กรุงเทพ--27 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2548 เวลา 09.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการการแข่งขันกีฬาเยาวชนเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 1 (ASEM Youth Games 2005) ที่วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ และต่อมาในเวลา 10.00 น. นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานจับสลากแบ่งสายการแข่งขันฟุตบอลสำหรับการแข่งขันกีฬาเยาวชนเอเชีย-ยุโรป ที่ห้องนราธิป กระทรวง
การต่างประเทศ ทั้งนี้ การแข่งขันกีฬาเยาวชนเอเชีย-ยุโรปจะจัดขึ้นที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 2 — 8 มิถุนายน 2548 ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งข้อมูลและความเป็นมาของการแข่งขันกีฬาเยาวชนเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 1 ดังนี้
1. ความเป็นมา
ในการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4 (The Fourth Asia-Europe Meeting — ASEM 4) ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2545 ที่ประชุมได้เห็นพ้องให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้มีการติดต่อระหว่างประชาชนกับประชาชนให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเยาวชนของทั้งสองภูมิภาค นายกรัฐมนตรี จึงได้แจ้งที่ประชุมถึงความสนใจของไทยที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนเอเชีย-ยุโรป (ASEM Youth Games) โดยเห็นว่าการทูตเชิงกีฬา (Sports Diplomacy) จะสามารถช่วยส่งเสริม ความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนในภูมิภาคเอเชียและยุโรป
ต่อมา นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชามอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นหน่วยงานหลักในการเตรียมการจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนดังกล่าว กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้จัดทำ concept paper เกี่ยวกับการแข่งขัน และกระทรวงการต่างประเทศได้เวียน concept paper ให้ประเทศสมาชิกอาเซมพิจารณาในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซม ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 ที่เมืองบาหลี โดยได้กำหนดจัดการแข่งขันในช่วงเดือนตุลาคม 2547 อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่แจ้งว่าไม่สะดวกจะเข้าร่วมเนื่องจากช่วงเวลาที่ไทยกำหนดเป็นช่วงเปิดภาคเรียนของยุโรป และบางประเทศได้มีการกำหนดการแข่งขันล่วงหน้าไว้แล้ว ไทยจึงได้เปลี่ยนกำหนดการแข่งขันฯ ใหม่เป็นวันที่ 2-8 มิถุนายน 2548
ในการประชุมผู้นำอาเซม ครั้งที่ 5 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 7-9 ตุลาคม 2547 นายกรัฐมนตรีได้ยืนยันว่า ไทยจะจัดการแข่งขันดังกล่าว และเสนอให้ประเทศสมาชิกต่างๆ ส่งการแสดงวัฒนธรรมของประเทศตนเพื่อแสดงระหว่างการแข่งขันอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เยาวชนจากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมการแข่งขันฯ ได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมของกันและกัน ให้มากขึ้น โดยไทยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในประเทศให้แก่ นักกีฬา ผู้เข้าร่วมการแสดงทางวัฒนธรรมและเจ้าหน้าที่ที่เดินทางมาเข้าร่วมการแข่งขันฯ ด้วย
2. สถานะล่าสุด
