เครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2548 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยทางด้านอุปสงค์ ดัชนี
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวใกล้เคียงเดือนก่อน อย่างไร
ก็ตามการส่งออกชะลอลงจากเดือนก่อน เพราะการลดลงของการส่งออกสินค้าเกษตรเป็นสำคัญ
ด้านอุปทานการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนรายได้
เกษตรกรจากพืชผลหลักเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน เพราะการเพิ่มขึ้นของผลผลิต ในขณะที่ราคาพืชผลชะลอตัวลง สำหรับในภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลยังคงขาดดุลในระดับสูง แต่เงินสำรองระหว่าง
ประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีขณะที่แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันเป็นสำคัญ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2548 และไตรมาสที่ 2 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8.8 ดีขึ้นเล็กน้อยจาก
เดือนก่อนหน้า โดยการผลิตเพื่อการส่งออกขยายตัวดีต่อเนื่องในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ตามการส่งออก
Hard Disk Drive และแผงวงจรรวม รวมถึงหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถส่งออกเครื่องปรับอากาศไป
ตลาดใหม่ได้มากขึ้น นอกจากนี้หมวดยานยนต์ ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องโดยการผลิตรถยนต์พาณิชย์ยังขยายตัวใน
อัตราสูง หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์จากฐานปีก่อนต่ำเพราะการผลิตลดลงเนื่องจากทางการยกเลิกภาษีตอบโต้
การทุ่มตลาดชั่วคราว อย่างไรก็ตามการผลิตหมวดเครื่องดื่มลดลงเนื่องจากได้เร่งผลิตมากในช่วงก่อนหน้า
ทั้งนี้ อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 71.8 เท่ากับเดือนก่อน
สำหรับไตรมาสที่ 2 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะหมวดที่ผลิตเพื่อส่งออกทั้งหมวดอิเล็กทรอนิกส์และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวดีขึ้นตามอุปสงค์ต่างประเทศ ประกอบกับหมวดเครื่องดื่มมีการเร่งผลิตเบียร์เพื่อสะสมสต็อกจากข่าวการปรับภาษีสรรพสามิต และปัญหาวัตถุดิบในหมวดอาหารเริ่มคลี่คลายลง
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.1 ในเดือนนี้ เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวขององค์ประกอบดัชนีเกือบทุกรายการ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้ง
ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเร่งซื้อก่อนการปรับราคา ยกเว้นยอดจำหน่ายน้ำมันเบนซินลดลงสำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเป็นร้อยละ 9.4 จากร้อยละ 10.7 ใน
เดือนก่อน โดยชะลอตัวจากทั้งการลงทุนหมวด เครื่องมือเครื่องจักรและหมวดก่อสร้าง
สำหรับการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย อยู่ที่
ร้อยละ 0.6
เพิ่มขึ้นตามการบริโภคในกลุ่มสินค้าที่ไม่ใช่ยานพาหนะขณะที่การบริโภคในกลุ่มยานพาหนะลดลงตามราคาน้ำมันเบนซินที่ปรับสูงขึ้น ส่วนการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย อยู่ที่ร้อยละ 9.4
จากเหล็กเพิ่มขึ้นมากจากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งตามการชะลอตัวของการลงทุนในหมวดก่อสร้าง ขณะที่
การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรยังคงขยายตัวดี
3. ภาคการคลัง ในเดือนมิถุนายน 2548 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 13.0 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีร้อยละ 12.5 และรายได้ที่มิใช่ภาษีที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 โดย
ในเดือนนี้รัฐบาลมีดุลเงินสดเกินดุลมากเนื่องจากมีการนำส่งภาษีรายได้นิติบุคคลจำนวนมากในไตรมาสที่ 3
ของปีงบประมาณ (เมษายน -- มิถุนายน 2548) รายได้จัดเก็บขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15.5 จากระยะเดียวกัน
ปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีร้อยละ 15.4 และรายได้ที่มิใช่ภาษีร้อยละ 16.9 ทั้งนี้ ในรอบ 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 1,065.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้จากระยะเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 12.1
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 1,853 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าที่มีมูลค่าสูงถึง 11,008 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.6 โดยการนำเข้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์ยัง
คงมีมูลค่าการนำเข้าสูงต่อเนื่อง ส่วนสินค้านำเข้าอื่นที่ยังคงขยายตัวสูง ได้แก่ เหล็ก เครื่องจักรไฟฟ้าและ
ชิ้นส่วน และเคมีภัณฑ์ ด้านการส่งออกมีมูลค่า 9,155 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 9.7 โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก และยานยนต์และชิ้นส่วน ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 318 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายรับจากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เป็นสำคัญ ขณะที่รายจ่าย
ภาคเอกชนในส่วนของการส่งกลับกำไรและเงินปันผลลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่งผลให้ดุลบัญชี
เดินสะพัดขาดดุล 1,535 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 330 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548 อยู่ที่ระดับ 48.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อ
เงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 3.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ไตรมาสที่ 2 ดุลการค้าขาดดุล 5,237 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกมีมูลค่า 26,300 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 12.4 การนำเข้ามีมูลค่า 31,537 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 33.7 ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 529 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 4,708 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงิน เกินดุล 1,055 ล้านดอลลาร์ สรอ.
