สรุป
เศรษฐกิจภาคใต้เดือนมิถุนายน 2548 ซบเซาต่อเนื่องจากปัจจัยลบหลายประการ ได้แก่
เหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยที่มีต่อเนื่อง ราคาน้ำมันที่ภาครัฐประกาศให้ลอยตัวตามราคาในตลาดโลก
รวมทั้งการสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ย กระทบต่อต้นทุนการผลิต และราคาสินค้าสูงขึ้น สร้างแรงกดดัน
ต่อการลงทุน และการบริโภคภาคเอกชน อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือน
มิถุนายนเท่ากับเดือนก่อน
ไตรมาส 2 ปี 2548 เศรษฐกิจภาคใต้ซบเซาจากแรงกดดันด้านเหตุการณ์ความไม่
ปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัจจัยแวดล้อมอื่นซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทั้งในไตรมาสนี้
และไตรมาสหน้า อาทิ การสูงขึ้นของราคาน้ำมันที่มีความชัดเจนมากขึ้นจากการที่ภาครัฐปล่อยให้
ราคาลอยตัว รวมทั้งแนวโน้มการสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น และในไตรมาสนี้อัตราเงินเฟ้อที่
วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.6
ภาคเกษตร
ในเดือนมิถุนายนนี้ ราคาพืชผลหลักปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2
ตามราคายางพาราที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ เนื่องจากสต็อกยางธรรมชาติของผู้ใช้ลดลง โดยเฉพาะ
จีนและญี่ปุ่น ทำให้มีความต้องการมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้ส่งออกมีการแข่งขันกันซื้อวัตถุดิบเพื่อ
ส่งมอบให้ทันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยยางแผ่นดิบ ชั้น 3 เดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.07 บาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6
ทางด้านประมงทะเลหดตัว เรือประมงทั้งเรือพาณิชย์และเรือประมงพื้นบ้านจำนวนมาก
หยุดทำการประมง เนื่องจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลอย่างต่อเนื่อง และเรือประมงนอกน่านน้ำ
โดยเฉพาะเรือประมงทางฝั่งอันดามันบางรายขอพักตั๋วสัมปทานชั่วคราว เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้น
ส่งผลให้ราคาสัตว์น้ำปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือขององค์การ
สะพานปลาในภาคใต้เดือนมิถุนายนนี้มีจำนวน 32,269 เมตริกตัน มูลค่า 1,169.8 ล้านบาท ลดลง
จากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 24.3 และ 7.4 ตามลำดับ
ทางด้านกุ้งทะเลปริมาณกุ้งออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ความสามารถในการส่งออกมีน้อย
ลงจากการที่ประสบปัญหากีดกันทางการค้าและมีเงื่อนไขการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคากุ้ง
ทรงตัวในระดับต่ำ ผู้เลี้ยงกุ้งจึงต้องปรับตัวโดยการบริหารการผลิตให้ต้นทุนต่อบ่อต่ำลง
ไตรมาส 2 ปี 2548 ราคายางและปาล์มน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามความ
ต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่การทำประมงทะเลหดตัว เนื่องจากราคาน้ำมันและ
อุปกรณ์การทำประมงปรับตัวสูงขึ้นมาก และทรัพยากรสัตว์น้ำมีจำนวนลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ต้องไป
จับปลาในน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประสบปัญหาการจับกุมข้อหารุกล้ำน่านน้ำ ชาวประมง
จึงหยุดทำประมง ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลนั้น ปริมาณกุ้งออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคากุ้งลดลง
ภาคอุตสาหกรรม
ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้เดือนนี้หดตัวตามปริมาณวัตถุดิบทั้งยางพารา ปาล์ม
น้ำมันและสัตว์น้ำ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แล้งนานกว่าปกติ ปริมาณฝนที่ตก
มากขึ้นในบางพื้นที่ของแหล่งผลิต และการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ทำให้ราคาวัตถุดิบอยู่ในระดับที่สูง
ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมปรับสูงขึ้นค่อนข้างมาก ทางด้านอุปสงค์ของตลาดโลกยังมี
อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อุปทานมีจำกัด ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าสำคัญของภาคใต้ลดลงตาม
การลดลงของการส่งออกยางพารา และสัตว์น้ำแช่แข็ง ส่วนการส่งออกอาหารบรรจุกระป๋อง และ
ไม้ยางแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้น
ไตรมาส 2 ปี 2548 ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมหดตัว เนื่องจากภาวะภัยแล้ง และ
ในช่วงปลายไตรมาสมีฝนตกหนัก ประกอบกับการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลกระทบต่อปริมาณ
วัตถุดิบ โดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสัตว์น้ำ ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องขาดแคลน
วัตถุดิบ และต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้น ทางด้านอุปสงค์ของตลาดโลกยังมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะยาง
เนื่องจากสต็อกยางของผู้นำเข้าสำคัญ เช่น จีน ญี่ปุ่น ลดลงมาก ขณะที่เศรษฐกิจขยายตัว ความ
ต้องการใช้ยางจึงยังคงสูง ส่วนสัตว์น้ำยังคงเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าจากประเทศผู้นำเข้า
รายใหญ่ ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป และด้วยข้อจำกัดด้านอุปทาน ทำให้ปริมาณการ
ส่งออกลดลง
ภาคบริการท่องเที่ยว
ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้เดือนมิถุนายนนี้ เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากเดือนก่อน ทั้งใน
ส่วนของการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคใต้ตอนล่าง โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
เดินทางผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ทั้งสิ้น 157,289 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ
15.7 อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน นักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 18.3 ตาม
การลดลงของนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นสำคัญ โดยลดลงร้อยละ 58.1 ทั้งนี้ เป็นที่
น่าสังเกตว่าเดือนนี้นักท่องเที่ยวทางจังหวัดสงขลามีอัตราเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 13 เดือน โดยเพิ่มขึ้น
จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.3 และเบตง จ. ยะลา เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ส่วนสุไหงโก-ลก
จ. นราธิวาส ลดลงร้อยละ 29.3
ไตรมาส 2 ปี 2548 การเกิดเหตุแผ่นดินไหวรอบสองเมื่อปลายเดือนมีนาคม และเหตุระ
เบิดในอำเภอเมือง และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวม 3 จุด ในวันที่ 3 เมษายน 2548
ส่งผลให้ภาวะท่องเที่ยวของภาคใต้ซบเซาลงอีกครั้ง หลังจากกระเตื้องขึ้นในปลายไตรมาสแรก
เนื่องจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในความปลอดภัย ทำให้
