กรุงเทพฯ--30 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ขณะนี้ประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนกำลังประสบกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติซึ่งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงและแพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็วอันจะนำมาซึ่งผลกระทบต่อความมั่นคงและการพัฒนาทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศภายในและภายนอกประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบต่างๆ อาทิ การลักลอบ ค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การค้าประเวณี การลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การฟอกเงิน การกระทำเยี่ยงโจรสลัด การก่อการร้ายสากล ฯลฯ จัดเป็นภัยคุกคามที่มีผลกระทบโดยตรงต่อ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในภูมิภาค ซึ่งหน่วยงานราชการของไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องดำเนินการหามาตรการและแนวทางความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติอย่างจริงจัง
ด้วยเหตุนี้ผู้นำรัฐบาลอาเซียนจึงได้ริเริ่มให้ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดตั้งกลไกประสานงานในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนโดยให้มีการจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Senior Officials Meeting on Transnational Crime-SOMTC) ซึ่งในการประชุมครั้งแรกนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะได้ร่วมกับกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2544 ที่ โรงแรมมณเฑียรริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยหัวหน้าสำนักงานตำรวจของประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้แทน สำนักงานเลขาธิการอาเซียน รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักอัยการสูงสุด ฯลฯ
ที่ประชุมจะพิจารณาหารือในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์ต่อต้าน อาชญากรรมข้ามชาติของอาเซียน (ASEAN Centre for Combating Transnational Crime-ACTC) การจัดกิจกรรมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อให้สอดคล้องตามแผนปฏิบัติการอาเซียน เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ การหารือเรื่องภัยคุกคามจากโจรสลัดในน่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งผู้แทนของสหพันธ์สมาคมผู้ดำเนินกิจการเดินเรืออาเซียน (Federation of ASEAN Shipowners ’ Association- FASA) จะเข้าร่วมหารือในประเด็นนี้ด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์ นอกจากนี้ในวันที่ 30 มีนาคม 2544 จะมีการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนกับคณะผู้แทนสหภาพยุโรปโดยมีวัตถุประสงค์ในการ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะตลอดจนกำหนดแนวทางความร่วมมือกันในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
ไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพที่จัดการประชุม SOMTC ในครั้งแรกนี้ และขณะเดียวกันเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมข้ามชาติเป็นอย่างมากจะพยายามผลักดันการดำเนิน กิจกรรมความร่วมมือเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจะแสวงหาความร่วมมือกับประเทศในสหภาพยุโรปเพื่อดำเนินมาตรการ แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาการค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และการ ฟอกเงิน ประเทศไทยจะใช้เวทีของการประชุมเพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนและรับรู้ข้อมูลข่าวสาร อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกอาเซียน การประสานงานระหว่างประเทศของหน่วยงานต่างๆ อันจะก่อให้เกิดความสมานฉันท์ในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียนและนำไปสู่การบรรเทาผลกระทบในทุกๆ ด้าน อันเกิดจากอาชญากรรมข้ามชาติ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
ขณะนี้ประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนกำลังประสบกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติซึ่งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงและแพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็วอันจะนำมาซึ่งผลกระทบต่อความมั่นคงและการพัฒนาทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศภายในและภายนอกประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบต่างๆ อาทิ การลักลอบ ค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การค้าประเวณี การลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การฟอกเงิน การกระทำเยี่ยงโจรสลัด การก่อการร้ายสากล ฯลฯ จัดเป็นภัยคุกคามที่มีผลกระทบโดยตรงต่อ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในภูมิภาค ซึ่งหน่วยงานราชการของไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องดำเนินการหามาตรการและแนวทางความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติอย่างจริงจัง
ด้วยเหตุนี้ผู้นำรัฐบาลอาเซียนจึงได้ริเริ่มให้ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดตั้งกลไกประสานงานในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนโดยให้มีการจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Senior Officials Meeting on Transnational Crime-SOMTC) ซึ่งในการประชุมครั้งแรกนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะได้ร่วมกับกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2544 ที่ โรงแรมมณเฑียรริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยหัวหน้าสำนักงานตำรวจของประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้แทน สำนักงานเลขาธิการอาเซียน รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักอัยการสูงสุด ฯลฯ
ที่ประชุมจะพิจารณาหารือในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์ต่อต้าน อาชญากรรมข้ามชาติของอาเซียน (ASEAN Centre for Combating Transnational Crime-ACTC) การจัดกิจกรรมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อให้สอดคล้องตามแผนปฏิบัติการอาเซียน เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ การหารือเรื่องภัยคุกคามจากโจรสลัดในน่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งผู้แทนของสหพันธ์สมาคมผู้ดำเนินกิจการเดินเรืออาเซียน (Federation of ASEAN Shipowners ’ Association- FASA) จะเข้าร่วมหารือในประเด็นนี้ด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์ นอกจากนี้ในวันที่ 30 มีนาคม 2544 จะมีการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนกับคณะผู้แทนสหภาพยุโรปโดยมีวัตถุประสงค์ในการ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะตลอดจนกำหนดแนวทางความร่วมมือกันในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
ไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพที่จัดการประชุม SOMTC ในครั้งแรกนี้ และขณะเดียวกันเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมข้ามชาติเป็นอย่างมากจะพยายามผลักดันการดำเนิน กิจกรรมความร่วมมือเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจะแสวงหาความร่วมมือกับประเทศในสหภาพยุโรปเพื่อดำเนินมาตรการ แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาการค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และการ ฟอกเงิน ประเทศไทยจะใช้เวทีของการประชุมเพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนและรับรู้ข้อมูลข่าวสาร อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกอาเซียน การประสานงานระหว่างประเทศของหน่วยงานต่างๆ อันจะก่อให้เกิดความสมานฉันท์ในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียนและนำไปสู่การบรรเทาผลกระทบในทุกๆ ด้าน อันเกิดจากอาชญากรรมข้ามชาติ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-