สรุปอุตสาหกรรมเครื่องประดับแฟชั่น
จำนวนผู้ผลิต กำลังการผลิต การขอรับการส่งเสริม การร่วมลงทุน โครงสร้างต้นทุน แนวโน้มการส่งออก ตลาดส่งออก
(ราย ) (ชิ้นต่อปี) การลงทุน (ราย) การผลิต ระหว่างปี 2533-2538
-------- ------------ ---------------- ----------- ------------------- ----------------- -----------
เครื่องประดับแฟชั่นชนิดทำจาก 38 22,800,000 4 ญี่ปุ่น ไต้หวัน ค่าวัตถุดิบร้อยละ 65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส
โลหะ สวตเซอร์แลนด์ ค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน สหราชอาณาจักร
ร้อยละ 23 ค่าเสื่อมราคา
และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร้อยละ 12
เครื่องประดับแฟชั่นชนิดทำจาก 20 5,200,000 - - ค่าวัตถุดิบร้อยละ 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 สหรัฐอเมริกา ยุโรป
วัสดุธรรมชาติ ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานร้อยละ
20 ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้
จ่ายอื่นๆ ร้อยละ 30
เครื่องประดับแฟชั่นชนิดทำจาก 6 37,500,000 - ไต้หวัน ค่าวัตถุดิบร้อยละ 40 ค่าใช้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 สหรัฐอเมริกา ยุโรป
พลาสติกและผ้า จ่ายด้านแรงงานร้อยละ 30
ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ร้อยละ 30
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
1. อุตสาหกรรมเครื่องประดับแฟชั่น (Costume Jewelry) ได้เริ่มต้นในประเทศไทยมา
นานกว่า 20 ปี ในระยะแรกเป็นการผลิตเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ
ต่อมาอุตสาหกรรมนี้ได้มีการพัฒนารูปแบบ และเทคนิคการผลิตจนสามารถผลิตสินค้าได้ใกล้
เคียงกับเครื่องประดับจริง การส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลช่วยสนับสนุนการลงทุนของชาวต่าง
ชาติ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการขยาย
ตัวด้านการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญ แต่ในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นของ
ไทยมีการขยายตัวในอัตราที่ลดลงในระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา การลงทุนของผู้ประกอบการราย
ใหม่และการขยายกำลังการผลิตของผู้ประกอบการเดิมต้องหยุดชะงักลง ฉะนั้นการศึกษารวบรวม
ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้ทางด้านอุปทานสินค้า เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพการผลิตการตลาด
ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในการ
วางแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
2. ขอบเขตการศึกษา ได้ทำการศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแฟชั่น 3 ผลิตภัณฑ์ ได้
แก่ เครื่องประดับแฟชั่นชนิดทำจากโลหะ เครื่องประดับแฟชั่นทำจากวัสดุธรรมชาติ เครื่อง
ประดับแฟชั่นทำจากพลาสติกและผ้า ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งจากแหล่งทุ
ติยภูมิและปฐมภูมิ โดยรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน รวบรวมข้อมูลผู้ผลิตจาก
การสำรวจภาคสนาม โดยการออกแบบสอบถามและสัมภาษณ์นำผลที่ได้รับมาทำการประมวล
ภาพรวม
3. ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำการศึกษา แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
- เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากโลหะ
- เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ
- เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากพลาสติกและผ้า
เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำการผลิต ได้แก่ เข็มกลัด แหวน สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล
ต่างหู เครื่องประดับผม เช่น กิ๊บ หวี เครื่องประดับสำหรับสุภาพบุรุษ เช่น กระดุมข้อมือเชิ้ต
และสตัด
4. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิตที่รวบรวมได้จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พบว่าผู้
ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นในประเทศไทยมีจำนวน 64 ราย จำแนกตามขนาดของกิจการ ได้เป็น 3
ลักษณะ คือ
- ผู้ผลิตขนาดใหญ่ ได้แก่ ผู้ผลิตที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป
หรือมีการจ้างงานมากกว่า 200 คน มีผู้ผลิตจำนวน 7 ราย
- ผู้ผลิตขนาดกลาง ได้แก่ ผู้ผลิตที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป
หรือมีการจ้างงานมากกว่า 50 คน มีผู้ผลิตจำนวน 40 ราย
- ผู้ผลิตขนาดย่อม ได้แก่ ผู้ผลิตที่มีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 1 ล้านบาท หรือมี
การจ้างงานไม่เกิน 50 คน มีผู้ผลิตจำนวน 17 ราย
ผู้ผลิตส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 59 ของผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นทั้งสิ้น จะเป็นผู้ประกอบ
การผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากโลหะ ซึ่งขนาดของโรงงานจะแตกต่างกันตั้งแต่ขนาดย่อมถึง
ขนาดใหญ่ โดยในจำนวนนี้จะเป็นผู้ผลิตที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 4 ราย
ผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ และผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำ
จากพลาสติกและผ้า จะประกอบด้วยผู้ผลิตทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม
5. โครงสร้างผู้ถือหุ้น ประกอบด้วย ผู้ผลิตที่เป็นคนไทยล้วนเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ที่
เป็นต่างชาติล้วน ได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และการร่วมลงทุนระหว่างไทย และไต้หวัน สวิตเซอร์-
แลนด์ เป็นต้น
6. อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับแฟชั่น ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะทำการผลิตตามคำสั่ง
ซื้อของลูกค้า ทั้งที่เป็นลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ รูปแบบของสินค้าจะแตกต่างกันไปตาม
แนวโน้มความนิยมของผู้ใช้ ทั้งนี้วัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยใช้แรง
งานกึ่งมีฝีมือ และมีฝีมือจำนวนมากในการผลิต เทคโนโลยีในการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ผลิต
สามารถสะสมประสบการณ์และพัฒนาได้เอง อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาสัดส่วนต้นทุนการผลิต
วัตถุดิบยังมีสัดส่วนสูง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สัดส่วนต้นทุนการผลิต
จะแตกต่างกันไปตามขนาดของผู้ผลิต
การต้องพึ่งวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายด้านภาษีอากร การสต๊อค
สินค้า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การที่ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นเป็นอุปสรรคสำคัญอีก
ประการหนึ่งที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และลดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาด
โลก อันเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม
ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าเพื่อตลาดส่งออก ผู้ผลิตสินค้าระดับสูงจะมีช่างออกแบบ
ของตนเอง โดยสร้างสินค้าเป็น Collection มีแนวแฟชั่นที่แน่นอน ถ้าเป็นผู้ผลิตสินค้าระดับล่าง
จะไม่เน้นรูปแบบสินค้า โดยมีการลอกเลียนแบบ และไม่เน้นด้านคุณภาพเช่นกัน
7.การตลาดสำหรับเครื่องประดับแฟชั่นสามารถจำแนกได้เป็นตลาดในประเทศและตลาด
ส่งออก
ตลาดในประเทศ การเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ที่ทำให้ผู้หญิง
ส่วนใหญ่ต้องทำงานนอกบ้าน การแต่งตัวตามแฟชั่นเป็นที่นิยมโดยใช้เครื่องประดับใส่ให้เข้าชุด
กับเสื้อผ้า เครื่องประดับแฟชั่นที่เหมือนเครื่องประดับจริงมีราคาถูกกว่าจึงเป็นที่นิยม ซึ่งนอกจาก
การผลิตในประเทศแล้ว ไทยยังนำเข้าเครื่องประดับแฟชั่นจากต่างประเทศเป็นมูลค่าสูงและเพิ่ม
ขึ้นเป็นลำดับจากมูลค่า 58.0 ล้านบาทในปี 2533 เป็น 185.3 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 26.12 ต่อปี โดยนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ออสเตรเลีย
สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ ตามลำดับ เครื่องประดับที่นิยมคือชนิดที่ทำจากวัสดุอื่นที่ไม่ใช่
โลหะ
ด้านการส่งออก ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าเพื่อตลาดต่างประเทศ ผู้ซื้อที่สำคัญได้แก่
สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมัน ซึ่งมูลค่าการส่งออกได้เพิ่มขึ้นจาก 1,404.7 ล้าน
บาทในปี 2533 เป็น 1,854.9 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 5.7 ต่อปี สินค้า
ส่งออกมากที่สุดได้แก่ เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากโลหะซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดมา ซึ่งผู้ซื้อที่มี
แนวโน้มดีมีการขยายตัวสูง ได้แก่ ผู้ซื้อในประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น ตามลำดับ
ประเทศไทยส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นไปยังประเทศต่าง ๆ ในโลก โดยมีสัดส่วนการ
ครองตลาดมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นตลอดมาจากร้อยละ 3.0 ในปี 2532 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.0 ในปี
2536 ทั้งนี้ประเทศที่ครองสัดส่วนในตลาดโลกสูงสุดได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ เยอรมัน ตาม
ลำดับ ประเทศที่เริ่มส่งสินค้าออกขายในตลาดโลก แต่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วได้แก่ จีน ซึ่ง
ส่งออกสินค้าในระยะเวลาเพียง 7 ปี ก็สามารถครองส่วนแบ่งตลาดในลำดับเหนือกว่าไทยได้
อุปสรรคสำคัญด้านการตลาดของไทยคือ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันเนื่อง
จากต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะสินค้าที่ขายในตลาดระดับล่าง ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่เน้นคุณภาพ
และมีราคาถูก คู่แข่งที่สำคัญคือสินค้าจากจีน การขาดบุคลากรด้านการตลาด ด้านการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งด้านคุณภาพและรูปแบบ ล้วนส่งผลกระทบ
ต่อความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ทั้งสิ้น
8. ประเทศคู่แข่งขันผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่สำคัญซึ่งมีการขยายตัวด้านการส่งออก
สูง ได้แก่
จีน ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาการส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นของจีนขยายตัวอย่างมาก
จากมูลค่า 1,669.9 ล้านบาทในปี 2534 เพิ่มขึ้นเป็น 3,071.4 ล้านบาทในปี 2538 หรือมีอัตรา
เพิ่มร้อยละ 16.5 ต่อปี โดยส่งออกไปยังประเทศฮ่องกง สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ สหราชอาณา-
จักร ญี่ปุ่น ตามลำดับ จากความได้เปรียบของสินค้าที่มีราคาต่ำ ทำให้จีนเป็นคู่แข่งสำคัญใน
ตลาดหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
อินโดนีเซีย การส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นของอินโดนีเซียขยายตัวสูง โดยมีมูลค่า
39.2 ล้านบาทในปี 2534 เพิ่มขึ้นเป็น 92.8 ล้านบาทในปี 2538 หรือขยายตัวร้อยละ 24.04
ต่อปี โดยส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ฮ่องกง ตามลำดับ ทั้งนี้
สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดสำคัญของอินโดนีเซียมาโดยตลอด
อินเดีย ประเทศที่การส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นมีการขยายตัวอย่างสำคัญ โดยตลาด
ส่งออกหลักได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปเช่นเดียวกับตลาดส่งออกสำคัญของไทย มูลค่า
การส่งออกในปี 2533 เท่ากับ 81.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 375.6 ล้านบาทในปี 2537 หรือเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 46.38 ต่อปี โดยส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี สหรัฐ
-อาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอารเบีย ตามลำดับ
ฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์มีความได้เปรียบด้านเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจาก
วัสดุธรรมชาติ ทั้งด้านวัตถุดิบและรูปแบบผลิตภัณฑ์ โดยการส่งออกในปี 2534 มีมูลค่า 832
ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 1,173.5 ล้านบาทในปี 2537 หรือขยายตัวร้อยละ 12.15 ต่อปี ถึงแม้
การส่งออกในปี 2538 จะลดลงเหลือ 627.1 ล้านบาทก็ตาม ประเทศคู่ค้าที่สำคัญได้แก่ สหรัฐ-
อเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์
9. กลยุทธที่สามารถช่วยส่งเสริมการขายเครื่องประดับแฟชั่นของไทย
การส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นของไทยต้องประสบปัญหาการแข่งขันจากประเทศคู่แข่งที่
มีการส่งออกขยายตัวอย่างสำคัญดังกล่าว ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศเหล่านี้เป็นคู่แข่งที่สำคัญ
ได้แก่ ราคาสินค้าที่มีราคาถูก เพราะต้นทุนด้านแรงงานมีอัตราค่าจ้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่า
จ้างแรงงานของไทย การใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อช่วยส่งเสริมการขาย ได้แก่
9.1 กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตต้องกำหนดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ให้แน่ชัด ที่
จะเน้นการผลิตสินค้าด้านราคาให้มีราคาต่ำสำหรับตลาดระดับล่าง หรือเน้นด้านคุณภาพและรูป
แบบ สำหรับตลาดระดับกลางและระดับสูง โดยนำเทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัยมาใช้ในการ
ช่วยลดต้นทุนการผลิต การผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงลักษณะดีเด่นและแปลกใหม่ของผลิตภัณฑ์ที่
สามารถสร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้ได้ นอกเหนือจากประโยชน์พื้นฐานในการใช้สอย การบรรจุ
หีบห่อและการใช้ตราสินค้าทั้งที่เป็นชื่อและสัญลักษณ์ก็มีความสำคัญ เพื่อก่อให้เกิดทัศนคติที่ดี
ต่อผู้ซื้อ และความภักดีต่อตราสินค้าที่จะติดตามมา
9.2 กลยุทธ์ด้านราคา การตั้งราคาผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ความ
ยืดหยุ่นของดีมานด์ การแข่งขัน ตลอดจนต้นทุนของผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาที่ผู้
ซื้อมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้ามาก การตั้งราคาจึงเป็นกลยุทธ์ที่
สำคัญประการหนึ่ง
9.3 กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่ายและส่งเสริมการขาย เครื่องประดับแฟชั่นจัดเป็น
สินค้าบริโภคที่ผู้ซื้อต้องเลือกซื้อ ต้องใช้เวลาพิจารณา การตัดสินใจซื้ออาจใช้เหตุผลหรืออารมณ์
ขึ้นอยู่กับความพอใจส่วนบุคคล จำนวนผู้ซื้อมีมากและอยู่กระจัดกระจายทั่วไป กลยุทธ์การจัด
จำหน่ายควรใช้วิธีการขายตรงเพื่อเข้าถึงตัวผู้ซื้อให้ได้มากที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า
สำหรับตลาดระดับสูงมีความสามารถในการดำเนินกลยุทธ์นี้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงผู้ประกอบ
การที่ผลิตสินค้าสำหรับตลาดระดับกลางและระดับล่างไม่สามารถดำเนินการได้เอง โดยยังต้อง
ขายผ่านผู้นำเข้าและผู้ค้าส่งในประเทศผู้นำเข้าเป็นหลัก การส่งเสริมการขายโดยจัดทำหนังสือ
catalog แสดงภาพผลิตภัณฑ์และสถานที่ติดต่อของผู้ผลิตแต่ละราย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้
ซื้อ หรือจัดสถานที่แสดงสินค้าถาวรในประเทศเป็นกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้
ประกอบการอีกวิธีหนึ่ง
10. จากสินค้าเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำการศึกษา สามารถระบุรายละเอียดของแต่ละสิน
ค้าได้ดังนี้
10.1 เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากโลหะ
การผลิต ผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากโลหะมีจำนวน 38 ราย โดยเป็นผู้
ผลิตขนาดกลางมากที่สุดมีจำนวน 25 ราย โดยมีกำลังการผลิตรวม 22.8 ล้านชิ้นต่อปี จำนวน
แรงงานประมาณ 4,500 คน วัตถุดิบที่ใช้ในประเทศได้แก่ ดีบุก ตะกั่ว พลวง วัตถุดิบส่วน
ใหญ่จะนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น พลอยเทียม ผงเงิน ผงทอง โรเดียม ชิ้นส่วนประกอบสัดส่วน
การใช้วัตถุดิบในประเทศต่อต่างประเทศเท่ากับ 25 : 75 สัดส่วนการใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ
จะลดลงในรายที่ผู้ผลิตผลิตสินค้าคุณภาพในระดับปานกลางและระดับล่าง การใช้แรงงานเป็นผู้ที่
มีฝีมือและความประณีตเป็นสำคัญ เทคโนโลยีในการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยผู้ประกอบการ
ส่วนใหญ่จะพัฒนาเองตามความรู้และประสบการณ์ ทั้งนี้สินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกจะมีการตรวจ
สอบคุณภาพทุกขั้นตอน แต่เป็นการตรวจภายในโรงงานของผู้ผลิต ในการผลิตวัตถุดิบจะมีสัด