มีการยกเลิกการสำรองห้องพักเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง นักท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ช่วงไตรมาส 2 มีจำนวนเพียง
427,770 คน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.7 เป็นการลดลงของนักท่องเที่ยวภาคใต้
ฝั่งตะวันตก ขณะที่ภาวะการท่องเที่ยวภาคใต้ตอนล่างมีแนวโน้ม ดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐาน
ตัวเลขในปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ต่ำ เนื่องจากผลกระทบของเหตุการณ์ความรุนแรงที่มัสยิดกรือเซะ
การอุปโภคบริโภค
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคใต้เดือนนี้ขยายตัว จากการที่รายได้
เกษตรกรเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น จูงใจให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอย
เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เป็นการพิจารณาจากเครื่องชี้ด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม และการจดทะเบียนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.2 และ 8.6 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงซึ่งเป็นผลกระทบ
จากเหตุการณ์ สึนามิและปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ไตรมาส 2 ปี 2548 การใช้จ่ายภาคเอกชนลดลงจากปัจจัยลบด้านราคาน้ำมัน ปัญหา 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่ยุติ ผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ รวมทั้งปัญหาเรื่องภัยแล้ง
โดยเครื่องชี้สำคัญที่ลดลง ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดลงร้อยละ 1.4 และการจดทะเบียนใหม่
รถจักรยานยนต์ ลดลงมากถึงร้อยละ 26.0 และมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี
ยอดจดทะเบียนใหม่รถยนต์ส่วนบุคคลขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้
กลยุทธ์บริหารทีมขายเชิงรุกและส่งเสริมการขายที่จูงใจ เน้นลูกค้าในภาคเกษตรมากขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุน ภาคเอกชนชะลอตัวลงจากปัจจัยแวดล้อมด้านความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน กอปรกับภาวะการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และ
อัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ การอนุมัติโครงการให้กับนักลงทุนที่ขอส่งเสริมการลงทุน ทั้งจำนวนรายและ
การจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่เงินลงทุนลดลง ส่วนของการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่มีข้อน่าสังเกต คือ
ที่จังหวัดนราธิวาสมีผู้สนใจจดทะเบียนใหม่ด้านการรับเหมาก่อสร้างมากถึง 5 ราย เงินลงทุนรวม
108.6 ล้านบาท และ 1 ในจำนวน 5 ราย มีทุนจดทะเบียนสูงถึง 100.0 ล้านบาท ส่วนพื้นที่อนุญาต
ให้ก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นมากโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
ไตรมาส 2 ปี 2548 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาสนี้ซบเซาจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่เอื้อ
ต่อการลงทุน อาทิ ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ราคาน้ำมันที่รัฐบาลส่งสัญญาณเลิกการ
อุดหนุน และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี นักลงทุนยังให้ความสนใจลงทุนในพื้นที่
จังหวัดภาคใต้ตอนบน
การจ้างงาน
เดือนมิถุนายนนี้ ผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานใน
ภาคใต้ลดลงมากเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยลดลงร้อยละ 26.8 และตำแหน่งงานว่าง
ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ตอนบน ขณะที่ผู้สมัครงานและการบรรจุงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 95.5 และร้อยละ
7.3 ตามลำดับ สำหรับจำนวนแรงงานในภาคใต้ที่เข้าโครงการประกันสังคมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 3.0
ไตรมาส 2 ปี 2548 ตำแหน่งงานว่างในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ
26.9 ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งงานในจังหวัดใหญ่ อาทิ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และสงขลา สำหรับผู้
สมัครงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ขณะที่การบรรจุงานลดลงร้อยละ 16.9 และจากการที่ภาครัฐมี
โครงการสร้างงาน จ้างงานเร่งด่วนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 5 อำเภอในจังหวัดสงขลา
รวมทั้งการจ้างงานเร่งด่วนใน 6 จังหวัดที่ประสบเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย ส่วนหนึ่งส่งผลกระทบต่อ
การจ้างงานของภาคเอกชน และการจ้างงานตามโครงการดังกล่าว จากการสอบถาม พบว่า แรงงาน
มีการ Turn Over ค่อนข้างสูง
ระดับราคา
อัตราเงินเฟ้อของภาคใต้วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ทรงตัว
เท่ากับเดือนก่อน โดยราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ตามการสูงขึ้น
ของราคาสินค้าแทบทุกหมวด ซึ่งหมวดที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมาก ได้แก่ หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่
และสัตว์น้ำ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1) หมวดผักและผลไม้ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8) ขณะเดียวกันหมวดอื่น ๆ
ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เนื่องจากสินค้าในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 ผลักดันให้หมวดค่าโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้นสูงมากถึงร้อยละ 15.5 นอกจากนั้น
หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4
ไตรมาส 2 ปี 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 4.6 เนื่องจากราคาสินค้าสำคัญทั้งในหมวดหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5.0) และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3) สูงขึ้น ทั้งนี้ราคาสินค้า
ที่สูงขึ้นได้รับแรงกดดันจากภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
การค้าต่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 5.3 เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 ตามการส่งออกสัตว์น้ำ และน้ำมันดิบ
ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะการค้าผ่านด่านชายแดนไทย -- มาเลเซีย อัตราการเกินดุลลดลง เนื่องจาก
การส่งออกหดตัว ขณะที่การนำเข้าลดลงเล็กน้อยเท่านั้น
ไตรมาส 2 ปี 2548 การค้าต่างประเทศของภาคใต้ และการการค้าผ่านด่านชายแดน
ไทย -- มาเลเซีย อัตราการเกินดุลลดลง เนื่องจากการส่งออกรวมของทั้งภาคใต้เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อย
มาก เพียงร้อยละ 0.5 ขณะที่การค้าผ่านด่านอัตราการเกินดุลลดลงจากการที่มีการนำเข้าสินค้าทุน
ค่อนข้างมาก
การคลัง