การกีฬาแห่งประเทศไทยจะจัดให้การแข่งขันกีฬาทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ กรีฑา ว่ายน้ำ ฟุตบอล แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส และเทนนิส รวมทั้งจัดให้มีการแสดง ทางวัฒนธรรมจากประเทศสมาชิกอาเซมต่างๆ ที่สนใจการแข่งขันฯ จะมีขึ้น ณ ศูนย์กีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย และอาคารนิมิตบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้จะมีการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่สนามสุระกุล จ. ภูเก็ตด้วย
ประเทศสมาชิกอาเซมที่ตอบรับเข้าร่วมการแข่งขันฯ (ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2548) มีทั้งหมด 26 ประเทศ ได้แก่
ฝ่ายเอเชีย - บรูไน กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม
ฝ่ายยุโรป - เบลเยียม สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ลัตเวีย โปแลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สเปน และสวีเดน
3. สัญลักษณ์ของการแข่งขัน
สัญลักษณ์ของการแข่งขัน (Emblem/Logo) เป็นการนำตัวอักษร a สีเหลืองซึ่งแทนถึงทวีปเอเชียและตัวอักษร e สีฟ้าซึ่งแทนถึงทวีปยุโรป การรวมตัวกันในวงกลมแสดงถึงความ ร่วมมือร่วมใจ ความสามัคคี ความกลมเกลียว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความสัมพันธ์อัน แนบแน่นที่ทั้งสองทวีปมีให้แก่กัน โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ในการปลูกฝังให้เยาวชนได้รู้จักความหมายของมิตรภาพ ความฝันและประสบการณ์ของชีวิตจากการแข่งขันสัญลักษณ์ตัวนำโชค (Mascot) ของการแข่งขันครั้งนี้คือ ม้าก้านกล้วยซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของคนไทย ในการปรับตัวและประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มาสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การทำม้าก้านกล้วยให้กับเด็กๆ ได้เล่นกัน ม้าก้านกล้วยเป็นหนึ่งในของเล่นสำหรับเด็กๆ ที่อยู่ในวัยซุกซนชื่นชอบ และเป็นที่รู้จักของเด็กไทยทั่วไปเป็นอย่างดี นอกจาก
ความสนุกสนานที่ได้จากม้าก้านกล้วยแล้ววิธีการเล่นยังช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ความคิด และเกิดพัฒนาการในการฝึกเล่นเป็นหมู่คณะ มีผู้นำ ผู้ตาม ได้ออกกำลังกายและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนฝูงที่เล่นด้วยกัน ม้าก้านกล้วยจึงเป็นการละเล่นที่ง่าย มีประโยชน์และแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของเด็กไทยได้เป็นอย่างดี ม้าที่ทำมาจากก้านกล้วย ลำตัวยาว สีเขียวอมเหลือง มีหางที่ทำมาจากใบกล้วยหรือเรียกอีกอย่างว่า “ใบตอง”
“ใบตอง” จึงกลายเป็นชื่อที่ทุกคนเรียกเจ้าม้าก้านกล้วยตัวนี้อยู่เสมอ เจ้าใบตอง เป็นม้าที่มีร่างกายที่แข็งแรงอันเกิดมาจากการชอบเล่นกีฬาชอบยิ้ม ช่างพูด ร่าเริง สดใส ซุกซน มีความมุ่งมั่นและมีความฝันที่จะเป็นนักกีฬาทีมชาติต่อไปในอนาคต ด้วยเหตุนี้ใบตองจึงได้รับเลือกจากคณะกรรมการ ให้ทำหน้าที่เป็นยุวทูตในการเชื่อมสัมพันธไมตรีกับเยาวชนที่มาจากหลายๆ ประเทศในการแข่งขันกีฬาแห่งมิตรภาพในครั้งนี้
4. ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมเอเชีย-ยุโรป
การประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting — ASEM) เป็นข้อริเริ่มของสิงคโปร์ และฝรั่งเศส เพื่อให้เป็นเวทีที่ผู้นำจากทั้ง 2 ภูมิภาคได้มาพบและหารือกันเพื่อหาลู่ทางที่จะกระชับความสัมพันธ์ ขยายความร่วมมือ และเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน การประชุมเอเชีย-ยุโรป จัดขึ้นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1-2 มีนาคม 2539 โดยมีผู้นำประกอบด้วย ประมุขและหัวหน้ารัฐบาลจากยุโรป 15 ประเทศ ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (ออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี ไอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร) และคณะกรรมาธิการยุโรป และเอเชีย 10 ประเทศ คือ อาเซียน 7 ประเทศ (บรูไน ดารุซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม) รวมทั้ง จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือแนวทางส่งเสริมความเชื่อมโยงทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ระหว่างภูมิภาคเอเชีย-ยุโรปให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสร้างความสมดุลในความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก
ในการประชุม ASEM 5 ระหว่างวันที่ 7-9 ตุลาคม 2547 ที่ประชุมได้มีมติรับประเทศสมาชิกอาเซมเพิ่มขึ้น 13 ประเทศเป็นฝ่ายเอเชีย 3 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และฝ่ายยุโรป 10 ประเทศ (ซึ่งเป็นประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ) ได้แก่ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวัก สโลวีเนีย ทำให้ปัจจุบัน ASEM มีประเทศสมาชิกรวมทั้งหมด 38 ประเทศกับ 1 องค์กร ดังนี้
ฝ่ายเอเชีย 13 ประเทศ
1. บรูไน ดารุสซาลาม 8. สิงคโปร์
2. กัมพูชา 9. ไทย
3. อินโดนีเซีย 10. เวียดนาม
4. ลาว 11. จีน
5. มาเลเซีย 12. ญี่ปุ่น
6. พม่า 13. สาธารณรัฐเกาหลี
7. ฟิลิปปินส์
ฝ่ายยุโรป 25 ประเทศและ 1 องค์กร (ประกอบด้วยสมาชิกสหภาพยุโรปเดิมและคณะกรรมาธิการยุโรป) ดังนี้
1. ออสเตรีย 14. ลัตเวีย
2. เบลเยียม 15. ลิทัวเนีย
3. ไซปรัส 16. ลักเซมเบิร์ก
4. สาธารณรัฐเช็ก 17. มอลตา
5. เดนมาร์ก 18. เนเธอร์แลนด์
6. เอสโตเนีย 19. โปแลนด์
7. ฟินแลนด์ 20. โปรตุเกส
8. ฝรั่งเศส 21. สาธารณรัฐสโลวัก
9. เยอรมนี 22. สโลวีเนีย
10. กรีซ 23. สเปน
11. ฮังการี 24. สวีเดน
12. ไอร์แลนด์ 25. สหราชอาณาจักร
13. อิตาลี 26. คณะกรรมาธิการยุโรป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2548 เวลา 09.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการการแข่งขันกีฬาเยาวชนเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 1 (ASEM Youth Games 2005) ที่วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ และต่อมาในเวลา 10.00 น. นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานจับสลากแบ่งสายการแข่งขันฟุตบอลสำหรับการแข่งขันกีฬาเยาวชนเอเชีย-ยุโรป ที่ห้องนราธิป กระทรวง
การต่างประเทศ ทั้งนี้ การแข่งขันกีฬาเยาวชนเอเชีย-ยุโรปจะจัดขึ้นที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 2 — 8 มิถุนายน 2548 ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งข้อมูลและความเป็นมาของการแข่งขันกีฬาเยาวชนเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 1 ดังนี้
1. ความเป็นมา
ในการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4 (The Fourth Asia-Europe Meeting — ASEM 4) ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2545 ที่ประชุมได้เห็นพ้องให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้มีการติดต่อระหว่างประชาชนกับประชาชนให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเยาวชนของทั้งสองภูมิภาค นายกรัฐมนตรี จึงได้แจ้งที่ประชุมถึงความสนใจของไทยที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนเอเชีย-ยุโรป (ASEM Youth Games) โดยเห็นว่าการทูตเชิงกีฬา (Sports Diplomacy) จะสามารถช่วยส่งเสริม ความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนในภูมิภาคเอเชียและยุโรป