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน 2548 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 เร่งตัว
ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าโดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเป็นสำคัญ
โดยเฉพาะการปรับเพิ่มขึ้นของราคาเชื้อเพลิง และ ค่าโดยสาร จากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
กอปรกับนโยบายลอยตัวราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลซึ่งทางการได้เริ่มทยอยลดการชดเชยในช่วงเดือนนี้ นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการปรับค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (FT) เพิ่มขึ้นอีก 3.55 สตางค์ต่อหน่วย สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดพาหนะ การขนส่ง และ
การสื่อสาร สำหรับค่าเช่าบ้านในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสำคัญ โดยในเดือนนี้ได้การปรับราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลขึ้น 7 ครั้ง รวม 2.80 บาทต่อลิตร นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประเภทอื่น อาทิ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และผลิตภัณฑ์โลหะ
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 1.1 และ 9.4 ตามลำดับ
6. ภาวะการเงินในเดือนมิถุนายน 2548 ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 3.3 3.5 และ 4.7 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ 2.2 ในเดือนพฤษภาคมเป็นร้อยละ 2.6 ในเดือนนี้แม้ว่าในเดือนนี้ยอดเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ลดลงจากเดือนก่อนเพื่อลดภาระการนำส่งค่าธรรมเนียมกองทุนฟื้นฟูฯ
แต่จำนวนที่ลดลงน้อยกว่าในปีก่อนหน้า สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอลงจากร้อยละ 5.2 ในเดือนก่อน เนื่องจากสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ถืออยู่ใน
รูปตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทบริหารสินทรัพย์ครบกำหนดไถ่ถอน
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินโน้มสูงขึ้นทั้งอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและ
อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันโดยเฉลี่ยทั้งเดือนอยู่ที่ร้อยละ 2.42 และ 2.41 ต่อปี ตามลำดับ
ทั้งนี้เป็นการปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ประกอบกับสภาพคล่องในระบบการเงินค่อนข้างตึงตัวเนื่องจากเป็นช่วงนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลเข้าคลัง
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันปรับสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 1 มาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.25 และ 2.24 ต่อปี ตามลำดับ โดยเป็นการปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นสำคัญ
7. ค่าเงินบาทในเดือนมิถุนายน 2548 เฉลี่ยอยู่ที่ 40.92 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงอย่าง
ต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคม และแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน จากความต้องการซื้อของผู้นำเข้าและความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย ขณะที่ความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์ สรอ. ได้ปรับดีขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 เงินบาทปรับค่าอ่อนลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ 40.16 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จาก 38.61 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อน เพราะ sentiment ในเงินดอลลาร์ สรอ. ยังแข็งแกร่ง ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลและเงินลงทุนระยะสั้นที่เข้ามามากช่วงไตรมาสแรกได้ปิดฐานะออกไปบ้างในช่วงวันที่ 1-25 กรกฎาคม 2548 เงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 41.78 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องและแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีในช่วงกลางเดือน โดยปัจจัยลบที่เพิ่มขึ้น คือการปรับลดสัดส่วนการลงทุนในประเทศไทยของกองทุนต่างประเทศรายใหญ่ อย่างไรก็ดีเงินบาทได้ปรับค่าแข็งขึ้นตามค่าเงินหยวนหลังจากธนาคารกลางจีนประกาศปรับค่าเงินหยวนและระบบอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2548
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวใกล้เคียงเดือนก่อน อย่างไร
ก็ตามการส่งออกชะลอลงจากเดือนก่อน เพราะการลดลงของการส่งออกสินค้าเกษตรเป็นสำคัญ
ด้านอุปทานการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนรายได้
เกษตรกรจากพืชผลหลักเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน เพราะการเพิ่มขึ้นของผลผลิต ในขณะที่ราคาพืชผลชะลอตัวลง สำหรับในภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลยังคงขาดดุลในระดับสูง แต่เงินสำรองระหว่าง
ประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีขณะที่แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันเป็นสำคัญ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2548 และไตรมาสที่ 2 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8.8 ดีขึ้นเล็กน้อยจาก