ส่วนสูงประมาณร้อยละ 65 ค่าจ้างแรงงานร้อยละ 23 ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ร้อยละ
12 ทั้งนี้สัดส่วนนี้จะแตกต่างกันไปโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการใช้
วัตถุดิบราคาถูก และค่าจ้างแรงงานสูง
การตลาด ตลาดในประเทศแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงตลอดมานับแต่ปี 2533
ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 16.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 71.8 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
33.7 ในปี 2539 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 32.3 ล้านบาท เปรียบเทียบกับมูลค่า
การนำเข้า 26.0 ล้านบาท ในระยะเวลาเดียวกันของปี 2538 ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง
ความนิยมสินค้าของคนไทยที่นิยมแต่งตัวโดยใช้เครื่องประดับตามแฟชั่นสูงขึ้น ทั้งนี้สินค้าที่นำ
เข้าได้แปรเปลี่ยนจากเดิมที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ มานำเข้าจำนวนสูงจาก
ประเทศสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา
สินค้าเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากโลหะเป็นสินค้าส่งออกมากที่สุด และมีแนวโน้มสูงขึ้น
จากมูลค่าส่งออกในปี 2533 เท่ากับ 1,212.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 1,526.7 ล้านบาท ในปี
2538 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ต่อปี โดยในปี 2539 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยมีการส่งออกสินค้าชนิดนี้
แล้วมูลค่า 696.6 ล้านบาท เปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออก 669.9 ล้านบาท ในระยะเดียวกัน
ในปี 2538 โดยส่งออกไปสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับหนึ่งสัดส่วนร้อยละ 36.8 รองลงมาได้แก่ ฝรั่ง
เศส สหราชอาณาจักร สัดส่วนร้อยละ 18.4 และ 9.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ตลาดส่งออกที่มีแนวโน้ม
ดีมีการขยายตัวสูง ได้แก่ มาเลเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น เป็นต้น ด้านช่องทางการจำหน่ายผู้ผลิตส่วน
ใหญ่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยผ่านผู้นำเข้า และผู้ค้าส่ง โดยมีรูปแบบของตนเอง และทำตามคำ
สั่งซื้อของลูกค้าที่ให้รูปแบบมาผลิต
ส่วนการตลาดสำหรับเครื่องประดับแฟชั่นประเภทกระดุมข้อมือเชิ้ต และสตัด ไทยได้นำ
เข้าสินค้าประเภทนี้มูลค่า 1.8 ล้านบาทในปี 2533 เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 ล้านบาทในปี 2538 หรือมี
อัตราเพิ่มร้อยละ 4.8 ต่อปี ในปี 2539 (มกราคม-มิถุนายน) มูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 1.3 ล้าน
บาท เปรียบเทียบกับการนำเข้ามูลค่า 0.9 ล้านบาท ในระยะเวลาเดียวกันของปี 2538 การนำ
เข้าจากประเทศที่สำคัญได้แก่ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส โดยการนำเข้ามีแนวโน้มลดลง
ตั้งแต่ปี 2536 ทั้งนี้การส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นประเภทนี้ยังมีมูลค่าน้อย คือมูลค่าการส่ง
ออกเท่ากับ 0.34 ล้านบาทในปี 2533 เพิ่มขึ้นเป็น 3.6 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
60.2 ต่อปี โดยในปี 2539 (มกราคม-มิถุนายน) มูลค่าการส่งออกเท่ากับ 1.3 ล้านบาท เปรียบ
เทียบกับมูลค่าการส่งออก 1.8 ล้านบาท ในระยะเวลาเดียวกันในปี 2538 การส่งออกไปยัง
ประเทศที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส
ปัจจัยบวก ในอุตสาหกรรมนี้ มีแรงงานที่มีฝีมือประณีตและชำนาญงาน
ปัจจัยลบ ค่าจ้างแรงงานมีอัตราสูง วัตถุดิบที่มีคุณภาพและชิ้นส่วนประกอบยังต้อง
นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง ไม่สามารถบริการลูกค้าได้อย่าง
ตรงตามความต้องการ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าจ้างแรงงานแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายด้านภาษีอากร
การสต๊อคสินค้า อัตราแลกเปลี่ยนในการทำวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาผลิตด้วย คู่แข่งสำคัญ
ได้แก่ จีน ที่มีค่าแรงต่ำกว่ามาก ผลิตสินค้าต้นทุนต่ำและขยายตลาดเข้าครอบครองทั้งตลาดสหรัฐ
อเมริกาและสหภาพยุโรป ส่งผลให้การขยายตัวด้านการส่งออกของไทยลดลง นอกจากนี้การขาด
บุคลากรและข้อมูลด้านการตลาดเป็นอุปสรรคอีกประการหนึ่ง รวมถึงการขาดการวิจัยและ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านคุณภาพและรูปแบบได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเช่นกัน
แนวโน้ม ตลาดเครื่องประดับแฟชั่นของโลกมีมูลค่าสูง จากจำนวนผู้หญิงในวัย
ทำงานที่เพิ่มสูงขึ้น และเครื่องประดับแท้มีราคาสูง ส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับแฟชั่นของไทย
ในตลาดโลกยังมีสัดส่วนน้อยเพียงร้อยละ 4 โอกาสการขยายตัวยังมีอยู่สูง ถ้าไทยจะอาศัยความ
ได้เปรียบทางด้านฝีมือแรงงาน ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นสำหรับตลาดกลางและสูงเพื่อเพิ่มมูลค่า
ของผลิตภัณฑ์ทดแทนค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น และเน้นตลาดที่นิยมสินค้าดีมีคุณภาพเช่นตลาดยุ
โรปเป็นสำคัญ ทั้งนี้ต้องพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับความนิยมของตลาด ส่วนเครื่องประดับ
แฟชั่นประเภทกระดุมเชิ้ตและสตัด ซึ่งเป็นเครื่องประดับสำหรับสุภาพบุรุษ ตลาดจึงค่อนข้าง
จำกัดแนวโน้มการขยายตัวมีน้อย
10.2 เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากวัสดุอื่นที่ไม่ใช่โลหะ ประกอบด้วยเครื่องประดับ
แฟชั่นที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ และเครื่องประดับแฟชั่นทำจากพลาสติกและผ้า
การผลิต ผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากวัสดุธรรมชาติจำนวน 20 ราย เป็นผู้
ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อม มีกำลังผลิตรวมประมาณ 5.2 ล้านชิ้นต่อปี จำนวนแรงงาน
ประมาณ 860 คน วัตถุดิบที่ใช้ได้แก่ ดอกไม้ ผีเสื้อ แมลง เปลือกหอย หินสี เซรามิค กะลา
มะพร้าว ซึ่งเป็นวัสดุในประเทศ นอกจากผงทอง ผงเงิน โรเดียม กาว ชิ้นส่วนประกอบที่ต้องมี
การนำเข้าบางส่วนจากต่างประเทศ สัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศและต่างประเทศเท่ากับ 70
: 30 การใช้แรงงานกึ่งมีฝีมือเป็นส่วนใหญ่ เทคโนโลยีในการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีการตรวจ
สอบคุณภาพในขั้นตอนการผลิต ทั้งนี้ในการผลิตวัตถุดิบยังคงมีสัดส่วนสูงประมาณร้อยละ 50
ค่าจ้างแรงงานร้อยละ 20 ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ร้อยละ 30
ผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากพลาสติกและผ้า มีจำนวนผู้ผลิต 6 ราย กำลังการ
ผลิตรวมประมาณ 37.5 ล้านชิ้นต่อปี และมีจำนวนแรงงานประมาณ 450 คน วัตถุดิบที่สำคัญ
ได้แก่ เรซิน ผ้า พลอยเทียม ชิ้นส่วนประกอบ โดยมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศต่อต่าง
ประเทศเท่ากับ 80 : 20 เทคโนโลยีในการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้แรงงานกึ่งมีฝีมือจำนวนมาก
ส่วนใหญ่เป็นแรงงานแม่บ้านในต่างจังหวัด ทั้งนี้สินค้าที่ผลิตจะมีการตรวจสอบคุณภาพก่อน
ออกจำหน่าย ในการผลิตวัตถุดิบมีสัดส่วนร้อยละ 40 ค่าจ้างแรงงานร้อยละ 30 ค่าเสื่อมราคา
และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ร้อยละ 30
การตลาด ตลาดในประเทศของสินค้าเครื่องประดับแฟชั่นทำจากวัสดุอื่นที่ไม่ใช่
โลหะจะมีการนำเข้าในอัตราสูง โดยมีมูลค่าการนำเข้า 39.5 ล้านบาทในปี 2533 เพิ่มขึ้นเป็น
111.2 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 ต่อปี ในปี 2539 (ม.ค.-มิ.ย.) มูลค่าการ
นำเข้าเท่ากับ 63.2 ล้านบาท เปรียบเทียบกับมูลค่าการนำเข้า 50.5 ล้านบาท ในระยะเวลาเดียว
กันของปี 2538 ประเทศที่นำเข้าอย่างสำคัญได้แก่ ออสเตรเลีย ทั้งนี้การนำเข้าจากประเทศ
สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และไต้หวัน มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
การส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำด้วยวัสดุอื่นที่ไม่ใช่โลหะ มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูง
ขึ้นจาก 192.2 ล้านบาทในปี 2533 เพิ่มเป็น 324.5 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มในอัตราร้อย
ละ 11.0 ต่อปี ในปี 2539 (ม.ค.-มิ.ย.) มูลค่าการส่งออกเท่ากับ 140.0 ล้านบาท เปรียบเทียบ