ต่อมา นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชามอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นหน่วยงานหลักในการเตรียมการจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนดังกล่าว กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้จัดทำ concept paper เกี่ยวกับการแข่งขัน และกระทรวงการต่างประเทศได้เวียน concept paper ให้ประเทศสมาชิกอาเซมพิจารณาในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซม ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 ที่เมืองบาหลี โดยได้กำหนดจัดการแข่งขันในช่วงเดือนตุลาคม 2547 อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่แจ้งว่าไม่สะดวกจะเข้าร่วมเนื่องจากช่วงเวลาที่ไทยกำหนดเป็นช่วงเปิดภาคเรียนของยุโรป และบางประเทศได้มีการกำหนดการแข่งขันล่วงหน้าไว้แล้ว ไทยจึงได้เปลี่ยนกำหนดการแข่งขันฯ ใหม่เป็นวันที่ 2-8 มิถุนายน 2548
ในการประชุมผู้นำอาเซม ครั้งที่ 5 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 7-9 ตุลาคม 2547 นายกรัฐมนตรีได้ยืนยันว่า ไทยจะจัดการแข่งขันดังกล่าว และเสนอให้ประเทศสมาชิกต่างๆ ส่งการแสดงวัฒนธรรมของประเทศตนเพื่อแสดงระหว่างการแข่งขันอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เยาวชนจากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมการแข่งขันฯ ได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมของกันและกัน ให้มากขึ้น โดยไทยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในประเทศให้แก่ นักกีฬา ผู้เข้าร่วมการแสดงทางวัฒนธรรมและเจ้าหน้าที่ที่เดินทางมาเข้าร่วมการแข่งขันฯ ด้วย
2. สถานะล่าสุด
การกีฬาแห่งประเทศไทยจะจัดให้การแข่งขันกีฬาทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ กรีฑา ว่ายน้ำ ฟุตบอล แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส และเทนนิส รวมทั้งจัดให้มีการแสดง ทางวัฒนธรรมจากประเทศสมาชิกอาเซมต่างๆ ที่สนใจการแข่งขันฯ จะมีขึ้น ณ ศูนย์กีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย และอาคารนิมิตบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้จะมีการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่สนามสุระกุล จ. ภูเก็ตด้วย
ประเทศสมาชิกอาเซมที่ตอบรับเข้าร่วมการแข่งขันฯ (ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2548) มีทั้งหมด 26 ประเทศ ได้แก่
ฝ่ายเอเชีย - บรูไน กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม
ฝ่ายยุโรป - เบลเยียม สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ลัตเวีย โปแลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สเปน และสวีเดน
3. สัญลักษณ์ของการแข่งขัน
สัญลักษณ์ของการแข่งขัน (Emblem/Logo) เป็นการนำตัวอักษร a สีเหลืองซึ่งแทนถึงทวีปเอเชียและตัวอักษร e สีฟ้าซึ่งแทนถึงทวีปยุโรป การรวมตัวกันในวงกลมแสดงถึงความ ร่วมมือร่วมใจ ความสามัคคี ความกลมเกลียว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความสัมพันธ์อัน แนบแน่นที่ทั้งสองทวีปมีให้แก่กัน โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ในการปลูกฝังให้เยาวชนได้รู้จักความหมายของมิตรภาพ ความฝันและประสบการณ์ของชีวิตจากการแข่งขันสัญลักษณ์ตัวนำโชค (Mascot) ของการแข่งขันครั้งนี้คือ ม้าก้านกล้วยซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของคนไทย ในการปรับตัวและประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มาสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การทำม้าก้านกล้วยให้กับเด็กๆ ได้เล่นกัน ม้าก้านกล้วยเป็นหนึ่งในของเล่นสำหรับเด็กๆ ที่อยู่ในวัยซุกซนชื่นชอบ และเป็นที่รู้จักของเด็กไทยทั่วไปเป็นอย่างดี นอกจาก
