กรุงเทพ--21 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับรายงานข่าวปฏิกิริยาของนายกรัฐมนตรี มาเลเซียต่อคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีของไทยในรายการวิทยุ “นายกทักษิณ พบประชาชน” โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แจ้งให้ผู้สื่อข่าวทราบว่าได้ให้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ชี้แจงฝ่ายมาเลเซียทราบเมื่อวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม 2547 โดยได้ชี้แจงข้อความที่นายกรัฐมนตรีกล่าวให้ฝ่ายมาเลเซียทราบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นายกรัฐมนตรี มาเลเซียเดินทางเยือนดูไบ จึงไม่ได้รับคำชี้แจงดังกล่าวจึงอาจจะตกใจและไม่ชัดเจนว่าคืออะไร และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ฯ ก็ได้โทรศัพท์ติดต่อกับรัฐมนตรีต่างประเทศ มาเลเซียอีกครั้งหนึ่งเพื่อแจ้งให้ทราบว่าได้มีหนังสือชี้แจงเรื่องนี้อย่างเป็นทางการด้วย โดยได้ชี้แจงว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในทางที่เป็นบวกและว่ามาเลเซียและอินโดนีเซียให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่ได้สนับสนุนขบวนการก่อความไม่สงบในประเทศไทยแต่อย่างใด แต่ก็เป็นไปได้ที่บางครั้งอาชญากรเดินทางข้ามแดนไปมา เมื่อเรารู้ก็ได้แจ้งฝ่ายมาเลเซียทราบ แต่ไม่รู้หลักแหล่งที่แน่นอน เป็นเรื่องของหน่วยข่าวที่จะต้องประสานงานกัน ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียก็เข้าใจดีและยินดีที่ได้ทราบข้อมูล โดยได้นำเรียนนายกรัฐมนตรีมาเลเซียทราบและยืนยันว่าจะร่วมมือกับไทยอย่างเต็มที่ และยังฝากความเคารพมายังนายกรัฐมนตรีด้วย ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะว่าสื่อมวลชนได้ซักถามนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเฉพาะจุด จึงอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนในตอนแรก แต่ขณะนี้เข้าใจดีไม่มีปัญหาอะไร
2. กรณีที่เกี่ยวข้องกับอินโดนีเซียนั้น ภายหลังจากที่ผู้นำทั้งสองฝ่ายได้พบและหารือกันที่เวียงจันทน์ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ก็ได้มีการตกลงตั้งอนุกรรมการร่วมขึ้นภายใต้ คณะกรรมาธิการร่วมไทย-อินโดนีเซีย โดยมีฝ่ายสภาความมั่นคง ฝ่ายข่าวกรอง และฝ่ายทหารเพื่อให้เกิดการประสานงานที่ใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยมีการประสานแจ้งเรื่องที่แต่ละฝ่ายประสงค์จะให้ตรวจสอบติดตาม และได้มีการทำงานกันอย่างเต็มที่
3. ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการที่ฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายมาเลเซียตรวจสอบว่ามีการลักลอบฝึกอาวุธหรือไม่นั้น ดร.สุรเกียรติ์ฯ ชี้แจงว่า ในเรื่องการตรวจสอบนั้น ทั้งสองฝ่ายได้มีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด แต่ก็ต้องยอมรับว่าไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายสำหรับทั้งสองฝ่าย แต่ขอย้ำว่ามีการร่วมมือกันอย่างดีตลอดเวลา
4. สำหรับการวิพากษ์วิจารณ์ไทยของพรรค PAS นั้น ดร. สุรเกียรติ์ ฯ กล่าวว่า ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอด ซึ่งเห็นว่าไม่เหมาะสมที่พรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่ว่าในประเทศใดก็ตามจะกล่าววิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือหัวหน้ารัฐบาลของอีกประเทศหนึ่งต่อ สาธารณะในทางที่เสียหายไม่ยกย่องให้เกียรติกัน ทั้งนี้น่าจะยึดถือมารยาททางการเมืองระหว่างประเทศ และหากมีข้อสงสัยอย่างไรก็น่าจะดำเนินการสอบถามผ่านช่องทางทางการทูตมากกว่าจะใช้เวทีสาธารณะวิพากษ์วิจารณ์ประเทศไทยต่อข้อซักถามที่ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของไทยหรือไม่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่ารัฐบาลทั้งของมาเลเซียและ อินโดนีเซียได้ย้ำชัดเจนต่อนายกรัฐมนตรีว่า ทั้งสองประเทศเคารพในบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย และจะไม่สนับสนุนกลุ่มใดก็ตามที่จะเข้ามาสร้างปัญหาในเรื่องการแบ่งแยกดินแดน แม้เอกอัครราชทูต หรือรัฐมนตรีของประเทศต่างๆ ที่เข้าพบในโอกาสต่างๆ ก็เข้าใจว่าเรื่อง ดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของไทย และเป็นเรื่องที่เพื่อนบ้านต้องร่วมมือกันเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องของพรรคฝ่ายค้านซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับรัฐบาลมาเลเซียแต่อย่างใด
5. ในส่วนที่สมาชิกพรรดอัมโนในรัฐกลันตัน ได้อภิปรายในสภารัฐกลันตัน กล่าวว่ามีหลักฐานที่เกี่ยวกับการสนับสนุนทางการเงินให้กับกลุ่มพูโล หรือกลุ่มก่อความไม่สงบ ในไทย ดร. สุรเกียรติ์ ฯ กล่าวว่าได้ขอให้เอกอัครราชทูตมาเลเซียช่วยติดตามตรวจสอบในเรื่อง ดังกล่าวด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการติดตามจับกุม และจะช่วยให้เกิดความกระจ่างขึ้น และเห็นว่าเป็นหน้าที่ของฝ่ายมาเลเซียในการติดตามตรวจสอบเนื่องจากมาเลเซียมีนโยบายชัดเจนที่จะไม่สนับสนุนไม่ว่าด้านการเงินหรืออื่นใดในเรื่องการก่อความไม่สงบ ซึ่งเอกอัครราชทูตมาเลเซียได้แจ้งให้ทราบว่าได้ตั้งคณะทำงานติดตามตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวแล้ว หากมีความคืบหน้าจะแจ้งให้ฝ่ายไทยทราบ
6. ต่อคำถามเกี่ยวกับอาชญากรที่หลบหนีเข้าไปในมาเลเซีย ท่าทีของมาเลเซียเป็นอย่างไร ดร. สุรเกียรติ์ ฯ กล่าวว่ารัฐบาลมาเลเซียก็ได้ให้ความร่วมมือในการติดตามค้นหา
และจับกุมอาชญากรทั้งหลายอย่างเต็มที่ แต่ก็เข้าใจกันว่าบางครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัย
การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันอย่างใกล้ชิด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับรายงานข่าวปฏิกิริยาของนายกรัฐมนตรี มาเลเซียต่อคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีของไทยในรายการวิทยุ “นายกทักษิณ พบประชาชน” โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แจ้งให้ผู้สื่อข่าวทราบว่าได้ให้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ชี้แจงฝ่ายมาเลเซียทราบเมื่อวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม 2547 โดยได้ชี้แจงข้อความที่นายกรัฐมนตรีกล่าวให้ฝ่ายมาเลเซียทราบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นายกรัฐมนตรี มาเลเซียเดินทางเยือนดูไบ จึงไม่ได้รับคำชี้แจงดังกล่าวจึงอาจจะตกใจและไม่ชัดเจนว่าคืออะไร และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ฯ ก็ได้โทรศัพท์ติดต่อกับรัฐมนตรีต่างประเทศ มาเลเซียอีกครั้งหนึ่งเพื่อแจ้งให้ทราบว่าได้มีหนังสือชี้แจงเรื่องนี้อย่างเป็นทางการด้วย โดยได้ชี้แจงว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในทางที่เป็นบวกและว่ามาเลเซียและอินโดนีเซียให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่ได้สนับสนุนขบวนการก่อความไม่สงบในประเทศไทยแต่อย่างใด แต่ก็เป็นไปได้ที่บางครั้งอาชญากรเดินทางข้ามแดนไปมา เมื่อเรารู้ก็ได้แจ้งฝ่ายมาเลเซียทราบ แต่ไม่รู้หลักแหล่งที่แน่นอน เป็นเรื่องของหน่วยข่าวที่จะต้องประสานงานกัน ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียก็เข้าใจดีและยินดีที่ได้ทราบข้อมูล โดยได้นำเรียนนายกรัฐมนตรีมาเลเซียทราบและยืนยันว่าจะร่วมมือกับไทยอย่างเต็มที่ และยังฝากความเคารพมายังนายกรัฐมนตรีด้วย ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะว่าสื่อมวลชนได้ซักถามนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเฉพาะจุด จึงอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนในตอนแรก แต่ขณะนี้เข้าใจดีไม่มีปัญหาอะไร