กับการส่งออกมูลค่า 144.7 ล้านบาท ในระยะเวลาเดียวกันในปี 2538 โดยสหรัฐอเมริกายังคง
เป็นตลาดที่สำคัญ กล่าวคือ การนำเข้าในปี 2538 คิดเป็นร้อยละ 26.6 ของมูลค่าการส่งออกสิน
ค้าชนิดนี้ของไทย รองลงมาได้แก่ ฝรั่งเศสร้อยละ 21.1 และเยอรมนีร้อยละ 7.5 ตามลำดับ
ทั้งนี้ตลาดที่มีการขยายตัวดี มีแนวโน้มดี ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอารเบีย สเปน เป็นต้น
ด้านช่องทางการจำหน่ายผู้ผลิตจะทำการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายใน
ประเทศหรือผ่านทางผู้นำเข้า และผู้ค้าส่งในประเทศนั้น โดยมีรูปแบบสินค้าของตนเอง และทำ
ตามคำสั่งซื้อและรูปแบบของผู้ซื้อ
ปัจจัยบวก
เครื่องประดับแฟชั่นทำจากวัสดุธรรมชาติ มีรูปแบบเป็นลักษณะเฉพาะเป็นธรรมชาติ
เครื่องประดับแฟชั่นทำจากพลาสติกและผ้า ราคาถูก รูปแบบทันสมัย เปลี่ยน
แปลงได้ตามความนิยมของผู้ใช้ ค่าจ้างแรงงานไม่สูง จากการจ้างแรงงานแม่บ้านในต่างจังหวัด
เป็นผู้ผลิต
ปัจจัยลบ
เครื่องประดับแฟชั่นทำจากวัสดุธรรมชาติ มีขนาดของตลาดจำกัด ตลาดในประเทศผู้
ซื้อส่วนใหญ่ได้แก่ นักท่องเที่ยว เป็นต้น
เครื่องประดับแฟชั่นทำจากพลาสติกและผ้า วัตถุดิบ เช่น เรซิน ผ้า กาว ยังต้อง
นำเข้าจากต่างประเทศ การควบคุมคุณภาพอาจเป็นปัญหาจากการจ้างแรงงานหลายแห่งในต่าง
จังหวัด และสินค้ามีราคาถูก สำหรับตลาดระดับล่างการผลิตไม่ยุ่งยาก อาจต้องเผชิญปัญหาการ
แข่งขันจากประเทศที่มีค่าแรงงานต่ำ
แนวโน้ม
การขยายตัวของการผลิตเครื่องประดับแฟชั่นทำจากวัสดุธรรมชาติค่อนข้างน้อย เนื่อง
จากขนาดของตลาดจำกัด นอกจากการหาตลาดใหม่ ๆ มารองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
การขยายตัวของตลาดเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากพลาสติกและผ้า โอกาสการขยายตัว
ยังมีอยู่สูง เนื่องจากราคาถูกและปรับเปลี่ยนรูปแบบได้รวดเร็วทันตามแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงทุก
ฤดูกาล ทั้งนี้ผู้ผลิตต้องเคลื่อนไหวให้ทันตามแฟชั่น และปรับปรุงรูปแบบการใช้วัตถุดิบให้ดึงดูด
ใจผู้ซื้อ
11. อุตสาหกรรมเครื่องประดับแฟชั่น ได้มีการเริ่มต้นผลิตในประเทศไทยมาเป็นเวลา
นาน การผลิตต้องใช้แรงงานเป็นหลัก ความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมจึงขึ้นอยู่กับค่าจ้างแรง
งานเป็นปัจจัยสำคัญ จากแนวโน้มค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นตลอดมา โดยขาดการพัฒนาประสิทธิ-
ภาพในการผลิต ตลอดจนวัตถุดิบที่มีคุณภาพยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งต้องเสียภาษี
ศุลกากรขาเข้าในอัตราสูง การขาดการวิจัยและพัฒนาด้านรูปแบบและคุณภาพอย่างจริงจังและต่อ
เนื่อง การขาดบุคลากรทางด้านการตลาด ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ปัจจัยเหล่านี้เป็นอุปสรรค
สำคัญที่บั่นทอนความสามารถในการแข่งขันในตลาดของไทยให้ด้อยลง และส่งผลกระทบต่อ
ความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งเป็นผู้ผลิต
ส่วนใหญ่ต้องได้รับผลกระทบจากการเข้ามาแข่งขันในตลาดของประเทศจีน อินโดนีเซีย อินเดีย
ที่สามารถผลิตสินค้าได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่าไทยในตลาดที่ไม่เน้นคุณภาพสินค้า ส่งผลให้มูลค่าการ
ส่งออกสินค้าเครื่องประดับแฟชั่นของไทยขยายตัวในอัตราที่ลดลงนับตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา
รัฐบาลได้มีนโยบายและดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการส่งออก ได้แก่
ด้านภาษี ได้มีการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ได้แก่ ลูกปัด ไข่มุกเทียม ฝุ่นและผง
ของเพชร โรเดียม เป็นต้น รวมทั้งการเร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม การคืนภาษีตามมาตรา 19
ทวิ เป็นต้น
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยการพัฒนากิจการพาณิชยนาวี ปรับปรุงบริการท่าเรือ จัดตั้ง
บริษัทขนส่งทางอากาศ (Cargo Freighter) พัฒนาเครือข่ายคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน
ด้านแรงงาน รัฐบาลจะดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานโดยโครงการจะเริ่ม
ในปี 2540-2544 จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมแรงงานให้ครบทุกจังหวัดภายในปี 2541 และวางแผน
ปรับปรุงโครงสร้างการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงาน
ด้านการตลาด รัฐบาลจะจัดตั้งสถาบันพัฒนาสินค้าเฉพาะด้าน รวมทั้งสร้างระบบ
ประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชนด้านข้อมูลการค้า จัดการเจรจาทวิภาคี ภูมิภาค เพื่อ
เจรจาลดหย่อนภาษี แก้ไขปัญหาสิทธิพิเศษทางการค้า มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการ
อุดหนุนและการกีดกันการค้าอื่น ๆ
ทั้งนี้นโยบายและมาตรการเหล่านี้ รัฐต้องมีการดำเนินการอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่องเพื่อ
ให้เกิดผลดีต่อการส่งออกสินค้าอย่างจริงจัง นอกจากนี้ทางด้านกฎระเบียบต่างประเทศ ซึ่ง
ประกอบด้วยกฎหมายป้องกันการทุ่มตลาดและตอบโต้การอุดหนุนการส่งออก มาตรการฉุกเฉิน
และจำเป็นในการจำกัดปริมาณการนำเข้า เมื่อพิจารณาแล้วผู้ผลิตในอุตสาหกรรมนี้ยังไม่มีรายใด
อยู่ในข่ายที่จะถูกตอบโต้ตามกฎหมายและมาตรการดังกล่าว และการถูกดำเนินการตามมาตรการ
301 ธรรมดา ซึ่งเป็นขั้นต่ำสุดตามกฎหมายการค้าของสหรัฐอเมริกาก็มีโอกาสน้อยที่จะกระทบต่อ
อุตสาหกรรมนี้ แต่ไทยยังได้รับสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) ใหม่ หลังจากหมดอายุไปตั้งแต่ปี
2536
12. ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องประดับแฟชั่นให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
มีดังนี้
ด้านการผลิต ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
คือ ต้นทุนการผลิตสูง ส่วนหนึ่งจากค่าจ้างแรงงานที่เป็นสัดส่วนสำคัญในต้นทุนการผลิตได้สูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง รัฐควรส่งเสริมด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การ
กำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นการช่วยแก้ปัญหาอีกระดับหนึ่ง
วัตถุดิบสำคัญที่มีคุณภาพ เช่น พลอยเทียม ชิ้นส่วนประกอบ ควรส่งเสริมให้มีการผลิต
ในประเทศ รวมถึงการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบอื่น ๆ เช่น ชิ้นส่วนประกอบ กาว ผ้า เป็นต้น รวม
ถึงการเร่งรัดขั้นตอนการขอคืนภาษีให้รวดเร็ว เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการ
การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต โดยการช่วยเหลือด้านเงินทุนในการจัดหาเครื่อง
จักรอุปกรณ์ที่ทันสมัย รวมถึงเทคนิคการผลิตเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สูงขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตด้านแรงงาน
ความช่วยเหลือด้านการวิจัยและพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าเป็นสิ่งสำคัญอีก
ประการหนึ่งที่ต้องการความสนับสนุนจากภาครัฐ
ด้านการตลาด เมื่อดูจากสัดส่วนของสินค้าเครื่องประดับแฟชั่นไทยในตลาดโลกแล้ว
โอกาสการขยายตัวยังมีอยู่มาก ทั้งนี้ผู้ผลิตต้องปรับตัวโดยเฉพาะผู้ผลิตสินค้าสำหรับตลาดระดับ
ล่างที่ต้องเน้นการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สินค้ามีคุณภาพดี และมุ่งเจาะตลาดที่มีศักยภาพ
เหมาะกับสินค้าที่ผลิต ทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่ ทั้งนี้ถ้าได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐ
คือ
ข้อมูลการค้าที่เป็นระบบและฉับไวทันกับเหตุการณ์และสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็ว
การบริการด้านการตลาด ทางด้านการจัดให้พบกับผู้ซื้อจากต่างประเทศ การจัดงานแสดง
สินค้า และร่วม mission ไปในต่างประเทศ โดยจัดบริการให้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง รวมถึงการ
ศึกษาตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ
ในระยะยาวจัดทำแผนแม่บทส่งออกแห่งชาติ ตามที่กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างดำเนิน
การเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ศูนย์กลางเครื่องประดับในภูมิภาค และจูงใจให้เกิดตราหรือเครื่อง
หมายการค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย เป็นต้น
โดย แผนกวิจัย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตุลาคม 2539