ความสนุกสนานที่ได้จากม้าก้านกล้วยแล้ววิธีการเล่นยังช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ความคิด และเกิดพัฒนาการในการฝึกเล่นเป็นหมู่คณะ มีผู้นำ ผู้ตาม ได้ออกกำลังกายและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนฝูงที่เล่นด้วยกัน ม้าก้านกล้วยจึงเป็นการละเล่นที่ง่าย มีประโยชน์และแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของเด็กไทยได้เป็นอย่างดี ม้าที่ทำมาจากก้านกล้วย ลำตัวยาว สีเขียวอมเหลือง มีหางที่ทำมาจากใบกล้วยหรือเรียกอีกอย่างว่า “ใบตอง”
“ใบตอง” จึงกลายเป็นชื่อที่ทุกคนเรียกเจ้าม้าก้านกล้วยตัวนี้อยู่เสมอ เจ้าใบตอง เป็นม้าที่มีร่างกายที่แข็งแรงอันเกิดมาจากการชอบเล่นกีฬาชอบยิ้ม ช่างพูด ร่าเริง สดใส ซุกซน มีความมุ่งมั่นและมีความฝันที่จะเป็นนักกีฬาทีมชาติต่อไปในอนาคต ด้วยเหตุนี้ใบตองจึงได้รับเลือกจากคณะกรรมการ ให้ทำหน้าที่เป็นยุวทูตในการเชื่อมสัมพันธไมตรีกับเยาวชนที่มาจากหลายๆ ประเทศในการแข่งขันกีฬาแห่งมิตรภาพในครั้งนี้
4. ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมเอเชีย-ยุโรป
การประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting — ASEM) เป็นข้อริเริ่มของสิงคโปร์ และฝรั่งเศส เพื่อให้เป็นเวทีที่ผู้นำจากทั้ง 2 ภูมิภาคได้มาพบและหารือกันเพื่อหาลู่ทางที่จะกระชับความสัมพันธ์ ขยายความร่วมมือ และเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน การประชุมเอเชีย-ยุโรป จัดขึ้นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1-2 มีนาคม 2539 โดยมีผู้นำประกอบด้วย ประมุขและหัวหน้ารัฐบาลจากยุโรป 15 ประเทศ ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (ออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี ไอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร) และคณะกรรมาธิการยุโรป และเอเชีย 10 ประเทศ คือ อาเซียน 7 ประเทศ (บรูไน ดารุซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม) รวมทั้ง จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือแนวทางส่งเสริมความเชื่อมโยงทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ระหว่างภูมิภาคเอเชีย-ยุโรปให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสร้างความสมดุลในความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก
ในการประชุม ASEM 5 ระหว่างวันที่ 7-9 ตุลาคม 2547 ที่ประชุมได้มีมติรับประเทศสมาชิกอาเซมเพิ่มขึ้น 13 ประเทศเป็นฝ่ายเอเชีย 3 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และฝ่ายยุโรป 10 ประเทศ (ซึ่งเป็นประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ) ได้แก่ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวัก สโลวีเนีย ทำให้ปัจจุบัน ASEM มีประเทศสมาชิกรวมทั้งหมด 38 ประเทศกับ 1 องค์กร ดังนี้
ฝ่ายเอเชีย 13 ประเทศ
1. บรูไน ดารุสซาลาม 8. สิงคโปร์
2. กัมพูชา 9. ไทย
3. อินโดนีเซีย 10. เวียดนาม
4. ลาว 11. จีน
5. มาเลเซีย 12. ญี่ปุ่น
6. พม่า 13. สาธารณรัฐเกาหลี
7. ฟิลิปปินส์
ฝ่ายยุโรป 25 ประเทศและ 1 องค์กร (ประกอบด้วยสมาชิกสหภาพยุโรปเดิมและคณะกรรมาธิการยุโรป) ดังนี้
1. ออสเตรีย 14. ลัตเวีย
2. เบลเยียม 15. ลิทัวเนีย
3. ไซปรัส 16. ลักเซมเบิร์ก
4. สาธารณรัฐเช็ก 17. มอลตา
5. เดนมาร์ก 18. เนเธอร์แลนด์
6. เอสโตเนีย 19. โปแลนด์
7. ฟินแลนด์ 20. โปรตุเกส
8. ฝรั่งเศส 21. สาธารณรัฐสโลวัก
9. เยอรมนี 22. สโลวีเนีย
10. กรีซ 23. สเปน
11. ฮังการี 24. สวีเดน
12. ไอร์แลนด์ 25. สหราชอาณาจักร
13. อิตาลี 26. คณะกรรมาธิการยุโรป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-