เดือนก่อนหน้า โดยการผลิตเพื่อการส่งออกขยายตัวดีต่อเนื่องในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ตามการส่งออก
Hard Disk Drive และแผงวงจรรวม รวมถึงหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถส่งออกเครื่องปรับอากาศไป
ตลาดใหม่ได้มากขึ้น นอกจากนี้หมวดยานยนต์ ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องโดยการผลิตรถยนต์พาณิชย์ยังขยายตัวใน
อัตราสูง หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์จากฐานปีก่อนต่ำเพราะการผลิตลดลงเนื่องจากทางการยกเลิกภาษีตอบโต้
การทุ่มตลาดชั่วคราว อย่างไรก็ตามการผลิตหมวดเครื่องดื่มลดลงเนื่องจากได้เร่งผลิตมากในช่วงก่อนหน้า
ทั้งนี้ อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 71.8 เท่ากับเดือนก่อน
สำหรับไตรมาสที่ 2 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะหมวดที่ผลิตเพื่อส่งออกทั้งหมวดอิเล็กทรอนิกส์และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวดีขึ้นตามอุปสงค์ต่างประเทศ ประกอบกับหมวดเครื่องดื่มมีการเร่งผลิตเบียร์เพื่อสะสมสต็อกจากข่าวการปรับภาษีสรรพสามิต และปัญหาวัตถุดิบในหมวดอาหารเริ่มคลี่คลายลง
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.1 ในเดือนนี้ เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวขององค์ประกอบดัชนีเกือบทุกรายการ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้ง
ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเร่งซื้อก่อนการปรับราคา ยกเว้นยอดจำหน่ายน้ำมันเบนซินลดลงสำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเป็นร้อยละ 9.4 จากร้อยละ 10.7 ใน
เดือนก่อน โดยชะลอตัวจากทั้งการลงทุนหมวด เครื่องมือเครื่องจักรและหมวดก่อสร้าง
สำหรับการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย อยู่ที่
ร้อยละ 0.6
เพิ่มขึ้นตามการบริโภคในกลุ่มสินค้าที่ไม่ใช่ยานพาหนะขณะที่การบริโภคในกลุ่มยานพาหนะลดลงตามราคาน้ำมันเบนซินที่ปรับสูงขึ้น ส่วนการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย อยู่ที่ร้อยละ 9.4
จากเหล็กเพิ่มขึ้นมากจากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งตามการชะลอตัวของการลงทุนในหมวดก่อสร้าง ขณะที่
การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรยังคงขยายตัวดี
3. ภาคการคลัง ในเดือนมิถุนายน 2548 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 13.0 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีร้อยละ 12.5 และรายได้ที่มิใช่ภาษีที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 โดย
ในเดือนนี้รัฐบาลมีดุลเงินสดเกินดุลมากเนื่องจากมีการนำส่งภาษีรายได้นิติบุคคลจำนวนมากในไตรมาสที่ 3
ของปีงบประมาณ (เมษายน -- มิถุนายน 2548) รายได้จัดเก็บขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15.5 จากระยะเดียวกัน
ปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีร้อยละ 15.4 และรายได้ที่มิใช่ภาษีร้อยละ 16.9 ทั้งนี้ ในรอบ 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 1,065.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้จากระยะเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 12.1
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 1,853 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าที่มีมูลค่าสูงถึง 11,008 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.6 โดยการนำเข้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์ยัง
คงมีมูลค่าการนำเข้าสูงต่อเนื่อง ส่วนสินค้านำเข้าอื่นที่ยังคงขยายตัวสูง ได้แก่ เหล็ก เครื่องจักรไฟฟ้าและ
ชิ้นส่วน และเคมีภัณฑ์ ด้านการส่งออกมีมูลค่า 9,155 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 9.7 โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก และยานยนต์และชิ้นส่วน ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 318 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายรับจากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เป็นสำคัญ ขณะที่รายจ่าย
ภาคเอกชนในส่วนของการส่งกลับกำไรและเงินปันผลลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่งผลให้ดุลบัญชี
เดินสะพัดขาดดุล 1,535 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 330 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548 อยู่ที่ระดับ 48.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อ
เงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 3.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ไตรมาสที่ 2 ดุลการค้าขาดดุล 5,237 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกมีมูลค่า 26,300 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 12.4 การนำเข้ามีมูลค่า 31,537 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 33.7 ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 529 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 4,708 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงิน เกินดุล 1,055 ล้านดอลลาร์ สรอ.