จำนวนผู้ผลิต กำลังการผลิต การขอรับการส่งเสริม การร่วมลงทุน โครงสร้างต้นทุน แนวโน้มการส่งออก ตลาดส่งออก
(ราย ) (ชิ้นต่อปี) การลงทุน (ราย) การผลิต ระหว่างปี 2533-2538
-------- ------------ ---------------- ----------- ------------------- ----------------- -----------
เครื่องประดับแฟชั่นชนิดทำจาก 38 22,800,000 4 ญี่ปุ่น ไต้หวัน ค่าวัตถุดิบร้อยละ 65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส
โลหะ สวตเซอร์แลนด์ ค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน สหราชอาณาจักร
ร้อยละ 23 ค่าเสื่อมราคา
และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร้อยละ 12
เครื่องประดับแฟชั่นชนิดทำจาก 20 5,200,000 - - ค่าวัตถุดิบร้อยละ 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 สหรัฐอเมริกา ยุโรป
วัสดุธรรมชาติ ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานร้อยละ
20 ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้
จ่ายอื่นๆ ร้อยละ 30
เครื่องประดับแฟชั่นชนิดทำจาก 6 37,500,000 - ไต้หวัน ค่าวัตถุดิบร้อยละ 40 ค่าใช้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 สหรัฐอเมริกา ยุโรป
พลาสติกและผ้า จ่ายด้านแรงงานร้อยละ 30
ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ร้อยละ 30
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
1. อุตสาหกรรมเครื่องประดับแฟชั่น (Costume Jewelry) ได้เริ่มต้นในประเทศไทยมา
นานกว่า 20 ปี ในระยะแรกเป็นการผลิตเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ
ต่อมาอุตสาหกรรมนี้ได้มีการพัฒนารูปแบบ และเทคนิคการผลิตจนสามารถผลิตสินค้าได้ใกล้
เคียงกับเครื่องประดับจริง การส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลช่วยสนับสนุนการลงทุนของชาวต่าง
ชาติ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการขยาย
ตัวด้านการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญ แต่ในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นของ
ไทยมีการขยายตัวในอัตราที่ลดลงในระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา การลงทุนของผู้ประกอบการราย
ใหม่และการขยายกำลังการผลิตของผู้ประกอบการเดิมต้องหยุดชะงักลง ฉะนั้นการศึกษารวบรวม
ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้ทางด้านอุปทานสินค้า เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพการผลิตการตลาด
ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในการ
วางแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
2. ขอบเขตการศึกษา ได้ทำการศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแฟชั่น 3 ผลิตภัณฑ์ ได้
แก่ เครื่องประดับแฟชั่นชนิดทำจากโลหะ เครื่องประดับแฟชั่นทำจากวัสดุธรรมชาติ เครื่อง
ประดับแฟชั่นทำจากพลาสติกและผ้า ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งจากแหล่งทุ
ติยภูมิและปฐมภูมิ โดยรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน รวบรวมข้อมูลผู้ผลิตจาก
การสำรวจภาคสนาม โดยการออกแบบสอบถามและสัมภาษณ์นำผลที่ได้รับมาทำการประมวล
ภาพรวม
3. ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำการศึกษา แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
- เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากโลหะ
- เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ
- เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากพลาสติกและผ้า
เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำการผลิต ได้แก่ เข็มกลัด แหวน สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล
ต่างหู เครื่องประดับผม เช่น กิ๊บ หวี เครื่องประดับสำหรับสุภาพบุรุษ เช่น กระดุมข้อมือเชิ้ต
และสตัด
4. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิตที่รวบรวมได้จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พบว่าผู้
ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นในประเทศไทยมีจำนวน 64 ราย จำแนกตามขนาดของกิจการ ได้เป็น 3
ลักษณะ คือ
- ผู้ผลิตขนาดใหญ่ ได้แก่ ผู้ผลิตที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป
หรือมีการจ้างงานมากกว่า 200 คน มีผู้ผลิตจำนวน 7 ราย
- ผู้ผลิตขนาดกลาง ได้แก่ ผู้ผลิตที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป
หรือมีการจ้างงานมากกว่า 50 คน มีผู้ผลิตจำนวน 40 ราย
- ผู้ผลิตขนาดย่อม ได้แก่ ผู้ผลิตที่มีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 1 ล้านบาท หรือมี
การจ้างงานไม่เกิน 50 คน มีผู้ผลิตจำนวน 17 ราย
ผู้ผลิตส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 59 ของผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นทั้งสิ้น จะเป็นผู้ประกอบ
การผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากโลหะ ซึ่งขนาดของโรงงานจะแตกต่างกันตั้งแต่ขนาดย่อมถึง
ขนาดใหญ่ โดยในจำนวนนี้จะเป็นผู้ผลิตที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 4 ราย
ผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ และผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำ
จากพลาสติกและผ้า จะประกอบด้วยผู้ผลิตทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม
5. โครงสร้างผู้ถือหุ้น ประกอบด้วย ผู้ผลิตที่เป็นคนไทยล้วนเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ที่
เป็นต่างชาติล้วน ได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และการร่วมลงทุนระหว่างไทย และไต้หวัน สวิตเซอร์-
แลนด์ เป็นต้น
6. อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับแฟชั่น ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะทำการผลิตตามคำสั่ง
ซื้อของลูกค้า ทั้งที่เป็นลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ รูปแบบของสินค้าจะแตกต่างกันไปตาม
แนวโน้มความนิยมของผู้ใช้ ทั้งนี้วัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยใช้แรง
งานกึ่งมีฝีมือ และมีฝีมือจำนวนมากในการผลิต เทคโนโลยีในการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ผลิต
สามารถสะสมประสบการณ์และพัฒนาได้เอง อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาสัดส่วนต้นทุนการผลิต
วัตถุดิบยังมีสัดส่วนสูง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สัดส่วนต้นทุนการผลิต
จะแตกต่างกันไปตามขนาดของผู้ผลิต
การต้องพึ่งวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายด้านภาษีอากร การสต๊อค
สินค้า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การที่ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นเป็นอุปสรรคสำคัญอีก
ประการหนึ่งที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และลดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาด
โลก อันเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม
ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าเพื่อตลาดส่งออก ผู้ผลิตสินค้าระดับสูงจะมีช่างออกแบบ
ของตนเอง โดยสร้างสินค้าเป็น Collection มีแนวแฟชั่นที่แน่นอน ถ้าเป็นผู้ผลิตสินค้าระดับล่าง
จะไม่เน้นรูปแบบสินค้า โดยมีการลอกเลียนแบบ และไม่เน้นด้านคุณภาพเช่นกัน
7.การตลาดสำหรับเครื่องประดับแฟชั่นสามารถจำแนกได้เป็นตลาดในประเทศและตลาด
ส่งออก
ตลาดในประเทศ การเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ที่ทำให้ผู้หญิง
ส่วนใหญ่ต้องทำงานนอกบ้าน การแต่งตัวตามแฟชั่นเป็นที่นิยมโดยใช้เครื่องประดับใส่ให้เข้าชุด
กับเสื้อผ้า เครื่องประดับแฟชั่นที่เหมือนเครื่องประดับจริงมีราคาถูกกว่าจึงเป็นที่นิยม ซึ่งนอกจาก
การผลิตในประเทศแล้ว ไทยยังนำเข้าเครื่องประดับแฟชั่นจากต่างประเทศเป็นมูลค่าสูงและเพิ่ม
ขึ้นเป็นลำดับจากมูลค่า 58.0 ล้านบาทในปี 2533 เป็น 185.3 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 26.12 ต่อปี โดยนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ออสเตรเลีย
สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ ตามลำดับ เครื่องประดับที่นิยมคือชนิดที่ทำจากวัสดุอื่นที่ไม่ใช่
โลหะ
ด้านการส่งออก ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าเพื่อตลาดต่างประเทศ ผู้ซื้อที่สำคัญได้แก่
สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมัน ซึ่งมูลค่าการส่งออกได้เพิ่มขึ้นจาก 1,404.7 ล้าน
บาทในปี 2533 เป็น 1,854.9 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 5.7 ต่อปี สินค้า
ส่งออกมากที่สุดได้แก่ เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากโลหะซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดมา ซึ่งผู้ซื้อที่มี
แนวโน้มดีมีการขยายตัวสูง ได้แก่ ผู้ซื้อในประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น ตามลำดับ
ประเทศไทยส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นไปยังประเทศต่าง ๆ ในโลก โดยมีสัดส่วนการ
ครองตลาดมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นตลอดมาจากร้อยละ 3.0 ในปี 2532 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.0 ในปี
2536 ทั้งนี้ประเทศที่ครองสัดส่วนในตลาดโลกสูงสุดได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ เยอรมัน ตาม
ลำดับ ประเทศที่เริ่มส่งสินค้าออกขายในตลาดโลก แต่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วได้แก่ จีน ซึ่ง
ส่งออกสินค้าในระยะเวลาเพียง 7 ปี ก็สามารถครองส่วนแบ่งตลาดในลำดับเหนือกว่าไทยได้
อุปสรรคสำคัญด้านการตลาดของไทยคือ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันเนื่อง
จากต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะสินค้าที่ขายในตลาดระดับล่าง ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่เน้นคุณภาพ
และมีราคาถูก คู่แข่งที่สำคัญคือสินค้าจากจีน การขาดบุคลากรด้านการตลาด ด้านการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งด้านคุณภาพและรูปแบบ ล้วนส่งผลกระทบ
ต่อความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ทั้งสิ้น
8. ประเทศคู่แข่งขันผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่สำคัญซึ่งมีการขยายตัวด้านการส่งออก
สูง ได้แก่
จีน ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาการส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นของจีนขยายตัวอย่างมาก
จากมูลค่า 1,669.9 ล้านบาทในปี 2534 เพิ่มขึ้นเป็น 3,071.4 ล้านบาทในปี 2538 หรือมีอัตรา
เพิ่มร้อยละ 16.5 ต่อปี โดยส่งออกไปยังประเทศฮ่องกง สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ สหราชอาณา-
จักร ญี่ปุ่น ตามลำดับ จากความได้เปรียบของสินค้าที่มีราคาต่ำ ทำให้จีนเป็นคู่แข่งสำคัญใน
ตลาดหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
อินโดนีเซีย การส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นของอินโดนีเซียขยายตัวสูง โดยมีมูลค่า
39.2 ล้านบาทในปี 2534 เพิ่มขึ้นเป็น 92.8 ล้านบาทในปี 2538 หรือขยายตัวร้อยละ 24.04
ต่อปี โดยส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ฮ่องกง ตามลำดับ ทั้งนี้
สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดสำคัญของอินโดนีเซียมาโดยตลอด
อินเดีย ประเทศที่การส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นมีการขยายตัวอย่างสำคัญ โดยตลาด
ส่งออกหลักได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปเช่นเดียวกับตลาดส่งออกสำคัญของไทย มูลค่า
การส่งออกในปี 2533 เท่ากับ 81.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 375.6 ล้านบาทในปี 2537 หรือเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 46.38 ต่อปี โดยส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี สหรัฐ
-อาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอารเบีย ตามลำดับ
ฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์มีความได้เปรียบด้านเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจาก
วัสดุธรรมชาติ ทั้งด้านวัตถุดิบและรูปแบบผลิตภัณฑ์ โดยการส่งออกในปี 2534 มีมูลค่า 832
ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 1,173.5 ล้านบาทในปี 2537 หรือขยายตัวร้อยละ 12.15 ต่อปี ถึงแม้
การส่งออกในปี 2538 จะลดลงเหลือ 627.1 ล้านบาทก็ตาม ประเทศคู่ค้าที่สำคัญได้แก่ สหรัฐ-
อเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์
9. กลยุทธที่สามารถช่วยส่งเสริมการขายเครื่องประดับแฟชั่นของไทย
การส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นของไทยต้องประสบปัญหาการแข่งขันจากประเทศคู่แข่งที่
มีการส่งออกขยายตัวอย่างสำคัญดังกล่าว ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศเหล่านี้เป็นคู่แข่งที่สำคัญ
ได้แก่ ราคาสินค้าที่มีราคาถูก เพราะต้นทุนด้านแรงงานมีอัตราค่าจ้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่า
จ้างแรงงานของไทย การใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อช่วยส่งเสริมการขาย ได้แก่
9.1 กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตต้องกำหนดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ให้แน่ชัด ที่
จะเน้นการผลิตสินค้าด้านราคาให้มีราคาต่ำสำหรับตลาดระดับล่าง หรือเน้นด้านคุณภาพและรูป
แบบ สำหรับตลาดระดับกลางและระดับสูง โดยนำเทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัยมาใช้ในการ
ช่วยลดต้นทุนการผลิต การผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงลักษณะดีเด่นและแปลกใหม่ของผลิตภัณฑ์ที่
สามารถสร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้ได้ นอกเหนือจากประโยชน์พื้นฐานในการใช้สอย การบรรจุ
หีบห่อและการใช้ตราสินค้าทั้งที่เป็นชื่อและสัญลักษณ์ก็มีความสำคัญ เพื่อก่อให้เกิดทัศนคติที่ดี
ต่อผู้ซื้อ และความภักดีต่อตราสินค้าที่จะติดตามมา
9.2 กลยุทธ์ด้านราคา การตั้งราคาผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ความ
ยืดหยุ่นของดีมานด์ การแข่งขัน ตลอดจนต้นทุนของผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาที่ผู้
ซื้อมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้ามาก การตั้งราคาจึงเป็นกลยุทธ์ที่
สำคัญประการหนึ่ง
9.3 กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่ายและส่งเสริมการขาย เครื่องประดับแฟชั่นจัดเป็น
สินค้าบริโภคที่ผู้ซื้อต้องเลือกซื้อ ต้องใช้เวลาพิจารณา การตัดสินใจซื้ออาจใช้เหตุผลหรืออารมณ์
ขึ้นอยู่กับความพอใจส่วนบุคคล จำนวนผู้ซื้อมีมากและอยู่กระจัดกระจายทั่วไป กลยุทธ์การจัด
จำหน่ายควรใช้วิธีการขายตรงเพื่อเข้าถึงตัวผู้ซื้อให้ได้มากที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า
สำหรับตลาดระดับสูงมีความสามารถในการดำเนินกลยุทธ์นี้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงผู้ประกอบ
การที่ผลิตสินค้าสำหรับตลาดระดับกลางและระดับล่างไม่สามารถดำเนินการได้เอง โดยยังต้อง
ขายผ่านผู้นำเข้าและผู้ค้าส่งในประเทศผู้นำเข้าเป็นหลัก การส่งเสริมการขายโดยจัดทำหนังสือ
catalog แสดงภาพผลิตภัณฑ์และสถานที่ติดต่อของผู้ผลิตแต่ละราย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้
ซื้อ หรือจัดสถานที่แสดงสินค้าถาวรในประเทศเป็นกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้
ประกอบการอีกวิธีหนึ่ง
10. จากสินค้าเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำการศึกษา สามารถระบุรายละเอียดของแต่ละสิน
ค้าได้ดังนี้
10.1 เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากโลหะ
การผลิต ผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากโลหะมีจำนวน 38 ราย โดยเป็นผู้
ผลิตขนาดกลางมากที่สุดมีจำนวน 25 ราย โดยมีกำลังการผลิตรวม 22.8 ล้านชิ้นต่อปี จำนวน
แรงงานประมาณ 4,500 คน วัตถุดิบที่ใช้ในประเทศได้แก่ ดีบุก ตะกั่ว พลวง วัตถุดิบส่วน
ใหญ่จะนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น พลอยเทียม ผงเงิน ผงทอง โรเดียม ชิ้นส่วนประกอบสัดส่วน
การใช้วัตถุดิบในประเทศต่อต่างประเทศเท่ากับ 25 : 75 สัดส่วนการใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ
จะลดลงในรายที่ผู้ผลิตผลิตสินค้าคุณภาพในระดับปานกลางและระดับล่าง การใช้แรงงานเป็นผู้ที่
มีฝีมือและความประณีตเป็นสำคัญ เทคโนโลยีในการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยผู้ประกอบการ
ส่วนใหญ่จะพัฒนาเองตามความรู้และประสบการณ์ ทั้งนี้สินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกจะมีการตรวจ
สอบคุณภาพทุกขั้นตอน แต่เป็นการตรวจภายในโรงงานของผู้ผลิต ในการผลิตวัตถุดิบจะมีสัด