เดือนมิถุนายนนี้ จัดเก็บภาษีได้ 1,587.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0
แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 38.1 เนื่องจากเดือนก่อนเป็นเดือนสิ้นงวดจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล
ปี 2547 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตามประเภทภาษี พบว่าภาษีสรรพากร จัดเก็บได้ 1,371.2 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.6 ส่วนภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากร จัดเก็บได้ 122.7
ล้านบาท และ 93.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 และ7.9
ไตรมาส 2 ปี 2548 จัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 โดย
จัดเก็บภาษีสรรพากรได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เนื่องจากจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท ยกเว้นภาษี
มูลค่าเพิ่ม ที่จัดเก็บได้ลดลงเล็กน้อย ขณะเดียวกันภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0
ส่วนภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ลดลงทั้งในส่วนของภาษีส่งออกและภาษีนำเข้า
ภาคการเงิน
ในเดือนนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ระยะ 14 วัน จากร้อยละ 2.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2548 และในวันที่ 30
มิถุนายน 2548 Fed มีมติเป็นให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ มีเงินฝากคงค้างประมาณ
322,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 เป็นการเพิ่มในอัตราชะลอตัวลง
จากการที่ผู้ฝากเงินได้รับผลตอบแทนในการฝากเงินค่อนข้างต่ำ และมีทางเลือกจำกัด ส่วนสินเชื่อ
คงค้างมีประมาณ 217,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 โดยสาขา
ธนาคารพาณิชย์ยังคงให้ความสำคัญกับลูกค้าที่มีคุณภาพ และสามารถชำระหนี้ได้
สำหรับการใช้เช็คของภาคธุรกิจที่ผ่านสำนักหักบัญชีในภาคใต้ ในเดือนนี้มีปริมาณ
375,351 ฉบับ ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 โดยมีสัดส่วน
ของมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้เป็นอัตราร้อยละ 0.8 เท่ากับเดือนเดียวกันปีก่อน
ไตรมาส 2 ปี 2548 เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ยังเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ลดลง เมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลตอบแทนต่ำ มีการกระจายเงินลงทุนในรูปของตราสารหนี้
ระยะสั้น เพื่อรอการลงทุนในเมกกะโปรเจ็กต์ของรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะได้ดอกผลสูงกว่า และจากการ
เปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังของภาครัฐที่มีการเบิกจ่ายผ่านธนาคารของรัฐ ทำให้มีเม็ดเงิน
หมุนเวียนในระบบค่อนข้างสูง เพื่อรอการเบิกจ่าย เช่น เงินช่วยเหลือเรื่องสึนามิ และเงินงบประมาณ
ที่เกี่ยวกับความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ทางด้านสินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์มีความเข้มงวดและคำนึงถึงคุณภาพของลูกค้าเป็นสำคัญ
เพื่อลดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อย่างไรก็ตามธนาคารพาณิชย์ยังคงมียอดสินเชื่อตาม
เป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากแข่งขันกันออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพื่อดึงดูดลูกค้า
ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้
เดือนมิถุนายน 2548
มิ.ย. 48/47
เครื่องชี้ มิ.ย. 47 พ.ค. 48 มิ.ย. 48 (%)
1. การเกษตร
ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 52.10 50.12 56.07 7.6
ปาล์มทั้งทะลาย 2.80 2.86 3.24 15.7
ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ(เมตริกตัน) 42,625 31,706 32,269 -24.3
มูลค่า(ล้านบาท) 1,262.6 962.2 1,169.8 -7.4
กุ้งกุลาดำขนาด31-40ตัว/กก.(บาท/กก.) 225.00 262.00 207.00 -8.0
2. การอุตสาหกรรม(เมตริกตัน)
ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 80,174.5 79,789.5 68,227.2 -14.9
ยางแท่ง 71,166.2 62,910.1 87,746.9 23.3
3. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง(คน)192,414 135,926 157,289 -18.3
4. การค้า
การจดทะเบียนรถใหม่(คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 2,128 2,062 2,439 14.6
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 4,177 3,288 4,090 -2.1
รถจักรยานยนต์ 36,460 20,657 29,300 -19.6
มิ.ย. 48/47
เครื่องชี้ มิ.ย. 47 พ.ค. 48 มิ.ย. 48 (%)
5. การค้าระหว่างประเทศ(ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 21,520.3 24,135.7 24,374.5 13.3
ยาง 8,898.8 7,756.3 8,087.9 -9.1
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ 805.2 770.1 827.5 2.8
ถุงมือยาง 1,336.0 1,344.6 1,344.5 0.0
สัตว์น้ำแช่แข็ง 1,443.6 1,675.4 2,161.6 49.7
อาหารกระป๋อง 876.8 997.0 921.4 5.1
ดีบุก 437.7 770.1 967.4 121.0
แร่อื่น ๆ 270.5 265.9 290.3 7.3
ก๊าซธรรมชาติ 43.4 71.4 73.3 69.0
น้ำมันดิบ 0.0 0.0 886.8
มูลค่าการนำเข้า 9,888.0 10,331.9 12,090.1 22.3
เครื่องจักรอุปกรณ์ 4,437.3 4,705.5 6,114.0 37.8
น้ำมันเชื้อเพลิง 159.3 0.0 25.4 -84.1
อุปกรณ์ก่อสร้าง 159.9 238.5 180.5 12.9
สัตว์น้ำแช่แข็ง 580.9 750.6 717.5 23.5
6. ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคใต้(ปีฐาน 2545) 105.3 109.5 110.0 4.5
7. การลงทุน
กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 5 8 6 20.0
เงินลงทุน (ล้านบาท) 1,279.6 1,119.2 770.0 -39.8
การจ้างงาน (คน) 462 1,610 603 30.5
มิ.ย. 48/47
เครื่องชี้ มิ.ย. 47 พ.ค. 48 มิ.ย. 48 (%)
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 442 359 454 2.7
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 806.8 713.1 976.5 21.0
พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล (ตารางเมตร)
พื้นที่รวม 169,031 134,087 171,613 1.5
8. ค่าจ้างและการจัดหางาน
การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง(อัตรา) 8,333 5,157 6,100 -26.8
ผู้สมัครงาน(คน) 5,283 7,126 10,330 95.5
การบรรจุงาน(คน) 3,484 3,330 3,739 7.3
9. การคลัง(ล้านบาท)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ8,450.5 9498.2 n.a.
การจัดเก็บภาษีอากร 1,511.3 2,562.4 1,587.3 5.0
สรรพากร 1,274.4 2,290.8 1,371.2 7.6
สรรพสามิต 135.4 184.0 122.7 -9.4
ศุลกากร 101.5 87.6 93.4 -7.9
10. การเงิน
การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ(ฉบับ) 376,406 384,248 375,351 -0.3
มูลค่า(ล้านบาท) 44,687.2 46,531.5 48,375.9 8.3
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม(ร้อยละ) 0.8 1.0 0.8
มิ.ย. 48/47
เครื่องชี้ มิ.ย. 47 พ.ค. 48 มิ.ย. 48 (%)
ธนาคารพาณิชย์
จำนวน(สำนักงาน) 432 n.a. n.a.