2. กรณีที่เกี่ยวข้องกับอินโดนีเซียนั้น ภายหลังจากที่ผู้นำทั้งสองฝ่ายได้พบและหารือกันที่เวียงจันทน์ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ก็ได้มีการตกลงตั้งอนุกรรมการร่วมขึ้นภายใต้ คณะกรรมาธิการร่วมไทย-อินโดนีเซีย โดยมีฝ่ายสภาความมั่นคง ฝ่ายข่าวกรอง และฝ่ายทหารเพื่อให้เกิดการประสานงานที่ใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยมีการประสานแจ้งเรื่องที่แต่ละฝ่ายประสงค์จะให้ตรวจสอบติดตาม และได้มีการทำงานกันอย่างเต็มที่
3. ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการที่ฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายมาเลเซียตรวจสอบว่ามีการลักลอบฝึกอาวุธหรือไม่นั้น ดร.สุรเกียรติ์ฯ ชี้แจงว่า ในเรื่องการตรวจสอบนั้น ทั้งสองฝ่ายได้มีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด แต่ก็ต้องยอมรับว่าไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายสำหรับทั้งสองฝ่าย แต่ขอย้ำว่ามีการร่วมมือกันอย่างดีตลอดเวลา
4. สำหรับการวิพากษ์วิจารณ์ไทยของพรรค PAS นั้น ดร. สุรเกียรติ์ ฯ กล่าวว่า ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอด ซึ่งเห็นว่าไม่เหมาะสมที่พรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่ว่าในประเทศใดก็ตามจะกล่าววิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือหัวหน้ารัฐบาลของอีกประเทศหนึ่งต่อ สาธารณะในทางที่เสียหายไม่ยกย่องให้เกียรติกัน ทั้งนี้น่าจะยึดถือมารยาททางการเมืองระหว่างประเทศ และหากมีข้อสงสัยอย่างไรก็น่าจะดำเนินการสอบถามผ่านช่องทางทางการทูตมากกว่าจะใช้เวทีสาธารณะวิพากษ์วิจารณ์ประเทศไทยต่อข้อซักถามที่ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของไทยหรือไม่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่ารัฐบาลทั้งของมาเลเซียและ อินโดนีเซียได้ย้ำชัดเจนต่อนายกรัฐมนตรีว่า ทั้งสองประเทศเคารพในบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย และจะไม่สนับสนุนกลุ่มใดก็ตามที่จะเข้ามาสร้างปัญหาในเรื่องการแบ่งแยกดินแดน แม้เอกอัครราชทูต หรือรัฐมนตรีของประเทศต่างๆ ที่เข้าพบในโอกาสต่างๆ ก็เข้าใจว่าเรื่อง ดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของไทย และเป็นเรื่องที่เพื่อนบ้านต้องร่วมมือกันเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องของพรรคฝ่ายค้านซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับรัฐบาลมาเลเซียแต่อย่างใด
5. ในส่วนที่สมาชิกพรรดอัมโนในรัฐกลันตัน ได้อภิปรายในสภารัฐกลันตัน กล่าวว่ามีหลักฐานที่เกี่ยวกับการสนับสนุนทางการเงินให้กับกลุ่มพูโล หรือกลุ่มก่อความไม่สงบ ในไทย ดร. สุรเกียรติ์ ฯ กล่าวว่าได้ขอให้เอกอัครราชทูตมาเลเซียช่วยติดตามตรวจสอบในเรื่อง ดังกล่าวด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการติดตามจับกุม และจะช่วยให้เกิดความกระจ่างขึ้น และเห็นว่าเป็นหน้าที่ของฝ่ายมาเลเซียในการติดตามตรวจสอบเนื่องจากมาเลเซียมีนโยบายชัดเจนที่จะไม่สนับสนุนไม่ว่าด้านการเงินหรืออื่นใดในเรื่องการก่อความไม่สงบ ซึ่งเอกอัครราชทูตมาเลเซียได้แจ้งให้ทราบว่าได้ตั้งคณะทำงานติดตามตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวแล้ว หากมีความคืบหน้าจะแจ้งให้ฝ่ายไทยทราบ
6. ต่อคำถามเกี่ยวกับอาชญากรที่หลบหนีเข้าไปในมาเลเซีย ท่าทีของมาเลเซียเป็นอย่างไร ดร. สุรเกียรติ์ ฯ กล่าวว่ารัฐบาลมาเลเซียก็ได้ให้ความร่วมมือในการติดตามค้นหา
และจับกุมอาชญากรทั้งหลายอย่างเต็มที่ แต่ก็เข้าใจกันว่าบางครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัย
การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันอย่างใกล้ชิด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-