ส่วนสูงประมาณร้อยละ 65 ค่าจ้างแรงงานร้อยละ 23 ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ร้อยละ
12 ทั้งนี้สัดส่วนนี้จะแตกต่างกันไปโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการใช้
วัตถุดิบราคาถูก และค่าจ้างแรงงานสูง
การตลาด ตลาดในประเทศแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงตลอดมานับแต่ปี 2533
ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 16.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 71.8 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
33.7 ในปี 2539 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 32.3 ล้านบาท เปรียบเทียบกับมูลค่า
การนำเข้า 26.0 ล้านบาท ในระยะเวลาเดียวกันของปี 2538 ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง
ความนิยมสินค้าของคนไทยที่นิยมแต่งตัวโดยใช้เครื่องประดับตามแฟชั่นสูงขึ้น ทั้งนี้สินค้าที่นำ
เข้าได้แปรเปลี่ยนจากเดิมที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ มานำเข้าจำนวนสูงจาก
ประเทศสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา
สินค้าเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากโลหะเป็นสินค้าส่งออกมากที่สุด และมีแนวโน้มสูงขึ้น
จากมูลค่าส่งออกในปี 2533 เท่ากับ 1,212.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 1,526.7 ล้านบาท ในปี
2538 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ต่อปี โดยในปี 2539 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยมีการส่งออกสินค้าชนิดนี้
แล้วมูลค่า 696.6 ล้านบาท เปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออก 669.9 ล้านบาท ในระยะเดียวกัน
ในปี 2538 โดยส่งออกไปสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับหนึ่งสัดส่วนร้อยละ 36.8 รองลงมาได้แก่ ฝรั่ง
เศส สหราชอาณาจักร สัดส่วนร้อยละ 18.4 และ 9.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ตลาดส่งออกที่มีแนวโน้ม
ดีมีการขยายตัวสูง ได้แก่ มาเลเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น เป็นต้น ด้านช่องทางการจำหน่ายผู้ผลิตส่วน
ใหญ่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยผ่านผู้นำเข้า และผู้ค้าส่ง โดยมีรูปแบบของตนเอง และทำตามคำ
สั่งซื้อของลูกค้าที่ให้รูปแบบมาผลิต
ส่วนการตลาดสำหรับเครื่องประดับแฟชั่นประเภทกระดุมข้อมือเชิ้ต และสตัด ไทยได้นำ
เข้าสินค้าประเภทนี้มูลค่า 1.8 ล้านบาทในปี 2533 เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 ล้านบาทในปี 2538 หรือมี
อัตราเพิ่มร้อยละ 4.8 ต่อปี ในปี 2539 (มกราคม-มิถุนายน) มูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 1.3 ล้าน
บาท เปรียบเทียบกับการนำเข้ามูลค่า 0.9 ล้านบาท ในระยะเวลาเดียวกันของปี 2538 การนำ
เข้าจากประเทศที่สำคัญได้แก่ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส โดยการนำเข้ามีแนวโน้มลดลง
ตั้งแต่ปี 2536 ทั้งนี้การส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นประเภทนี้ยังมีมูลค่าน้อย คือมูลค่าการส่ง
ออกเท่ากับ 0.34 ล้านบาทในปี 2533 เพิ่มขึ้นเป็น 3.6 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
60.2 ต่อปี โดยในปี 2539 (มกราคม-มิถุนายน) มูลค่าการส่งออกเท่ากับ 1.3 ล้านบาท เปรียบ
เทียบกับมูลค่าการส่งออก 1.8 ล้านบาท ในระยะเวลาเดียวกันในปี 2538 การส่งออกไปยัง
ประเทศที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส
ปัจจัยบวก ในอุตสาหกรรมนี้ มีแรงงานที่มีฝีมือประณีตและชำนาญงาน
ปัจจัยลบ ค่าจ้างแรงงานมีอัตราสูง วัตถุดิบที่มีคุณภาพและชิ้นส่วนประกอบยังต้อง
นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง ไม่สามารถบริการลูกค้าได้อย่าง
ตรงตามความต้องการ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าจ้างแรงงานแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายด้านภาษีอากร
การสต๊อคสินค้า อัตราแลกเปลี่ยนในการทำวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาผลิตด้วย คู่แข่งสำคัญ
ได้แก่ จีน ที่มีค่าแรงต่ำกว่ามาก ผลิตสินค้าต้นทุนต่ำและขยายตลาดเข้าครอบครองทั้งตลาดสหรัฐ
อเมริกาและสหภาพยุโรป ส่งผลให้การขยายตัวด้านการส่งออกของไทยลดลง นอกจากนี้การขาด
บุคลากรและข้อมูลด้านการตลาดเป็นอุปสรรคอีกประการหนึ่ง รวมถึงการขาดการวิจัยและ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านคุณภาพและรูปแบบได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเช่นกัน
แนวโน้ม ตลาดเครื่องประดับแฟชั่นของโลกมีมูลค่าสูง จากจำนวนผู้หญิงในวัย
ทำงานที่เพิ่มสูงขึ้น และเครื่องประดับแท้มีราคาสูง ส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับแฟชั่นของไทย
ในตลาดโลกยังมีสัดส่วนน้อยเพียงร้อยละ 4 โอกาสการขยายตัวยังมีอยู่สูง ถ้าไทยจะอาศัยความ
ได้เปรียบทางด้านฝีมือแรงงาน ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นสำหรับตลาดกลางและสูงเพื่อเพิ่มมูลค่า
ของผลิตภัณฑ์ทดแทนค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น และเน้นตลาดที่นิยมสินค้าดีมีคุณภาพเช่นตลาดยุ
โรปเป็นสำคัญ ทั้งนี้ต้องพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับความนิยมของตลาด ส่วนเครื่องประดับ
แฟชั่นประเภทกระดุมเชิ้ตและสตัด ซึ่งเป็นเครื่องประดับสำหรับสุภาพบุรุษ ตลาดจึงค่อนข้าง
จำกัดแนวโน้มการขยายตัวมีน้อย
10.2 เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากวัสดุอื่นที่ไม่ใช่โลหะ ประกอบด้วยเครื่องประดับ
แฟชั่นที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ และเครื่องประดับแฟชั่นทำจากพลาสติกและผ้า
การผลิต ผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากวัสดุธรรมชาติจำนวน 20 ราย เป็นผู้
ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อม มีกำลังผลิตรวมประมาณ 5.2 ล้านชิ้นต่อปี จำนวนแรงงาน
ประมาณ 860 คน วัตถุดิบที่ใช้ได้แก่ ดอกไม้ ผีเสื้อ แมลง เปลือกหอย หินสี เซรามิค กะลา
มะพร้าว ซึ่งเป็นวัสดุในประเทศ นอกจากผงทอง ผงเงิน โรเดียม กาว ชิ้นส่วนประกอบที่ต้องมี
การนำเข้าบางส่วนจากต่างประเทศ สัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศและต่างประเทศเท่ากับ 70
: 30 การใช้แรงงานกึ่งมีฝีมือเป็นส่วนใหญ่ เทคโนโลยีในการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีการตรวจ
สอบคุณภาพในขั้นตอนการผลิต ทั้งนี้ในการผลิตวัตถุดิบยังคงมีสัดส่วนสูงประมาณร้อยละ 50
ค่าจ้างแรงงานร้อยละ 20 ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ร้อยละ 30
ผู้ผลิตเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากพลาสติกและผ้า มีจำนวนผู้ผลิต 6 ราย กำลังการ
ผลิตรวมประมาณ 37.5 ล้านชิ้นต่อปี และมีจำนวนแรงงานประมาณ 450 คน วัตถุดิบที่สำคัญ
ได้แก่ เรซิน ผ้า พลอยเทียม ชิ้นส่วนประกอบ โดยมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศต่อต่าง
ประเทศเท่ากับ 80 : 20 เทคโนโลยีในการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้แรงงานกึ่งมีฝีมือจำนวนมาก
ส่วนใหญ่เป็นแรงงานแม่บ้านในต่างจังหวัด ทั้งนี้สินค้าที่ผลิตจะมีการตรวจสอบคุณภาพก่อน
ออกจำหน่าย ในการผลิตวัตถุดิบมีสัดส่วนร้อยละ 40 ค่าจ้างแรงงานร้อยละ 30 ค่าเสื่อมราคา
และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ร้อยละ 30
การตลาด ตลาดในประเทศของสินค้าเครื่องประดับแฟชั่นทำจากวัสดุอื่นที่ไม่ใช่
โลหะจะมีการนำเข้าในอัตราสูง โดยมีมูลค่าการนำเข้า 39.5 ล้านบาทในปี 2533 เพิ่มขึ้นเป็น
111.2 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 ต่อปี ในปี 2539 (ม.ค.-มิ.ย.) มูลค่าการ
นำเข้าเท่ากับ 63.2 ล้านบาท เปรียบเทียบกับมูลค่าการนำเข้า 50.5 ล้านบาท ในระยะเวลาเดียว
กันของปี 2538 ประเทศที่นำเข้าอย่างสำคัญได้แก่ ออสเตรเลีย ทั้งนี้การนำเข้าจากประเทศ
สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และไต้หวัน มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
การส่งออกเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำด้วยวัสดุอื่นที่ไม่ใช่โลหะ มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูง
ขึ้นจาก 192.2 ล้านบาทในปี 2533 เพิ่มเป็น 324.5 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มในอัตราร้อย
ละ 11.0 ต่อปี ในปี 2539 (ม.ค.-มิ.ย.) มูลค่าการส่งออกเท่ากับ 140.0 ล้านบาท เปรียบเทียบ
