กรุงเทพ--29 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือชาวต่างชาติที่ประสบภัยจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ของไทย และชาวไทยที่อาจประสบภัยจากเหตุการณ์ดังกล่าวในประเทศ
ใกล้เคียง สรุปได้ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้สั่งการเมื่อช่วงเช้าวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ให้ตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อติดตามสถานการณ์กรณีเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ของไทย โดยศูนย์ฯ ได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ของวันที่ 26 ธันวาคม 2547 และทำงานตลอด 24 ช.ม.
2. ศูนย์ฯ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานกับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ และสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในไทย รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ เพื่อประสานข้อมูลและ รายละเอียดต่าง ๆ ของการดำเนินการของรัฐบาลไทยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งเป็นศูนย์รับเรื่องจากประชาชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมทั้งบริษัทท่องเที่ยว ที่ต้องการขอความช่วยเหลือและติดตามตัวบุคคล
3. ศูนย์ฯ ได้แจ้งข้อมูลการดำเนินการผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ซึ่งได้รับความร่วมมือด้วยดี จึงขอขอบคุณเป็นอย่างมาก และขอความร่วมมือสื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์การดำเนินการของศูนย์ฯ ต่อไปด้วย โดยเฉพาะ Thai TV Global Network ของช่อง 5 และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ และญาติพี่น้องของชาวต่างชาติได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องทั่วกัน
4. เมื่อคืนวันที่ 26 ธันวาคม 2547 มีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ บริษัทท่องเที่ยว และสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศ ติดต่อมายังศูนย์ฯ หลายร้อยรายและต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงดึกที่ ยุโรปและสหรัฐฯ เป็นช่วงกลางวัน เพื่อให้ช่วยตรวจสอบและตามหาญาติพี่น้องและเพื่อน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ ที่ประสบภัยในช่วงเวลาดังกล่าวโดยเฉพาะภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง ซึ่งศูนย์ฯ ได้ประสานกับ
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะศูนย์ปฏิบัติการของกระทรวงมหาดไทย กลาโหม และสาธารณสุข เพื่อให้ความช่วยเหลือ ซึ่งสามารถให้ความช่วยเหลือหลายราย อาทิ นักข่าวชาวออสเตรเลีย และประชาชนที่ติดอยู่ในพื้นที่บางแห่ง
5. สำหรับการช่วยเหลือและดูแลนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ประสบภัยในครั้งนี้ กระทรวงฯ ได้ดำเนินการดังนี้
- ประสานกับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จัดเที่ยวบินพิเศษนำคณะทูตไปยัง จ.ภูเก็ต โดยมีคณะทูตเกือบ 30 ประเทศ อาทิ เยอรมัน นอรเวย์ สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ รัสเซีย คาซักสถาน สเปน ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ จำนวนประมาณ 50 คน ร่วมเดินทางไปด้วย
- คณะทูตและ จนท.กระทรวงฯ ที่เดินทางไปจะช่วยส่วนราชการในพื้นที่ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) ด้านภาษา 2) ให้ข้อมูลว่าคนชาติตนเองพำนักอยู่ที่ใด 3) การตรวจสอบสัญชาติชาวต่างชาติ
4) ดำเนินการด้านเอกสารต่าง ๆ ที่สูญหายไป อาทิ หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัว 5) ประสานกับ ชาวต่างชาติที่แสดงความประสงค์ในเรื่องต่าง ๆ
- ประสานงานกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองขอให้ยืดหยุ่นต่อชาวต่างชาติที่เอกสารสำคัญสูญหาย จัดทำเอกสารชั่วคราวเพื่อให้สามารถเดินทางกลับประเทศได้
6. ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการเพิ่มเติมให้กระทรวงการต่างประเทศสำรองค่าใช้จ่ายให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เอกสารและสิ่งของส่วนตัวสูญหายซึ่งประสงค์จะเดินทางกลับประเทศหรือ
ไปยังกรุงเทพฯ จึงขอความกรุณาสื่อต่าง ๆ ช่วยประชาสัมพันธ์ด้วย นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวรายใดที่ไม่มีเงินและประสงค์จะเดินทางกลับ รัฐบาลไทยก็จะช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย ด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม รวมทั้งการลำเลียงศพผู้เสียชีวิตด้วย
7. ในชั้นนี้มี 4 ประเทศที่จัดส่งเครื่องบินพิเศษเดินทางไปยัง จ.ภูเก็ต เพื่อรับนักท่องเที่ยวชาติตนเดินทางกลับประเทศ ได้แก่ เยอรมัน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และแคนาดา และได้รับแจ้งว่า สวีเดน มีความประสงค์จะส่งเครื่องบินมายังกรุงเทพฯ เพื่อรับชาวสวีเดนเกือบ 800 คน ที่เดินทางไป ท่องเที่ยวในบริเวณ จ.ภูเก็ต พังงา และกระบี่ ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานว่าน่าจะสามารถนำเครื่องบินไปลงยังพื้นที่ใกล้ ๆ ซึ่งจะสะดวกกว่าการส่งเครื่องบินมายังกรุงเทพฯ
8. ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงฯ จัดเจ้าหน้าที่เพื่อประสานงานในเรื่องนี้ 24 ช.ม. และกระทรวงฯ จะดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เพิ่มเติมดังนี้
- ส่งคณะเจ้าหน้าที่อีก 2 ชุด ไปยัง จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นศูนย์ใหญ่ในการดำเนินการ และ จ.พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง เพื่อประสานงานกับส่วนราชการ จนท. สถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ และชาว ต่างชาติที่อยู่ในพื้นที่
- ประสานกับกระทรวงมหาดไทยและประเทศต่าง ๆ ที่แสดงความประสงค์ให้ความ ช่วยเหลือแก่รัฐบาลไทย ในชั้นนี้ประเทศที่เสนอจะให้ความช่วยเหลือได้แก่ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น รัสเซีย อินเดีย สหรัฐฯ สวีเดน และจีน ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงาน นอกจากนี้องค์การ UNDP ได้แจ้งว่าพร้อมที่จะส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านค้นหาและช่วยเหลือ (search and rescue) มาให้ความช่วยเหลือแก่ ฝ่ายไทยด้วย ทั้งนี้ทุก ๆ ประเทศเห็นว่ารัฐบาลไทยดำเนินการในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
9. จากการประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้รับแจ้งว่าประสงค์ที่จะได้รับ ความช่วยเหลือด้าน search and rescue โดยเฉพาะเรื่องบุคลากร เครื่องมือ และยานพาหนะ อาทิ เฮลิคอปเตอร์ และเรือ รวมทั้งอุปกรณ์ first aids ต่าง ๆ รวมทั้งถุงบรรจุศพซึ่งไทยไม่มีขนาดใหญ่พอที่จะบรรจุศพชาวต่างชาติ
10. ในชั้นนี้ได้รับสาส์นแสดงความเสียใจจากประเทศต่าง ๆ ดังนี้
- สาส์นถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากประธานาธิบดีจีน
- สาส์นถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จากประธานาธิบดีฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ประธานาธิบดีรัสเซีย และนายกรัฐมนตรีอินเดีย
- สาส์นถึง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง
ประเทศสหรัฐฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้โทรศัพท์แสดงความเสียใจถึงตนเองและแสดงความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ทั้งด้านบุคลากรและอุปกรณ์ต่าง ๆ
11. ในส่วนของการตรวจสอบผลกระทบต่อชาวไทยที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศที่ประสบภัย ในครั้งนี้ ได้แก่ อินเดีย (เชนไน) ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย (อาเจห์) พม่า ยังไม่ได้รับรายงานจาก สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ในต่างประเทศว่ามีชาวไทยบาดเจ็บและเสียชีวิต สำหรับในมัลดีฟ ยังติดต่อไม่ได้ กำลังติดตามผลในเรื่องนี้ (มีรายงานว่ามีชาวไทยทำงานอยู่ประมาณ 7 คน) นอกจากนี้ได้ประสานไปยังสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ให้ติดตามสถานะของเรือประมงไทยที่ปฏิบัติงานอยู่ในน่านน้ำประเทศต่าง ๆ รวมทั้งให้ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในพื้นที่ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์ปฏิบัติการของกระทรวงฯ และการดำเนินการของรัฐบาลไทยในครั้งนี้
12. ปลัดกระทรวงฯ จะเชิญคณะทูตมารับฟังการบรรยายสรุปในเรื่องนี้เวลา 16.00 น. เพื่อให้ทุก ๆ ฝ่ายได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องและสอดคล้องกัน
13. กระทรวงฯ ได้ปรับปรุง website ของกระทรวงฯ ให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และรายงานความคืบหน้าในด้านต่าง ๆ เป็นระยะ เพื่อให้ญาติมิตรของผู้ประสบภัยได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว
14. กระทรวงฯ ได้เพิ่มหมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์ฯ อีก 5 เลขหมายได้แก่สายตรง 2 เลขหมาย (0-2643-7245 และ 0-2643-7249) และหมายเลขต่ออีก 3 หมายเลข (0-2643-5000 ต่อ 5056, 5055, 5501)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือชาวต่างชาติที่ประสบภัยจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ของไทย และชาวไทยที่อาจประสบภัยจากเหตุการณ์ดังกล่าวในประเทศ
ใกล้เคียง สรุปได้ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้สั่งการเมื่อช่วงเช้าวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ให้ตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อติดตามสถานการณ์กรณีเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ของไทย โดยศูนย์ฯ ได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ของวันที่ 26 ธันวาคม 2547 และทำงานตลอด 24 ช.ม.