เงินฝาก(ล้านบาท) 300,164.0 322,988.0 322,000.0E 7.3E
เงินให้สินเชื่อ(ล้านบาท) 192,447.0 216,825.0 217,000.0E 12.8E
ธนาคารออมสิน
เงินฝาก(ล้านบาท) 52,826.1 54,079.2 54,567.1 3.3
เงินให้สินเชื่อคงค้าง(ล้านบาท) 26,870.7 31,362.5 31,895.3 18.7
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เงินให้สินเชื่อ(ล้านบาท) 2,167.3 2,143.3 3,034.5 40.0
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 44,624.9 49,473.5 50,288.9 12.7
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
เงินให้สินเชื่อคงค้าง(ล้านบาท) 2,263.7 1,842.0 2,105.6 -7.0
สถานการณ์เศรษฐกิจในภาคใต้
เดือนมิถุนายน 2548
ภาคเกษตร
ในเดือนมิถุนายน รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 จาก
เดือนเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคา โดยดัชนีราคาพืชผลที่สำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2
ยางพารา
ราคายางพาราในเดือนมิถุนายนนี้ปรับสูงขึ้น โดยราคายางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ
56.07 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.6 ตามความต้องการจากต่างประเทศ
โดยเฉพาะจากจีนและญี่ปุ่น เนื่องจากสต็อกยางธรรมชาติของทั้งสองประเทศลดลง ประกอบกับการ
ซื้อขายในตลาดล่วงหน้าส่งผลให้ราคายางพาราสูงขึ้นมาก เนื่องจากผู้ส่งออกต้องหาสินค้ามาส่งมอบ
ให้ทันตามสัญญา จึงจำเป็นต้องแข่งขันกันซื้อวัตถุดิบ ซึ่งมีอยู่ในปริมาณที่ไม่มากนัก เนื่องจากเป็น
ช่วงต้นฤดูกาลกรีด อย่างไรก็ตาม ผลผลิตยางพาราในเดือนนี้ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน
ก่อน เนื่องจากพื้นที่กรีดเพิ่มขึ้น และราคายางพาราที่อยู่ในระดับสูง จูงใจให้เกษตรกรเร่งกรีดเพิ่มขึ้น
ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ผลผลิตยางพาราในไตรมาสนี้ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย เนื่องจาก
สภาวะอากาศแห้งแล้ง ขณะที่ความต้องการใช้ยางธรรมชาติในตลาดโลกยังมีอยู่ต่อเนื่อง เนื่องจาก
สต็อกยางธรรมชาติของผู้ผลิตและผู้ใช้ลดลง และราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้
ราคายางสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นมากในเดือนมิถุนายน โดยราคาเฉลี่ยของยางแผ่นดิบชั้น 3 ใน
ไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4
ปาล์มน้ำมัน
ในเดือนนี้ ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลงจากเดือนก่อนค่อนข้างมาก(ประมาณร้อยละ 30-40)
เนื่องจากผลกระทบจากภาวะอากาศแล้งตั้งแต่ปลายปีก่อน ประกอบกับเดือนนี้เป็นช่วงที่ผลปาล์ม
เริ่มลดลงตามฤดูกาล ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดส่วนใหญ่เป็นผลปาล์มขนาดกลางอายุระหว่าง 10-15 ปี
ขณะที่ผลปาล์มขนาดเล็กอายุ 3-7 ปี และขนาดใหญ่ อายุ 15 ปีขึ้นไป มีน้อยมาก ส่งผลให้ผลผลิตไม่
เพียงพอกับความต้องการของโรงงาน และราคาผลปาล์มในประเทศปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยราคา
ผลปาล์มสดทั้งทะลายในเดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.24 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ
15.7
ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ออกสู่ตลาดไม่เพียงพอกับกำลังการผลิตของ
โรงงานสกัดฯ ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โรงงานบางแห่งเริ่มชะลอการรับซื้อผลปาล์มเนื่องจาก
ราคาเริ่มสูงขึ้นมาก ทั้งนี้ คาดว่าผลผลิตปาล์มน้ำมันจะออกมากในช่วงปลายปี เนื่องจาก
ช่วงนี้สภาพอากาศเริ่มปรับดีขึ้น และราคาที่อยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรเร่งบำรุงต้นปาล์ม
ประมงทะเล
ประมงหดตัว ปริมาณสัตว์น้ำลดลงมาก เนื่องจากเรือประมงทั้งเรือพาณิชย์และเรือประมง
พื้นบ้านจำนวนมากหยุดทำการประมง จากปัญหาการขาดทุนจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลอย่าง
ต่อเนื่อง และเรือประมงนอกน่านน้ำ โดยเฉพาะเรือประมงทางฝั่งอันดามันบางรายขอพักตั๋วสัมปทาน
ชั่วคราว เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสัตว์น้ำปรับตัวสูงขึ้น โดยเดือนนี้ปริมาณและมูลค่า
สัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาฝนภาคใต้เดือนนี้มีจำนวน 32,269 เมตริกตัน
มูลค่า 1,169.8 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.3 และ 7.4 ตามลำดับ
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
ในเดือนนี้ปริมาณกุ้งออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะเดียวกันความสามารถในการส่งออก
มีน้อยลง เนื่องจากประสบปัญหากีดกันทางการค้าและมีเงื่อนไขการส่งออกเพิ่มมากขึ้น โดยการ
ส่งออกกุ้งไปสหรัฐอเมริกาลดลงจากการถูกเรียกเก็บ AD และเรียกหลักทรัพย์ค้ำประกันนำเข้า
(Continuous Bond) และการเลื่อนประกาศ GSP ของสหภาพยุโรป ทำให้ผู้ส่งออกลดความเชื่อมั่น
ที่จะส่งกุ้งไปตลาดดังกล่าว ส่งผลให้ราคากุ้งทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งต้องปรับตัว โดยการ
บริหารการผลิตให้ต้นทุนต่อบ่อต้องต่ำลง อาทิ เน้นลูกพันธุ์คุณภาพ ลดจำนวนบ่อ ลดปริมาณการ
เลี้ยง ลดการตีน้ำ เป็นต้น
(ยังมีต่อ)
เศรษฐกิจภาคใต้เดือนมิถุนายน 2548 ซบเซาต่อเนื่องจากปัจจัยลบหลายประการ ได้แก่
เหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยที่มีต่อเนื่อง ราคาน้ำมันที่ภาครัฐประกาศให้ลอยตัวตามราคาในตลาดโลก
รวมทั้งการสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ย กระทบต่อต้นทุนการผลิต และราคาสินค้าสูงขึ้น สร้างแรงกดดัน
ต่อการลงทุน และการบริโภคภาคเอกชน อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือน
มิถุนายนเท่ากับเดือนก่อน
ไตรมาส 2 ปี 2548 เศรษฐกิจภาคใต้ซบเซาจากแรงกดดันด้านเหตุการณ์ความไม่
ปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัจจัยแวดล้อมอื่นซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทั้งในไตรมาสนี้
และไตรมาสหน้า อาทิ การสูงขึ้นของราคาน้ำมันที่มีความชัดเจนมากขึ้นจากการที่ภาครัฐปล่อยให้
ราคาลอยตัว รวมทั้งแนวโน้มการสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น และในไตรมาสนี้อัตราเงินเฟ้อที่
วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.6
ภาคเกษตร
ในเดือนมิถุนายนนี้ ราคาพืชผลหลักปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2
ตามราคายางพาราที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ เนื่องจากสต็อกยางธรรมชาติของผู้ใช้ลดลง โดยเฉพาะ
