กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (17 ตุลาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวง การต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงแผนการอพยพคนไทยในอิหร่านในกรณีที่เกิดสถานการณ์ ฉุกเฉิน สรุปประเด็นสำคัญดังนี้
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2544 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะรานรายงานว่า ได้มอบหมายให้นายบุณไทย มุนีรักษา เลขานุการเอก และนายกฤช คมสัน เลขานุการเอก เดินทางไปเยี่ยมเยียนและพบปะนักศึกษาไทยและครอบครัวในเมือง Qom ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงเตหะราน เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับแผนอพยพคนไทยในอิหร่านในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน โดยแผนแม่บทการอพยพคนไทยดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูตฯ จัดเตรียมไว้หากสถานการณ์ความรุนแรงลุกลามไปในอิหร่าน แต่ในขณะนี้ เนื่องจากยังไม่มีเหตุการณ์รุนแรง จึงขอให้คนไทยอยู่ในที่ตั้งในเมือง Qom ก่อน ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัย เพียงพอ ทั้งนี้ ได้ขอความร่วมมือนักศึกษาไทยปรับปรุงเครือข่ายเพื่อประโยชน์ในการประสานงาน และ ให้มีการติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูตฯ ทางโทรศัพท์และ E-mail ตลอดเวลา
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ประธานนักศึกษาไทยในเมือง Qom ได้เสนอให้นักศึกษาไทยจำนวน 5 คนที่มีโทรศัพท์ติดต่อได้เป็นผู้ประสานงานของนักเรียนไทยด้วย โดยหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน สถานเอกอัครราชทูตฯ จะประสานกับนักศึกษาแกนนำทั้ง 5 คน เพื่อรวบรวมคนไทยทั้งหมดได้ภายใน 24 ชม. อนึ่ง ปัจจุบันมีนักศึกษาไทยและครอบครัวในเมืองต่างๆ ในอิหร่าน คือเมือง Qom จำนวน 54 คน กรุงเตหะราน 4 คน เมือง Mashad 3 คน และเมือง Qazvin 2 คน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
วันนี้ (17 ตุลาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวง การต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงแผนการอพยพคนไทยในอิหร่านในกรณีที่เกิดสถานการณ์ ฉุกเฉิน สรุปประเด็นสำคัญดังนี้
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2544 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะรานรายงานว่า ได้มอบหมายให้นายบุณไทย มุนีรักษา เลขานุการเอก และนายกฤช คมสัน เลขานุการเอก เดินทางไปเยี่ยมเยียนและพบปะนักศึกษาไทยและครอบครัวในเมือง Qom ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงเตหะราน เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับแผนอพยพคนไทยในอิหร่านในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน โดยแผนแม่บทการอพยพคนไทยดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูตฯ จัดเตรียมไว้หากสถานการณ์ความรุนแรงลุกลามไปในอิหร่าน แต่ในขณะนี้ เนื่องจากยังไม่มีเหตุการณ์รุนแรง จึงขอให้คนไทยอยู่ในที่ตั้งในเมือง Qom ก่อน ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัย เพียงพอ ทั้งนี้ ได้ขอความร่วมมือนักศึกษาไทยปรับปรุงเครือข่ายเพื่อประโยชน์ในการประสานงาน และ ให้มีการติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูตฯ ทางโทรศัพท์และ E-mail ตลอดเวลา
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ประธานนักศึกษาไทยในเมือง Qom ได้เสนอให้นักศึกษาไทยจำนวน 5 คนที่มีโทรศัพท์ติดต่อได้เป็นผู้ประสานงานของนักเรียนไทยด้วย โดยหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน สถานเอกอัครราชทูตฯ จะประสานกับนักศึกษาแกนนำทั้ง 5 คน เพื่อรวบรวมคนไทยทั้งหมดได้ภายใน 24 ชม. อนึ่ง ปัจจุบันมีนักศึกษาไทยและครอบครัวในเมืองต่างๆ ในอิหร่าน คือเมือง Qom จำนวน 54 คน กรุงเตหะราน 4 คน เมือง Mashad 3 คน และเมือง Qazvin 2 คน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-