“เศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือนพฤษภาคมยังมีการจ้างงานขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นผลจากการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคก่อสร้าง และภาคโรงแรม ขณะที่การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับการค้าต่างประเทศ พบว่าการนำเข้ายังคงขยายตัวสูง โดยเฉพาะในสินค้าวัตถุดิบ และสินค้าทุนที่ขยายตัวตามการลงทุน อย่างไรก็ตามเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานยังอยู่ระดับต่ำ และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง”
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนพฤษภาคม 2548 ดังนี้
การจ้างงานใหม่เดือนพฤษภาคมขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม โดยในเดือนพฤษภาคม อัตราการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 714.6 พันตำแหน่ง หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่อปี โดยได้รับการผลักดันจากนอกภาคการเกษตรที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 799.9 พันตำแหน่ง คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ขณะที่อัตราการว่างงานเดือนพฤษภาคมอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.0 ลดลงจากร้อยละ 2.2 ในเดือนก่อน
ภาคการเกษตรพบว่าผลกระทบจากภาวะภัยแล้งในหลายจังหวัดลดความรุนแรงลง โดยในเดือนพฤษภาคม การจ้างงานภาคการเกษตรไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน โดยขยายตัวร้อยละ -0.7 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงต้นปี 2548 ประกอบกับ การผลิตสินค้าเกษตรหลักยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงแต่ก็ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยในเดือนเมษายน ผลผลิตพืชหลักที่สำคัญ ลดลงร้อยละ 2.2 เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ -17.1 ในเดือนมีนาคม
การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวเล็กน้อย โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมลดลงร้อยละ -1.9 ซึ่งเป็นผลส่วนหนึ่งจากการเคลื่อนย้ายแรงงานไปสู่ภาคเศรษฐกิจอื่นที่การขยายตัวอยู่ในระดับสูง ประกอบกับการเริ่มเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกทำให้มีแรงงานบางส่วนกลับไปทำการเกษตร
การจ้างงานในภาคการก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน สะท้อนภาคก่อสร้างที่ขยายตัวดีซึ่งสร้างอุปสงค์ต่อการจ้างงาน และวัสดุก่อสร้าง โดยอัตราการจ้างงานใหม่ในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.6 ในเดือนก่อน เป็นผลจากการจ้างงานในภาคก่อสร้างขยายตัวสูงในภาคกลาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 12.9 และภาคใต้ ร้อยละ 22.5 สอดคล้องกับผลผลิตอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างยังขยายตัวสูงที่ร้อยละ 12.2 ต่อปี ในเดือนเมษายน
ภาคการโรงแรมเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ภายหลังเหตุการณ์วางระเบิดที่จังหวัดสงขลา โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ผ่านท่าอากาศยานกรุงเทพมีจำนวน 606,740 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ซึ่งขยายตัวทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ ASEAN ขยายตัวร้อยละ 16.4 เอเชียกลาง ร้อยละ 13.2 และตะวันออกกลาง ร้อยละ 24.2 สำหรับอัตราการจ้างงานภาคการโรงแรมในเดือนพฤษภาคมปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 11.3 ต่อปี
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราใกล้เคียวกับเดือนก่อน โดยการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนพฤษภาคมขยายตัวที่ร้อยละ 19.9 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 19.4 ในเดือนก่อน เนื่องมาจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีราคาสูงขึ้น
การลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงกำลังการผลิต โดยจะเห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรกลเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 29.3 และเครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 11.8 สะท้อนการลงทุนภาคเอกชนหลังจากที่อุตสาหกรรมบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีการใช้กำลังการผลิตเต็มศักยภาพและยังมีการปิดโรงงานเพื่อซ่อมแซมและปรับปรุงศักยภาพการผลิต (Debottleneck)
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยในเดือนพฤษภาคมมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 9,123.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 14.5 โดยสินค้าที่ยังคงมีการขยายตัวสูงได้แก่ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเครื่องจักร กลุ่มพลาสติก และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ปลา สัตว์น้ำ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสูงเป็นประวัติการณ์ โดยอยู่ที่ 10,882.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 38.1 ต่อปี เป็นผลส่วนหนึ่งจากสินค้าเหล็ก และเครื่องจักรกล และน้ำมันเชื้อเพลิง ขยายตัวสูง นอกจากนี้ในเดือนพฤษภาคมยังมีสินค้านำเข้าพิเศษ ได้แก่ อากาศยานเป็นมูลค่า 134.1ล้านเหรียญสหรัฐ และ นำเข้าแท่นขุดเจาะน้ำมันและเรือบรรทุกน้ำมันมูลค่า128.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าประจำเดือนพฤษภาคมขาดดุลทั้งสิ้น 1,759.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.6 เป็นร้อยละ 3.7 ในเดือนพฤษภาคม โดยสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ และผักสด และสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะหมวดค่าโดยสารสาธารณะขยายตัวร้อยละ 9.3 ตามการปรับขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2548 ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ค่ายารักษาโรค และหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.2 ตามราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.2 สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8