จีนและญี่ปุ่น ทำให้มีความต้องการมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้ส่งออกมีการแข่งขันกันซื้อวัตถุดิบเพื่อ
ส่งมอบให้ทันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยยางแผ่นดิบ ชั้น 3 เดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.07 บาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6
ทางด้านประมงทะเลหดตัว เรือประมงทั้งเรือพาณิชย์และเรือประมงพื้นบ้านจำนวนมาก
หยุดทำการประมง เนื่องจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลอย่างต่อเนื่อง และเรือประมงนอกน่านน้ำ
โดยเฉพาะเรือประมงทางฝั่งอันดามันบางรายขอพักตั๋วสัมปทานชั่วคราว เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้น
ส่งผลให้ราคาสัตว์น้ำปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือขององค์การ
สะพานปลาในภาคใต้เดือนมิถุนายนนี้มีจำนวน 32,269 เมตริกตัน มูลค่า 1,169.8 ล้านบาท ลดลง
จากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 24.3 และ 7.4 ตามลำดับ
ทางด้านกุ้งทะเลปริมาณกุ้งออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ความสามารถในการส่งออกมีน้อย
ลงจากการที่ประสบปัญหากีดกันทางการค้าและมีเงื่อนไขการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคากุ้ง
ทรงตัวในระดับต่ำ ผู้เลี้ยงกุ้งจึงต้องปรับตัวโดยการบริหารการผลิตให้ต้นทุนต่อบ่อต่ำลง
ไตรมาส 2 ปี 2548 ราคายางและปาล์มน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามความ
ต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่การทำประมงทะเลหดตัว เนื่องจากราคาน้ำมันและ
อุปกรณ์การทำประมงปรับตัวสูงขึ้นมาก และทรัพยากรสัตว์น้ำมีจำนวนลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ต้องไป
จับปลาในน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประสบปัญหาการจับกุมข้อหารุกล้ำน่านน้ำ ชาวประมง
จึงหยุดทำประมง ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลนั้น ปริมาณกุ้งออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคากุ้งลดลง
ภาคอุตสาหกรรม
ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้เดือนนี้หดตัวตามปริมาณวัตถุดิบทั้งยางพารา ปาล์ม
น้ำมันและสัตว์น้ำ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แล้งนานกว่าปกติ ปริมาณฝนที่ตก
มากขึ้นในบางพื้นที่ของแหล่งผลิต และการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ทำให้ราคาวัตถุดิบอยู่ในระดับที่สูง
ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมปรับสูงขึ้นค่อนข้างมาก ทางด้านอุปสงค์ของตลาดโลกยังมี
อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อุปทานมีจำกัด ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าสำคัญของภาคใต้ลดลงตาม
การลดลงของการส่งออกยางพารา และสัตว์น้ำแช่แข็ง ส่วนการส่งออกอาหารบรรจุกระป๋อง และ
ไม้ยางแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้น
ไตรมาส 2 ปี 2548 ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมหดตัว เนื่องจากภาวะภัยแล้ง และ
ในช่วงปลายไตรมาสมีฝนตกหนัก ประกอบกับการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลกระทบต่อปริมาณ
วัตถุดิบ โดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสัตว์น้ำ ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องขาดแคลน
วัตถุดิบ และต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้น ทางด้านอุปสงค์ของตลาดโลกยังมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะยาง
เนื่องจากสต็อกยางของผู้นำเข้าสำคัญ เช่น จีน ญี่ปุ่น ลดลงมาก ขณะที่เศรษฐกิจขยายตัว ความ
ต้องการใช้ยางจึงยังคงสูง ส่วนสัตว์น้ำยังคงเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าจากประเทศผู้นำเข้า
รายใหญ่ ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป และด้วยข้อจำกัดด้านอุปทาน ทำให้ปริมาณการ
ส่งออกลดลง
ภาคบริการท่องเที่ยว
ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้เดือนมิถุนายนนี้ เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากเดือนก่อน ทั้งใน
ส่วนของการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคใต้ตอนล่าง โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
เดินทางผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ทั้งสิ้น 157,289 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ
15.7 อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน นักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 18.3 ตาม
การลดลงของนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นสำคัญ โดยลดลงร้อยละ 58.1 ทั้งนี้ เป็นที่
น่าสังเกตว่าเดือนนี้นักท่องเที่ยวทางจังหวัดสงขลามีอัตราเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 13 เดือน โดยเพิ่มขึ้น
จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.3 และเบตง จ. ยะลา เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ส่วนสุไหงโก-ลก
จ. นราธิวาส ลดลงร้อยละ 29.3
ไตรมาส 2 ปี 2548 การเกิดเหตุแผ่นดินไหวรอบสองเมื่อปลายเดือนมีนาคม และเหตุระ
เบิดในอำเภอเมือง และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวม 3 จุด ในวันที่ 3 เมษายน 2548
ส่งผลให้ภาวะท่องเที่ยวของภาคใต้ซบเซาลงอีกครั้ง หลังจากกระเตื้องขึ้นในปลายไตรมาสแรก
เนื่องจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในความปลอดภัย ทำให้
มีการยกเลิกการสำรองห้องพักเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง นักท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ช่วงไตรมาส 2 มีจำนวนเพียง
427,770 คน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.7 เป็นการลดลงของนักท่องเที่ยวภาคใต้
ฝั่งตะวันตก ขณะที่ภาวะการท่องเที่ยวภาคใต้ตอนล่างมีแนวโน้ม ดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐาน
ตัวเลขในปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ต่ำ เนื่องจากผลกระทบของเหตุการณ์ความรุนแรงที่มัสยิดกรือเซะ
การอุปโภคบริโภค
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคใต้เดือนนี้ขยายตัว จากการที่รายได้
เกษตรกรเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น จูงใจให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอย
เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เป็นการพิจารณาจากเครื่องชี้ด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม และการจดทะเบียนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.2 และ 8.6 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงซึ่งเป็นผลกระทบ
จากเหตุการณ์ สึนามิและปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ไตรมาส 2 ปี 2548 การใช้จ่ายภาคเอกชนลดลงจากปัจจัยลบด้านราคาน้ำมัน ปัญหา 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่ยุติ ผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ รวมทั้งปัญหาเรื่องภัยแล้ง
โดยเครื่องชี้สำคัญที่ลดลง ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดลงร้อยละ 1.4 และการจดทะเบียนใหม่
รถจักรยานยนต์ ลดลงมากถึงร้อยละ 26.0 และมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี
ยอดจดทะเบียนใหม่รถยนต์ส่วนบุคคลขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้
กลยุทธ์บริหารทีมขายเชิงรุกและส่งเสริมการขายที่จูงใจ เน้นลูกค้าในภาคเกษตรมากขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุน ภาคเอกชนชะลอตัวลงจากปัจจัยแวดล้อมด้านความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน กอปรกับภาวะการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และ
อัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ การอนุมัติโครงการให้กับนักลงทุนที่ขอส่งเสริมการลงทุน ทั้งจำนวนรายและ
การจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่เงินลงทุนลดลง ส่วนของการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่มีข้อน่าสังเกต คือ
ที่จังหวัดนราธิวาสมีผู้สนใจจดทะเบียนใหม่ด้านการรับเหมาก่อสร้างมากถึง 5 ราย เงินลงทุนรวม
108.6 ล้านบาท และ 1 ในจำนวน 5 ราย มีทุนจดทะเบียนสูงถึง 100.0 ล้านบาท ส่วนพื้นที่อนุญาต
ให้ก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นมากโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
ไตรมาส 2 ปี 2548 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาสนี้ซบเซาจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่เอื้อ
ต่อการลงทุน อาทิ ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ราคาน้ำมันที่รัฐบาลส่งสัญญาณเลิกการ
อุดหนุน และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี นักลงทุนยังให้ความสนใจลงทุนในพื้นที่
จังหวัดภาคใต้ตอนบน
การจ้างงาน
เดือนมิถุนายนนี้ ผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานใน
ภาคใต้ลดลงมากเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยลดลงร้อยละ 26.8 และตำแหน่งงานว่าง
ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ตอนบน ขณะที่ผู้สมัครงานและการบรรจุงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 95.5 และร้อยละ
7.3 ตามลำดับ สำหรับจำนวนแรงงานในภาคใต้ที่เข้าโครงการประกันสังคมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 3.0
ไตรมาส 2 ปี 2548 ตำแหน่งงานว่างในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ
26.9 ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งงานในจังหวัดใหญ่ อาทิ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และสงขลา สำหรับผู้
สมัครงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ขณะที่การบรรจุงานลดลงร้อยละ 16.9 และจากการที่ภาครัฐมี
โครงการสร้างงาน จ้างงานเร่งด่วนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 5 อำเภอในจังหวัดสงขลา
รวมทั้งการจ้างงานเร่งด่วนใน 6 จังหวัดที่ประสบเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย ส่วนหนึ่งส่งผลกระทบต่อ
การจ้างงานของภาคเอกชน และการจ้างงานตามโครงการดังกล่าว จากการสอบถาม พบว่า แรงงาน
มีการ Turn Over ค่อนข้างสูง
ระดับราคา
อัตราเงินเฟ้อของภาคใต้วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ทรงตัว
เท่ากับเดือนก่อน โดยราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ตามการสูงขึ้น
ของราคาสินค้าแทบทุกหมวด ซึ่งหมวดที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมาก ได้แก่ หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่
และสัตว์น้ำ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1) หมวดผักและผลไม้ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8) ขณะเดียวกันหมวดอื่น ๆ
ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เนื่องจากสินค้าในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 ผลักดันให้หมวดค่าโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้นสูงมากถึงร้อยละ 15.5 นอกจากนั้น
หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4
ไตรมาส 2 ปี 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 4.6 เนื่องจากราคาสินค้าสำคัญทั้งในหมวดหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5.0) และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3) สูงขึ้น ทั้งนี้ราคาสินค้า
ที่สูงขึ้นได้รับแรงกดดันจากภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
การค้าต่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 5.3 เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 ตามการส่งออกสัตว์น้ำ และน้ำมันดิบ
ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะการค้าผ่านด่านชายแดนไทย -- มาเลเซีย อัตราการเกินดุลลดลง เนื่องจาก
การส่งออกหดตัว ขณะที่การนำเข้าลดลงเล็กน้อยเท่านั้น
ไตรมาส 2 ปี 2548 การค้าต่างประเทศของภาคใต้ และการการค้าผ่านด่านชายแดน
ไทย -- มาเลเซีย อัตราการเกินดุลลดลง เนื่องจากการส่งออกรวมของทั้งภาคใต้เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อย
มาก เพียงร้อยละ 0.5 ขณะที่การค้าผ่านด่านอัตราการเกินดุลลดลงจากการที่มีการนำเข้าสินค้าทุน
ค่อนข้างมาก
การคลัง
เดือนมิถุนายนนี้ จัดเก็บภาษีได้ 1,587.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0
แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 38.1 เนื่องจากเดือนก่อนเป็นเดือนสิ้นงวดจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล
ปี 2547 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตามประเภทภาษี พบว่าภาษีสรรพากร จัดเก็บได้ 1,371.2 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.6 ส่วนภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากร จัดเก็บได้ 122.7
ล้านบาท และ 93.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 และ7.9
ไตรมาส 2 ปี 2548 จัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 โดย
จัดเก็บภาษีสรรพากรได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เนื่องจากจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท ยกเว้นภาษี
มูลค่าเพิ่ม ที่จัดเก็บได้ลดลงเล็กน้อย ขณะเดียวกันภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0
ส่วนภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ลดลงทั้งในส่วนของภาษีส่งออกและภาษีนำเข้า
ภาคการเงิน
ในเดือนนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ระยะ 14 วัน จากร้อยละ 2.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2548 และในวันที่ 30
มิถุนายน 2548 Fed มีมติเป็นให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ มีเงินฝากคงค้างประมาณ
322,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 เป็นการเพิ่มในอัตราชะลอตัวลง
จากการที่ผู้ฝากเงินได้รับผลตอบแทนในการฝากเงินค่อนข้างต่ำ และมีทางเลือกจำกัด ส่วนสินเชื่อ
คงค้างมีประมาณ 217,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 โดยสาขา
ธนาคารพาณิชย์ยังคงให้ความสำคัญกับลูกค้าที่มีคุณภาพ และสามารถชำระหนี้ได้
สำหรับการใช้เช็คของภาคธุรกิจที่ผ่านสำนักหักบัญชีในภาคใต้ ในเดือนนี้มีปริมาณ
375,351 ฉบับ ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 โดยมีสัดส่วน
ของมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้เป็นอัตราร้อยละ 0.8 เท่ากับเดือนเดียวกันปีก่อน
ไตรมาส 2 ปี 2548 เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ยังเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ลดลง เมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลตอบแทนต่ำ มีการกระจายเงินลงทุนในรูปของตราสารหนี้
ระยะสั้น เพื่อรอการลงทุนในเมกกะโปรเจ็กต์ของรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะได้ดอกผลสูงกว่า และจากการ
เปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังของภาครัฐที่มีการเบิกจ่ายผ่านธนาคารของรัฐ ทำให้มีเม็ดเงิน
หมุนเวียนในระบบค่อนข้างสูง เพื่อรอการเบิกจ่าย เช่น เงินช่วยเหลือเรื่องสึนามิ และเงินงบประมาณ
ที่เกี่ยวกับความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ทางด้านสินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์มีความเข้มงวดและคำนึงถึงคุณภาพของลูกค้าเป็นสำคัญ
เพื่อลดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อย่างไรก็ตามธนาคารพาณิชย์ยังคงมียอดสินเชื่อตาม
เป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากแข่งขันกันออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพื่อดึงดูดลูกค้า
ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้
เดือนมิถุนายน 2548
มิ.ย. 48/47
เครื่องชี้ มิ.ย. 47 พ.ค. 48 มิ.ย. 48 (%)
1. การเกษตร
ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 52.10 50.12 56.07 7.6
ปาล์มทั้งทะลาย 2.80 2.86 3.24 15.7
ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ(เมตริกตัน) 42,625 31,706 32,269 -24.3
มูลค่า(ล้านบาท) 1,262.6 962.2 1,169.8 -7.4
กุ้งกุลาดำขนาด31-40ตัว/กก.(บาท/กก.) 225.00 262.00 207.00 -8.0
2. การอุตสาหกรรม(เมตริกตัน)
ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 80,174.5 79,789.5 68,227.2 -14.9
ยางแท่ง 71,166.2 62,910.1 87,746.9 23.3
3. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง(คน)192,414 135,926 157,289 -18.3
4. การค้า
การจดทะเบียนรถใหม่(คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 2,128 2,062 2,439 14.6
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 4,177 3,288 4,090 -2.1
รถจักรยานยนต์ 36,460 20,657 29,300 -19.6
มิ.ย. 48/47
เครื่องชี้ มิ.ย. 47 พ.ค. 48 มิ.ย. 48 (%)
5. การค้าระหว่างประเทศ(ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 21,520.3 24,135.7 24,374.5 13.3
ยาง 8,898.8 7,756.3 8,087.9 -9.1
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ 805.2 770.1 827.5 2.8
ถุงมือยาง 1,336.0 1,344.6 1,344.5 0.0
สัตว์น้ำแช่แข็ง 1,443.6 1,675.4 2,161.6 49.7
อาหารกระป๋อง 876.8 997.0 921.4 5.1
ดีบุก 437.7 770.1 967.4 121.0
แร่อื่น ๆ 270.5 265.9 290.3 7.3
ก๊าซธรรมชาติ 43.4 71.4 73.3 69.0
น้ำมันดิบ 0.0 0.0 886.8
มูลค่าการนำเข้า 9,888.0 10,331.9 12,090.1 22.3
เครื่องจักรอุปกรณ์ 4,437.3 4,705.5 6,114.0 37.8
น้ำมันเชื้อเพลิง 159.3 0.0 25.4 -84.1
อุปกรณ์ก่อสร้าง 159.9 238.5 180.5 12.9
สัตว์น้ำแช่แข็ง 580.9 750.6 717.5 23.5
6. ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคใต้(ปีฐาน 2545) 105.3 109.5 110.0 4.5
7. การลงทุน
กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 5 8 6 20.0
เงินลงทุน (ล้านบาท) 1,279.6 1,119.2 770.0 -39.8
การจ้างงาน (คน) 462 1,610 603 30.5
มิ.ย. 48/47
เครื่องชี้ มิ.ย. 47 พ.ค. 48 มิ.ย. 48 (%)
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 442 359 454 2.7
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 806.8 713.1 976.5 21.0
พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล (ตารางเมตร)
พื้นที่รวม 169,031 134,087 171,613 1.5
8. ค่าจ้างและการจัดหางาน
การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง(อัตรา) 8,333 5,157 6,100 -26.8
ผู้สมัครงาน(คน) 5,283 7,126 10,330 95.5
การบรรจุงาน(คน) 3,484 3,330 3,739 7.3
9. การคลัง(ล้านบาท)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ8,450.5 9498.2 n.a.
การจัดเก็บภาษีอากร 1,511.3 2,562.4 1,587.3 5.0
สรรพากร 1,274.4 2,290.8 1,371.2 7.6
สรรพสามิต 135.4 184.0 122.7 -9.4
ศุลกากร 101.5 87.6 93.4 -7.9
10. การเงิน
การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ(ฉบับ) 376,406 384,248 375,351 -0.3
มูลค่า(ล้านบาท) 44,687.2 46,531.5 48,375.9 8.3
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม(ร้อยละ) 0.8 1.0 0.8
มิ.ย. 48/47
เครื่องชี้ มิ.ย. 47 พ.ค. 48 มิ.ย. 48 (%)
ธนาคารพาณิชย์
จำนวน(สำนักงาน) 432 n.a. n.a.
