้ทำหน้าที่
บันทึกบัญชีค่าสินค้าที่ได้รับชำระจากผู้นำเข้า และโอนชำระให้แก่ผู้ส่งออกในประเทศตนเพื่อนำมาหักกลบลบหนี้
(Net Settlement) และชำระบัญชีระหว่างประเทศเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ เช่น 3 เดือน
หรือ 6 เดือน โดยธนาคารตัวแทนฝ่ายที่เป็นลูกหนี้จะชำระเฉพาะส่วนต่างของมูลค่าสินค้าที่ซื้อขายพร้อม
ดอกเบี้ยตามอัตราและสกุลเงินที่ได้ตกลงกัน นอกจากนั้น ยังส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการทำ
ธุรกรรมระหว่างสองประเทศและลดการใช้เงินสกุลแข็ง (Hard Currency) ในการซื้อขายสินค้าระหว่าง
กันอีกด้วย สำหรับในประเทศไทยรัฐบาลได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
(ธสน.) เป็นผู้ทำหน้าที่ธนาคารตัวแทนในการทำธุรกรรมในโครงการ BPA ดังกล่าว
ประโยชน์ของการทำ BPA
ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากธนาคาร
ตัวแทนทั้งสองฝ่ายจะกำหนดวันชำระเงินตามรายละเอียดและเงื่อนไขในสัญญา ซึ่งผู้ส่งออกและผู้นำเข้า
จะทราบวันครบกำหนดชำระเงินที่แน่นอน ดังนี้
โครงการ BPA เครื่องมือ ธนาคารตัวแทนในประเทศคู่สัญญา วันครบกำหนดชำระเงิน
การชำระเงิน
ไทย - มาเลเซีย L/C Sight, Term Bank Negara Malaysia 3 วันทำการนับจากวันที่ผู้ส่งออก
โดยให้บริการผ่านธนาคารพาณิชย์ ได้ยื่นเอกสารส่งออกที่ถูกต้องครบถ้วน
ที่เข้าร่วมโครงการ* ตามเงื่อนไขใน L/C
ไทย - บังกลาเทศ L/C Sight Janata Bank
ไทย - อิหร่าน L/C Sight Export Development
Bank of Iran
ไทย - สหภาพพม่า L/C Sight Myanmar Investment 7 วันทำการหลังจากสิ้นสุดรอบการ
and Commercial Bank บันทึกบัญชีระหว่างธนาคารตัวแทน
(ต้นเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายน)
หมายเหตุ * ติดต่อขอรายชื่อธนาคารที่ให้บริการได้ที่สำนักพัฒนาบริการและลูกค้าสัมพันธ์ ธสน. ต่อ 2522—3
นอกจากนั้น ผู้ส่งออกยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ Confirm L/C เนื่องจากธนาคารตัวแทน
จะเป็นผู้รับรองการชำระเงินภายใต้ L/C ที่เปิดผ่านโครงการ
ขั้นตอนการใช้บริการ BPA
วิธีการและขั้นตอนไม่แตกต่างไปจากรูปแบบการค้าปกติ แต่อาจมีความแตกต่างกัน
ไปตามความตกลงระหว่างกันของแต่ละประเทศ ซึ่งการใช้บริการ BPA โดยทั่วไปมีขั้นตอนสังเขปดังนี้
1. ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าเจรจาตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างกัน
2. ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าตรวจสอบเงื่อนไขการใช้บริการจากธนาคารตัวแทน
3. ผู้นำเข้าแจ้งความประสงค์ในการเปิด L/C ภายใต้โครงการแก่ธนาคารตัวแทน/ธนาคาร
ที่ให้บริการ
4. ผู้ส่งออกผลิตและส่งสินค้าตามเงื่อนไขใน L/C และนำเอกสารการส่งออกมาเรียกเก็บเงิน
ผ่านธนาคารตัวแทน/ธนาคารให้บริการ
5. ธนาคารตัวแทน/ธนาคารที่ให้บริการของผู้ส่งออกตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วน
ของเอกสาร และส่งเอกสารไปให้ธนาคารผู้เปิด L/C พร้อมแจ้งวันครบกำหนดชำระเงินแก่ธนาคาร
ตัวแทนผู้นำเข้าเพื่อบันทึกบัญชี
6. ณ วันครบกำหนด
ผู้นำเข้าชำระเงินค่าสินค้าแก่ธนาคารตัวแทน/ธนาคารที่ให้บริการในประเทศของตน
- ธนาคารตัวแทน/ธนาคารที่ให้บริการในประเทศผู้ส่งออกชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ส่งออก
- ธนาคารตัวแทนของทั้งสองประเทศทำการบันทึกบัญชีค่าสินค้า เมื่อครบกำหนดระยะเวลา
ตามที่ตกลงกันจึงทำการหักกลบลบหนี้ โดยผู้มีฐานะเป็นลูกหนี้จะชำระเงินเฉพาะส่วนต่างพร้อมดอกเบี้ย
- ปัจจุบัน ธสน. ได้ลงนามในความตกลง BPA กับประเทศต่างๆ แล้ว 4 ประเทศ ได้แก่
มาเลเซีย บังกลาเทศ อิหร่าน และสหภาพพม่า ซึ่งคาดว่าจากความร่วมมือดังกล่าวจะเสริมสร้างความสัมพันธ์
ที่ดีกับธนาคารตัวแทนและประเทศคู่ค้า เพื่อประโยชน์ในการขยายปริมาณธุรกรรมทางการค้าและเพิ่มปริมาณ
การส่งออกของไทยต่อไปในอนาคต
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2547--
-พห-