กับการส่งออกมูลค่า 144.7 ล้านบาท ในระยะเวลาเดียวกันในปี 2538 โดยสหรัฐอเมริกายังคง
เป็นตลาดที่สำคัญ กล่าวคือ การนำเข้าในปี 2538 คิดเป็นร้อยละ 26.6 ของมูลค่าการส่งออกสิน
ค้าชนิดนี้ของไทย รองลงมาได้แก่ ฝรั่งเศสร้อยละ 21.1 และเยอรมนีร้อยละ 7.5 ตามลำดับ
ทั้งนี้ตลาดที่มีการขยายตัวดี มีแนวโน้มดี ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอารเบีย สเปน เป็นต้น
ด้านช่องทางการจำหน่ายผู้ผลิตจะทำการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายใน
ประเทศหรือผ่านทางผู้นำเข้า และผู้ค้าส่งในประเทศนั้น โดยมีรูปแบบสินค้าของตนเอง และทำ
ตามคำสั่งซื้อและรูปแบบของผู้ซื้อ
ปัจจัยบวก
เครื่องประดับแฟชั่นทำจากวัสดุธรรมชาติ มีรูปแบบเป็นลักษณะเฉพาะเป็นธรรมชาติ
เครื่องประดับแฟชั่นทำจากพลาสติกและผ้า ราคาถูก รูปแบบทันสมัย เปลี่ยน
แปลงได้ตามความนิยมของผู้ใช้ ค่าจ้างแรงงานไม่สูง จากการจ้างแรงงานแม่บ้านในต่างจังหวัด
เป็นผู้ผลิต
ปัจจัยลบ
เครื่องประดับแฟชั่นทำจากวัสดุธรรมชาติ มีขนาดของตลาดจำกัด ตลาดในประเทศผู้
ซื้อส่วนใหญ่ได้แก่ นักท่องเที่ยว เป็นต้น
เครื่องประดับแฟชั่นทำจากพลาสติกและผ้า วัตถุดิบ เช่น เรซิน ผ้า กาว ยังต้อง
นำเข้าจากต่างประเทศ การควบคุมคุณภาพอาจเป็นปัญหาจากการจ้างแรงงานหลายแห่งในต่าง
จังหวัด และสินค้ามีราคาถูก สำหรับตลาดระดับล่างการผลิตไม่ยุ่งยาก อาจต้องเผชิญปัญหาการ
แข่งขันจากประเทศที่มีค่าแรงงานต่ำ
แนวโน้ม
การขยายตัวของการผลิตเครื่องประดับแฟชั่นทำจากวัสดุธรรมชาติค่อนข้างน้อย เนื่อง
จากขนาดของตลาดจำกัด นอกจากการหาตลาดใหม่ ๆ มารองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
การขยายตัวของตลาดเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากพลาสติกและผ้า โอกาสการขยายตัว
ยังมีอยู่สูง เนื่องจากราคาถูกและปรับเปลี่ยนรูปแบบได้รวดเร็วทันตามแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงทุก
ฤดูกาล ทั้งนี้ผู้ผลิตต้องเคลื่อนไหวให้ทันตามแฟชั่น และปรับปรุงรูปแบบการใช้วัตถุดิบให้ดึงดูด
ใจผู้ซื้อ
11. อุตสาหกรรมเครื่องประดับแฟชั่น ได้มีการเริ่มต้นผลิตในประเทศไทยมาเป็นเวลา
นาน การผลิตต้องใช้แรงงานเป็นหลัก ความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมจึงขึ้นอยู่กับค่าจ้างแรง
งานเป็นปัจจัยสำคัญ จากแนวโน้มค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นตลอดมา โดยขาดการพัฒนาประสิทธิ-
ภาพในการผลิต ตลอดจนวัตถุดิบที่มีคุณภาพยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งต้องเสียภาษี
ศุลกากรขาเข้าในอัตราสูง การขาดการวิจัยและพัฒนาด้านรูปแบบและคุณภาพอย่างจริงจังและต่อ
เนื่อง การขาดบุคลากรทางด้านการตลาด ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ปัจจัยเหล่านี้เป็นอุปสรรค
สำคัญที่บั่นทอนความสามารถในการแข่งขันในตลาดของไทยให้ด้อยลง และส่งผลกระทบต่อ
ความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งเป็นผู้ผลิต
ส่วนใหญ่ต้องได้รับผลกระทบจากการเข้ามาแข่งขันในตลาดของประเทศจีน อินโดนีเซีย อินเดีย
ที่สามารถผลิตสินค้าได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่าไทยในตลาดที่ไม่เน้นคุณภาพสินค้า ส่งผลให้มูลค่าการ
ส่งออกสินค้าเครื่องประดับแฟชั่นของไทยขยายตัวในอัตราที่ลดลงนับตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา
รัฐบาลได้มีนโยบายและดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการส่งออก ได้แก่
ด้านภาษี ได้มีการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ได้แก่ ลูกปัด ไข่มุกเทียม ฝุ่นและผง
ของเพชร โรเดียม เป็นต้น รวมทั้งการเร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม การคืนภาษีตามมาตรา 19
ทวิ เป็นต้น
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยการพัฒนากิจการพาณิชยนาวี ปรับปรุงบริการท่าเรือ จัดตั้ง
บริษัทขนส่งทางอากาศ (Cargo Freighter) พัฒนาเครือข่ายคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน
ด้านแรงงาน รัฐบาลจะดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานโดยโครงการจะเริ่ม
ในปี 2540-2544 จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมแรงงานให้ครบทุกจังหวัดภายในปี 2541 และวางแผน
ปรับปรุงโครงสร้างการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงาน
ด้านการตลาด รัฐบาลจะจัดตั้งสถาบันพัฒนาสินค้าเฉพาะด้าน รวมทั้งสร้างระบบ
ประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชนด้านข้อมูลการค้า จัดการเจรจาทวิภาคี ภูมิภาค เพื่อ
เจรจาลดหย่อนภาษี แก้ไขปัญหาสิทธิพิเศษทางการค้า มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการ
อุดหนุนและการกีดกันการค้าอื่น ๆ
ทั้งนี้นโยบายและมาตรการเหล่านี้ รัฐต้องมีการดำเนินการอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่องเพื่อ
ให้เกิดผลดีต่อการส่งออกสินค้าอย่างจริงจัง นอกจากนี้ทางด้านกฎระเบียบต่างประเทศ ซึ่ง
ประกอบด้วยกฎหมายป้องกันการทุ่มตลาดและตอบโต้การอุดหนุนการส่งออก มาตรการฉุกเฉิน
และจำเป็นในการจำกัดปริมาณการนำเข้า เมื่อพิจารณาแล้วผู้ผลิตในอุตสาหกรรมนี้ยังไม่มีรายใด
อยู่ในข่ายที่จะถูกตอบโต้ตามกฎหมายและมาตรการดังกล่าว และการถูกดำเนินการตามมาตรการ
301 ธรรมดา ซึ่งเป็นขั้นต่ำสุดตามกฎหมายการค้าของสหรัฐอเมริกาก็มีโอกาสน้อยที่จะกระทบต่อ
อุตสาหกรรมนี้ แต่ไทยยังได้รับสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) ใหม่ หลังจากหมดอายุไปตั้งแต่ปี
2536
12. ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องประดับแฟชั่นให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
มีดังนี้
ด้านการผลิต ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
คือ ต้นทุนการผลิตสูง ส่วนหนึ่งจากค่าจ้างแรงงานที่เป็นสัดส่วนสำคัญในต้นทุนการผลิตได้สูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง รัฐควรส่งเสริมด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การ
กำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นการช่วยแก้ปัญหาอีกระดับหนึ่ง
วัตถุดิบสำคัญที่มีคุณภาพ เช่น พลอยเทียม ชิ้นส่วนประกอบ ควรส่งเสริมให้มีการผลิต
ในประเทศ รวมถึงการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบอื่น ๆ เช่น ชิ้นส่วนประกอบ กาว ผ้า เป็นต้น รวม
ถึงการเร่งรัดขั้นตอนการขอคืนภาษีให้รวดเร็ว เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการ
การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต โดยการช่วยเหลือด้านเงินทุนในการจัดหาเครื่อง
จักรอุปกรณ์ที่ทันสมัย รวมถึงเทคนิคการผลิตเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สูงขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตด้านแรงงาน
ความช่วยเหลือด้านการวิจัยและพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าเป็นสิ่งสำคัญอีก
ประการหนึ่งที่ต้องการความสนับสนุนจากภาครัฐ
ด้านการตลาด เมื่อดูจากสัดส่วนของสินค้าเครื่องประดับแฟชั่นไทยในตลาดโลกแล้ว
โอกาสการขยายตัวยังมีอยู่มาก ทั้งนี้ผู้ผลิตต้องปรับตัวโดยเฉพาะผู้ผลิตสินค้าสำหรับตลาดระดับ
ล่างที่ต้องเน้นการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สินค้ามีคุณภาพดี และมุ่งเจาะตลาดที่มีศักยภาพ
เหมาะกับสินค้าที่ผลิต ทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่ ทั้งนี้ถ้าได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐ
คือ
ข้อมูลการค้าที่เป็นระบบและฉับไวทันกับเหตุการณ์และสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็ว
การบริการด้านการตลาด ทางด้านการจัดให้พบกับผู้ซื้อจากต่างประเทศ การจัดงานแสดง
สินค้า และร่วม mission ไปในต่างประเทศ โดยจัดบริการให้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง รวมถึงการ
ศึกษาตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ
ในระยะยาวจัดทำแผนแม่บทส่งออกแห่งชาติ ตามที่กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างดำเนิน
การเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ศูนย์กลางเครื่องประดับในภูมิภาค และจูงใจให้เกิดตราหรือเครื่อง
หมายการค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย เป็นต้น
โดย แผนกวิจัย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตุลาคม 2539