เสถียรภาพทางต่างประเทศยังอยู่ระดับที่น่าพอใจ โดยทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 48.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 4.5 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือ 3.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 10/2548 29 มิถุนายน 2548--
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนพฤษภาคม 2548 ดังนี้
การจ้างงานใหม่เดือนพฤษภาคมขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม โดยในเดือนพฤษภาคม อัตราการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 714.6 พันตำแหน่ง หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่อปี โดยได้รับการผลักดันจากนอกภาคการเกษตรที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 799.9 พันตำแหน่ง คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ขณะที่อัตราการว่างงานเดือนพฤษภาคมอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.0 ลดลงจากร้อยละ 2.2 ในเดือนก่อน
ภาคการเกษตรพบว่าผลกระทบจากภาวะภัยแล้งในหลายจังหวัดลดความรุนแรงลง โดยในเดือนพฤษภาคม การจ้างงานภาคการเกษตรไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน โดยขยายตัวร้อยละ -0.7 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงต้นปี 2548 ประกอบกับ การผลิตสินค้าเกษตรหลักยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงแต่ก็ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยในเดือนเมษายน ผลผลิตพืชหลักที่สำคัญ ลดลงร้อยละ 2.2 เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ -17.1 ในเดือนมีนาคม
การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวเล็กน้อย โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมลดลงร้อยละ -1.9 ซึ่งเป็นผลส่วนหนึ่งจากการเคลื่อนย้ายแรงงานไปสู่ภาคเศรษฐกิจอื่นที่การขยายตัวอยู่ในระดับสูง ประกอบกับการเริ่มเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกทำให้มีแรงงานบางส่วนกลับไปทำการเกษตร
การจ้างงานในภาคการก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน สะท้อนภาคก่อสร้างที่ขยายตัวดีซึ่งสร้างอุปสงค์ต่อการจ้างงาน และวัสดุก่อสร้าง โดยอัตราการจ้างงานใหม่ในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.6 ในเดือนก่อน เป็นผลจากการจ้างงานในภาคก่อสร้างขยายตัวสูงในภาคกลาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 12.9 และภาคใต้ ร้อยละ 22.5 สอดคล้องกับผลผลิตอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างยังขยายตัวสูงที่ร้อยละ 12.2 ต่อปี ในเดือนเมษายน
ภาคการโรงแรมเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ภายหลังเหตุการณ์วางระเบิดที่จังหวัดสงขลา โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ผ่านท่าอากาศยานกรุงเทพมีจำนวน 606,740 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ซึ่งขยายตัวทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ ASEAN ขยายตัวร้อยละ 16.4 เอเชียกลาง ร้อยละ 13.2 และตะวันออกกลาง ร้อยละ 24.2 สำหรับอัตราการจ้างงานภาคการโรงแรมในเดือนพฤษภาคมปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 11.3 ต่อปี
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราใกล้เคียวกับเดือนก่อน โดยการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนพฤษภาคมขยายตัวที่ร้อยละ 19.9 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 19.4 ในเดือนก่อน เนื่องมาจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีราคาสูงขึ้น
การลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงกำลังการผลิต โดยจะเห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรกลเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 29.3 และเครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 11.8 สะท้อนการลงทุนภาคเอกชนหลังจากที่อุตสาหกรรมบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีการใช้กำลังการผลิตเต็มศักยภาพและยังมีการปิดโรงงานเพื่อซ่อมแซมและปรับปรุงศักยภาพการผลิต (Debottleneck)
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยในเดือนพฤษภาคมมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 9,123.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 14.5 โดยสินค้าที่ยังคงมีการขยายตัวสูงได้แก่ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเครื่องจักร กลุ่มพลาสติก และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ปลา สัตว์น้ำ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสูงเป็นประวัติการณ์ โดยอยู่ที่ 10,882.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 38.1 ต่อปี เป็นผลส่วนหนึ่งจากสินค้าเหล็ก และเครื่องจักรกล และน้ำมันเชื้อเพลิง ขยายตัวสูง นอกจากนี้ในเดือนพฤษภาคมยังมีสินค้านำเข้าพิเศษ ได้แก่ อากาศยานเป็นมูลค่า 134.1ล้านเหรียญสหรัฐ และ นำเข้าแท่นขุดเจาะน้ำมันและเรือบรรทุกน้ำมันมูลค่า128.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าประจำเดือนพฤษภาคมขาดดุลทั้งสิ้น 1,759.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.6 เป็นร้อยละ 3.7 ในเดือนพฤษภาคม โดยสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ และผักสด และสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะหมวดค่าโดยสารสาธารณะขยายตัวร้อยละ 9.3 ตามการปรับขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2548 ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ค่ายารักษาโรค และหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.2 ตามราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.2 สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8
เสถียรภาพทางต่างประเทศยังอยู่ระดับที่น่าพอใจ โดยทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 48.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 4.5 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือ 3.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 10/2548 29 มิถุนายน 2548--