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน 2548 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 เร่งตัว
ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าโดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเป็นสำคัญ
โดยเฉพาะการปรับเพิ่มขึ้นของราคาเชื้อเพลิง และ ค่าโดยสาร จากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
กอปรกับนโยบายลอยตัวราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลซึ่งทางการได้เริ่มทยอยลดการชดเชยในช่วงเดือนนี้ นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการปรับค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (FT) เพิ่มขึ้นอีก 3.55 สตางค์ต่อหน่วย สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดพาหนะ การขนส่ง และ
การสื่อสาร สำหรับค่าเช่าบ้านในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสำคัญ โดยในเดือนนี้ได้การปรับราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลขึ้น 7 ครั้ง รวม 2.80 บาทต่อลิตร นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประเภทอื่น อาทิ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และผลิตภัณฑ์โลหะ
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 1.1 และ 9.4 ตามลำดับ
6. ภาวะการเงินในเดือนมิถุนายน 2548 ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 3.3 3.5 และ 4.7 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ 2.2 ในเดือนพฤษภาคมเป็นร้อยละ 2.6 ในเดือนนี้แม้ว่าในเดือนนี้ยอดเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ลดลงจากเดือนก่อนเพื่อลดภาระการนำส่งค่าธรรมเนียมกองทุนฟื้นฟูฯ
แต่จำนวนที่ลดลงน้อยกว่าในปีก่อนหน้า สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอลงจากร้อยละ 5.2 ในเดือนก่อน เนื่องจากสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ถืออยู่ใน
รูปตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทบริหารสินทรัพย์ครบกำหนดไถ่ถอน
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินโน้มสูงขึ้นทั้งอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและ
อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันโดยเฉลี่ยทั้งเดือนอยู่ที่ร้อยละ 2.42 และ 2.41 ต่อปี ตามลำดับ
ทั้งนี้เป็นการปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ประกอบกับสภาพคล่องในระบบการเงินค่อนข้างตึงตัวเนื่องจากเป็นช่วงนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลเข้าคลัง
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันปรับสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 1 มาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.25 และ 2.24 ต่อปี ตามลำดับ โดยเป็นการปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นสำคัญ
7. ค่าเงินบาทในเดือนมิถุนายน 2548 เฉลี่ยอยู่ที่ 40.92 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงอย่าง
ต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคม และแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน จากความต้องการซื้อของผู้นำเข้าและความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย ขณะที่ความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์ สรอ. ได้ปรับดีขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 เงินบาทปรับค่าอ่อนลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ 40.16 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จาก 38.61 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อน เพราะ sentiment ในเงินดอลลาร์ สรอ. ยังแข็งแกร่ง ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลและเงินลงทุนระยะสั้นที่เข้ามามากช่วงไตรมาสแรกได้ปิดฐานะออกไปบ้างในช่วงวันที่ 1-25 กรกฎาคม 2548 เงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 41.78 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องและแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีในช่วงกลางเดือน โดยปัจจัยลบที่เพิ่มขึ้น คือการปรับลดสัดส่วนการลงทุนในประเทศไทยของกองทุนต่างประเทศรายใหญ่ อย่างไรก็ดีเงินบาทได้ปรับค่าแข็งขึ้นตามค่าเงินหยวนหลังจากธนาคารกลางจีนประกาศปรับค่าเงินหยวนและระบบอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2548
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--