เงินฝาก(ล้านบาท) 300,164.0 322,988.0 322,000.0E 7.3E
เงินให้สินเชื่อ(ล้านบาท) 192,447.0 216,825.0 217,000.0E 12.8E
ธนาคารออมสิน
เงินฝาก(ล้านบาท) 52,826.1 54,079.2 54,567.1 3.3
เงินให้สินเชื่อคงค้าง(ล้านบาท) 26,870.7 31,362.5 31,895.3 18.7
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เงินให้สินเชื่อ(ล้านบาท) 2,167.3 2,143.3 3,034.5 40.0
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 44,624.9 49,473.5 50,288.9 12.7
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
เงินให้สินเชื่อคงค้าง(ล้านบาท) 2,263.7 1,842.0 2,105.6 -7.0
สถานการณ์เศรษฐกิจในภาคใต้
เดือนมิถุนายน 2548
ภาคเกษตร
ในเดือนมิถุนายน รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 จาก
เดือนเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคา โดยดัชนีราคาพืชผลที่สำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2
ยางพารา
ราคายางพาราในเดือนมิถุนายนนี้ปรับสูงขึ้น โดยราคายางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ
56.07 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.6 ตามความต้องการจากต่างประเทศ
โดยเฉพาะจากจีนและญี่ปุ่น เนื่องจากสต็อกยางธรรมชาติของทั้งสองประเทศลดลง ประกอบกับการ
ซื้อขายในตลาดล่วงหน้าส่งผลให้ราคายางพาราสูงขึ้นมาก เนื่องจากผู้ส่งออกต้องหาสินค้ามาส่งมอบ
ให้ทันตามสัญญา จึงจำเป็นต้องแข่งขันกันซื้อวัตถุดิบ ซึ่งมีอยู่ในปริมาณที่ไม่มากนัก เนื่องจากเป็น
ช่วงต้นฤดูกาลกรีด อย่างไรก็ตาม ผลผลิตยางพาราในเดือนนี้ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน
ก่อน เนื่องจากพื้นที่กรีดเพิ่มขึ้น และราคายางพาราที่อยู่ในระดับสูง จูงใจให้เกษตรกรเร่งกรีดเพิ่มขึ้น
ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ผลผลิตยางพาราในไตรมาสนี้ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย เนื่องจาก
สภาวะอากาศแห้งแล้ง ขณะที่ความต้องการใช้ยางธรรมชาติในตลาดโลกยังมีอยู่ต่อเนื่อง เนื่องจาก
สต็อกยางธรรมชาติของผู้ผลิตและผู้ใช้ลดลง และราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้
ราคายางสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นมากในเดือนมิถุนายน โดยราคาเฉลี่ยของยางแผ่นดิบชั้น 3 ใน
ไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4
ปาล์มน้ำมัน
ในเดือนนี้ ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลงจากเดือนก่อนค่อนข้างมาก(ประมาณร้อยละ 30-40)
เนื่องจากผลกระทบจากภาวะอากาศแล้งตั้งแต่ปลายปีก่อน ประกอบกับเดือนนี้เป็นช่วงที่ผลปาล์ม
เริ่มลดลงตามฤดูกาล ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดส่วนใหญ่เป็นผลปาล์มขนาดกลางอายุระหว่าง 10-15 ปี
ขณะที่ผลปาล์มขนาดเล็กอายุ 3-7 ปี และขนาดใหญ่ อายุ 15 ปีขึ้นไป มีน้อยมาก ส่งผลให้ผลผลิตไม่
เพียงพอกับความต้องการของโรงงาน และราคาผลปาล์มในประเทศปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยราคา
ผลปาล์มสดทั้งทะลายในเดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.24 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ
15.7
ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ออกสู่ตลาดไม่เพียงพอกับกำลังการผลิตของ
โรงงานสกัดฯ ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โรงงานบางแห่งเริ่มชะลอการรับซื้อผลปาล์มเนื่องจาก
ราคาเริ่มสูงขึ้นมาก ทั้งนี้ คาดว่าผลผลิตปาล์มน้ำมันจะออกมากในช่วงปลายปี เนื่องจาก
ช่วงนี้สภาพอากาศเริ่มปรับดีขึ้น และราคาที่อยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรเร่งบำรุงต้นปาล์ม
ประมงทะเล
ประมงหดตัว ปริมาณสัตว์น้ำลดลงมาก เนื่องจากเรือประมงทั้งเรือพาณิชย์และเรือประมง
พื้นบ้านจำนวนมากหยุดทำการประมง จากปัญหาการขาดทุนจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลอย่าง
ต่อเนื่อง และเรือประมงนอกน่านน้ำ โดยเฉพาะเรือประมงทางฝั่งอันดามันบางรายขอพักตั๋วสัมปทาน
ชั่วคราว เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสัตว์น้ำปรับตัวสูงขึ้น โดยเดือนนี้ปริมาณและมูลค่า
สัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาฝนภาคใต้เดือนนี้มีจำนวน 32,269 เมตริกตัน
มูลค่า 1,169.8 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.3 และ 7.4 ตามลำดับ
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
ในเดือนนี้ปริมาณกุ้งออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะเดียวกันความสามารถในการส่งออก
มีน้อยลง เนื่องจากประสบปัญหากีดกันทางการค้าและมีเงื่อนไขการส่งออกเพิ่มมากขึ้น โดยการ
ส่งออกกุ้งไปสหรัฐอเมริกาลดลงจากการถูกเรียกเก็บ AD และเรียกหลักทรัพย์ค้ำประกันนำเข้า
(Continuous Bond) และการเลื่อนประกาศ GSP ของสหภาพยุโรป ทำให้ผู้ส่งออกลดความเชื่อมั่น
ที่จะส่งกุ้งไปตลาดดังกล่าว ส่งผลให้ราคากุ้งทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งต้องปรับตัว โดยการ
บริหารการผลิตให้ต้นทุนต่อบ่อต้องต่ำลง อาทิ เน้นลูกพันธุ์คุณภาพ ลดจำนวนบ่อ ลดปริมาณการ
เลี้ยง ลดการตีน้ำ เป็นต้น
(ยังมีต่อ)