2. ศูนย์ฯ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานกับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ และสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในไทย รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ เพื่อประสานข้อมูลและ รายละเอียดต่าง ๆ ของการดำเนินการของรัฐบาลไทยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งเป็นศูนย์รับเรื่องจากประชาชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมทั้งบริษัทท่องเที่ยว ที่ต้องการขอความช่วยเหลือและติดตามตัวบุคคล
3. ศูนย์ฯ ได้แจ้งข้อมูลการดำเนินการผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ซึ่งได้รับความร่วมมือด้วยดี จึงขอขอบคุณเป็นอย่างมาก และขอความร่วมมือสื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์การดำเนินการของศูนย์ฯ ต่อไปด้วย โดยเฉพาะ Thai TV Global Network ของช่อง 5 และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ และญาติพี่น้องของชาวต่างชาติได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องทั่วกัน
4. เมื่อคืนวันที่ 26 ธันวาคม 2547 มีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ บริษัทท่องเที่ยว และสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศ ติดต่อมายังศูนย์ฯ หลายร้อยรายและต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงดึกที่ ยุโรปและสหรัฐฯ เป็นช่วงกลางวัน เพื่อให้ช่วยตรวจสอบและตามหาญาติพี่น้องและเพื่อน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ ที่ประสบภัยในช่วงเวลาดังกล่าวโดยเฉพาะภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง ซึ่งศูนย์ฯ ได้ประสานกับ
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะศูนย์ปฏิบัติการของกระทรวงมหาดไทย กลาโหม และสาธารณสุข เพื่อให้ความช่วยเหลือ ซึ่งสามารถให้ความช่วยเหลือหลายราย อาทิ นักข่าวชาวออสเตรเลีย และประชาชนที่ติดอยู่ในพื้นที่บางแห่ง
5. สำหรับการช่วยเหลือและดูแลนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ประสบภัยในครั้งนี้ กระทรวงฯ ได้ดำเนินการดังนี้
- ประสานกับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จัดเที่ยวบินพิเศษนำคณะทูตไปยัง จ.ภูเก็ต โดยมีคณะทูตเกือบ 30 ประเทศ อาทิ เยอรมัน นอรเวย์ สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ รัสเซีย คาซักสถาน สเปน ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ จำนวนประมาณ 50 คน ร่วมเดินทางไปด้วย
- คณะทูตและ จนท.กระทรวงฯ ที่เดินทางไปจะช่วยส่วนราชการในพื้นที่ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) ด้านภาษา 2) ให้ข้อมูลว่าคนชาติตนเองพำนักอยู่ที่ใด 3) การตรวจสอบสัญชาติชาวต่างชาติ
4) ดำเนินการด้านเอกสารต่าง ๆ ที่สูญหายไป อาทิ หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัว 5) ประสานกับ ชาวต่างชาติที่แสดงความประสงค์ในเรื่องต่าง ๆ
- ประสานงานกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองขอให้ยืดหยุ่นต่อชาวต่างชาติที่เอกสารสำคัญสูญหาย จัดทำเอกสารชั่วคราวเพื่อให้สามารถเดินทางกลับประเทศได้
6. ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการเพิ่มเติมให้กระทรวงการต่างประเทศสำรองค่าใช้จ่ายให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เอกสารและสิ่งของส่วนตัวสูญหายซึ่งประสงค์จะเดินทางกลับประเทศหรือ
ไปยังกรุงเทพฯ จึงขอความกรุณาสื่อต่าง ๆ ช่วยประชาสัมพันธ์ด้วย นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวรายใดที่ไม่มีเงินและประสงค์จะเดินทางกลับ รัฐบาลไทยก็จะช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย ด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม รวมทั้งการลำเลียงศพผู้เสียชีวิตด้วย
7. ในชั้นนี้มี 4 ประเทศที่จัดส่งเครื่องบินพิเศษเดินทางไปยัง จ.ภูเก็ต เพื่อรับนักท่องเที่ยวชาติตนเดินทางกลับประเทศ ได้แก่ เยอรมัน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และแคนาดา และได้รับแจ้งว่า สวีเดน มีความประสงค์จะส่งเครื่องบินมายังกรุงเทพฯ เพื่อรับชาวสวีเดนเกือบ 800 คน ที่เดินทางไป ท่องเที่ยวในบริเวณ จ.ภูเก็ต พังงา และกระบี่ ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานว่าน่าจะสามารถนำเครื่องบินไปลงยังพื้นที่ใกล้ ๆ ซึ่งจะสะดวกกว่าการส่งเครื่องบินมายังกรุงเทพฯ
8. ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงฯ จัดเจ้าหน้าที่เพื่อประสานงานในเรื่องนี้ 24 ช.ม. และกระทรวงฯ จะดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เพิ่มเติมดังนี้
- ส่งคณะเจ้าหน้าที่อีก 2 ชุด ไปยัง จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นศูนย์ใหญ่ในการดำเนินการ และ จ.พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง เพื่อประสานงานกับส่วนราชการ จนท. สถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ และชาว ต่างชาติที่อยู่ในพื้นที่
- ประสานกับกระทรวงมหาดไทยและประเทศต่าง ๆ ที่แสดงความประสงค์ให้ความ ช่วยเหลือแก่รัฐบาลไทย ในชั้นนี้ประเทศที่เสนอจะให้ความช่วยเหลือได้แก่ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น รัสเซีย อินเดีย สหรัฐฯ สวีเดน และจีน ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงาน นอกจากนี้องค์การ UNDP ได้แจ้งว่าพร้อมที่จะส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านค้นหาและช่วยเหลือ (search and rescue) มาให้ความช่วยเหลือแก่ ฝ่ายไทยด้วย ทั้งนี้ทุก ๆ ประเทศเห็นว่ารัฐบาลไทยดำเนินการในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
9. จากการประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้รับแจ้งว่าประสงค์ที่จะได้รับ ความช่วยเหลือด้าน search and rescue โดยเฉพาะเรื่องบุคลากร เครื่องมือ และยานพาหนะ อาทิ เฮลิคอปเตอร์ และเรือ รวมทั้งอุปกรณ์ first aids ต่าง ๆ รวมทั้งถุงบรรจุศพซึ่งไทยไม่มีขนาดใหญ่พอที่จะบรรจุศพชาวต่างชาติ
10. ในชั้นนี้ได้รับสาส์นแสดงความเสียใจจากประเทศต่าง ๆ ดังนี้
- สาส์นถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากประธานาธิบดีจีน
- สาส์นถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จากประธานาธิบดีฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ประธานาธิบดีรัสเซีย และนายกรัฐมนตรีอินเดีย
- สาส์นถึง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง
ประเทศสหรัฐฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้โทรศัพท์แสดงความเสียใจถึงตนเองและแสดงความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ทั้งด้านบุคลากรและอุปกรณ์ต่าง ๆ
11. ในส่วนของการตรวจสอบผลกระทบต่อชาวไทยที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศที่ประสบภัย ในครั้งนี้ ได้แก่ อินเดีย (เชนไน) ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย (อาเจห์) พม่า ยังไม่ได้รับรายงานจาก สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ในต่างประเทศว่ามีชาวไทยบาดเจ็บและเสียชีวิต สำหรับในมัลดีฟ ยังติดต่อไม่ได้ กำลังติดตามผลในเรื่องนี้ (มีรายงานว่ามีชาวไทยทำงานอยู่ประมาณ 7 คน) นอกจากนี้ได้ประสานไปยังสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ให้ติดตามสถานะของเรือประมงไทยที่ปฏิบัติงานอยู่ในน่านน้ำประเทศต่าง ๆ รวมทั้งให้ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในพื้นที่ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์ปฏิบัติการของกระทรวงฯ และการดำเนินการของรัฐบาลไทยในครั้งนี้
12. ปลัดกระทรวงฯ จะเชิญคณะทูตมารับฟังการบรรยายสรุปในเรื่องนี้เวลา 16.00 น. เพื่อให้ทุก ๆ ฝ่ายได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องและสอดคล้องกัน
13. กระทรวงฯ ได้ปรับปรุง website ของกระทรวงฯ ให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และรายงานความคืบหน้าในด้านต่าง ๆ เป็นระยะ เพื่อให้ญาติมิตรของผู้ประสบภัยได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว
14. กระทรวงฯ ได้เพิ่มหมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์ฯ อีก 5 เลขหมายได้แก่สายตรง 2 เลขหมาย (0-2643-7245 และ 0-2643-7249) และหมายเลขต่ออีก 3 หมายเลข (0-2643-5000 ต่อ 5056, 5055, 5501)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-